Banner 180 4

คำแนะนำการทานยาพาราเซตามอล : กล่องรอดตาย

พาราเซตามอล (Paracetamol) จัดเป็นยาสามัญประจำบ้านในกลุ่มลดไข้ บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยจากไข้หวัด ปวดฟัน ปวดประจำเดือน ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดจากข้อเสื่อม ยาพาราเซตามอล หนึ่งแผงจะประกอบไปด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม จำนวน 10 เม็ด ผู้ป่วยที่มีอาการไข้หรือปวดบริเวณต่างๆ ให้รับประทานยาพาราเซตามอล ครั้งละ 1-2 เม็ด (500-1,000 มิลลิกรัม) และไม่ควรรับประทานเกินวันละ 8 เม็ด หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากพาราเซตามอลเป็นยาที่สามารถส่งผลต่อตับได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการ ท้องเสีย เหงื่อออกมากผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้หรืออาเจียน ปวดท้องอย่างรุนแรง หรือมีอาการปวดบวม ที่บริเวณหน้าท้องส่วนบน หรือบริเวณช่องท้อง ยาพาราเซตามอลมีคำเตือนดังต่อไปนี้ –          ผู้ที่มีปัญหาโรคตับ เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาทุกครั้ง –  […]

Banner 179 03

คำแนะนำการออกกำลังกายด้วยการลุก – นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือด : กล่องรอดตาย

The Sharpener จะแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังการด้วยการลุก-นั่งเพื่อวัดสภาวะออกซิเจนในเลือดซึ่งวิธีการนี้ เก้าอี้ที่ใช้จะต้องเป็นชนิดที่แข็งแรง และมีพนักพิง โดยเริ่มแรก ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว จากนั้นยืนเท้าเอว และวางมือทั้งสองข้างไว้ที่สะโพก จากนั้นนั่งลงเต็มเก้าอี้ ข้อเข่าทำมุม 90 องศา และลุกขึ้นยืนจนสุด โดยไม่ใช้มือดันเก้าอี้ จากนั้นกลับไปนั่งตามเดิมอีกครั้ง ทำซ้ำให้เร็วที่สุดในหนึ่งนาที ควรได้ 20-30 ครั้งใน 1 นาที ให้ผู้ป่วยวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด โดยใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อเทียบกันระหว่างก่อน และหลังการออกกำลังกาย  ถ้าหากผู้ป่วยมีค่าออกซิเจนในเลือดลดลงจากเดิม 3 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ควรติดต่อเพื่อขอรับการเข้ารักษาต่อในโรงพยาบาล ด้วยความปรารถนาดีจากทีมงานกล่องรอดตาย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ Engine Life The Sharpener และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านที่ทำให้เกิดโครงการดี ๆ แบบนี้ขึ้นมา ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรง และผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน

Banner 179 02

คำแนะนำท่านอนสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 : กล่องรอดตาย

The Sharpener จะแนะนำท่านอนสำหรับผู้ป่วยโควิด ในระหว่างการแยกตัวที่บ้าน หรือที่เราเรียกกันว่า “Home Isolation” ผู้ป่วยควรนอนคว่ำ เพื่อให้อากาศเข้าปอดได้ดีขึ้น และควรเปลี่ยนท่าไปเรื่อย ๆ ตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้ เริ่มที่ท่าแรก  ท่าที่ 1 นอนคว่ำ ใบหน้าตะแคงเล็กน้อย เพื่อให้หายใจได้สะดวก และใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ ลำตัว และปลายเท้า เป็นเวลา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ท่าที่ 2 นอนตะแคงขวา โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ ใช้เวลา 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง ท่าที่ 3 นั่งหลังตรง 90 องศา หรือเอาหมอนมาหนุนด้านหลังพยายามหายใจลึก ๆ ให้เต็มปอด เพื่อให้ปอดส่วนล่างขยายได้เต็มที่ ท่าที่ 4 นอนตะแคงซ้าย โดยใช้หมอนหนุนบริเวณศีรษะ เป็นเวลา 30 นาที ถึง […]

Banner 179 01

ทำความรู้จัก “กล่องรอดตาย”

The Sharpener จะพาทุกคนมารู้จักกับกล่องรอดตาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลผู้ป่วยนะคะ หลังจากตรวจเชิงรุก โดยรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน โดยผู้ที่ได้รับกล่องสามารถสแกนผ่านคิวอาร์โค้ดบนกล่องรอดตาย เมื่อสแกนแล้วแสดงว่าทุกท่านได้อยู่ในระบบเฝ้าติดตามออนไลน์ของเรา ในกล่องรอดตายนี้ ประกอบไปด้วยยา และเวชภัณฑ์ อีกทั้งยังมีข้อควรปฏิบัติและคำแนะนำทางออนไลน์จากสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.)​ กรมควบคุมโรค  และอาสาสมัครที่ผ่านการอบรมมาเพื่อดูแลผู้ป่วยกลุ่ม Home Isolation อย่างเข้มข้น ภายในกล่องรอดตายนี้ ประกอบไปด้วยยาและเวชภัณฑ์ทั้งหมด 7 รายการ ประกอบด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มก. 50 เม็ด  ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล 90 แคปซูล  เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ 1 แท่ง  เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1 เครื่อง  หน้ากากอนามัย 15 ชิ้น เจลแอลกอฮอล์ ปริมาณไม่เกิน 100 มก.  ถ่านไฟฉาย AAA 2 ก้อนสำหรับใส่เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว  นอกจากนี้กล่องรอดตายยังมีไฮไลต์สำคัญที่ช่วยดูแลผู้ป่วยผ่านระบบติดตามอาการบน Line Official “กล่องรอดตาย” (@survivalbox)  ที่มีแนวทางปฎิบัติตัวระหว่างรักษาตัวอยู่ที่บ้าน […]

Banner 178 01

Sharpen Your SDGs อแมนด้า ออบดัม

เทคนิคในการจัดการอารมณ์ จัดการกับแรงกดดันหรือว่าปลุกใจตัวเองอย่างไร ตอนอยู่บนเวที ถ้าใครได้เห็นการประกวดจะเห็นว่าด้ามีความสุขมากแต่มันเป็นการพูดคุยกับตัวเองนะคะ เพราะว่าด้าเคยเป็นโรค Bulimia และเป็นคนหนึ่งที่เคยไม่มั่นใจในตัวเองเลย ไม่รักตัวเอง ก็คือเป็นทุกอย่าง ไม่มีความมั่นใจ คือไม่มีอะไรเลย แล้วมีอยู่วันหนึ่งเรารู้สึกว่าเราต้องเปลี่ยนคำพูดที่เราพูดกับตัวเอง นั่นคือจุดเริ่มต้น เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราใจไม่ดีกับตัวเองเลย จะต้องแบบเฮ้ยทำไมเธอทำได้แค่นี้ ทำไมไม่ทำให้ดีกว่านี้ ผอมกว่านี้อีกสิ ทำไมไม่สวยเลย ซึ่งเราก็เริ่มเหมือนเปลี่ยนเสียงในหัวแล้วก็ใจดีกับตัวเองมากขึ้น แบบแค่นี้ไม่เป็นไรพรุ่งนี้เอาใหม่ได้ ทำให้มันเป็นเหมือน Step ที่ทำให้เราเพิ่มความมั่นใจ เริ่มรักตัวเองมากขึ้น แล้วตอนที่ด้าไปอยู่ที่นู่นเนี่ย ก็คือใช้เทคนิคนี้เลย แล้วก่อนที่จะบินไปก็บอกกับตัวเองแล้วว่าความกลัวทุกอย่างทิ้งไว้ที่ประเทศไทย พอไปถึงจะทำทุกวันให้ดีที่สุด ให้มีความสุขที่สุด เพราะเราก็ต้องอย่าลืมว่านี่คือครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราจะไม่สามารถกลับมาทำตรงนี้ได้อีก เพราะฉะนั้นต้องทำทุกวันให้ดีที่สุดเพื่อที่ในอนาคตเราจะไม่กลับมาแล้วต้องบอกตัวเองว่า ทำไมไม่ทำแบบนั้น แบบ What if ทำไมวันนั้นกลัว เพราะฉะนั้นเราก็พูดกับตัวเองว่าทำให้ดีที่สุด มีความสุขที่สุด แล้วตอนที่เราเดินออกมาบนเวทีก็ได้ยินเสียงคนตอบมือแล้วแบบ ไทยแลนด์ ไทยแลนด์ แล้วก็รู้สึกภูมิใจมากเลย มีความสุขมากที่อยู่บนเวทีตอนนั้น จริง ๆ มันไม่จำเป็นต้องกดดัน ไปทำให้ดีที่สุด สิทธิของ LGBTQIA+ใน ศตวรรษที่ 21 ในมุมมองของอแมนด้า ด้าคิดว่ามันมีความพัฒนามากขึ้น ด้ามองว่าความเท่าเทียมหรือ Equality […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner