3BAACF78 5A94 4EFA 8959 6FA76496BC3B

เมื่อจุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’

หลายคนคงเคยเล่นเกมสร้างเมืองยอดฮิต อย่าง ซิมซิตี (SimCity) หรือ ซิตี้: สกายไลน์ (Cities: Skylines) เกมที่ให้ผู้เล่นทดลองเป็นผู้นำเข้าไปบริหารบ้านเมืองของตนเอง เริ่มตั้งแต่การวางผังเมือง วางระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งเมือง รวมไปถึงต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในด้านต่างๆ ตลอดจนสามารถกำหนดกฎหมายและนโยบายได้เองอีกด้วย  และจากที่เคยคิดว่าการสร้างเมืองมีแต่ในเกมเท่านั้น จนเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล’ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่านให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ เราถึงรู้ว่า ‘การสร้างเมืองจริงๆ’ นั้นเป็นอย่างไร PMCU กับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองจุฬาฯ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) คือหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการบริหารและจัดการเขตพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ และสวนหลวง-สามย่าน กว่า 385 ไร่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือถ้าเทียบกับในเกมซิตี้: สกายไลน์ ก็คงเป็นตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั่นเอง PMCU ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยความสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงโอกาสสำหรับทุกชีวิต ผ่านแนวคิด ‘Co-Creating Shared Values’ เพื่อพัฒนาคุณค่าทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ Learning Style สร้างพื้นที่เพื่อการเรียนรู้แก่ทุกคน […]

4E1AB53F F6BE 427A A983 9434DB949C43

กรมศิลป์ไม่รับสกาล่าเป็นโบราณสถาน

หลังจากที่สมาคมสถาปนิกสยามในพระราชูปถัมภ์ได้ส่งหนังสือต่อกระทรวงวัฒนธรรมและกรมศิลปากร เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้การคุ้มครองอาคารโรงภาพยนตร์สกาลาในฐานะ ‘โบราณสถาน’ โดยมีความกังวลว่าอาจถูกสั่งรื้อถอนอาคารได้ หลังจากที่โรงภาพยนตร์สกาลาได้ปิดม่านลงอย่างถาวรไปเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อส่งมอบพื้นที่คืนให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ล่าสุด กรมศิลปากรที่ได้รับมอบหมายจากจากกระทรวงวัฒนธรรมให้ตรวจสอบและพิจารณา สรุปว่า กรมศิลปากรไม่รับขึ้นทะเบียนโรงภาพยนตร์สกาลาเป็นโบราณสถาน เนื่องจากรูปแบบสถาปัตยกรรมของโรงภาพยนตร์สกาลาถือเป็นสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่มีลักษณะภายนอกและโครงสร้างหลักของอาคารตามแบบสถาปัตยกรรมแบบ Art Deco ที่เน้นการใช้รูปทรงเรขาคณิตมาผสมผสาน โดยอ้างอิงจากนิยามคำว่าโบราณสถานตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535) ระบุไว้ว่า โบราณสถานหมายความว่า อสังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยอายุหรือลักษณะแห่งการก่อสร้าง หรือโดยหลักฐานเกี่ยวกับประวัติของอสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นประโยชน์ทางศิลปะ ประวัติศาสตร์ หรือโบราณคดี ทั้งนี้ ให้รวมถึงสถานที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี แหล่งประวัติศาสตร์ และอุทยานประวัติศาสตร์ด้วย ดังนั้นในประเด็นความสำคัญด้านอายุ หลักฐานเกี่ยวกับประวัติ และลักษณะแห่งการก่อสร้าง พบว่า โรงภาพยนตร์สกาลาไม่มีความสำคัญทางด้านอายุและประวัติการก่อสร้าง แม้ลักษณะแห่งการก่อสร้างอาจมีประโยชน์ทางศิลปะ โรงภาพยนตร์สกาลาจึงยังไม่ถือว่าเป็นโบราณสถาน ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจที่กรมศิลปากรจะดำเนินการตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535) โรงภาพยนตร์สกาลาถือเป็นโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนที่อยู่คู่สยามสแควร์มากว่า […]

35AE07FB BA33 4A86 AEEA 6AD1147B129C

‘PMCU’ เดินหน้าแผนย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลืองไปยังอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ สืบสานศรัทธา อยู่คู่ชุมชน

วันที่ 7 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม 202 สำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) ได้เชิญทายาทโดยธรรมของคุณประจวบ พลอยสีสวย และครอบครัว ผู้ดูแลองค์เจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง และเป็นผู้เช่าที่ดินตั้งอาคารศาลเจ้า ชี้แจงมติกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และหารือแผนย้ายศาลไปพื้นที่แห่งใหม่ ณ อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ ย้อนไปเมื่อปี 2523 คุณประจวบ พลอยสีสวย ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินตั้งอาคารศาลเจ้าแม่ทับทิม กับ PMCU ในนามบุคคลต่อเนื่องมา 20 ฉบับ รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 35 ปี ล่าสุดสัญญาได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2558 และยังอยู่ในระหว่างการเจรจาย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิมอยู่นั้น นายวรพงศ์ สุขธีรอนันตชัย ผู้อำนวยการ PMCU ได้เชิญทายาทโดยธรรมของ คุณประจวบ พลอยสีสวย และครอบครัว มาชี้แจงมติการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฏร ครั้งที่ 24 เมื่อวันที่ […]

222498C1 B6A0 4BDD 8822 29ACFE9F1098

ดับฝัน !​ “สงขลา​มรดกโลก”​ กองทัพเรือ​ตั้งสถานีเรดาร์​เขตโบราณสถาน​เขาแดง​

วานนี้ (3​ พฤษภาคม​ 2563)​ “ครูสืบ”​ นายสืบสกุล​ ศรีสุข​ ผู้อำนวยการภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม​ โพตส์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า​ ครูสืบขออนุญาตโพสต์เรื่องสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อโบราณสถานที่เป็นหัวใจเมืองสงขลา ที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์บนที่สูงที่สุด และเป็นจุดชมเมืองสงขลาเมืองสองทะเลที่สวยที่สุดของเมืองสงขลา และอาจทำให้พี่น้องทหารเรือได้ทราบเรื่องราวของความสำคัญที่จุดหัวใจเมืองสงขลาตรงนี้​ แล้วเปลี่ยนความตั้งใจ ที่จะไปสร้างฐานและจอเรดาร์ (ตามหนังสือที่ทางเจ้ากรมทหารเรือได้ของพื้นที่) ที่อยู่ห่างจากเจดีย์ประวัติศาสตร์ของความเป็นชาติไทย คือ​ เจดีย์องค์ดำ องค์ขาว และเป็นจุดหลอมรวมของสามวัฒนธรรม ที่สวยงามที่สุดของเมืองสงขลาเมืองพหุวัฒนธรรม เพราะฐานเจดีย์คือป้อมปืนหมายเลข 10 ของเมืองสงขลาเป็นเรื่องราวของพี่น้องมุสลิมที่สร้างโดยสุลต่านสุลัยมันผู้เป็นเจ้าเมืองเมื่อกว่า 400 ปี สมัยกรุงศรีอยุธยา เจดีย์องค์ดำ องค์ขาว เป็นเรื่องราวของพี่น้องพุทธ ที่สร้างโดยเจ้าพระยาคลัง และเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์และตรงกลางเจดีย์ มีอาคารเก๋งจีน เป็นเรื่องราวของพี่น้องจีน ที่สร้างโดยเจ้าเมืองสงขลาในช่วงเวลาที่พี่น้องจีนเป็นเจ้าเมือง จึงถือเป็นจุดที่สำคัญ เป็นหนึ่งพื้นที่หลักในการนำสงขลาไปขอขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก เพราะถ้าสงขลาได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ก็จะเป็นการเชื่อมให้ผู้คนที่มาเที่ยวเมืองมรดกโลกที่ปีนังประเทศมาเลเซีย ที่มีมากถึงปีละไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน​ ได้เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย มาสู่สงขลา​ แล้วสงขลาก็จะเป็นศูนย์กลางในการท่องเที่ยวของจังหวัดชายแดนใต้ ภาคใต้ชายแดนของเราก็จะได้รับการพัฒนาได้รวดเร็วและมากขึ้นในทุกมิติ​ นั่นคือฝันไกลของสงขลา แต่การที่ทางทหารเรือได้มีโครงการที่จะไปสร้างสิ่งแปลกปลอมบนพื้นที่ ที่อยู่ใกล้แหล่งโบราณสถาน คือ​ “ฐานและจอเรด้าร์”​ ที่เป็นหน่วยงานของความมั่นคง​ คือการดับฝันโครงการสงขลาสู่มรดกโลก ที่ถึงเวลานี้ทางยูเนสโก้ได้มีเอกสารส่งมายังจังหวัดสงขลาว่าทางยูเนสโกจะส่งบุคลากรมาช่วยดูแหล่งประวัติศาสตร์ […]

30

VOLVO ประกาศ ปี2040 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือ 0

วอลโว่ คาร์ ประกาศแผนการดำเนินงานครั้งสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์ เดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตของรถยนต์วอลโว่ให้ได้ 40% ในช่วงปี ค.ศ. 2018 – 2025 ถือเป็นการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมครั้งแรกของวอลโว่ เพื่อเป็นบริษัทที่ี่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Climate-Neutral Company) ภายในปี ค.ศ. 2040 แผนครั้งนี้ระบุถึงการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมซึ่งสอดคล้องกับข้อตกลงร่วมกับปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกปี ค.ศ. 2015 ซึ่งนับเป็นความพยายามในการจำกัดภาวะโลกร้อนไม่ให้สูงขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิก่อนยุคอุตสาหกรรม (Pre-Industrial Level) เป้าหมายในปี ค.ศ. 2040 ของวอลโว่ก้าวไปไกลกว่าการแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซจากท่อไอเสียรถยนต์ผ่านการใช้พลังงานไฟฟ้าเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่วอลโว่มีความเชี่ยวชาญในระดับแถวหน้าของโลก หากแผนการดำเนินงานครั้งนี้ยังมุ่งแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งในเครือข่ายการผลิต การดำเนินงานห่วงโซ่อุปทาน และผ่านการรีไซเคิลและการนำวัสดุกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานระยะสั้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายในปี ค.ศ. 2040 วอลโว่ คาร์ ได้เปลี่ยนมาใช้มาตรการที่ท้าทายอย่างทันท่วงทีเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดวงจรชีวิตหรือคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของรถยนต์วอลโว่ให้ได้ 40% ในระหว่างปี ค.ศ. 2018 – 2025 ซึ่งในกรอบเวลานี้ บริษัทยังตั้งเป้าหมายให้เครือข่ายการผลิตทั่วโลกลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ด้วยเช่นกัน “เรากำลังเปลี่ยนแปลงบริษัทของเราด้วยแผนการดำเนินที่เป็นรูปธรรม มิใช่แค่คำมั่นสัญญา” มร. ฮาคาน ซามูเอลส์สัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร วอลโว่ คาร์ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner