ฟื้นลุ่มน้ำน่านด้วยสหศาสตร์จุฬาฯ
จังหวัดน่านกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนสารเคมีในธรรมชาติ โดยมีการขยายตัวของทั้งเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวไปยังผืนป่าและการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูกาลในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำได้นำไปสู่การใช้สารเคมีในปริมาณมาก จากรายงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2551 พบการใช้สารเคมีทางการเกษตรสูงถึง 1,172.7 ตันต่อปี โดยสารฆ่าวัชพืชนั้นอยู่ในอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 92.04 แม้ว่าสารฆ่าวัชพืชจะสามารถสลายตัวไปได้เองตามธรรมชาติ หากบางส่วนยังคงหลงเหลือตกค้างเพราะมีค่าครึ่งชีวิตนานถึง 10 ปี ส่งผลให้ศักยภาพของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลดลงจนเกิดผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวทั้งปัญหาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม หน้าดินถูกกัดเซาะพังทลาย อุทกภัยที่อาจชะล้างสารเคมีทางการเกษตรลงสู่ลำน้ำ สารพิษตกค้างในสัตว์น้ำที่ชุมชนนิยมนำไปบริโภค เช่น ปูนา กบหนอง หอยกาบน้ำจืด และปลากระมัง กระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนตามมาเป็นลำดับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จึงได้จัดทำโครงการวิทยาเพื่อพื้นถิ่นซึ่งเป็นโครงการตามแผนพัฒนาวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อวิจัยและพัฒนาการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นในลุ่มน้ำน่านแบบบูรณาการในพื้นที่จังหวัดน่านมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดวิกฤติการณ์อุทกภัยใหญ่ในปี พ.ศ. 2561 สร้างความเสียหายรุนแรงในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน เกิดการชะล้างสารเคมีทางการเกษตรลงสู่แหล่งน้ำอย่างกว้างขวางจนอาจสร้างผลกระทบกับทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ คณะวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ติดตามและตรวจสอบคุณภาพน้ำ ตะกอนดิน พื้นดิน รวมถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ “ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำน่านและลำน้ำสาขา” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” ในโครงการพระราชดำริของพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน โดยอาศัยแผนที่ลุ่มน้ำน่านในระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศของโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” ครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำน่านและลำน้ำสาขาจากแหล่งต้นน้ำจนถึงเขื่อนสิริกิติ์ในพื้นที่ 15 […]
เปิดภารกิจเครือข่ายมหาวิทยาลัยผู้พิทักษ์ผืนป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำโขง
ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิต (life supporting system) ที่เชื่อมโยงกันทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์หลากชนิด และยังมีคุณค่ากับมนุษย์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยพื้นที่ชุ่มน้ำยังจัดเป็นนิเวศบริการ (ecosystem services) ที่ส่งมอบนานาประโยชน์จากธรรมชาติสู่มนุษย์หลากหลายด้าน อาทิ แหล่งกักเก็บน้ำและชะลอการไหลของน้ำ กักเก็บธาตุอาหาร ดักจับสารพิษ ป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง เป็นแหล่งอนุบาลและแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์ เป็นเส้นทางคมนาคม ตลอดจนเป็นพื้นที่ศึกษาเรียนรู้และพักผ่อนหย่อนใจ สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ราว 36,616.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,885,100 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด แบ่งเป็นพื้นที่น้ำจืดร้อยละ 44.8 และพื้นที่น้ำเค็มร้อยละ 55.2 ซึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยกำลังตกอยู่ในสภาวะถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องจากกิจกรรมพัฒนาและบุกรุกในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการเกษตร การประมง การขยายตัวของเมือง และการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เฉกเช่นเดียวกับพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตลุ่มน้ำโขง ที่แม้ว่าจะยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำเหลือแต่กำลังเผชิญกับความเสื่อมโทรมและไม่ได้รับความใส่ใจอนุรักษ์และจัดการอย่างเป็นระบบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในข้างต้น จึงแสวงหาแนวทางการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแบบองค์รวมโดยร่วมลงนามในข้อตกลงก่อตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและฝึกอบรมด้านพื้นที่ชุ่มน้ำในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The University Network for […]
นวัตกรรมฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยราไมคอร์ไรซา พิสูจน์ทราบแล้วจากป่าต้นน้ำน่าน พร้อมส่งผ่านสู่สมรภูมิไฟป่าทั่วโลก
แม้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยจะยังคงทรงตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 31-33 ตามรายงานจากสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ประเทศไทยยังคงให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) วางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมุ่งฟื้นฟูผืนป่าเศรษฐกิจและจัดการนิเวศป่าชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ทั้งที่อยู่นอกเขตและในเขตพื้นที่อนุรักษ์ บนพื้นที่มากกว่า 7,870,000 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2561-2562 พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยมีอยู่ทั้งสิ้น 102,484,072.71 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.68 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ โดยไฟป่ายังคงเป็นภัยคุกคามของทรัพยากรป่าไม้ไทย ทั้งไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วประเทศจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและไฟป่าที่เกิดจากการลักลอบเผาป่าเพื่อใช้ประโยชน์ ตามรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่ามีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศไทยถูกเผาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 จนถึงเดือนเมษายน 2563 แล้ว รวมทั้งสิ้น 170,835 ไร่ ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 3 ใน 4 เป็นพื้นที่ป่าในเขตภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุสำคัญของการลักลอบเผาป่าชุมชนมาจากเรื่องปัญหาปากท้องของคนในชุมชนละแวกใกล้เคียง ประกอบกับความเชื่อดั้งเดิมของคนพื้นถิ่นที่ว่า “ยิ่งเผา เห็ดยิ่งขึ้น” จึงสะท้อนปัญหาการลักลอบเผาป่าชุมชนให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังระดับชาติสั่งสมต่อเนื่องมาอย่างยาวนานนับสิบปี ปัญหาป่าชุมชนถูกเผาเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งเร้าให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูป่าให้ทำได้ยากเนื่องด้วยเพราะความชื้นและธาตุอาหาร รวมไปถึงเชื้อจุลินทรีย์พื้นถิ่นในดินตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไปพร้อมกับไฟป่าจนหมดสิ้นแล้วเท่านั้น แต่การลักลอบเผาป่าชุมชนยังสร้างปัญหาการแพร่กระจายของฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ในชั้นบรรยากาศกลายเป็นหมอกควันพิษให้กลับมาทำลายสุขภาวะของคนในพื้นที่เองอีกด้วย การฟื้นฟูป่าชุมชนเสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้งจึงจำเป็นต้องเริ่มจากการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมโดยเริ่มจากผืนดินเป็นอันดับแรก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]
แต้มบุญสูงมาก ซัมซุงคว้า 3 รางวัลด้านความยั่งยืน
ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ซัมซุงประเดิมรับปีหนูทองคว้า 3 รางวัลด้านความยั่งยืนบนเวทีระดับโลก ในการนำวัสดุเหลือใช้มารีไซเคิล (recycle) และอัพไซเคิล (upcycle) รวมถึงการดำเนินงานในการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน จากงานประกาศรางวัลการจัดการวัสดุอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน Sustainable Materials Management (SMM) Electronics Challenge awards ประจำปี 2019 จัดโดยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ หรือ อีพีเอ (the US Environmental Protection Agency – EPA) และยังได้รับรางวัลชนะเลิศด้านการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจากเวที CES 2020 ค่ายซัมซุงคว้าไปถึง 3 รางวัล งาน SMM Electronics Challenge โดยอีพีเอ จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2557 เป็นเวทีมอบรางวัลประจำปีเพื่อเชิดชูบริษัทต่างๆ ในสหรัฐที่มุ่งมั่นในการจัดการวัสดุอย่างยั่งยืน และรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้อย่างมีความรับผิดชอบ โดยบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทที่เข้าร่วมโครงการรีไซเคิลต่างๆ โดยสมัครใจ สำหรับรางวัลแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ Champion Award มอบให้สินค้าและนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ Tier […]