‘สัตว์เลี้ยงแสนรัก’ กักตัวพร้อมผู้ป่วยโควิดได้หรือไม่
ท่ามกลางสถานการณ์โควิดระบาด นอกจากการระบาดในมนุษย์แล้ว มักเกิดคำถามตามด้วยความกังวลใจเกี่ยวกับการระบาดในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านที่พบผู้ติดเชื้อหรือที่หลายคนเรียกจนติดปากชวนเอ็นดูว่า “น้อง” ซึ่งจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เคยตีพิมพ์ออกมาต่างรายงานว่าโรคโควิด19 สามารถระบาดได้เช่นกันในสัตว์เลี้ยงภายในบ้านทั้งน้องแมวและน้องสุนัข รวมถึงสัตว์ที่ถูกเลี้ยงไว้ในสวนสัตว์อย่างเสือโคร่ง กอริลลา และตัวนาก และที่มากไปกว่านั้นยังเคยพบโควิดในสถานเพาะเลี้ยงสัตว์รูปแบบฟาร์มจำพวกตัวมิงค์อีกด้วย โดยหลักการติดเชื้อโควิด19 ในสัตว์นั้นมักเกิดขึ้นได้เฉพาะชนิดสัตว์ที่มีลักษณะตัวรับเชื้อไวรัส (viral receptor) สอดรับกับหนามของไวรัสพอดี เสมือนแม่กุญแจกับลูกกุญแจนั่นเอง ถ้าเข้าข่ายดังกล่าวไวรัสจึงจะสามารถเข้าไปในเซลล์และก่อโรคในสัตว์ได้ ในหมู่ของกลุ่มสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน แมวจะมีตัวรับไวรัสที่มีความไวจับเชื้อไวรัสโควิด19 ได้มากกว่าสุนัข ทำให้เราต้องให้ความระมัดระวังมากขึ้นหากต้องสัมผัสกับแมว แต่อย่างไรก็ตาม หากแมวติดเชื้อก็จะไม่แสดงอาการ หรือหากแสดงอาการก็จะมีเพียงจาม ไอเล็กน้อย และหายป่วยเองได้โดยไม่ต้องรักษา และขอย้ำว่าจนถึงในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ระบุว่าสัตว์เลี้ยงสามารถแพร่โรคโควิด19 มาสู่คนได้ จึงไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปเกินกว่าเหตุ ปล่อยทิ้งสัตว์เลี้ยงให้ออกจากบ้านกลายเป็นสัตว์จรจัด ในทางกลับกันเจ้าของเองควรกักสัตว์เลี้ยงไว้เฉพาะในที่พักอาศัยเท่านั้น และงดการพาออกไปเดินเล่นตามที่สาธารณะ อีกทั้งยังควรหมั่นสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง หากมีอาการไอ มีไข้ หายใจลำบาก ซึม จาม อาเจียน ท้องเสีย ควรแยกตัวที่ป่วยออกห่างจากสัตว์เลี้ยงตัวอื่น รีบโทรปรึกษาสัตวแพทย์ และหมั่นทำความสะอาดของใช้ของสัตว์เลี้ยงอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เมื่อเจ้าของสัตว์ติดเชื้อโควิด19 และอยู่ระหว่างการพักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน (Home isolation) ซึ่งแน่นอนว่าที่บ้านเรามีสัตว์เลี้ยงแสนรักอยู่กับท่านด้วย ท่านก็ยังสามารถดูแลสัตว์เลี้ยงได้ เพียงหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงโดยตรง เช่น การกอด จูบ หอม ให้น้องเลียมือ […]
‘กล่องรอดตาย’ สนจ. ทำ ‘Tech Transfer’ ให้ราชบุรี หนุนดูแลผู้ป่วยโควิดทางไกลผ่าน LINE Official
27 ส.ค.2564 ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ประจำปี 2564-2566 เป็นประธานเปิดการประชุมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีระบบติดตามอาการผู้ป่วย Home Isolation บนแพลตฟอร์ม LINE Official “หอผู้ป่วยกล่องรอดตาย” ที่พัฒนาโดย สนจ. ร่วมกับ The Sharpener ให้กับตำบลบ้านไร่ชาวเหนือ อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ท่ามกลางความสนใจจากคณะผู้แทนฝ่ายปกครองและอาสาสมัครตำบลบ้านไร่ชาวเหนือเข้าร่วมฟังคับคั่ง นำโดยนายวศิณ หุ่นกลอย สารวัตรกำนัน ทีมพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านไร่ชาวเหนือ นำโดยนางสาวอภิญา จันทร์แพง และ พญ.มุกรินทร์ เอี่ยมเมตตา ผู้แทนคณะแพทย์ประจำโรงพยาบาลดำเนินสะดวก ร่วมสังเกตการณ์ด้วย ตำบลบ้านไร่ชาวเหนือ เป็นพื้นที่ที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด19 สะสมสูงที่สุดในจังหวัดราชบุรี จำนวนทั้งสิ้น 221 ราย และได้ประสานขอรับความช่วยเหลือจาก สนจ. ขอเข้าร่วมเป็นเครือข่ายกล่องรอดตายในภูมิภาคตามโมเดล “จุฬาฯ-บ้านไร่ชาวเหนือ” โดยได้รับกล่องรอดตาย และจัดทำระบบติดตามอาการผู้ป่วย Home Isolation ทางไกลบนแพลตฟอร์ม LINE Official […]
ยาฝรั่ง ยาจีน ยาไทย หรือ ยาใจ อะไรดีกว่ากัน
จากการพูดคุยสนทนาผ่านช่องทาง Clubhouse ห้องกล่องรอดตาย ในหัวข้อ “ยาฝรั่ง ยาจีน ยาไทย หรือ ยาใจ อะไรดีกว่ากัน” เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คุณหมอหวา แพทย์หญิงเกวลี สุนทรมน หัวหน้าทีม Home Isolation สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) คุณหมอมิ้นท์ แพทย์จีนอรภา ศิลมัฐ รองคณบดีคณะการแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ คุณพิมพ์ ณัฏฐณี สุขปรีดี นักจิตวิทยาพัฒนาการ (เพจ Mature Your Child) ประธานชมรมนิสิตเก่าจิตวิทยา จุฬาฯ ซึ่งดำเนินรายการโดย คุณแมค อธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และผู้ร่วมก่อตั้งโครงการกล่องรอดตาย และคุณบิว เภสัชกรจักรพงศ์ สุวรรณกนิษฐ์ หัวหน้าทีมอาสาสมัครกล่องรอดตาย ฉายมุมมองสาระการรักษาด้วยศาสตร์การแพทย์หลากแผนหลายตำรับ ช่วยไขข้อข้องใจในประเด็นนี้ไว้อย่างน่าสนใจ […]
กล่องรอดตาย สแกนมา เราพารอด
ระบบติดตามอาการบน Line Official “กล่องรอดตาย” (@survivalbox) ศูนย์พักคอยทิพย์บนโลกออนไลน์สำหรับผู้ติดเชื้อโควิดขณะรอเตียง และเลือกรักษาตนเองที่บ้าน (Home Isolation) เริ่มตั้งแต่การจัดยาและเวชภัณฑ์ด้วยตนเอง แบบสอบถามสุขภาพ และฮอตไลน์สายด่วนช่วยให้ท่านติดต่อได้ในกรณีฉุกเฉิน เหมาะสำหรับผู้ติดเชื้อที่เพิ่งทราบผลตรวจไม่เกิน 7 วัน เริ่มเช็คความพร้อมก่อนเข้าสู่ระบบติดตามอาการได้แล้ววันนี้ เพียงเตรียมปรอทวัดไข้และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วให้พร้อม แล้วถ่ายรูปพร้อมแนบผลการตรวจด้วยวิธี RT-PCR หรือ Antigen Test Kit (ATK) ระบุสถานที่ตรวจ และอาการของท่าน ส่งข้อมูลกลับเข้ามาใน Line Official “กล่องรอดตาย” นี้ ทีมงานจะตรวจสอบข้อมูลและติดต่อกลับภายใน 48 ชั่วโมง ทั้งนี้ผู้ติดเชื้อควรลงทะเบียนในระบบ Home Isolation ของ สปสช. โทร 1330 กด 14 ควบคู่กันไปด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่านจัดกล่องรอดตายได้ด้วยตนเองที่บ้าน เราจึงรวบรวมช่องทางการสั่งซื้อยาและเวชภัณฑ์ทางออนไลน์พร้อมส่งตรงได้ถึงบ้านไว้ดังนี้ ยาพาราเซตามอล : http://www.bangkokdrugstore.co.th/ ยาฟ้าทะลายโจร : http://www.bangkokdrugstore.co.th/ เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ : https://www.facebook.com/digitalthermometer24/ […]
กว่าจะยืนหนึ่งได้ในเอเชีย : ความสำเร็จวันนี้ที่จุฬาฯ
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยคงต้องบอกว่าเรามีมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคม ในยุคที่ความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเร่งกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภาคเอกชนจึงมีความต้องการที่จะไม่เหมือนเดิม บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากการเป็นเพียงผู้สอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือการบริการทางวิชาการ ขยายสู่การเป็นผู้เชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ สร้างนวัตกร และเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เหตุนี้จึงนำมาสู่วิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการเป็น Innovations for Society มหาวิทยาลัยผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม เป้าหมายของมหาวิทยาลัยระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการผลิตคนให้ตอบโจทย์กับตลาดอุตสาหกรรม แต่เป็นการปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม (Community Engagement) โดยตัวชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำตอบโจทย์สังคมหรือไม่ คือดูว่าประชาชนหรือสังคมนั้นกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่ การดำรงชีวิตดีขึ้นไหม ยกตัวอย่างโครงการที่จุฬาลงกรณ์ฯ ทำ เช่นโครงการข้าวแสนกล่องเป็นหนึ่งในโครงการดี ๆ ที่เราเข้าไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำและเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน 4 ปัจจัยที่หนุนส่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 23 ของโลก มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย เรื่องแรกก็คือยุทธศาสตร์ (Strategy) เรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์นี้ มีกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ยุทธศาสตร์ที่ 2 […]