F63FEBCC 48F7 4407 9D3C 75CD0570586A

มหาวิทยาลัยในอังกฤษกว่า 30 แห่ง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19

Sky News รายงานว่ามหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษอย่างน้อย 33 แห่ง ยืนยัน ว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษเพิ่งเปิดเทอมเมื่อต้นเดือนกันยายน และ Sky News รายงานว่า มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 717 คน ซึ่งมีทั้งนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัย ทางด้าน BBC รายงานว่าจากการติดตามรายงานข่าวของสื่อท้องถิ่นพบว่ามีมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 40 แห่ง จากทั้งหมด 130 แห่ง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สื่อมวลชนอังกฤษรายงานว่า การพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่งผลให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องมีคำสั่งให้นักศึกษาหลายพันคนกักตัวเอง ณ ที่พัก เช่นที่มหาวิทยาลัย Manchester Metropolitan มีคำสั่งให้นักศึกษา 1,700 คนกักตัวสังเกตอาการ ภายหลังพบผู้ติดเชื้อ 127 คน ส่วนมหาวิทยาลัย Glasgow สั่งให้นักศึกษา 600 คนกักตัวสังเกตอาการ หลังจากพบผู้ติดเชื้อ 172 คน ภายใต้สถานการณ์ระบาดระลอกใหม่ มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศอังกฤษจึงจัดการเรียนการสอนแบบผสมทั้งเรียนทางออนไลน์ และในชั้นเรียน เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ตอนนี้จึงมีเสียงเรียกร้องทั้งจากนักศึกษาและนักการเมือง ขอให้มหาวิทยาลัย คืนเงินค่าเทอมบางส่วนให้นักศึกษาเพื่อชดเชยกับการเรียนออนไลน์ ทำให้นักศึกษาขาดโอกาสในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่มหาวิทยาลัย […]

2CCD78B5 AFB5 4F5E 9FF2 5923DE954981

สิ่งที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช

ตลอดระยะเวลากว่า 9 เดือนที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ล่าสุด (22 ก.ย. 63) สถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง มียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นถึง 31,196,543 ราย ในจำนวนนี้รักษาตัวหายแล้ว 21,348,410 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 962,793 ราย โดยอินเดียเป็นประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงที่สุดในโลก และเมื่อขยับเข้ามาใกล้ในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยทั้งเมียนมาและมาเลเซียเองต่างยังคงต้องปิดประเทศและกำลังรับมือกับยอดผู้ป่วยสะสมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลังเกิดการระบาดครั้งใหม่ ทางด้านฟิลิปปินส์เองก็มีสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงสุดถึง 3,447 ราย ทำให้ขณะนี้ยอดรวมผู้ติดเชื้อแดนตากาล๊อกมีทั้งสิ้น 290,190 รายแล้ว หันมาดูแดนอิเหนาอินโดนีเซียแม้จะมีแนวโน้มยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง แต่ยอดผู้ติดเชื้อสะสมยังอยู่ในระดับสูงถึง 248,852 ราย โดยเมื่อดูสถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้านของเราแล้ว แม้เราจะควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไว้ได้อย่างเข้มแข็งผ่านมาตรการต่าง ๆ แต่ก็มิอาจจะอยู่รอดได้อย่างโดดเดี่ยว เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยนอกจากจะต้องพึ่งพาการส่งออกแล้ว ยังต้องพึ่งพาเม็ดเงินจากนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายแสนล้านบาทต่อปี นอกจากการรักษาผู้ติดเชื้อจำนวนมากไปตามอาการเท่าที่จะมีองค์ความรู้และเวชภัณฑ์จะช่วยประคองสถานการณ์ไปได้ระดับหนึ่ง แต่การป้องกันผู้ที่ยังแข็งแรงดีอยู่อีกนับล้านคนให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคน่าจะเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติที่ทุกคนเฝ้ารอ “วัคซีนป้องกันโควิด-19” จึงเป็นคำตอบที่ช่วยกอบกู้สถานการณ์ร้ายให้กลับกลายดี เราจึงได้เห็นความพยายามและความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนหลากรูปแบบจากหลายประเทศทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน แม้ว่าเร็ว ๆ นี้จะมีข่าวดีจากรัสเซียที่ประกาศใช้วัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19“Sputnik-V” ไปแล้วเป็นชาติแรกของโลกก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ากำลังการผลิตวัคซีนจะสามารถตอบสนองได้ทุกความต้องการได้ทันทีทันใดในเมื่อพลเมืองโลกมีมากถึงเกือบ 7 พันล้านคน แล้วคนชาติใดกันเล่าจะเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ก่อน และคนไทยอย่างเรามีสิทธิ์จะได้รับวัคซีนกับเขาด้วยหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังเฝ้าลุ้นกันอยู่  จนเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีอีกหนึ่งความคืบหน้าซึ่งเป็นความหวังที่พาให้คนไทยใจชื้น เมื่อสตาร์ทอัพสัญชาติไทย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” นำโดย รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คู่หู Co-founder พ่วงดีกรีอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก  The Sharpener จึงไม่อยากให้คุณพลาดอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญนี้ของวงการสาธารณสุขไทยที่อาจเป็นนิยามใหม่ของวงการพัฒนาวัคซีนโลก กับ “7 สิ่งที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช” 1. ใบยา ไฟโตฟาร์ม คือ สตาร์ทอัพสัญชาติไทย […]

4B137CD4 AFB6 4559 B534 4D0AC874B059

“จุฬาฯ – ใบยา” เดินหน้าประกาศความสำเร็จวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาสังคม Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19” นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 14.00-15.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยมี ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดงานร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ และได้รับเกียรติจาก นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทและการสนับสนุนศักยภาพการผลิตวัคซีนในประเทศไทย ภายในงานเสวนามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย […]

Banner 234.1

สัญญาณโควิดระลอก 2 ! UKพบคนไข้รายวันสูงสุดตั้งแต่พ.ค. ฝรั่งเศสติดเชื้อวันเดียว 7 พัน

สหราชอาณาจักรพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากถึง 2,988 คนในวันอาทิตย์ (6ก.ย.) สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แมตต์ แฮนค็อค รัฐมนตรีสาธารณสุขยอมรับน่ากังวล แม้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว ขณะที่สถานการณ์ในฝรั่งเศส กลับมาอยู่ในขั้นวิกฤตอีกครั้ง หลังพบผู้ติดเชื้ออีกกว่า 7,000 คนในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา “การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อที่เราพบเห็นในวันนี้ เป็นสิ่งที่น่ากังวล” แมตต์ แฮนค็อค รัฐมนตรีสาธารณสุขแห่งสหราชอาณาจักรกล่าว “หลักๆแล้วการติดเชื้อเกิดขึ้นในหมู่วัยรุ่น แต่ก็อย่างที่เราพบเห็นในประเทศอื่นๆทั่วโลกและในยุโรป ว่าการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อในหมู่คนหนุ่มสาวในลักษณะนี้ อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในทั่วทุกกลุ่มประชากร” เขาบอกว่าทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แนวโน้มของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19รายวันในสหราชอาณาจักร เริ่มเพิ่มขึ้นมาหลายสัปดาห์ แม้จำนวนคนไข้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและยอดผู้เสียชีวิตยังคงอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลสหราชอาณาจักรระบุว่าในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา พบผู้เสียชีวิตเพียง 2 ราย ภายในเวลา 28 วันนับตั้งแต่มีผลตรวจโควิด-19 ออกมาเป็นบวก ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมของประเทศอยู่ที่ 41,551 คน แฮนค็อคบอกว่ารัฐบาลจะเดินหน้าใช้มาตรการล็อกดาวน์ระดับท้องถิ่นเพื่อช่วยสกัดการแพร่ระบาดของไวรัส แต่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ยังคงมีความสำคัญลำดับต้นๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อในสหราชอาณาจักร สอดคล้องกับสถานการณ์ของโควิด-19 ในฝรั่งเศส ที่ไวรัสกลับมาแพร่ระบาดรอบใหม่ แม้ตัวเลขในวันอาทิตย์ (6ก.ย.) จะลดลงจากช่วง 2 […]

Banner 234

‘หมอธีระวัฒน์’ ปลุกคนไทยอย่าหย่อนวินัย เตือนติดโควิดแพร่เชื้อได้ถึง30วัน !

วันนี้ (7 ก.ย. 63) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์โรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สิ่งที่ต้องตระหนักในประเทศไทยก็คือมีคนที่ติดเชื้อแพร่เชื้อได้โดยไม่มีอาการอยู่แล้ว ทั้งนี้ถ้าคนที่ติดเชื้อไม่ได้เปราะบางก็จะแพร่เชื้อไปได้ 20 ถึง 30 วันก็ได้ และหยุดแพร่  แต่ถ้าตนเองมีวินัยใส่หน้ากาก รักษาระยะห่าง ล้างมือ ก็ไม่สามารถปล่อยเชื้อไปให้ผู้อื่น และคนอื่น ๆ ที่มีวินัยเช่นกัน ก็ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าตนเองได้ แต่ถ้าเมื่อใด ที่เริ่มผ่อนคลายวินัย เชื้อจากคนที่ไม่มีอาการเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ เริ่มแพร่เป็นลูกโซ่ และในที่สุดก็จะเจอคนที่อาจไม่แข็งแรงนัก และได้รับเชื้อค่อนข้างมาก จนเกิดอาการขึ้นและในที่สุดก็จะเริ่มเห็นอาการหนักเข้าโรงพยาบาล การตรวจหาว่ามีคนติดเชื้อโดยไม่มีอาการหรือไม่มากน้อยเพียงใดในแต่ละพื้นที่ด้วยการตรวจเลือดจะเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อการวางแผนให้รัดกุม และถ้าตรวจเลือดได้ผลบวกจึงค่อยตรวจว่ามีเชื้อปล่อยออกมาได้หรือไม่ด้วยการแยงจมูก  แต่โดยสรุป การรักษาวินัยดังที่ผ่านมา จะทำให้ระบบสาธารณสุขอยู่รอดได้ และคนไทยปลอดภัย หมายเหตุ ข้อมูลหลักฐานการแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการในพื้นที่ต่างๆ จะได้นำเสนอโดยคณะทำงานเร็วๆ นี้ครับ ที่มา https://www.thaipost.net/main/detail/76719

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner