กฟผ. ชวน ‘ติวเตอร์-ยิม’ GO Green
“ปลูกป่าโลว์คาร์บอน” ลุยเลนบางปะกง สร้างบ้านปลา คอนโดปู
กฟผ. ร่วมกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพันธมิตร จุดกระแสรักษ์โลก ดึงนักแสดงคู่ซี้สุดฮอต “ติวเตอร์ – ยิม” ชวนเที่ยวสายกรีน ลุยปลูกป่าแบบโลว์คาร์บอน ในกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” พลิกฟื้นผืนป่าชายเลน มุ่งเป้าหมายปลูกป่าหนึ่งล้านไร่ให้สำเร็จ ควบคู่กระจายรายได้สู่ชุมชนโดยรอบ 7 ก.ค.2565 – นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยนายจิรศักดิ์ อ่วมอุไร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานฉะเชิงเทรา นายทรงฤทธิ์ สินถาวร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา นายจีรทัศน์ แจ่มไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นางสาววสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) นางสาวรัชดาพร เสียงเสนาะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน กฟผ. จัดกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ […]
KYTA ฉลอง 60 ปี อุทยาน ‘เขาใหญ่’ พ่วง 17 ปี มรดกโลก ‘ดงพญาเย็น’
สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่เปิดตัวตราสัญลักษณ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และ 17 ปี แห่งการเป็นมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น โดยองค์การยูเนสโก เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมวันครบรอบ 60 ปี กิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในปี โดยนำแนวคิดมาจากความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแรกในประเทศไทย และมีพื้นที่ป่าไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรักหรือทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัดในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และ จังหวัดนครนายก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “อุทยานมรดกของอาเซียน” เนื่องจากเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญและเป็นตัวแทนระบบนิเวศของภูมิภาค เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์รวมถึงสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เช่น ช้างป่า และ เสือโคร่ง ในปี พ.ศ. 2565 นี้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จะครบรอบ 60 ปีและครบรอบ 17 ปีที่กลุ่มป่าดงพญาเย็นได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2505 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ที่จะถึงนี้ […]
ไม่หันหลังให้ความตั้งใจในการฟื้นฟูป่า รักษาผืนป่าด้วยกุศโลบาย “ปลูกกาแฟแก้การเผา”
“ป่าไม้” เป็นรากฐานหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากไม่มีป่า ย่อมไม่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ผืนดินย่อมแตกระแหงแห้งแล้ง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเราพูดถึงป่า บ่อยครั้งที่คนได้ยินว่าป่ากำลังถูกทำลาย แต่พวกเขาเหล่านั้นมองไม่เห็นภาพ จินตนาการความเป็นจริงไม่ออก ว่าการไม่มีป่าไม้มีผลเสียร้ายแรงอย่างไร แต่ “คุณสุชาติ สมบูรณ์เถกิง” ทสม.จังหวัดแพร่ได้เห็นภาพนั้นด้วยสายตาของเขาเอง เมื่อยุคสงเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตวมาเยือนพื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าว ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อแผ้วถางสร้างพื้นที่ทำเงิน แต่กลับเป็นการทำลายพื้นที่ทำกิน คุณสุชาติได้เดินทางขึ้นไปบนเนินเขา พบแต่ภูเขาหัวโล้นหลายลูก ปาเสื่อมโทรมและแห้งแลง ชุมชนขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก แต่สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไม่ได้ทำให้ใจของคุณสุชาติแห้งแล้งสิ้นหวัง กลับกัน มันได้จุดประกายไฟแห่งความมุ่งมั่นที่จะฟื้นคืนป่าไม้กลับคืนมาสู่พื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าวอีกครั้ง คุณสุชาติเริ่มฟื้นฟูป่าในฐานะคนธรรมดาด้วยการสร้างฝาย อาศัยเงินทุนจากการทอดผ้าป่าและกิจกรรมอื่น ๆ โดยยังไม่ได้ประสานความร่วมมือไปยังภาครัฐ รวบรวมชาวบ้าน ระดมความคิดอาศัยภูมิปัญญา นำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาใช้ เชน ไม้ไผ่ แม้จะมีเพียงชาวบ้านด้วยกันก็สามารถสร้างฝายหลวงประชารัฐได้สำเร็จ ใช้เวลากวา 7 เดือน แต่การทำงานกันเองก็มีขีดจำกัด คุณสุชาติจึงเข้าร่วมเป็น ทสม. เพื่อประสานการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้การฟื้นฟูป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระนั้น แม้การปลูกป่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่การรักษาป่าให้ดำรงอยู่ได้ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผืนป่าที่สู้ฟันฝ่าฟื้นคืนมาต้องถูกทำลายอีกครั้ง ทสม.จังหวัดแพร่จึงได้มีการหารือร่วมกับภาคประชาชนและภาครัฐ หาแนวทางป้องกันไม่ให้ผืนฝ่าถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น เพื่อลดการถางป่า คุณสุชาติจึงริเริ่มโครงการ “ปลูกกาแฟแกการเผา” […]
กว่าจะยืนหนึ่งได้ในเอเชีย : ความสำเร็จวันนี้ที่จุฬาฯ
รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยคงต้องบอกว่าเรามีมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคม ในยุคที่ความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเร่งกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภาคเอกชนจึงมีความต้องการที่จะไม่เหมือนเดิม บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากการเป็นเพียงผู้สอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือการบริการทางวิชาการ ขยายสู่การเป็นผู้เชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ สร้างนวัตกร และเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เหตุนี้จึงนำมาสู่วิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการเป็น Innovations for Society มหาวิทยาลัยผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม เป้าหมายของมหาวิทยาลัยระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการผลิตคนให้ตอบโจทย์กับตลาดอุตสาหกรรม แต่เป็นการปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม (Community Engagement) โดยตัวชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำตอบโจทย์สังคมหรือไม่ คือดูว่าประชาชนหรือสังคมนั้นกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่ การดำรงชีวิตดีขึ้นไหม ยกตัวอย่างโครงการที่จุฬาลงกรณ์ฯ ทำ เช่นโครงการข้าวแสนกล่องเป็นหนึ่งในโครงการดี ๆ ที่เราเข้าไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำและเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน 4 ปัจจัยที่หนุนส่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 23 ของโลก มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย เรื่องแรกก็คือยุทธศาสตร์ (Strategy) เรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์นี้ มีกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ยุทธศาสตร์ที่ 2 […]
จับตา “พิษสไตรีน” กิ่งแก้วระเบิด ซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมกรุงเทพฯ
เสียงระเบิดกลางดึกจากโรงงานผลิคสารเคมีหมิงตี้ เคมิคอล ย่านกิ่งแก้ว สมุทรปราการ กลางดึกคืนวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ปลุกทุกความสนใจให้กลับมาพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองกันอีกครั้ง แม้ทะเลเพลิงได้เผาผลาญสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงานวอดวายเหลือทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่ความเสียหายไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เพียงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกเท่านั้น เมื่อสาร “สไตรีน” (Styrene) ปริมาณ 1,600 ตัน ที่ถูกเก็บไว้ในโรงงานแห่งนี้ถูกเผาวอดข้ามวันข้ามคืนนานกว่า 26 ชั่วโมง ความเสียหายจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นลูกโซ่ไปยังน้ำและอากาศ “สไตรีน” เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก จัดอยู่ในกลุ่ม Flammable Hydrocarbon มีสถานะเป็นของเหลว ระเหยและสามารถลุกติดไฟได้ง่าย โดยมีจุดติดไฟ (Flash Point) อยู่ที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ในครั้งนี้นอกจากจะก่อให้เกิดหมอกควันพวยพุ่งกระจายตัวเป็นวงกว้างในชั้นบรรยากาศลอยไปไกลนับสิบกิโลเมตรและแน่นอนว่าไม่ใช่หมอกควันธรรมดาเหมือนการเผาฟาง เผาหญ้า อย่างแน่นอน หากแต่เทียบได้กับการนำขวดน้ำพลาสติกความจุ 100 กรัม จำนวนมากถึง 16 ล้านขวดมาเผาพร้อมกันในคราวเดียว การดับเพลิงที่เผาไหม้สารชนิดนี้จึงไม่อาจทำได้โดยง่ายด้วยน้ำเปล่า เพราะตัวสารสไตรีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำอยู่ที่ประมาณ 0.909 g/CM3 ยิ่งนักผจญเพลิงระดมฉีดน้ำเข้าไปในกองเพลิงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้น้ำตกลงไปอยู่ชั้นล่างใต้สารนี้ เราจึงได้เห็นภาพทะเลเพลิงโหมไฟลุกโชนโชติช่วงขึ้นสูงสุดลูกหูลูกตาดั่งปรากฏในข่าวทุกสำนัก นั่นเพราะสไตรีนยังคงสัมผัสกับก๊าซออกซิเจนในอากาศอยู่อย่างต่อเนื่องนั่นเอง การเข้าควบคุมเพลิงไหม้ให้ได้ผลดีในสถานการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นต้องใช้โฟมชนิดพิเศษที่มีชื่อว่า “Alcohol Resistant Aqueous […]