“อาร์ม – ปาณพล จันทรสุกรี” เจ้าของ “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” ที่ปังไม่หยุดในโลกออนไลน์
กลายเป็นกระแสดังที่ปังไม่หยุด! สำหรับตลาด E-Market Place ประจำรั้วมหาวิทยาลัยที่ไล่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดสร้างความฮือฮาไปทั่วโลกโซเชียลขณะนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” ที่ใช้เวลาเพียงสัปดาห์กว่า ๆ ก็สร้างสถิติใหม่เหนือกลุ่ม E-Market Place ด้วยยอดสมาชิกทะลุ 2 แสนรายไปแล้ว โดยที่นี่มีสินค้าและบริการให้เลือกสรรมากมายไล่ตั้งแต่ของกิน ของใช้ ไปจนถึงดีลซื้อขายอสังหาริมทรัยพ์ คอนโด บ้านจัดสรร รถยนต์ และที่ดินแปลงหรูมูลค่านับพันล้าน ก็มาฝากร้านขายออนไลน์กันใน “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” และที่มากไปกว่านั้น ก็มีบรรดานิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ต่างพากันเข้ามาฝากผลงานทิ้งโปรไฟล์ไว้กันอย่างคับคั่งทั้ง เชฟป้อม – ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล, บีม – กวี ตันจรารักษ์, พรีม – รณิดา เตชสิทธิ์, พีช –พชร จิราธิวัฒน์ รวมเหล่าดาราเซเลบชื่อก้องไว้อย่างมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลงานการรังสรรค์ชั่วข้ามคืนของนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จากรั้วจามจุรีคนนี้ “อาร์ม – ปาณพล จันทรสุกรี” ที่เราดึงตัวมาพูดคุยกันใน THE SHARPENER คอลัมน์นี้ จุดเริ่มต้นของ “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส”อาร์ม ปาณพล […]
พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย ต้องใช้ให้เป็น ปากคำจาก “ทานตะวันอุตสาหกรรม” ผู้ผลิตถุงพลาสติกเพื่อโลก
การใช้ถุงพลาสติกมีมานากว่าร้อยปีแล้ว คนไทยใช้ถุงพลาสติก 1 ล้านตันต่อไป และปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ มาจากมนุษย์ไม่ได้เรียนรู้หลังจากการใช้ “ทานตะวันอุตสาหกรรม” ยักษ์ใหญ่ในวงการถุงพลาสติก เชื่อว่าสุดท้ายถุงพลาสติกก็ยังต้องมี เลิกใช้ไม่ได้ พจนารถ ปริญภัทร์ภากร กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทานตะวันอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) เล่าว่า การใช้ถุงพลาสติกของคนไทยมีนานแล้ว เมื่อถามว่าทำไมต้องใช้ถุงพลาสติก ใช้อย่างอื่นแทนได้ไหม เพราะคุณสมบัติดีมีอยู่มากมาย เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบา บาง แถมราคาถูกเมื่อเทียบกับบรรจุภัณฑ์อื่นๆ ทั้งแก้วหรือไม้ก็ตาม แต่จากการใช้งานของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น ถุงพลาสติกจึงกลายเป็นปัญหาขยะเพิ่มขึ้นทวีคูณ และสร้างปัญหาสิ่งแวดล้อม ทั้งจากมลภาวะการเผาไหม้ การย่อยสลายที่ทำได้ยากใช้ระยะเวลานาน กลายเป็นผู้ร้ายในสังคมและทั่วโลกทุกวันนี้ ทุกวันนี้การใช้เม็ดพลาสติกลดลงมาก โรงงานต่างๆ ทยอยปิด เพราะกระแสการใช้ถุงพลาสติกลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ถุงพลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย มนุษย์ต่างหากไม่ได้เรียนรู้หลังจากการใช้ ทิศทางทานตะวันอุตสาหกรรมที่จะไป ในเมื่อเราไม่สามารถต้านทานกระแสการลดใช้ถุงพลาสติกได้ โจทย์ที่เราต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับเทรนด์ที่เกิดขึ้น คือ การพัฒนาถุงพลาสติกสลายตัวได้ตามธรรมชาติ 100% เรียกว่า Compostable plastics พจนารถ เล่าว่า ทานตะวันอุตสาหกรรมทำการวิจัยและพัฒนาถุงพลาสติกสลายตัวตามธรรมชาติ 100% Compostable plastics […]
เลือกแบรนด์ไหนดี “โค้ก vs เป๊ปซี่” ขายเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพกับแบรนด์รักษ์โลก
เส้นทางเดินของ “โค้ก” ถือกำเนิดขึ้นในปี 1886 ถูกคิดสูตรขึ้นโดยเภสัชกรชื่อ John Pemberton สำหรับในไทยเริ่มเข้ามาทำตลาดเมื่อ 2492 โดยกลุ่มบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และ บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินการจัดจำหน่ายใน 14 จังหวัดภาคใต้ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์การผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่ม โคคา-โคลา ในประเทศไทย จุดเปลี่ยนของโคคา – โคล่า ประเทศไทย หรือโค้ก เกิดขึ้นหลังเสริมสุขแตกหักกับเป๊ปซี่ และสัญญาของทั้งสองฝ่ายจบลงเมื่อเดือน พ.ย. 2555 ส่งผลให้การทำตลาดของเป๊ปซี่และเอสถือว่าเริ่มนับหนึ่งใหม่สิ้นปี 2555 และโค้กมีส่วนแบ่ง 50% ในตลาดน้ำดำมูลค่ากว่า 3 หมื่นล้านบาท ถือว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 12 ปี ที่โค้กเป็นผู้นำตลาดน้ำดำแทนที่เป๊ปซี่ เกมนี้โค้กสร้างแบรนด์รักษ์โลก โคคา – โคล่า ยุทธศาสตร์ในตอนนี้ คือ การมุ่งสร้างแบรนด์รักษ์โลก แบรนด์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ผู้บริโภครุ่นใหม่ เมื่อจะซื้อสินค้าแบรนด์ใดจะคำนึงว่าเป็นแบรนด์รักษ์โลกหรือไม่ มาดูกันว่าโคคา – […]
“แมคโดนัลด์” เตรียมเปิดร้านกรีนดีไซน์ ทดลองถังรีไซเคิล งดใช้หลอดพลาสติก
แมคโดนัลด์ชูนโยบายเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมลุยสร้างร้านกรีนดีไซน์สาขาแรกในไทย ประเดิม 4 สาขาแรก ทดลองวางถังขยะรีไซเคิลแยกขยะ และรณรงค์งดใช้หลอดพลาสติก เริ่มเห็นทิศทางของร้านอาหารในไทยที่เริ่มให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการงดการใช้แพ็กเกจจิ้งพลาสติก หรือการใช้วัสดุที่มาจากธรรมชาติมากขึ้น ร้านแมคโดนัลด์เป็นอีกหนึ่งแบรนด์ที่เริ่มใช้นโยบายกรีนดีไซน์ภายในร้าน แม้จะยังไม่กรีนทั้งหมด แต่ก็เริ่มขยับทีละสเต็ป ได้ทดลองใช้ถังขยะรีไซเคิลมาใช้แยกขยะพลาสติกออกจากขยะทั่วไปใน 4 สาขา นำบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติมาใช้แทนบรรจุภัณฑ์พลาสติก รวมถึงเปิดตัวแคมเปญ ‘รักษ์โลก งดหลอด’ รณรงค์งดใช้หลอดพลาสติกกับเครื่องดื่มต่างๆ จากข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่าในปี 2560 สำรวจพบขยะมูลฝอยในชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด ซึ่งมีปริมาณมากถึง 11.47 ล้านตัน เป็นขยะพลาสติกประมาณ 340,000 ตัน คิดเป็น 10-15% ที่มีโอกาสปนเปื้อนลงสู่ทะเลได้ และหลอดพลาสติกได้กลายเป็นปริมาณขยะทะเลที่พบมากเป็นอันดับต้นๆ ในประเทศไทย เพราะหลอดพลาสติกเป็นขยะที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ต้องใช้เวลามากถึง 200 ปี ในการย่อยสลาย หลอดพลาสติกเมื่อถูกทิ้งลงสู่ทะเลได้กลายเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตของสัตว์ทะเลจากการกินขยะเข้าไปจนเกิดอันตรายถึงตายในที่สุด ในร้านนี้ต้องการรณรงค์ให้ลูกค้าแยกขยะพลาสติกอย่างถูกต้อง โดยจัดทำถังขยะรีไซเคิลที่ออกแบบให้ลูกค้าได้เทน้ำ และน้ำแข็งทิ้งก่อนที่จะทิ้งแก้วน้ำพลาสติกลงในช่องขยะพลาสติก ถังขยะรีไซเคิลนี้ได้ถูกติดตั้งเสร็จเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ใน 4 สาขา ได้แก่ สาขาอัมรินทร์ พลาซ่า, เอสโซ่ […]
Plastic Diary : แพ็กเกจจิ้งเก๋ไก๋จากไอเดียรียูสแสนสนุกในร้านขายอุปกรณ์ช่าง
ภาพถ่ายซองเครื่องดื่มแบบชงทรงผอมๆ ยาวๆ ที่โดนจับแปลงร่างเป็นซองใส่ดอกสว่าน และเป็นสายรัดเอ็นตัดหญ้าหรือม้วนกระดาษทราย ปรากฏขึ้นในหน้าฟีดเฟซบุ๊กเมื่อกลางเดือนมกราคมที่ผ่านมาจากการแชร์ของเพื่อนคนนึง มันดึงดูดสายตาในทันที แต่เมื่ออ่านชื่อเพจ ‘กานดากิจรุ่งเรือง – เทียนแก้ว’ (https://www.facebook.com/kandakijrungrueng/) กลับไม่รู้สึกถึงความเชื่อมโยงใดใดกับแนวทางลดขยะพลาสติกด้วยการใช้ซ้ำให้คุ้มค่าหรือการประดิษฐ์ข้าวของจากสิ่งที่คนส่วนใหญ่มองว่าหมดประโยชน์ กระทั่งคลิกเข้าไปอ่านเพิ่มเติมนั่นแหละ จึงรับรู้ได้ถึงความคิดสร้างสรรค์ผ่านไอเดียรียูสแสนสนุกของคนที่น่าจะอินกับเรื่องนี้อยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะ #มองทุกอย่างเป็นแพ็กเกจจิ้ง และ #ลดโลกร้อนเริ่มต้นจากร้านค้า ถือเป็นวิธีคิดน่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับเราซึ่งที่ผ่านมาทำได้แค่พยายามลดการสร้างขยะในฟากฝั่งผู้ซื้อและเชื่อเสมอว่าการขยับปรับเปลี่ยนที่ต้นทางผู้ขายผู้ผลิตจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้วงกว้างกว่า ดังนั้นเมื่อสบโอกาสเหมาะๆ จึงต้องขอนัดหมาย ‘กานต์’ ศศิกานต์ ศรีประทีปบัณฑิต แอดมินเพจและเจ้าของไอเดียแปลงร่างชิ้นส่วนพลาสติกเป็นแพ็กเกจจิ้งรูปแบบต่างๆ มานั่งพูดคุยกัน เธอเรียบจบด้านศิลปะ เคยเป็นสาวออฟฟิศทำงานด้านเสื้อผ้า แต่หลังจากคุณแม่เสียชีวิตจึงลาออกมาช่วยพี่สาวทำงานร้านฮาร์ดแวร์ชื่อเดียวกับชื่อเพจซึ่งเป็นกิจการครอบครัวตั้งแต่เมื่อประมาณสิบปีที่แล้ว ครั้นเข้ามาคลุกคลีที่งานร้านเต็มตัว กานต์ตระหนักทันทีว่า ถุงพลาสติกหูหิ้วไหม่เอี่ยมไม่ควรนำมาใส่ตะปูหรือน็อตกิโลแบ่งขาย เพราะสองสิ่งนี้เคลือบน้ำมันไว้เพื่อกันสนิม “ตัวสินค้ามันเลอะอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องถุงใหม่เลย ไม่จำเป็นอย่างที่สุด ถือมาก็ถุงทะลุเป็นลูกระเบิดตะปูอยู่ดี” เธอเล่าอย่างเห็นภาพ จึงสั่งงดใช้ถุงก๊อบแก๊บใหม่เป็นอย่างแรกและหันมาใช้ถุงหูหิ้วใช้แล้วที่มีอยู่ในร้าน เรื่อยไปจนถึงถุงขนมหรือซองกาแฟที่เป็นฟอยล์เคลือบพลาสติกซึ่งผ่านการเขย่าน้ำ ล้างเร็วๆ และผึ่งลมจนแห้งดี รวมถึงถุงหูหิ้วใช้แล้วที่ลูกค้าบางคนรวบรวมมามอบให้ จากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ไม่ได้หยิบถุงก๊อบแก๊บใหม่มาใส่ตะปูกับน็อตกิโลอีกเลย ความเปลี่ยนแปลงลำดับสองที่ไล่มาติดๆ คือหยุดซื้อหนังยางใหม่มารัดม้วนกระดาษทราย โดยเปลี่ยนให้แกนทิชชูที่ตัดเป็นห่วงกลมๆ ขึ้นมาทำหน้าที่แทน ทั้งยังจับถุงขนมไซส์แคบหน่อยมาตัดตามแนวขวางให้เป็นวงๆ หรือจับซองกาแฟมาตัดตามแนวยาวสองฝั่งโดยเก็บขอบซีลซ้ายขวาเอาไว้ แค่พลิกด้านในออกมาก็รัดได้ดีไม่แพ้กัน เพราะซองฟอยล์เคลือบพลาสติกเหล่านี้มีความเหนียวทนทานมาก ตามมาด้วยการยกเลิกใช้ถุงร้อนใหม่เอี่ยมใส่น็อตสกรูให้ลูกค้า เพราะเธอเห็นว่า ร้านมีถุงพลาสติกไซส์ใหญ่ๆ […]