NPR Digital Partner
เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SMEs ไทยฝ่าวิฤตเศรษฐกิจดิจิทัล
เมื่อภาคธุรกิจ SMEs สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย ในฐานะที่เป็นหน่วยธุรกิจที่มีผู้ประกอบการมากถึง 3 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.5 ของวิสาหกิจหรือกิจการในไทย ต้องยอมรับว่าธุรกิจ SMEs นั้นก่อให้เกิดการจ้างงานมากที่สุดและยังมีส่วนสำคัญผลักดันให้เกิดขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งจากการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการ รวมถึงเป็นกลไกหมุนเวียนรายได้และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ อีกด้วย แต่เมื่อโควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วทุกมุมโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อ SMEs ไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่อยู่รอด พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย เสริมสภาพคล่องระยะสั้น และเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจพัฒนาต่อได้ในระยะยาวให้กลับมาพร้อมเข้าสู่การแข่งขันได้อย่างรวดเร็วด้วยการทำ Digital Transformation ผ่านระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) และใช้ซอฟท์แวร์เข้ามาบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ประกอบการหลายท่านทราบกันดีว่าระบบเหล่านี้มีต้นทุนที่สูงเกินเอื้อม และยังมีบางอย่างที่ไม่สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับขนาดและประเภทธุรกิจ SMEs วันนี้ The Sharpener จึงได้ชวนคนรุ่นใหม่ไฟแรง 3 ท่านจาก NPR Digital Partner ทั้ง แพรี่ แพรวา นิมิตกุล Head of Strategyนีโน่ ศุภกิตติ์ เกษตรตระการ Head […]
หุ่นยนต์ ‘Walkie’ ดังกระหึ่ม วิศวฯ จุฬาฯ คว้ารองแชมป์โลก
เมื่อประเทศไทยอยู่ในยุคสมัยแห่งสังคมผู้สูงวัยมาระยะหนึ่งแล้ว จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยที่เราจะได้เห็นตลาดสินค้าและบริการขานรับและพุ่งเป้าใส่ใจไลฟ์สไตล์คนสูงอายุ หรือกลุ่ม Eldery Care ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เราก็ได้เห็นความพยายามของหลายบริษัทยักษ์ใหญ่โดดลงมาชิงชัยแข่งกันปักธงในตลาดนี้โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิต “หุ่นยนต์” เร่งพัฒนานวัตกรรม ปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาประยุกต์เอื้อต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะตัว เข้าตำรา “คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ” เพราะคนตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เป็นลูกหลานหามาให้ไว้ใช้งานด้วยความห่วงใย หลายครอบครัวจึงกำลังมองหาหุ่นยนต์มาเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระการดูแลผู้สูงวัยในบ้าน ไม่เพียงบริษัทระดับโลกเท่านั้นที่กำลังแข่งขันพัฒนาหุ่นยนต์ แต่ในระดับผู้พัฒนาระดับจูเนียร์ลงมาอย่างกลุ่มนิสิตนักศึกษาทั่วโลกเองก็ทำได้เก่งกาจไม่แพ้กันเลยทีเดียว ล่าสุดกับการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติในรายการที่ใหญ่ที่สุดในโลก “RoboCup@Home 2022” ที่เวียนกลับมาจัดที่ประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2565 ทีมหุ่นยนต์สัญชาติไทยโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้แสดงศักยภาพความเก่งกล้าสามารถในด้านนี้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งโลก โดยคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งมาครองได้สำเร็จ The Sharpener, Sharpen your SDG จึงพลาดไม่ได้ที่จะพาทุกท่านมารู้จักกับ “น้องเอิร์ธ ธนโชติ” หัวหน้าทีม EIC Chula ผู้พัฒนาหุ่นยนต์น้อง ‘Walkie’ จนดังกระหึ่มโลก ธนโชติ สรรพกิจ หรือ เอิร์ธ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าชมรมหุ่นยนต์แห่งวิศวฯ […]
ทานน์ดี นวัตกรรมอาหาร เพื่อคนไทยมีสุขภาพดี
The Shapener พาคุยกับ ผศ.ดร. สถาพร งามอุโฆษ อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ร่วมก่อตั้ง ทานน์ดี (Tann:D) อาจารย์แอมกล่าวว่าทานน์ดี ต้องการให้คนไทยทั่วไปมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน เลยทำให้นวัตกรรมของทานน์ดี เป็นนวัตกรรมที่มีความแตกต่างส่งเสริมสุขภาพโดยผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ทำออกมาคือเส้นโปรตีนจากไข่ขาวไม่ผสมแป้งเพื่อที่จะทำให้คนไทยดูแลตัวเองได้แบบง่าย ๆ และได้โปรตีนอย่างเพียงพอ Tann:D ทำไมถึงดีต่อผู้ป่วย สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องโรค โดยเฉพาะโรคจากการมีภาวะน้ำหนักตัวเกิน ผลิตภัณฑ์ของทานน์ดี 1 ห่อจะให้พลังงานเพียงแค่ 35 กิโลแคลอรีหรือเท่ากับแอปเปิ้ลครึ่งลูกเพียงเท่านั้น หากเทียบกับเส้นทั่ว ๆ ไปในปริมาณที่เท่ากัน ทานน์ดีจะให้พลังงานน้อยกว่าอย่างน้อยถึง 2 เท่า แต่ถ้าเทียบกับเส้นอุด้งแล้วเส้นไข่ขาวของทานน์ดีจะให้พลังงานน้อยกว่าถึง 5 เท่า เหตุนี้จึงทำให้คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก สามารถควบคุมน้ำหนักตัวได้ดี หรือคนเป็นโรคเบาหวานสามารถที่จะทานได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำตาลเกิน คนที่ต้องการโปรตีน ผู้ป่วยที่ล้างไต หรือคนไข้โรคมะเร็ง ก็สามารถทานเส้นไข่ขาวได้ อีกทั้งยังเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนรักสุขภาพ ที่ต้องการดูแลร่างกายของตนเอง Tann:D ทำเมนูอะไรดี ทานน์ดีสามารถทำได้ทั้งของคาวและของหวาน เมนูโปรดของผู้ใหญ่ที่ซื้อทานน์ดีไปรับประทานคือนำเส้นอุด้งไข่ขาวไปใส่กับน้ำเต้าหู้ จัดเป็นเมนูของหวานที่ได้รับความนิยม หากเป็นเมนูอาหารคาวที่รสจัดหน่อย ก็สามารถนำไปแทนเส้นขนมจีน ทำเป็นเส้นทานน์ดีกับน้ำยากะทิ หรือนำไปทานคู่กับส้มตำ ก็ได้ […]
Sharpen Your SDGs อแมนด้า ออบดัม
เทคนิคในการจัดการอารมณ์ จัดการกับแรงกดดันหรือว่าปลุกใจตัวเองอย่างไร ตอนอยู่บนเวที ถ้าใครได้เห็นการประกวดจะเห็นว่าด้ามีความสุขมากแต่มันเป็นการพูดคุยกับตัวเองนะคะ เพราะว่าด้าเคยเป็นโรค Bulimia และเป็นคนหนึ่งที่เคยไม่มั่นใจในตัวเองเลย ไม่รักตัวเอง ก็คือเป็นทุกอย่าง ไม่มีความมั่นใจ คือไม่มีอะไรเลย แล้วมีอยู่วันหนึ่งเรารู้สึกว่าเราต้องเปลี่ยนคำพูดที่เราพูดกับตัวเอง นั่นคือจุดเริ่มต้น เพราะว่าเรารู้สึกว่าเราใจไม่ดีกับตัวเองเลย จะต้องแบบเฮ้ยทำไมเธอทำได้แค่นี้ ทำไมไม่ทำให้ดีกว่านี้ ผอมกว่านี้อีกสิ ทำไมไม่สวยเลย ซึ่งเราก็เริ่มเหมือนเปลี่ยนเสียงในหัวแล้วก็ใจดีกับตัวเองมากขึ้น แบบแค่นี้ไม่เป็นไรพรุ่งนี้เอาใหม่ได้ ทำให้มันเป็นเหมือน Step ที่ทำให้เราเพิ่มความมั่นใจ เริ่มรักตัวเองมากขึ้น แล้วตอนที่ด้าไปอยู่ที่นู่นเนี่ย ก็คือใช้เทคนิคนี้เลย แล้วก่อนที่จะบินไปก็บอกกับตัวเองแล้วว่าความกลัวทุกอย่างทิ้งไว้ที่ประเทศไทย พอไปถึงจะทำทุกวันให้ดีที่สุด ให้มีความสุขที่สุด เพราะเราก็ต้องอย่าลืมว่านี่คือครั้งหนึ่งในชีวิตที่เราจะไม่สามารถกลับมาทำตรงนี้ได้อีก เพราะฉะนั้นต้องทำทุกวันให้ดีที่สุดเพื่อที่ในอนาคตเราจะไม่กลับมาแล้วต้องบอกตัวเองว่า ทำไมไม่ทำแบบนั้น แบบ What if ทำไมวันนั้นกลัว เพราะฉะนั้นเราก็พูดกับตัวเองว่าทำให้ดีที่สุด มีความสุขที่สุด แล้วตอนที่เราเดินออกมาบนเวทีก็ได้ยินเสียงคนตอบมือแล้วแบบ ไทยแลนด์ ไทยแลนด์ แล้วก็รู้สึกภูมิใจมากเลย มีความสุขมากที่อยู่บนเวทีตอนนั้น จริง ๆ มันไม่จำเป็นต้องกดดัน ไปทำให้ดีที่สุด สิทธิของ LGBTQIA+ใน ศตวรรษที่ 21 ในมุมมองของอแมนด้า ด้าคิดว่ามันมีความพัฒนามากขึ้น ด้ามองว่าความเท่าเทียมหรือ Equality […]
3 เหตุผลที่(ยัง)ต้องส่งข้าวให้คลองเตย “ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ”
คำขอบคุณที่ซ่อนไว้ด้วยการร้องขอ ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2521 ออกนอกชุมชนคลองเตยในยามนี้ การปรากฏตัวของครูประทีปในวัน MOVE ON FIGHTERS ของเครือข่าย Food For Fighters ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงเปี่ยมไปด้วยความหมายที่ซ่อนนัยสำคัญไว้มากมาย ด้วยบทบาทตลอดสี่สิบกว่าปีของครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปที่อยู่ดูแลสารทุกข์สุกดิบคนคลองเตยจนรู้จักพื้นที่นี้ดีกว่าใคร ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางชุมชนรับแจ้งข้อมูลคนติดโควิด-19 และเป็นกุญแจดอกสำคัญช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับตัวไปรักษา รวมถึงดูแลด้านสาธารณสุขลงไปช่วยพ่นยาฆ่าเชื้อถึงในบ้านที่มีผู้ติดเชื้อ นำข้าวปลาอาหารไปให้ญาติพี่น้องของผู้ติดเชื้อเมื่อต้องกักตัว โดยเชื่อว่าการบูรณาการความช่วยเหลือให้ใกล้เคียงกับคำว่าครบวงจรมากที่สุดนั้นจะช่วยหยุดการแพร่เชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จะทำได้ คลองเตยตกเป็นพื้นที่เป้าหมายของเชื้อไวรัสโควิด -19 เข้าจู่โจมชีวิตนับแสนมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนจนมีผู้ติดเชื้อขึ้นหลักพันและมีผู้ต้องถูกกักตัวได้รับความเดือดร้อนเป็นแรมเดือน จึงทำให้หลายฝ่ายจำต้องยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” โดยเครือข่าย Food For Fighters ที่ได้ร่วมส่งอาหารกล่องและถุงยังชีพอุ้มกว่า 40 ชุมชนรอบบริเวณนี้ เมื่อสถานการณ์ยังคงไม่สู้ดีและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ในเร็ววัน ยิ่งนานวันคนที่ต้องการความช่วยเหลือยิ่งมากขึ้นคล้ายการเติมเกลือลงในมหาสมุทร แม้ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา แต่ความหิวโหยของคนต้องกักตัวในชุมชนคลองเตยยังไม่ลดลง ท่าทีและเรื่องราวที่ครูประทีปได้ส่งผ่านการพูดคุยกับเราในวันนี้จึงตอกย้ำว่า “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งข้าวให้ชุมชนไปแล้วเกือบ 2 แสนกล่องนั้น ยังยุติภารกิจไม่ได้แม้จะเคยขยายเวลาเปิดรับบริจาคมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ สนจ. […]