Banner 155

‘CROWDFUNDING’ โมเดลระดมทุน ดันงานสตาร์ทอัพจากหิ้ง สู่ ห้าง

ท่ามกลางการแข่งขัน และเติบโตของโลกธุรกิจ “Startups” ที่ต่างประชันไอเดีย และนวัตกรรมของตนเอง เพื่อดึงดูดเหล่านักลงทุนทำให้ Startups เหล่านั้นมีเงินทุนดำเนิน กิจการและเติบโตขึ้น การเฟ้นหาแหล่งเงินทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจถือเป็นกิจกรรมหนึ่ง ที่เหล่าผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพต้องวางแผนและเลือกเครื่องมือหรือแนวทางเพื่อให้ได้ทุนตามเป้าที่ตั้งไว้ด้วยวิธีต่าง ๆ ทั้งการประกวดแข่งขันนำเสนอไอเดีย, การกู้ยืมจากธนาคาร, การแลกหุ้นบริษัทกับเงินลงทุน หรือในหลายปีนี้ที่เราจะได้ยินกันบ่อย ๆ คือ “การระดมทุนจากสาธารณะ” หรือ “Crowdfuding” นั่นเอง Crowdfunding เป็นเครื่องมือของสตาร์ทอัพที่ต้องการเงินลงทุนมาดำเนินธุรกิจ และโปรโมทโครงการหรือธุรกิจให้สาธารณชนได้รู้จักไปในตัว โดยเฉพาะสตาร์ทอัพที่มีไอเดียดี แต่ขาดเงินลงทุนและต้องการความรวดเร็วในการได้รับเงินทุนเพื่อดำเนินกิจการต่อไป โดย Crowdfunding นั้นสามารถทำได้ด้วยกัน​ 4 รูปแบบ ได้แก่ Reward-based Crowdfunding  เป็นการระดมทุนที่เปิดโอกาสให้สาธารณะได้ลงทุนและสตาร์ทอัพหรือบริษัทนั้นจะให้ผลตอบแทนเป็นสิทธิประโยชน์หรือผลิตภัณฑ์กลับไปเมื่อโครงการนั้นสำเร็จถึงเป้าหมายที่กำหนดไว้ Donation-based Crowdfunding  การระดมทุนแบบบริจาคตามความศรัทธาของสาธารณชน เพื่อนำเงินที่ได้ไปใช้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการโดยผู้ที่บริจาคจะไม่ได้รับสิ่งใดตอบแทน Equity-based Crowdfunding  การระดมทุนโดยการเสนอหุ้นของบริษัทนั้น ๆ ให้แก่สาธารณชนเพื่อนำเงินมาลงทุน โดยผู้ให้ทุนจะได้ถือครองหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนพร้อมกับโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนจากกิจการในอนาคต Lending-based Crowdfunding หรือ Peer-to-Peer Lending การระดมทุนโดยการกู้ยืมเงินจากผู้สนับสนุนซึ่งต้องกำหนดระยะเวลาการชำระเงินคืน และจ่ายดอกเบี้ยให้แก่ผู้ลงทุนที่ให้การสนับสนุน Crowdfunding แบบไหนนิยมใช้กันบ้าง?  จากงานวิจัยเพื่อสำรวจประเภทของการระดมทุนจากสาธารณะในประเทศอิตาลีของ […]

S 63291544

แหวกม่าน “วัคซีนโควิด” กับภารกิจเพื่อชาติของสองพ่อลูก “พูลเจริญ” นายแพทย์วิพุธ – รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ

หากเอ่ยถึงแวดวงสาธารณสุข หลายคนคงคุ้นเคยชื่อ และความสามารถของ ‘นายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ’ อดีตผู้อำนวยการกองโรคเอดส์และกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิวิจัยและพัฒนานโยบาย เวลาหมุนผ่านมาถึงปัจจุบันที่โลกเผชิญหน้ากับโควิด-19 นามสกุลพูลเจริญ ได้รับการพูดถึงอีกครั้ง แต่หนนี้คือ ‘รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ’ หรือ ‘อาจารย์แป้ง’ ลูกสาวของคุณหมอวิพุธ ที่ถอดดีเอ็นเอความเก่งมาจากพ่อ นอกจากเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แล้ว เธอคือผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ บริษัทสตาร์ทอัพเพื่อวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช อันเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย’ ที่ชวนคนไทยร่วมระดมเงินบริจาคพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งวันนี้อยู่ในขั้นเตรียมพร้อมสำหรับทดสอบในมนุษย์ ‘The Sharpener’ นัดสัมภาษณ์พิเศษคุณหมอวิพุธ และอาจารย์แป้ง ถึงการทำงานต่อสู้ไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มข้น จากใบยา ถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 อาจารย์แป้งเล่าถึงจุดเริ่มต้นบนเส้นทางงานวิจัย “เราเริ่มศึกษาเรื่องโปรตีนจากพืช ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอก สาขา Plant Biology ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 15 ปีก่อน ตอนนั้นได้ร่วมทีมวิจัยวัคซีนอีโบลา หลังจากเรียนจบก็ไปทำงานเกี่ยวกับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งหมดใช้แพลตฟอร์มเดียวกันคือ โปรตีนจากพืช และเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน เราและ ‘อาจารย์บิ๊บ – ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ’ ได้ร่วมกันก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ สตาร์ทอัพที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช และเมื่อต้นปีที่แล้วที่มีคนไทยเริ่มติดเชื้อโควิด-19 เราจึงเริ่มผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในห้องแล็บทันที” “แต่ก้าวแรกของ ใบยา ไฟโตฟาร์ม ไม่ง่ายเลยค่ะ เนื่องจากยาชีววัตถุเป็นเทคโนโลยีใหม่ เวลานำเสนอให้หลายที่พิจารณาเงินทุน จึงไม่ได้รับความสนใจมากนัก เรากับ อ.บิ๊บ จึงตัดสินใจใช้เงินส่วนตัวลงขันกันหลายล้านบาทเพื่อให้ได้ลุยงานต่อ […]

Banner 149

‘จุฬาฯ-ใบยา’ ไม่หวั่นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ เร่งพัฒนาวัคซีนรุ่น 2 คืบหน้า เตรียมรับมือระบาดซ้ำ ชวนคนไทย ‘สู้ไม่หยุด’ ร่วมเป็นทีมไทยแลนด์บริจาคได้ถึงสิ้นปี 64

แคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย #ทีมไทยแลนด์” จากกระแสข่าวพบไวรัสโควิด-19 ในอังกฤษและแอฟริกาใต้กลายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและกักตัวใน State Quarantine เป็นเหตุให้หลายฝ่ายกังวลว่าวัคซีนที่นำเข้ามาอาจใช้ไม่ได้ผลนั้น ศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ รพ.จุฬาฯ มั่นใจว่าปัจจุบันมาตรการต่างๆ ของรัฐ โดยเฉพาะการตรวจเชิงรุกยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อติดตามการแพร่ระบาด และศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงสารรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเอาชนะไวรัสนี้ได้ แต่การมีแพลตฟอร์มพัฒนาวัคซีนได้เองในประเทศจะยิ่งสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทยได้ ไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์ไปก็ยังสามารถปรับวัคซีนสู้ได้ทัน ด้าน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ เดินหน้าพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 เตรียมรับมือหากระบาดระลอกใหม่ ดันแคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย” ขอบคุณและชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคได้ถึงสิ้นปี 2564 เร่งผลิตวัคซีนทดสอบในมนุษย์ได้ทันกลางปีนี้ สถานการณ์ล่าสุดเมื่อโควิด-19 กลายพันธุ์ แค่วัคซีนเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ ศ.นพ.ธีระวัฒน์  เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ‘ไวรัสโคโรนา สามารถกลายพันธุ์ปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งนอกจากจะมีไวรัส SARS แล้วยังพบว่ามีไวรัสชนิดอื่นแฝงอยู่ด้วย  จนทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าหากไวรัสรวมตัวกันอาจก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ขึ้นมาได้อีก ซึ่งถือเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของไวรัสที่อาจกลายพันธุ์เพื่อให้อยู่รอดได้ในทุกสภาวะ ไม่ว่าจะแพร่จากสัตว์สู่มนุษย์ หรือมนุษย์สู่มนุษย์ ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาแพลตฟอร์มหรือกระบวนการผลิตวัคซีนรองรับเหตุการณ์ หรือโรคอุบัติใหม่ให้ทันการณ์ อย่างไรก็ตามเวลานี้ ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าไวรัสโควิด-19 จะกลายพันธุ์ไปได้อีกกี่สายพันธุ์   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเฝ้าติดตามและตรวจเชิงรุก ติดตามการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ซึ่งศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ คาดการณ์ว่าจะเริ่มตรวจเชิงรุกภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้  ซึ่งไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 […]

Banner 142 03

จุฬาฯ อวดนวัตกรรม ชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม

ปัญหาระบบนิเวศใต้ท้องทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วกำลังเป็นวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยพลัน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศใต้ท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติทางสภาพภูมิอากาศและการกระทำของมนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดหลากสายพันธุ์ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนบางชนิดเสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ และหนึ่งในนั้นคือ “ปะการัง”  จากรายงานของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ประเมินว่าท้องทะเลหลายแห่งทั่วโลกกำลังประสบภาวะความตึงเครียดจากสภาพแวดล้อมแปรปรวนส่งผลกระทบต่อแนวปะการังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียว ปะการังทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบไปแล้วถึงร้อยละ 38 คิดเป็นพื้นที่กว่า 1.2 หมื่นตารางกิโลเมตร ซึ่งแน่นอนว่าห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลย่อมได้รับผลกระทบสืบเนื่องกันไปด้วย สอดคล้องกันกับรายงานของ Scientific Reports ที่เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2558 คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2588 หรือในอีก 25 ปี ข้างหน้า ปะการังสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เกือบถึงขีดสุด โดยอาจเหลือปะการังทั่วโลกอยู่เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น  หากย้อนกลับมาติดตามสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย พบว่าระบบนิเวศทางทะเลไทยกำลังเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวขึ้น โดยช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเปิดเผยว่า บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นมีปะการังสีจางลงกว่าร้อยละ 5-30 และกลายเป็นปะการังฟอกขาวแล้วถึงร้อยละ 5-15 ซึ่งหากปล่อยไว้ยังไม่รีบแก้ไขอาจส่งผลกระทบลุกลามบานปลายทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทยเร็วกว่าที่คาดการณ์ โดยตัวเร่งให้สถานการณ์นี้ทวีความรุนแรงขึ้น นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate […]

DC403F7C A509 412B A031 0559EB8180C8

‘เบลล่า ราณี – เวียร์ ศุกลวัฒน์’ เปิดจองโฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง นำเงินบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา วัคซีนเพื่อคนไทย’ หนุนนักวิจัยไทยที่สู้ไม่หยุดเพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนเพื่อคนไทยอีกนับล้าน

14 ก.พ.64 – รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เปิดเผยว่า ได้รับการประสานจากคุณเบลล่า ราณี แคมเปน และคุณเวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศ นักแสดงขวัญใจชาวไทยประสงค์จะร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ เพื่อสนับสนุนโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยนำ ‘โฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง’ มาร่วมบริจาคในโครงการ นำเงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา วัคซีนเพื่อคนไทย’ สนับสนุนทีมวิจัยคนไทยที่กำลังสู้ไม่หยุดเพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืช ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ผลิตได้เองในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยอีกกว่าสามสิบล้านคนเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึงปลายปีนี้ ‘มาร่วมบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา’ วันซีนเพื่อคนไทย กันเยอะๆ นะค่ะ’ ทางด้าน คุณเบลล่า ราณี แคมเปน เผยว่า “แค่อยากให้ความทรงจำของเรามันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ และมันคงจะดีหากเราได้ร่วมแชร์ประสบการณ์การเดินทางนี้ไปด้วยกัน…” โดยเบลล่า-เวียร์ เราสองคนตั้งใจนำ ‘โฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง #ไม่ใช่ไอซ์แลนด์ทำแทนไม่ได้ มาจำหน่ายเพื่อนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เพื่อเชียร์นักวิจัยไทยและร่วมเป็นส่วนหนึ่งไปกับทีมไทยแลนด์ที่กำลังสู้ไม่หยุดวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนจากฝีมือคนไทยเพื่อคนไทยอีกนับล้านคน โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ ‘มาร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ สั่งจองโฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง กับ เบลล่า-เวียร์ ได้แล้ววันนี้’ สำหรับแฟนๆ และผู้ที่สนใจร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner