รู้ไว้ อุ่นใจกว่า กับข้อควรปฏิบัติหากต้องเข้าพักในโรงพยาบาลสนาม
หลังจากการระบาดรอบล่าสุดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน 2564 ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อรวดเร็วกว่ารอบก่อน และยังไม่มีทีท่าว่าจะ “เอาอยู่” ดังเช่นที่ผ่านมา จนทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดสะสมทั่วประเทศมากกว่า 5 หมื่นรายแล้วนั้น จนเกรงกันว่าอาจเกินศักยภาพของสถานพยาบาลที่มีอยู่จะรับได้ โดยการระบาดรอบนี้ได้กระจายตัวครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยแต่ละพื้นที่จะถูกกำหนดว่ามีความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันไป ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข โดยได้แบ่งพื้นที่เสี่ยงออกเป็นสีต่าง ๆ จำนวน 5 สี ดังนี้ 1. พื้นที่สีแดงเลือดหมู หรือแดงเข้ม คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดมากที่สุด และมีการคัดกรองเข้าออกมากที่สุดยิ่งกว่าพื้นที่สีแดง มีทั้งหมด 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, เชียงใหม่, นนทบุรี, ปทุมธานี และสมุทรปราการ 2. พื้นที่สีแดง คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุด มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 พื้นที่ มีทั้งหมด 45 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, ขอนแก่น, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชัยภูมิ, เชียงราย, […]
ทำความรู้จัก “หมอพร้อม” เวอร์ชั่น 2 LINE OA
หลังจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่ ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน จนถึงขณะนี้สามารถฉีดวัคซีนครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด รวมกว่า 1.2 ล้านโดส มีผู้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว กว่า 1 ล้านคน และรับวัคซีนครบ 2 เข็มอีกกว่า 2 แสนคน ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยทีมแพทย์ เปิดตัว Line Official Account “หมอพร้อม เวอร์ชั่น 2” รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยมี 4 […]
อ่านการ์ตูนสู้โควิดกับ “KnowCovid” จากสำนักพิมพ์การ์ตูนบรรลือสาส์น
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชนที่ได้รับข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับโรคร้ายดังกล่าวจากหลากหลายช่องทางในแต่ละวัน จนอาจก่อให้เกิดความเครียดขึ้นนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ (UN) องค์การอนามัยโลก (WHO) กระทรวงสาธารณสุข ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ และบันลือกรุ๊ป (สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น) ในนามขายหัวเราะสตูดิโอ จัดทำชุดการ์ตูนความรู้ KnowCovid เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนในการรับมือกับเชื้อโควิด-19 ภายใต้แนวคิดที่ว่า “Laughter is the best medicine” การหัวเราะเป็นยาที่ดีที่สุดของชีวิต ซึ่งการ์ตูนชุดดังกล่าวอัดแน่นไปด้วยสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรู้เท่าทันโรคร้ายดังกล่าวผสมผสานกับอารมณ์ขันจากนักเขียนชื่อดัง อาทิ ต่าย ขายหัวเราะ (ภักดี แสนทวีสุข) เอ๊าะ ขายหัวเราะ (ภูวดล ปุณยประยูร)เฟน สตูดิโอ (อารีเฟน ฮะซานี) และนักเขียนท่านอื่นอีกหลายท่าน การ์ตูนชุดนี้นำเสนอการใช้ชีวิตในรูปแบบ “ความปกติใหม่” หรือ “New normal” ผ่านวิถีชีวิตของตัวละครที่ผู้อ่านหนังสือการ์ตูนชุดขายหัวเราะคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นวิธีสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง การล้างมือเป็นประจำ การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง มาตรการจัดการขั้นเด็ดขาดในการทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ ผลกระทบของความเครียดที่นำไปสู่ภาวะความรุนแรงในครอบครัวต่อเด็กและสตรี รวมถึงการสร้างความเข้าใจของคนในสังคมต่อผู้ติดเชื้อหรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การควบคุมการแพร่ระบาด ให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งแนะนำวิธีการรับมือกับเชื้อโควิด-19 ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง […]
แหวกม่าน “วัคซีนโควิด” กับภารกิจเพื่อชาติของสองพ่อลูก “พูลเจริญ” นายแพทย์วิพุธ – รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ
หากเอ่ยถึงแวดวงสาธารณสุข หลายคนคงคุ้นเคยชื่อ และความสามารถของ ‘นายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ’ อดีตผู้อำนวยการกองโรคเอดส์และกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิวิจัยและพัฒนานโยบาย เวลาหมุนผ่านมาถึงปัจจุบันที่โลกเผชิญหน้ากับโควิด-19 นามสกุลพูลเจริญ ได้รับการพูดถึงอีกครั้ง แต่หนนี้คือ ‘รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ’ หรือ ‘อาจารย์แป้ง’ ลูกสาวของคุณหมอวิพุธ ที่ถอดดีเอ็นเอความเก่งมาจากพ่อ นอกจากเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แล้ว เธอคือผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ บริษัทสตาร์ทอัพเพื่อวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช อันเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย’ ที่ชวนคนไทยร่วมระดมเงินบริจาคพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งวันนี้อยู่ในขั้นเตรียมพร้อมสำหรับทดสอบในมนุษย์ ‘The Sharpener’ นัดสัมภาษณ์พิเศษคุณหมอวิพุธ และอาจารย์แป้ง ถึงการทำงานต่อสู้ไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มข้น จากใบยา ถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 อาจารย์แป้งเล่าถึงจุดเริ่มต้นบนเส้นทางงานวิจัย “เราเริ่มศึกษาเรื่องโปรตีนจากพืช ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอก สาขา Plant Biology ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 15 ปีก่อน ตอนนั้นได้ร่วมทีมวิจัยวัคซีนอีโบลา หลังจากเรียนจบก็ไปทำงานเกี่ยวกับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งหมดใช้แพลตฟอร์มเดียวกันคือ โปรตีนจากพืช และเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน เราและ ‘อาจารย์บิ๊บ – ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ’ ได้ร่วมกันก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ สตาร์ทอัพที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช และเมื่อต้นปีที่แล้วที่มีคนไทยเริ่มติดเชื้อโควิด-19 เราจึงเริ่มผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในห้องแล็บทันที” “แต่ก้าวแรกของ ใบยา ไฟโตฟาร์ม ไม่ง่ายเลยค่ะ เนื่องจากยาชีววัตถุเป็นเทคโนโลยีใหม่ เวลานำเสนอให้หลายที่พิจารณาเงินทุน จึงไม่ได้รับความสนใจมากนัก เรากับ อ.บิ๊บ จึงตัดสินใจใช้เงินส่วนตัวลงขันกันหลายล้านบาทเพื่อให้ได้ลุยงานต่อ […]
‘จุฬาฯ-ใบยา’ ไม่หวั่นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ เร่งพัฒนาวัคซีนรุ่น 2 คืบหน้า เตรียมรับมือระบาดซ้ำ ชวนคนไทย ‘สู้ไม่หยุด’ ร่วมเป็นทีมไทยแลนด์บริจาคได้ถึงสิ้นปี 64
แคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย #ทีมไทยแลนด์” จากกระแสข่าวพบไวรัสโควิด-19 ในอังกฤษและแอฟริกาใต้กลายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและกักตัวใน State Quarantine เป็นเหตุให้หลายฝ่ายกังวลว่าวัคซีนที่นำเข้ามาอาจใช้ไม่ได้ผลนั้น ศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ รพ.จุฬาฯ มั่นใจว่าปัจจุบันมาตรการต่างๆ ของรัฐ โดยเฉพาะการตรวจเชิงรุกยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อติดตามการแพร่ระบาด และศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงสารรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเอาชนะไวรัสนี้ได้ แต่การมีแพลตฟอร์มพัฒนาวัคซีนได้เองในประเทศจะยิ่งสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทยได้ ไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์ไปก็ยังสามารถปรับวัคซีนสู้ได้ทัน ด้าน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ เดินหน้าพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 เตรียมรับมือหากระบาดระลอกใหม่ ดันแคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย” ขอบคุณและชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคได้ถึงสิ้นปี 2564 เร่งผลิตวัคซีนทดสอบในมนุษย์ได้ทันกลางปีนี้ สถานการณ์ล่าสุดเมื่อโควิด-19 กลายพันธุ์ แค่วัคซีนเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ‘ไวรัสโคโรนา สามารถกลายพันธุ์ปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งนอกจากจะมีไวรัส SARS แล้วยังพบว่ามีไวรัสชนิดอื่นแฝงอยู่ด้วย จนทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าหากไวรัสรวมตัวกันอาจก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ขึ้นมาได้อีก ซึ่งถือเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของไวรัสที่อาจกลายพันธุ์เพื่อให้อยู่รอดได้ในทุกสภาวะ ไม่ว่าจะแพร่จากสัตว์สู่มนุษย์ หรือมนุษย์สู่มนุษย์ ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาแพลตฟอร์มหรือกระบวนการผลิตวัคซีนรองรับเหตุการณ์ หรือโรคอุบัติใหม่ให้ทันการณ์ อย่างไรก็ตามเวลานี้ ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าไวรัสโควิด-19 จะกลายพันธุ์ไปได้อีกกี่สายพันธุ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเฝ้าติดตามและตรวจเชิงรุก ติดตามการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ซึ่งศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ คาดการณ์ว่าจะเริ่มตรวจเชิงรุกภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 […]