Banner 217 1

กล่องรอดตายจุฬาฯ
คว้ารางวัล “Digital Health” แห่งปี

24 ส.ค.65 ณ อาคารสัปปายะสภาสถาน รัฐสภา คณะกรรมการธิการการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะอนุกรรมาธิการศึกษาและพัฒนาการจัดบริหารสาธารณสุข ร่วมกับ สมาคมคอมพิวเตอร์ช่วยผ่าตัดแห่งเอเชีย (ASIAN SOCIETY OF COMPUTER AIDED SURGERY) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จัดประชุมสัมมนาวิชาการนานาชาติ “18 th Asian Conference on Computer Aided Surgery and Medicine: ACCAS 2022” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแสดงความก้าวหน้าการแพทย์ไทยที่ได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “นวัตกรรมดิจิทัลทางการแพทย์” เสริมสร้างความร่วมมือ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ระดับสากล และกระตุ้นให้นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ทางการสาธารณสุขให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ สุชาติ ตันเจริญ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานในพิธีเปิด เยี่ยมชมนิทรรศการ และได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้ที่มีผลงานด้าน Digital Health ดีเด่น เป็นผู้ริเริ่มและนำเทคโนโลยีดิจิทัลทางการแพทย์สู่ภาคปฏิบัติในประเทศไทย ผลปรากฏว่า สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) และคณะ […]

Banner 215

หุ่นยนต์ ‘Walkie’ ดังกระหึ่ม วิศวฯ จุฬาฯ คว้ารองแชมป์โลก

เมื่อประเทศไทยอยู่ในยุคสมัยแห่งสังคมผู้สูงวัยมาระยะหนึ่งแล้ว จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยที่เราจะได้เห็นตลาดสินค้าและบริการขานรับและพุ่งเป้าใส่ใจไลฟ์สไตล์คนสูงอายุ หรือกลุ่ม Eldery Care ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เราก็ได้เห็นความพยายามของหลายบริษัทยักษ์ใหญ่โดดลงมาชิงชัยแข่งกันปักธงในตลาดนี้โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิต “หุ่นยนต์” เร่งพัฒนานวัตกรรม ปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาประยุกต์เอื้อต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะตัว เข้าตำรา “คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ” เพราะคนตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เป็นลูกหลานหามาให้ไว้ใช้งานด้วยความห่วงใย หลายครอบครัวจึงกำลังมองหาหุ่นยนต์มาเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระการดูแลผู้สูงวัยในบ้าน ไม่เพียงบริษัทระดับโลกเท่านั้นที่กำลังแข่งขันพัฒนาหุ่นยนต์ แต่ในระดับผู้พัฒนาระดับจูเนียร์ลงมาอย่างกลุ่มนิสิตนักศึกษาทั่วโลกเองก็ทำได้เก่งกาจไม่แพ้กันเลยทีเดียว ล่าสุดกับการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติในรายการที่ใหญ่ที่สุดในโลก “RoboCup@Home 2022” ที่เวียนกลับมาจัดที่ประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2565 ทีมหุ่นยนต์สัญชาติไทยโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้แสดงศักยภาพความเก่งกล้าสามารถในด้านนี้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งโลก โดยคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งมาครองได้สำเร็จ The Sharpener, Sharpen your SDG จึงพลาดไม่ได้ที่จะพาทุกท่านมารู้จักกับ “น้องเอิร์ธ ธนโชติ” หัวหน้าทีม EIC Chula ผู้พัฒนาหุ่นยนต์น้อง ‘Walkie’ จนดังกระหึ่มโลก ธนโชติ สรรพกิจ หรือ เอิร์ธ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าชมรมหุ่นยนต์แห่งวิศวฯ […]

Banner 212

มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ร่วมกับ สนจ. จัดคอนเสิร์ตการกุศล Be Musical Charity Concert 2022 “You will be FOUND” ระดมทุนเพื่อ “คืนหัวใจ ให้ชีวิต” ในโอกาส 105 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาฯ

มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดย ผศ.นายแพทย์ ธนะรัตน์ ลยางกูร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) โดย อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมฯ จัดแถลงข่าว คอนเสิร์ตการกุศล Be Musical Charity Concert 2022 “You will be FOUND” ระดมทุน “คืนหัวใจ ให้ชีวิต” ผ่าตัดและสวนหัวใจเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หนึ่งในกิจกรรมสำคัญฉลอง 105 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ เหรัญญิกสนจ. ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน (ฝั่งสนจ.), พิมพ์ใจ โพธิภักติ ที่ปรึกษามูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน (ฝั่งมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ), สุดาพิมพ์ โพธิภักติ ผู้อำนวยการแสดงคอนเสิร์ตการกุศลฯ,เอฟ-รัฐพงศ์ ปิติชาญ ผู้เข้ารอบสุดท้าย Golden Song Season 2, ครูบี- สุชัญญ์ญา นรปฏิพัทธิ์ วอยซ์โค้ช AF และ KPN และอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ร่วมงานแถลงข่าวฯ  ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์  ​ผศ.นายแพทย์ ธนะรัตน์ ลยางกูร  ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ กล่าวว่า “มูลนิธิ            เด็กโรคหัวใจฯ ได้ดำเนินโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจด้วยการผ่าตัดและการใช้สายสวนนอกเวลาราชการ ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กยากจนที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดได้รับการผ่าตัดอย่างทันท่วงที ปัจจุบัน ในประเทศไทยจะมีเด็กเกิดใหม่ประมาณ 600,000 คนต่อปี และมีอัตราการเสี่ยงเป็นเด็กหัวใจพิการ        แต่กำเนิด 8 ต่อ 1,000 คน หรือประมาณ 5,000 คนต่อปี โดยครึ่งหนึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาแก้ไขความผิดปกติด้วยการสวนหัวใจหรือการผ่าตัด ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 35,000 บาทต่อคน หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับวิธีรักษา และ ความรุนแรงของโรค แต่เนื่องจากขีดความสามารถโดยรวมของทั้งประเทศยังไม่สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงทีกับปริมาณเด็กที่มีความต้องการในการรักษา ในอดีตจึงมีผู้ป่วยรอคิวผ่าตัดรอสะสมนาน ยาวเป็นปี หลายรายเสียชีวิตระหว่างการรอคิวผ่าตัด ​ณ ปัจจุบัน ด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ที่สนับสนุนให้มีการผ่าตัดนอกเวลาราชการ ทำให้ปัจจุบันคิวการผ่าตัดในเวลาราชการดีขึ้นมาก ปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบัน คือ ต้องให้ความช่วยเหลือเด็กที่อายุน้อยลง […]

Banner 206

“สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ” ผนึกกำลัง “ไปรษณีย์ไทย” ส่งกล่องรอดตายชุดแรกพร้อมขึ้นระบบ Virtual Ward อุ้มคนกระบี่นับพัน สู้โควิดระลอกใหม่

24 ก.พ.65 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ในฐานะนายก สนจ. เป็นประธานในพิธีส่งกล่องรอดตาย พร้อมระบบติดตามอาการ Virtual Ward ให้ ดร.พิมพ์รพี พันธุ์วิชาติกุล ประธานชมรมนิสิตเก่าจุฬาฯ จังหวัดกระบี่ เพื่อรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมครอน” ที่กลับมาระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ที่พบผู้ติดเชื้อจากการตรวจ RT-PCR และ ATK สะสมตลอด 10 วัน (14 – 23 ก.พ.65) รวมทั้งสิ้น 9,246 คน โดยกล่องรอดตายจำนวน 1,000 กล่องนี้ ภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจดูแลคนไทย “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” ขันอาสานำส่งลงพื้นที่ไปยังจังหวัดกระบี่โดยเร็วที่สุด ในการนี้ นายสาคร เกี่ยวข้อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดกระบี่ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก สนจ. […]

banner SDG 02

ลูกติด โควิด-19…ทำไงดี…???

“ลูกน้อย” เปรียบเสมือน “กล่องดวงใจ” ของพ่อแม่ เมื่อลูกน้อยเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อย พ่อแม่ทุกคนคงอยากจะเจ็บป่วยแทนลูก เพื่อแบกรับความทุกข์ทรมานจากการป่วยไข้แทนลูก ถ้าสามารถทำได้….. ในสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกนี้ เมื่อโอมิครอน ย่างกรายเข้ามาในทั่วทุกมุมโลก เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ เมื่อลูกน้อยได้รับเชิ้อ โควิด เราควรทำอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุด ไม่ตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูก….. กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 อาจจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้กรณีที่ 1 เด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาโดยอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจาก ผู้ปกครองกรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กควร มีคนเฝ้า เพื่อให้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง 7 โรค อายุไม่เกิน 60 ปี ไม่มี โรคประจำตัว และป้องกันตัวได้อย่างดีกรณีที่ 3 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็ก พิจารณาใช้พื้นที่สถานเลี้ยงดูเด็ก เล็กเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสมกรณีที่ 4 กรณีต้องการรักษาที่บ้านสำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner