Banner 140 01

จุฬาฯ หนุนใช้นวัตกรรมกู้วิกฤตประมงไทย ผุดวิธีแก้ประมงผิดกฎหมาย ช่วยชาติปลดล็อคใบเหลือง IUU

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนุนใช้ 4 นวัตกรรมกู้วิกฤตประมงไทยต่อยอดผลสำเร็จงานวิจัยการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงไทย  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชีย ร่วมกับศูนย์ยุโรปศึกษา และหลักสูตรบริหารกิจการทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปลดล็อคใบเหลืองให้ประเทศไทยได้สำเร็จ จากกรณีสหภาพยุโรปได้จัดให้การทำประมงไทยอยู่ในกลุ่มผิดกฎหมาย ด้วยการดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล พ.ศ. 2560-2561” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานประมงไทยพร้อมเชื่อมโยงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับภาครัฐผลักดันนโยบายสวัสดิการแรงงานในกลุ่มประมงพื้นบ้าน และยังมีส่วนช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศท้องทะเลที่เคยได้รับผลกระทบจากการทำประมงมากเกินไปผ่านการกำหนดนโยบายควบคุมระยะเวลาออกเรือพร้อมรายงานการจับสัตว์น้ำอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว ศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า “ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2561 ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคประชาสังคมจนเกิดความร่วมมือที่ช่วยให้ประเทศสามารถปลดล็อคใบเหลือง IUU จากสหภาพยุโรป เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2561 พร้อมได้รับการเลื่อนลำดับความพยายามแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับจากระดับ 3 ขึ้นมาเป็นระดับ 2 ซึ่งเป็นระยะที่ไม่ต้องเฝ้าระวังในช่วงเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2561  ผ่านกระบวนการจัดประชุมสู่การออกแบบนโยบาย อาทิ […]

Banner 138 03

หอพักบุคลากร สวัสดิการที่เอื้อต่อการพัฒนางานของคนจุฬาฯ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 2 มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรสมรรถนะสูงที่มีกระบวนการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลเชิงรุกที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย โดยในปี พ.ศ. 2562 จุฬาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น 8,229 คน ประกอบด้วย บุคลากรสายวิชาการ 3,033 คน และบุคลากรสายปฏิบัติการรวมไปถึงเจ้าหน้าที่สนับสนุนภารกิจด้านต่าง ๆ อีกกว่า 5,196 คน ดังนั้น นโยบายการจัดสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดหาที่พักอาศัยภายในหรือบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบหอพัก เพื่อให้บุคลากรผูกพันและมีความสุขในการทำงาน เอื้อให้สามารถพัฒนางานอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะบุคลากรที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมาปฏิบัติงาน โดยจัดหอพักสำหรับบุคลากรจุฬาฯ ไว้ 3 แห่ง ได้แก่  หอพักวิทยนิเวศน์ เป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย อาคารหอพักวิทยนิเวศน์เป็นอาคาร 14 ชั้น มีห้องพักชนิดมีเครื่องปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ห้องพักในหอพักวิทยนิเวศน์ ยังมีหลายรูปแบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว หรือเข้าพักส่วนตัว หรือการเข้าพักระยะยาว และการเข้าพักแบบรายวันในราคาย่อมเยา  หอพักจุฬานิเวศน์ เป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย อาคารหอพักจุฬานิเวศน์เป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องพักชนิดพัดลมพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งขนาดใหญ่แบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว และขนาดเล็กสำหรับเข้าพักส่วนตัว  หอพักจุฬานิวาส เป็นหอพักสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนตำแหน่งคนงาน […]

Banner 138 02

จุฬาฯ สืบศาสตร์สานศิลป์ ชุบชีวินศิลปินไทย

อีกบทบาทหนึ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ คือ การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนาองค์ความรู้และสิ่งทรงคุณค่า รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร และสังคมไทย  ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา จุฬาฯ มุ่งพัฒนาองค์กรให้เป็นหน่วยงานหลักจัดเก็บและจัดการด้านข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนสนับสนุน เอื้ออำนวย และให้คำปรึกษาแก่ส่วนงานและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยมีโครงการสำคัญเป็นที่ประจักษ์ชัด 3 โครงการ ได้แก่ โครงการจุฬาฯ จารึกบันทึกคนดนตรี โครงการจัดทำวีดิทัศน์เชิดชูเกียรติศิลปิน และโครงการจัดทำวีดิทัศน์องค์ความรู้การอนุรักษ์สงวนรักษาผลงานศิลปกรรม  มุ่งสืบสานมรดกดนตรีชาติ “จุฬาฯ จารึกบันทึกคนดนตรี”  หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านดนตรีไทยเพียงไม่กี่แห่งในประเทศที่มีจุดเด่นเป็นหอสมุดดนตรีที่ให้บริการในระบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกในสถาบันอุดมศึกษา ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดของมหาวิทยาลัยที่มุ่งทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ จึงจัดทำโครงการบันทึกข้อมูลเพลงไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาจนปัจจุบันกว่า 30 ปี นับเฉพาะบทเพลงไทยมีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลเพลงนี้มีมากกว่า 10,000 เพลง  ปัจจุบันหอสมุดดนตรีไทยมีภารกิจหลักให้บริการสืบค้นข้อมูลเพลงไทยด้วยระบบสารสนเทศแก่นิสิต นักศึกษา จนถึงระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย รวมทั้งบุคคลที่สนใจโดยทั่วไป ทั้งด้านไฟล์เสียง วีดิทัศน์ และหนังสือหายากทางดนตรีไทย นอกจากนี้ ยังมีห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียน และห้องพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องดนตรีไทยชิ้นสำคัญอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2561 […]

Banner 138 01

หลงเสน่ห์นวัตกรรม Siam Innovation District เบื้องหลังความสำเร็จหมื่นล้านของสตาร์ทอัพไทย

กว่า 3 ขวบปีแล้วที่เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม “Siam Innovation District” (SID) ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย CU Innovation Hub เปิดพื้นที่อุดมปัญญากว่า 1,000 ตารางเมตร ใจกลางเมืองหลวงย่านสยามสแควร์ให้เป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการพัฒนาคนไทยให้เป็นที่รู้จักบนเวทีโลกผ่านกิจกรรมการบ่มเพาะต่อยอดมากมายทั้งกิจกรรมเวิร์คชอป กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ นิทรรศการ และจัดแสดงตัวอย่างนวัตกรรมฝีมือคนไทย มากกว่าร้อยกิจกรรม และยังเปิดให้ใช้เป็น Co-working Space โดยมีผู้หลงเสน่ห์นวัตกรรมเข้ามาใช้พื้นที่ได้ฟรีแล้วมากกว่า 50,000 คน  จนพื้นที่แห่งนี้กลายเป็นชุมชน Smart Intelligence Community บ่มเพาะนักนวัตกร Startups สัญชาติไทยได้กว่า 180 ทีม อาทิ Baiya Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID, Tann D, VIA BUS เป็นต้น ชื่อเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นความหวังใหม่ให้ประเทศไทยได้ใช้เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุค Digital Disruption โดยมีมูลค่าตลาดขณะนี้รวมมากกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท ยังประโยชน์ไปสู่คนไทยมากกว่า […]

Banner 137 03

เรียนรู้โลกกว้างผ่านแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์จุฬาฯ เปิดชมฟรีตลอดปี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร อีกทั้งยังบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ผ่านการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ซึ่งมีทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำกับของส่วนกลางมหาวิทยาลัยและอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของหลายคณะ รวมมากถึง 23 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งล้วนเป็นคลังความรู้ที่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว อาทิ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาฯ, พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ สังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์, พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้อีกหลายแห่งกระจายอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯ ในแต่ละภูมิภาคอีก 2 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน จังหวัดชลบุรี เป็นต้น  จุฬาฯ ได้พัฒนาทั้งเนื้อหาและรูปแบบการจัดแสดงในแบบสหศาสตร์อยู่อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยบูรณาการเนื้อหาและเทคนิคการนำเสนอผ่านความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ในรั้วจุฬาฯ ด้วยกัน อาทิ นิทรรศการ “กายวิจิตร” นำเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์มาผนวกเข้ากับการนำเสนอด้านศิลปกรรมศาสตร์, นิทรรศการ “อนันตกาล” (FOREVER) กับการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและคติความเชื่อทางศาสนา, นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปิน ชวลิต เสริมปรุงสุข : Rest In Progress ผู้สร้างแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ ผู้เป็นกำลังใจของผู้สูงวัย […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner