มหัศจรรย์ “ไหมไทย” สร้างเนื้อเยื่อเทียม กรมหม่อนไหมปลื้ม จับมือจุฬาฯ ต่อยอดนวัตกรรม
เมื่อเอ่ยถึงผ้าที่มีคุณสมบัติมันวาว อ่อนนุ่ม ดูหรูหรา ทั่วโลกต่างต้องยกให้ “ผ้าไหมไทย” หนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน แต่ละปีไทยเรามีกำลังการผลิต “ผ้าไหม” ประมาณ 4,286 ตันต่อปี จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก เป็นรองเพียงจีน อินเดีย อุซเบกิสถาน และอิหร่าน (https://www.atlasbig.com/en-us/countries-by-silk-production) เท่านั้น โดยในปี 2564 กรมศุลกากรเคยเปิดเผยข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจถึงศักยภาพการส่งออกเส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับไหม โดยมีมูลค่ารวมกันสูงเกือบ 365 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดในประเทศ อุตสาหกรรมสิ่งทอกลุ่มหม่อนไหมมีมูลค่ารวมถึง 6,614.12 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากเส้นไหม นับได้ว่าหม่อนไหมนี้สร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยมากกว่า 86,000 ครัวเรือนเลยทีเดียว แม้ต้นตำรับของไหมโลกจะมีถิ่นกำเนิดจากอินเดียและจีน จนเกิดเป็นเส้นทางสายไหมที่ค้าขายกันมานับพันปี แต่สำหรับไหมไทยก็มีร่องรอยแห่งการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องล่วงเข้าขวบปีที่ 120 แล้ว นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมช่างไหม สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 ด้วยพระราชประสงค์ให้ทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้วิชาการและวิทยาศาสตร์ด้านไหมเพื่อสร้างผู้รู้ ผู้ชำนาญชาวสยาม จวบจนปัจจุบันกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงสืบทอดพระราชปณิธานนั้นสืบมาโดยมีภารกิจส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ วิจัยและพัฒนาหม่อนไหม อนุรักษ์และคุ้มครองหม่อนไหม พัฒนาสินค้าและศักยภาพเกษตรกรสู่ Smart Farmer นอกจากนี้ยังส่งเสริมเศรษฐกิจและการตลาดหม่อนไหมนำไปสู่ความร่วมมือหลากมิติกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของชาติไทยอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมหม่อนไหมและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่างมีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันมากว่า 17 ปีแล้ว โดยมุ่งพัฒนาเส้นไหมไทยยกระดับสู่นวัตกรรมที่เป็นมากกว่าสิ่งทอ ล่าสุด “เอนจินไลฟ์” สตาร์ทอัพและบริษัทสปินออฟจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub และ CU Engineering Enterprise ก็สามารถพัฒนากระบวนการสกัดสารละลายโปรตีนไฟโบรอินจากเส้นใยไหมได้สำเร็จ รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ Founder & CEO บริษัท เอนจิน ไลฟ์ จำกัด เปิดเผยว่า “โปรตีนไฟโบรอินในไหมไทยมีคุณสมบัติโดดเด่นสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ ดังจะเห็นได้จากความเข้ากันได้ทางชีวภาพ พบปฏิกิริยาต่อต้านจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ในระดับต่ำ และยังสามารถย่อยสลายได้เอง เราจึงนำโปรตีนสำคัญจากเส้นไหมนี้มาพัฒนานวัตกรรมระบบนำส่งยา วัคซีน และสารสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม โรคเบาหวาน และยังสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ใช้งานได้จริงทั้งในรูปแบบ 3D Hydrogel แผ่นแปะอนุภาคจิ๋วขนาดไมครอน และเส้นใยนาโน ซึ่งสิ่งที่เราทำได้เองนี้อาจช่วยพลิกโฉมวงการสาธารณสุข ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศช่วยให้คนไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างถ้วนหน้า” นับเป็นอีกย่างก้าวที่สำคัญของไหมไทยที่วันนี้ถูกพลิกโฉมจากสินค้าเกษตรก้าวล้ำสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ที่นำมาใช้งานได้จริงแล้วโดยฝีมือนักวิจัยไทย และต้องจับตาดูช็อตต่อเนื่องหลังวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของคณะผู้บริหารจากกรมหม่อนไหม นำโดยนายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม หารือกันและได้จรดปากกาลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) ฉบับใหม่ เร่งสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนากระบวนการเลี้ยงหนอนไหมและผลิตรังไหมอินทรีย์จากโรงเลี้ยงไหมต้นแบบให้มีมาตรฐานเหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ หวังต่อยอดใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องว่าจะสร้างแรงสั่นสะเทือนใหม่ให้เศรษฐกิจไทยได้อีกกี่ริกเตอร์ หากไทยเราสามารถพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติสร้างหลอดเลือดเทียมเส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม เปลือกตาเทียม ผิวหนังเทียม และกระดูกเทียมได้เองจาก “ไหมไทย”
นิเทศ จุฬาฯ ผนึกกำลัง “กองทุนสื่อ” จัดใหญ่ ฉลอง 84 ปี ลูกทุ่งไทย
เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 5 กรกฎาคมนี้ ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวโครงการ “ลูกทุ่งสร้างสรรค์ผสานสมัย พลังศิลปวัฒนธรรมไทยสู่สากล” ณ ห้องประชุม ดร.เทียม โชควัฒนา มุ่งหมายให้เป็นกิจกรรมใหญ่ฉลองวาระสำคัญวงการเพลงลูกทุ่งไทย ครบ 84 ปี ต่อยอดผสมผสานการเรียนรู้จากอดีตสู่ปัจจุบันและยกระดับเพลงลูกทุ่งเป็นซอฟต์พาวเวอร์ด้านศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญสู่อนาคตทั้งในประเทศไทยและระดับโลก ในการนี้ ฐิต์ณัฐ สมบัติศิริ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ดร.ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อานันท์ นาคคง ร้อยตรีพงศ์พรรณ บุญคง นคร ศรีเพชร ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต และศิลปินรับเชิญ “ชาย เมืองสิงห์” ศิลปินแห่งชาติ “ศรชัย เมฆวิเชียร” “ยิ่งยง ยอดบัวงาม” และ “ดวงตา คงทอง” ร่วมงานด้วย รศ.ดร.ปรีดา อัครจันทโชติ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ กล่าวต้อนรับและขอบคุณกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ […]
“กล่องรอดตาย” คว้า “คนดี ศรีจุฬาฯ” แห่งปี
30 พ.ค.66 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สนจ.) เป็นผู้แทนรับรางวัล “คนดี ศรีจุฬาฯ” จากศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในพิธียกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2565-2566 จากผลงาน “โครงการกล่องรอดตาย” เพื่อยกย่อง เป็นขวัญ และกำลังใจแก่บุคลากรสายปฏิบัติการซึ่งมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ มีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทำคุณประโยชน์ให้แก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเป็นรางวัลประเภทกลุ่มบุคลากรยอดเยี่ยมขนาดใหญ่ที่มอบให้กับการผนึกกำลังกันดูแลผู้ป่วยโควิด19 ของกลุ่มคณะทำงาน 5 หน่วยงาน ได้แก่ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) สำนักบริหารกิจการนิสิต สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการนี้ ศ.นพ.กำธร พฤกษานานนท์ อุปนายก คุณดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม เลขาธิการ คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ประชาสัมพันธ์ สนจ. รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช […]
กฟผ.ซิวแชมป์ กอล์ฟมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์
25 พ.ค. 66 มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ จัดการแข่งขัน “กอล์ฟการกุศลมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ 2023” ณ สนามกอล์ฟธูปะเตมีย์ สมทบทุนดำเนินงานสนับสนุนสตาร์ทอัพจุฬาฯ ของมูลนิธิ โดยมีทีมนักกอล์ฟใจบุญร่วมชิงชัย 31 ทีม ผลการแข่งขันปรากฏว่าในประเภททีม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คว้ารางวัลทีมชนะเลิศได้ครองเฉือนทีม BANPU POWER ไปเพียง 3 แต้ม ในประเภทบุคคล รางวัล OVERALL LOW GROSS ตกเป็นของคุณวรวีร์ ปริยวงศ์ จากทีมบริษัท ศิครินทร์ จำกัด (มหาชน) รางวัล OVERALL LOW NET ได้แก่ คุณเมธา ทองมา จากทีมบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รางวัลชนะเลิศ LOW NET Fight A ได้แก่ คุณสุรศักดิ์ วิทยามาศ ทีมบริษัท ไบโอ […]
เปิดยิ่งใหญ่ True5G PRO HUB
จากความร่วมมือของ 3 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ “สยามพิวรรธน์ – ทรู – กันตนา กรุ๊ป” ล่าสุดพื้นที่อย่าง True5G PRO HUB ก็เปิดตัวขึ้นแล้ว ในฐานะศูนย์กลางสำหรับทุกไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ทั้งสายเกมเมอร์ สายไลฟ์สไตล์สุดป๊อป และสายพัฒนาความรู้ด้วย Future Skills บนพื้นที่กว่า 2,000 ตารางเมตร ชั้น 4 สยามดิสคัฟเวอรี่ ภายใต้แนวคิดการออกแบบ “SpaceCraft to The Immersive Discovery Space” โดยแบ่งพื้นที่เป็น 7 โซน ครอบคลุมพื้นที่สำหรับการเล่นสนุก การเรียนรู้ และการพักผ่อน ได้แก่ “BATTLE ARENA” โถงกลางขนาดใหญ่บนพื้นที่ขนาด 787 ตารางเมตร พร้อมจอ LED ถึง 3 จอ ให้บรรยากาศการแข่งขันประลองฝีมือที่สามารถปรับเปลี่ยนพื้นที่ได้อย่างหลากหลายตามการจัดวางที่ต้องการในพื้นที่ พร้อมทั้งโซนอาหารและเครื่องดื่มและยังเป็นโถงใหญ่ในพื้นที่ที่สามารถไปพื้นที่อื่น ๆ ได้อีกโดยที่สามารถจุคนได้มากถึง 600 […]