Banner 155 1

จุฬาฯ จับมือเครือข่าย ฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ เปิด ‘ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ’ เร่งอุ้มคลองเตยกักตัวนับหมื่น

(7 พ.ค.64) สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ มูลนิธิคุวานันท์ บริษัท เวิลด์ รีวอร์ด โซลูชั่น จำกัด และโครงการ ฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ (FFF- Food For Fighters) เปิดพื้นที่ตั้ง “ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ” เป็นศูนย์กลางรับบริจาคและกระจายวัตถุดิบ อาหารกล่อง และสิ่งของที่จำเป็น เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลสนาม ชุมชนแออัด และกลุ่มพื้นที่เปราะบางในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค.นี้ เป็นต้นไป เร่งระดมเครือข่าย สนจ. ผนึกกำลัง FFF เชื่อมต่อกระจายทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าไปยังแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนผู้ที่เข้าพักรักษาตัวใน รพ.สนาม และผู้ที่กักตัวในชุมชนแออัด ภายใต้แนวคิด “รับจากส่วนที่เกิน – เติมเต็มและส่งต่อส่วนที่ขาด” คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ เลขาธิการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์​ (สนจ.)  กล่าวว่า […]

dd 3

โค้งสุดท้าย สนจ.รุดส่งข้าว 4,000 กล่อง

23 มิ.ย. 2564 นายมกร พงษ์ธนพฤกษ์ เลขาธิการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) พร้อมด้วยนายสุทธิพันธ์ วรรณวินเวศน์ และนายอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร กรรมการอำนวยการสนจ. เป็นตัวแทนส่งมอบอาหาร 4,000 กล่อง ให้เครือข่าย Food For Fighters โดยส่งวันละ 500 กล่อง ต่อเนื่องจนสิ้นสุดภารกิจ เพื่อนำส่งชุมชนที่ยังต้องกักตัวและได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดใหม่ของโควิด-19  วันนี้เครือข่าย Food For Fighters นำส่งอาหารกล่องให้กับโรงพยาบาลสนามและชุมชนแออัดอีก 12 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางบางขวาง มูลนิธิดวงประทีป ชุมชนเเฟลต 29 ดินเเดง ชุมชนคลองเตยล็อก 1-2-3 และ 4-5-6 ชุมชนริมคลองวัดสะพาน ชุมชน 70 ไร่ ชุมชนบ้านมั่นคง ชุมชนศิริภาพ และชุมชนพัฒนาใหม่ โดยมีโรงพยาบาลสนามราชพิพัฒน์2 (วัดศรีสุดาราม) ติดต่อขอรับการสนับสนุนเข้ามาเป็นครั้งแรก   ภารกิจวันที่ […]

Banner 150

กู้วิกฤตหลังม่านแรงงานไทย จุฬาฯ จับมือ ก.แรงงาน จัดตั้งศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ ยกระดับแรงงานไทยเทศทุกมิติ

ปัญหาแรงงานที่เรื้อรังมานับสิบปี เป็นปฐมเหตุให้เกิดความพยายามจากหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมกันสางปัญหานี้ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาคือหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญที่นำองค์ความรู้ ทักษะ และงานวิจัยมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนในหลายประเด็น อาทิ การดูแลสิทธิและสวัสดิการแรงงาน ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เปรียบดั่งเป็นวาระแห่งชาตินี้ โดยทำหน้าที่เป็นเข็มทิศนำทางบ่งชี้แก่นแท้ของปัญหา บอกเล่าความท้าทาย และพยากรณ์แนวโน้มที่ทั้งอาจส่งผลกระทบกับประเทศไทยอันมีปัจจัยมาจากแรงงาน โดย ศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Collaborating Centre for Labour Research, Chulalongkorn University ; CU-ColLaR) ซึ่งมีภาคีศูนย์ประสานงานกว่า 45 องค์กร จึงได้ร่วมกันศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแรงงานใน 16 หัวข้อ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลรวม 2,473 ครั้ง ทั้งเรื่องสวัสดิการและคุณภาพชีวิตแรงงาน ค่าจ้างและรายได้ การจ้างงาน ว่างงาน เลิกจ้าง และอื่นๆ นอกจากนี้ CU-ColLaR ยังได้ดำเนินงานในกรอบงานวิจัยเกี่ยวกับแรงงานร่วม 10 กิจกรรม เช่น รูปแบบการจ้างงานและการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับงานในอนาคต: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศไทย ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการจ้างงานและแนวทางการพัฒนาทักษะบุคลากรระดับองค์กรและระดับอุตสาหกรรม เก็บข้อมูลเชิงลึกจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ ณ สถาบันเทคโนโลยีสุมิพล (SIMTEC) แรงงานไทยเดินทางไปทำงานในไต้หวัน: แนวโน้มตลาดแรงงาน สภาพการทำงาน การคุ้มครองแรงงาน […]

Banner 148

จุฬาฯ ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรมระบบกรองน้ำบาดาลดื่มได้ต้นแบบ ใช้ถ่านกระดูกแก้ฟลูออไรด์เกินมาตรฐาน

น้ำบาดาล ถือเป็นแหล่งน้ำสำรองที่คนไทยใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตจ่ายน้ำประปาของทั้งการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านในพื้นที่บริเวณดังกล่าวนิยมขุดเจาะสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยประเทศไทยมีแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่อยู่ 5 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ พื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนใต้ (พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง) พื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนเหนือ พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง พื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ และพื้นที่ราบลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลําพูน โดยในปี พ.ศ.2551 สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาลได้สำรวจข้อมูลทางอุทกธรณีวิทยา พบว่าแหล่งน้ำบาดาลสำคัญในพื้นที่ภาคเหนือของไทยอย่างพื้นที่ราบลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนนั้น มีปริมาณฟลูออไรด์เฉลี่ยสูงเกิน 1.5 ppm ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานน้ำเพื่อการบริโภคที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดไว้ไม่ให้ค่าฟลูออไรด์สูงเกิน 0.7 ppm อันเป็นผลมาจากสภาพภูมิประเทศที่มีคุณลักษณะพิเศษเป็นเขตภูเขาและหุบเขาสลับซับซ้อนของภาคเหนือ กล่าวคือ เมื่อน้ำผิวดินไหลผ่านชั้นหินที่มีปริมาณฟลูออไรด์สะสมอยู่มาก ไหลชะลงมาจนกลายเป็นน้ำบาดาล จึงทำให้น้ำบาดาลในแหล่งนี้มีปริมาณฟลูออไรด์สะสมอยู่สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไปด้วย   แม้ว่าฟลูออไรด์จะเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญนำมาใช้รักษาสุขภาพช่องปากและป้องกันฟันผุได้ดีในมนุษย์ แต่หากได้รับในปริมาณที่สูงมากเกินไปในระยะยาวอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของผู้ใช้น้ำบาดาล อาทิ ฟันตกกระ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สมรรถนะของสมองทำงานลดลง ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนากระบวนการกำจัดฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำในพื้นที่ห่างไกลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศจึงจำเป็นอย่างยิ่งยวด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักบริหารกิจการนิสิต และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ภายใต้การสนับสนุนจาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และ มูลนิธิรากแก้ว เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพคนไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมระบบกรองน้ำบาดาลต้นแบบ โดยพัฒนากระบวนการการดูดซับ (Adsorption) […]

banner9 01

ด่วน! ส่งข้าว 500 กล่องอุ้มสวนหลวง-ประเวศ หลังติดโควิด 32 ราย

19 มิ.ย. 2564 ภารกิจข้าวแสนกล่อง โดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) และเครือข่าย Food For Fighters เร่งส่งอาหาร 500 กล่องพร้อมถุงยังชีพ 80 ชุด เยียวยาชุมชนหลังวัดปากบ่อ ถนนอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมชนล่าสุดที่ได้ประสานขอรับความช่วยเหลือเข้ามาหลังพบผู้ติดเชื้อ 32 ราย จนมีผู้เดือดร้อนกว่า 200 ครัวเรือน  นอกจากนี้ยังนำส่งอาหารกล่องให้กับโรงพยาบาลสนามและชุมชนแออัดอีก 15 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนามจุฬาฯ โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางบางขวาง มูลนิธิดวงประทีป ตรอกบ้านสายรัดประคด ชุมชนคลองเตยล็อก 1-2-3 และ 4-5-6 ชุมชนริมคลองวัดสะพาน ชุมชน 70 ไร่ ชุมชนบ้านมั่นคง ชุมชนวัดเเคนางเลิ้ง ชุมชนเชื้อเพลิง 1 และ 2 ชุมชนเย็นอากาศ ชุมชนริมคลองสามัคคี และ ชุมชนร่มเกล้า ภารกิจวันที่ 34 ของข้าวแสนกล่องนั้นได้รับมอบอาหารกล่องเพื่อนำส่งให้ชุมชนแออัดที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner