SDGs
นวัตกรรมฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยราไมคอร์ไรซา พิสูจน์ทราบแล้วจากป่าต้นน้ำน่าน พร้อมส่งผ่านสู่สมรภูมิไฟป่าทั่วโลก
แม้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยจะยังคงทรงตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 31-33 ตามรายงานจากสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ประเทศไทยยังคงให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) วางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมุ่งฟื้นฟูผืนป่าเศรษฐกิจและจัดการนิเวศป่าชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ทั้งที่อยู่นอกเขตและในเขตพื้นที่อนุรักษ์ บนพื้นที่มากกว่า 7,870,000 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย ในปี พ.ศ.2561-2562 พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยมีอยู่ทั้งสิ้น 102,484,072.71 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.68 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ โดยไฟป่ายังคงเป็นภัยคุกคามของทรัพยากรป่าไม้ไทย ทั้งไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วประเทศจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและไฟป่าที่เกิดจากการลักลอบเผาป่าเพื่อใช้ประโยชน์ ตามรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่ามีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศไทยถูกเผาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 จนถึงเดือนเมษายน 2563 แล้ว รวมทั้งสิ้น 170,835 ไร่ ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 3 ใน 4 เป็นพื้นที่ป่าในเขตภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุสำคัญของการลักลอบเผาป่าชุมชนมาจากเรื่องปัญหาปากท้องของคนในชุมชนละแวกใกล้เคียง ประกอบกับความเชื่อดั้งเดิมของคนพื้นถิ่นที่ว่า “ยิ่งเผา เห็ดยิ่งขึ้น” จึงสะท้อนปัญหาการลักลอบเผาป่าชุมชนให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังระดับชาติสั่งสมต่อเนื่องมาอย่างยาวนานนับสิบปี ปัญหาป่าชุมชนถูกเผาเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งเร้าให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูป่าให้ทำได้ยากเนื่องด้วยเพราะความชื้นและธาตุอาหาร รวมไปถึงเชื้อจุลินทรีย์พื้นถิ่นในดินตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไปพร้อมกับไฟป่าจนหมดสิ้นแล้วเท่านั้น แต่การลักลอบเผาป่าชุมชนยังสร้างปัญหาการแพร่กระจายของฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ในชั้นบรรยากาศกลายเป็นหมอกควันพิษให้กลับมาทำลายสุขภาวะของคนในพื้นที่เองอีกด้วย การฟื้นฟูป่าชุมชนเสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้งจึงจำเป็นต้องเริ่มจากการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมโดยเริ่มจากผืนดินเป็นอันดับแรก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]
หอพักบุคลากร สวัสดิการที่เอื้อต่อการพัฒนางานของคนจุฬาฯ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ 2 มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรสมรรถนะสูงที่มีกระบวนการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลเชิงรุกที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย โดยในปี พ.ศ. 2562 จุฬาฯ มีบุคลากรทั้งสิ้น 8,229 คน ประกอบด้วย บุคลากรสายวิชาการ 3,033 คน และบุคลากรสายปฏิบัติการรวมไปถึงเจ้าหน้าที่สนับสนุนภารกิจด้านต่าง ๆ อีกกว่า 5,196 คน ดังนั้น นโยบายการจัดสวัสดิการและบุคลากรสัมพันธ์จึงเป็นสิ่งที่จุฬาฯ ใส่ใจและดูแลเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการจัดหาที่พักอาศัยภายในหรือบริเวณโดยรอบมหาวิทยาลัยในรูปแบบหอพัก เพื่อให้บุคลากรผูกพันและมีความสุขในการทำงาน เอื้อให้สามารถพัฒนางานอย่างมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะบุคลากรที่ไม่มีที่พักในกรุงเทพมหานคร หรือมีที่พักในกรุงเทพมหานครแต่ไม่สะดวกต่อการเดินทางมาปฏิบัติงาน โดยจัดหอพักสำหรับบุคลากรจุฬาฯ ไว้ 3 แห่ง ได้แก่ หอพักวิทยนิเวศน์ เป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย อาคารหอพักวิทยนิเวศน์เป็นอาคาร 14 ชั้น มีห้องพักชนิดมีเครื่องปรับอากาศพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ห้องพักในหอพักวิทยนิเวศน์ ยังมีหลายรูปแบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว หรือเข้าพักส่วนตัว หรือการเข้าพักระยะยาว และการเข้าพักแบบรายวันในราคาย่อมเยา หอพักจุฬานิเวศน์ เป็นหอพักสำหรับข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัย อาคารหอพักจุฬานิเวศน์เป็นอาคาร 4 ชั้น มีห้องพักชนิดพัดลมพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ทั้งขนาดใหญ่แบบรองรับทั้งการเข้าพักเป็นครอบครัว และขนาดเล็กสำหรับเข้าพักส่วนตัว หอพักจุฬานิวาส เป็นหอพักสำหรับบุคลากรสายสนับสนุนตำแหน่งคนงาน […]
จุฬาฯ สืบศาสตร์สานศิลป์ ชุบชีวินศิลปินไทย
อีกบทบาทหนึ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ คือ การทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งการอนุรักษ์ การพัฒนาองค์ความรู้และสิ่งทรงคุณค่า รวมถึงการส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม เพื่อทำให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมของนิสิต คณาจารย์ บุคลากร และสังคมไทย ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา จุฬาฯ มุ่งพัฒนาองค์กรให้เป็นหน่วยงานหลักจัดเก็บและจัดการด้านข้อมูลศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนสนับสนุน เอื้ออำนวย และให้คำปรึกษาแก่ส่วนงานและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยมีโครงการสำคัญเป็นที่ประจักษ์ชัด 3 โครงการ ได้แก่ โครงการจุฬาฯ จารึกบันทึกคนดนตรี โครงการจัดทำวีดิทัศน์เชิดชูเกียรติศิลปิน และโครงการจัดทำวีดิทัศน์องค์ความรู้การอนุรักษ์สงวนรักษาผลงานศิลปกรรม มุ่งสืบสานมรดกดนตรีชาติ “จุฬาฯ จารึกบันทึกคนดนตรี” หอสมุดดนตรีไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านดนตรีไทยเพียงไม่กี่แห่งในประเทศที่มีจุดเด่นเป็นหอสมุดดนตรีที่ให้บริการในระบบดิจิทัลที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกในสถาบันอุดมศึกษา ก่อตั้งขึ้นจากแนวคิดของมหาวิทยาลัยที่มุ่งทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ จึงจัดทำโครงการบันทึกข้อมูลเพลงไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529 ซึ่งดำเนินการต่อเนื่องมาจนปัจจุบันกว่า 30 ปี นับเฉพาะบทเพลงไทยมีการบันทึกไว้ในฐานข้อมูลเพลงนี้มีมากกว่า 10,000 เพลง ปัจจุบันหอสมุดดนตรีไทยมีภารกิจหลักให้บริการสืบค้นข้อมูลเพลงไทยด้วยระบบสารสนเทศแก่นิสิต นักศึกษา จนถึงระดับบัณฑิตศึกษา และนักวิจัย รวมทั้งบุคคลที่สนใจโดยทั่วไป ทั้งด้านไฟล์เสียง วีดิทัศน์ และหนังสือหายากทางดนตรีไทย นอกจากนี้ ยังมีห้องจัดนิทรรศการหมุนเวียน และห้องพิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องดนตรีไทยชิ้นสำคัญอีกด้วย ในปี พ.ศ. 2561 […]
เรียนรู้โลกกว้างผ่านแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์จุฬาฯ เปิดชมฟรีตลอดปี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร อีกทั้งยังบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ผ่านการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ซึ่งมีทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำกับของส่วนกลางมหาวิทยาลัยและอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของหลายคณะ รวมมากถึง 23 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งล้วนเป็นคลังความรู้ที่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว อาทิ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาฯ, พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ สังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์, พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้อีกหลายแห่งกระจายอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯ ในแต่ละภูมิภาคอีก 2 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน จังหวัดชลบุรี เป็นต้น จุฬาฯ ได้พัฒนาทั้งเนื้อหาและรูปแบบการจัดแสดงในแบบสหศาสตร์อยู่อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยบูรณาการเนื้อหาและเทคนิคการนำเสนอผ่านความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ในรั้วจุฬาฯ ด้วยกัน อาทิ นิทรรศการ “กายวิจิตร” นำเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์มาผนวกเข้ากับการนำเสนอด้านศิลปกรรมศาสตร์, นิทรรศการ “อนันตกาล” (FOREVER) กับการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและคติความเชื่อทางศาสนา, นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปิน ชวลิต เสริมปรุงสุข : Rest In Progress ผู้สร้างแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ ผู้เป็นกำลังใจของผู้สูงวัย […]
News Update
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 13 ส.ค. 64
วันที่ 13 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 23,418 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 834,326 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 212,179ราย หายแล้วจำนวน 616,458 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 20,083 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 184 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 7,120 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 12 ส.ค. 64
วันที่ 12 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 22,782 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 810,908 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 209,028 ราย หายแล้วจำนวน 596,375 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 22,012 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 147 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 6,936 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 11 ส.ค. 64
วันที่ 11 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 21,038 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 788,126 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 210,042 ราย หายแล้วจำนวน 572,726 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 22,012 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 207 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 6,789 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 10 ส.ค. 64
วันที่ 10 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 19,843 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 767,088 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 211,233 ราย หายแล้วจำนวน 550,714 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 22,806 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 235 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 6,579 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 9 ส.ค. 64
วันที่ 9 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 19,603 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 747,254 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 214,421 ราย หายแล้วจำนวน 527,908 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 19,819 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 149 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 6,344 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 8 ส.ค. 64
วันที่ 8 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 19,983 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 727,642 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 214,786 ราย หายแล้วจำนวน 508,089 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 18,503 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 138 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 6,195 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข