Banner 216 01

อลังการงานวิ่งแห่งปี ‘Intania Run’จุฬาฯ ครึ่งหมื่นวิ่งฉลองวิศวฯ 111 ปีขน 50 เมนูดังเสิร์ฟอิ่มจุใจ สุดเซอร์ไพรส์แจกไอโฟน 15

วิศวจุฬาฯ จัดใหญ่ “Chula Intania Run 2024” นักวิ่งกว่า 5 พันคน หลั่งไหลประลองฝีเท้า วิ่งทั่วจุฬาฯ ผ่าสยาม เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2567 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) ผนึกกำลังคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะกรรมการนิสิตวิศวจุฬาฯ (กวศ.) จัดงานวิ่งการกุศล “Chula Intania Run 2024” ฉลองนับถอยหลังเข้าสู่ 111 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบทุนพัฒนาคณะและกิจกรรมนิสิตสร้างสรรค์สังคม โดยได้รับความสนใจจากนิสิต นิสิตเก่าวิศวจุฬาฯ พร้อมประชาคมจุฬาฯ และประชาชนที่รักสุขภาพ ออกมาร่วมกิจกรรมมากกว่า 5,000 คนแบ่งเป็น 2 ระยะการแข่งขัน ได้แก่ ระยะ 10.111 กม. และระยะ 3.711 กม. เริ่มออกสตาร์ตปล่อยตัวจากหน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่เวลา 5.30 น. วิ่งผ่านแลนด์มาร์คสวยงามอย่างสนามหน้าพระบรมรูปสองรัชกาล […]

Banner 220

ชวนโหลดแอ๊พใหม่ “CFiD”วิศวฯ จุฬาฯ ล้ำไปอีกขั้นเตรียมคนไทยพร้อมมุ่งสู่ Net Zero

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบลัย ร่วมกับ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) เปิดตัวแอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) ชวนประชาคมจุฬาฯ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมประจำวันของตนเองมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมลงพื้นที่ตลาดนัดจุฬาฯ ณ ศาลาพระเกี้ยว จัดกิจกรรมรณรงค์ชวนชาวจุฬาฯ และผู้ที่สนใจสายกรีนร่วมภารกิจรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “CFiD” (Carbon Footprint in Daily life) ชวนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบันทึกและติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมนำไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมประจำวันที่เชื่อมโยงไปกับภารกิจมุ่งลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายในองค์กรจนบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศไทยต่อไป ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ […]

Banner 214 03

เขาใหญ่ปลอดรถ 2023 โหมยั่งยืน ปั่น วิ่ง เดิน ลดขยะ 

รวมพลคนหัวใจสีเขียวปั่น วิ่ง เดินกับกิจกรรม “วันเขาใหญ่ปลอดรถ 2023 (Khao Yai  Car Free Day 2023)” เพื่อขับเคลื่อนการลดปริมาณขยะ แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน วางเป้าหมาย Car Free Zone ในอนาคตเพื่อ“เขาใหญ่ยั่งยืน” ณ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่  วันที่ 22 กันยายน ของทุกปี คือ วันปลอดรถ หรือ Car Free Day ที่ทั่วโลกรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศจากยานพาหนะ ซึ่งปีนี้ สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่ ร่วมกับอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ โครงการ “เขาใหญ่ กรีน & คลีน” สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ( สสปน.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บริษัท เป๊ปซี่ – โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง จำกัด บริษัท อีวี มี พลัส […]

Banner 2132

จุฬาฯ เปิดพิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต แหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์สู้โลกเดือด ชูนวัตกรรมกล้าไม้อัตรารอดสูง

วันนี้โลกเราก้าวข้าม “ภาวะโลกร้อน” เข้าสู่ “ภาวะโลกเดือด”  จากการที่อุณหภูมิไต่ระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ การเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้ประเทศไทยและโลกไม่ตกอยู่ในความเสี่ยง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มีความพร้อมทางด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับพืชสาขาต่างๆ รวมทั้งมีคณาจารย์ นักวิจัย นิสิตและผู้เชี่ยวชาญที่มีความพร้อม ในการนำความรู้มามี ส่วนร่วมแก้ปัญหาสถานการณ์ภาวะโลกเดือดในปัจจุบัน ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จึงจัดนิทรรศการ พิพิธภัณฑ์พืชมีชีวิต (Living Plant Museum) ณ อาคารเรือนกระจก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ  โดยมี ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ และศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีด้านการติดตามและประเมินผลยุทธศาสตร์ แผนการงบประมาณ และสุขภาวะ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ รศ.ดร.ธนัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ คุณกัมพล ตันสัจจา ประธานสวนนงนุช พัทยา คุณนันทวรรณชยา ภาจิตประพันธ์ ประธานบริษัท เฮิร์บฟอร์ยู จำกัด บริษัท เวิร์ดกรีน พลัส […]

Banner 2121

ผ่าคำแถลงนโยบายรัฐบาลเศรษฐา ให้ค่า “โลกเดือด” แค่ไหน

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาของรัฐบาลนายกเศรษฐา ทวีสิน ที่นำพาคณะรัฐมนตรีฝ่าด่านอภิปรายโดยไม่ลงมติจากสมาชิกรัฐสภาตลอด 2 วันเต็ม (11-12 ก.ย.66) เล่นเอาเรียกเสียงฮือฮาจากเหล่าเอฟซีทั้งกองเชียร์และกองแช่งอึงมี่ไปทั่วเมือง เพราะหลายนโยบายฟังแล้วก็น่าหนุนส่งอยากให้เร่งทำคลอดออกมาไว ๆ ในขณะที่ก็มีบางนโยบายถูกแซวว่าไม่ตรงปกผิดเพี้ยนไปจากที่พรรคแกนนำหาเสียงไว้ รวมถึงบางนโยบายก็หายลิบเลือนเข้ากลีบเมฆไปไม่ปรากฏให้เห็นในคำแถลงที่ลงไว้ในราชกิจจานุเบกษา ความยาว 14 หน้า นับรวมได้ถึง 297 บรรทัด ซึ่งเมื่อใครได้ชมการแถลงสดกลางสภาของท่านนายกเศรษฐา หรือจะกลับมานั่งอ่านดูกันให้ละเอียดถี่ถ้วนก็จะพบว่านโยบายรัฐบาลชุดนี้ได้ให้ความสำคัญยิ่งกับภารกิจเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาส่อเค้าจะซึมยาวให้หวนกลับมาคึกคักดังจะเห็นได้จากมาตรการเร่งด่วนทั้งลดค่าไฟ ค่าน้ำมันดีเซล พักหนี้เกษตรกรและธุรกิจ SMEs เรื่อยไปจนถึงแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่เมื่อเราลองกวาดตาพลิกหานโยบายด้านสิ่งแวดล้อมก็ได้เจอเข้าอย่างจังกับความพยายามสู้โลกเดือดที่ก็ให้ความสำคัญต่อการรับมือกับความแปรปรวนของสภาพอากาศอินเทรนด์ได้ไม่น้อยหน้าประเทศชั้นนำอื่นเช่นกัน โดยแอบปรากฏคำว่า “คาร์บอน” ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนของการสู้โลกเดือดครั้งนี้ไว้มากถึง 3 แห่งเลยทีเดียว นั่นคือ “การขายคาร์บอนเครดิต” “Carbon Neutrality” และ “ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์” คำแรก “การขายคาร์บอนเครดิต” ปรากฏพบอยู่ที่หน้า 8 ในราชกิจจานุเบกษา ตรงย่อหน้าที่ว่า“…นอกจากนี้ รัฐบาลจะส่งเสริมแนวทางที่สร้างรายได้จากผืนดินและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน โดยกำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่ และส่งเสริมให้เจ้าของที่ดินหรือชุมชนโดยรอบได้รับประโยชน์จากการเพิ่มพูนของระบบนิเวศ การขายคาร์บอนเครดิตอย่างยุติธรรม และได้รับการยอมรับจากระดับสากล…” อ่านเผิน ๆ ก็พลอยทำให้ใจฟูได้อยู่เหมือนกัน แต่เมื่อเจาะลึกลงไปกลับยังมองไม่เห็นแววแนวดำเนินนโยบายที่แน่ชัดโดยเฉพาะกับวรรคที่กล่าวว่า “…กำหนดให้มีสัดส่วนการปลูกไม้ยืนต้นให้เหมาะสมกับประเภทและลักษณะของพื้นที่…” ดูแล้วก็จะคล้ายกับข้อกำหนดของกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยที่ก่อนหน้านี้เคยกำหนดพื้นที่เกษตรกรรมด้วยจำนวนพืชผักและไม้ผลต่าง […]

Banner 214 01

ถอดบทเรียน “ไฟป่าฮาวาย” เซ่นโลกเดือด คร่าชีวิต 115 ศพ ฉุดเศรษฐกิจวูบเฉียด 2 แสนล้าน

จากอุณหภูมิโลกในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ร้อนปรอทแตกจนองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกต้องขอจดบันทึกไว้เป็นประวัติการณ์ว่าเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดเท่าที่โลกเราเคยเผชิญมา ร้อนไปถึงนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ฤกษ์ออกมาประกาศเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคมที่ผ่านมาว่า ขณะนี้โลกเราได้อัพเวลเข้าสู่ยุค “โลกเดือด” (Global Boiling) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันชาวโลกก็ต้องอกสั่นขวัญแขวนกันอีกครั้ง เมื่อมลรัฐฮาวายแห่งสหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับหายนะไฟป่าที่แผดเผาเกาะเมาวีให้มอดไหม้แทบทั้งเกาะนานนับสัปดาห์จนคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 115 ศพ และยังสูญหายอีกถึง 110 ราย เกาะเมาวี ถือเป็นที่ตั้งของ “ลาไฮนา” เมืองหลวงเดิมของฮาวาย เป็นเกาะใหญ่อันดับ 2 ในบรรดาหมู่เกาะฮาวาย และนับได้ว่ามีชายหาดสวยงาม ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และเป็นสวรรค์ของนักท่องเที่ยวมากมายต่างเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจกัน แต่ในรอบเดือนที่ผ่านมาไฟป่าได้โหมกระหน่ำทำให้ที่นี่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เมื่อย่างเข้าบ่ายคล้อยของวันที่ 8 สิงหาคม 2566 ชาวเมืองลาไฮนาต้องเผชิญกับไฟป่าหลายจุดผนวกกับกระแสลมกรรโชกแรงส่งผลให้ไฟป่าปะทุลุกลามอย่างรวดเร็วจนทั้งเมืองกลายเป็นทะเลเพลิง ประชาชนนับหมื่นต่างต้องหนีตายอย่างอลม่าน ซึ่งกว่ารัฐจะเข้าควบคุมสถานการณ์ไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จรวมถึงค้นหาผู้เสียชีวิตตามซากปรักหักพัง ก็ใช้เวลานานถึง 4 สัปดาห์ ทำให้พื้นที่กว่าร้อยละ 80 ของเมืองหรือประมาณ 5,300 ไร่ กลายเป็นเถ้าธุลี สิ่งปลูกสร้างกว่า 2,200 หลังพังราบเป็นหน้ากลอง โดยเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2566 เจ้าหน้าที่ของรัฐเมาวีได้เปิดเผยว่าเหตุการณ์นี้พบผู้เสียชีวิตแล้วทั้งสิ้น 115 […]

Banner 210

The Great Barrier Reef ออสซี่ฟื้นปะการังซอมบี้สู้ทะเลเดือดหนีหลุดมรดกโลก

“The Great Barrier Reef” ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติจากองค์การยูเนสโก้ ตั้งแต่ปี 1981 เป็นต้นมา ด้วยดีกรีแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทอดตัวอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลกว่า 348,000 ตารางกิโลเมตร หรือมีขนาดใหญ่กว่าประเทศเวียดนามที่มีคนอาศัยอยู่บนแผ่นดินราว 100 ล้านคน แต่เมื่อลองดำดิ่งลงมายังโลกใต้ทะเล The Great Barrier Reef เป็นถิ่นอาศัยของสิ่งมีชีวิตมากมายกว่า 9,000 ชนิดอยู่ในแนวปะการังมากกว่า 3,000 แนว ซึ่งแน่นอนว่าพื้นที่ขนาดนี้ย่อมกว้างใหญ่กว่าแนวปะการังในท้องทะเลไทยถึง 2,300 เท่าเลยทีเดียว แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลโดยตรงให้น้ำทะเลอุ่นขึ้นเรื่อย ๆ จนเกิดปรากฏการณ์ปะการังซอมบี้ฟอกขาวซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงไม่ง่ายเลยที่ออสเตรเลียจะยื้อสถานภาพมรดกโลกแห่งนี้ไว้ได้นาน แต่ยังไงเสียก็ยังไม่สายเกินเพลที่จะทุ่มทำอะไรกันบ้าง The Sharpener จึงได้เก็บเรื่องราวความพยายามสู้โลกรวนของพวกเขามาฝากกันเช่นเคย น้อยคนนักที่จะทราบว่าภายในปะการังยังมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่นั่นคือสาหร่ายจิ๋ว “ซูแซนเทลลี่” (Zooxanthellae) ผู้ทำหน้าที่สร้างอาหารให้กับปะการังผ่านการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่ด้วยน้ำทะเลที่ทั้งอุ่นและเค็มขึ้นจึงเป็นเหตุให้สาหร่ายจิ๋วเหล่านี้มิอาจทานทนอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมที่เรรวนซวนเซ บ้างต้องหนีตาย บ้างก็ต้องตายโดยที่ยังไม่ทันได้หนี เหลือทิ้งไว้เพียงซากโครงสร้างหินปูนให้ดูต่างหน้า สภาวการณ์เช่นนี้เองที่เขาเรียกกันว่า “ปะการังฟอกขาว” (Coral Bleaching) โดยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาได้เกิดปรากฎการณ์นี้ครั้งใหญ่ไปแล้วถึง 2 ครั้ง คือ […]

Banner 213

มหากาพย์ไฟป่าพ่นพิษ แคนาดาอ่วม คาดจีดีพีวูบกว่า 1.7 

ช่วงวันที่ 7-8 มิถุนายนที่ผ่านมา เราคงได้รับทราบข่าวใหญ่ส่งตรงมาจากสหรัฐอเมริกากันแล้ว เมื่อประชาชนในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คและอีกหลายเมืองใกล้เคียงต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดเลวร้ายจาก PM2.5 ท่ามกลางดัชนีคุณภาพอากาศขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยวัดค่า AQI ได้ถึง 265 และไต่ระดับขึ้นไปจนเกิน 300 ในบางเวลา จนทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีส้มดูแปลกตา เป็นเหตุให้ทางการนครนิวยอร์กออกประกาศเตือนประชาชนถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศพร้อมทั้งสั่งงดกิจกรรมกลางแจ้งของโรงเรียนรัฐบาลทั่วทั้งเมือง ซึ่งแน่นอนว่าเหล่า New Yorker ไม่น่าจะ happy กับสิ่งนี้แน่นอน กลุ่มหมอกควันมวลขนาดใหญ่ที่พัดเข้ามาในเขตสหรัฐอเมริกาครั้งนี้มีต้นกำเนิดมาจากไฟป่าที่กำลังลุกโหมรุนแรงอยู่ในเขตประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างแคนาดา โดยควันไฟได้เริ่มพัดพาข้ามแดนมาตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว โดยมีการแจ้งเตือนสภาพมลพิษทางอากาศจาก National Weather Service and Environmental Protection Agency อยู่บ้าง แต่ปัญหาหมอกควันในนิวยอร์คก็ได้ทุเลาเบาบางลงไปแล้ว เหลือไว้แต่ต้นตอแหล่งกำเนิดไฟป่าในแคนาดาที่ยังคงความรุนแรง ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากจะควบคุมได้ และยังพบว่าในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบใหญ่หลวงจนทำให้ดูเหมือนว่าฝุ่นควันที่พัดเข้าไปในเขตสหรัฐนั้นกลายเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไปเลย แม้ว่าแคนาดาจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสามารถเรียกได้ว่าช่วงนี้ถือเป็น “ฤดูกาลแห่งไฟ” ตามธรรมชาติของป่าสนในเขตนี้ แต่ทว่าไฟป่าปีนี้รุนแรงเกินกว่าที่เคยเกิดขึ้น จากข้อมูลที่สอดรับกันของทั้ง Canadian Wildland Fire Information System และวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าในปีก่อน ๆ ช่วงต้นฤดูกาลแห่งไฟ […]

Banner 209 01 1

ติดเส้นศูนย์สูตรแล้วไง เมื่อลอดช่องจะดับร้อนด้วย “Cooling Singapore”

“สิงคโปร์” ประเทศขนาดจิ๋วที่มีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่กลับอัดแน่นไปด้วยผู้คนจำนวนมาก ส่งผลให้ความหนาแน่นของประชากรบนเกาะเล็ก ๆ ปลายแหลมมลายูแห่งนี้จัดอยู่ใน top 3 เป็นรองเพียงแค่มาเก๊าและโมนาโกเท่านั้น อีกทั้งชัยภูมิของประเทศนี้ก็ไม่ธรรมดา ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียง 1 องศา ด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นศูนย์สูตรจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด จนอาจส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ได้ทุ่มเทเวลาตลอด 6 ทศวรรษเพื่อรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากความมุ่งมั่นของประเทศเล็กพริกขี้หนูที่หวังจะสร้างเมืองในฝันเพื่อทุกคน พวกเขาทำอย่างไร และทำไมต้องทำ The Sharpener มีเรื่องราวดี ๆ มาฝากกัน หลังจากที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965 คนสิงคโปร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย ทั้งการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น การเติบโตของอุตสาหกรรม และการอพยพเข้ามาของแรงงานต่างชาติ นำมาซึ่งการเจริญเติบโตของเมือง ซึ่งถือเป็นแหล่งที่อยู่ของประชากรเหล่านี้ ผนวกกับความเปราะบางของประเทศที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนอาจทำให้เกาะสวรรค์แห่งนี้จมหายลับไปในทะเล และที่มากไปกว่านั้นสิงคโปร์ยังเสี่ยงได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ “เกาะความร้อนในเมือง” หรือ “Urban Heat Island” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เมืองสัมผัสได้ถึงความร้อนมากกว่าบริเวณโดยรอบจากการดูดกลืนความร้อนของวัตถุต่าง ๆ เช่น คอนกรีต ยางมะตอย เป็นต้น ล้วนส่งผลโดยตรงกับผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ในเขตเมืองเฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ตามข้อมูลของ Barcelona Institute for Global Health […]

Banner 208 01

แปลกแต่จริง ไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมาก….. 

“ทำไมไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมากกว่าไม้อายุมาก?” คำถามนี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อหลายคนได้เห็นการเปิดเผยข้อมูลการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยางพาราแต่ละช่วงอายุของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=91127&filename=index) ยางพาราสามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดเมื่ออายุ 6-10 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.34 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี แต่หลังจากนั้นการกักเก็บจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อยางพาราอายุมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะสวนทางกับความรู้สึกของเราที่มักคิดกันว่าต้นไม้ยิ่งโตก็น่าจะได้คาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย แต่แท้จริงแล้วยังมีสิ่งที่เราต้องกลับมาทำความเข้าใจในเรื่องของการเจริญเติบโตของต้นไม้กันก่อน ถ้าพูดกันให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็จะเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้เปรียบได้กับมนุษย์เรา ที่มีวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยเกษียณ โดยช่วงวัยทำงานจะเริ่มเมื่อไม้มีอายุโตได้ประมาณ 3-5 ปี จะเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าในช่วงระยะอื่นเพราะจะนำไปใช้สร้างเนื้อไม้ให้หนาและสูงใหญ่ตั้งตรงได้ แต่ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ต้นไม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อย ๆ ลดลง เหมือนคนสูงวัยที่กินอะไรไม่ค่อยลง บางคนหนักข้อถึงขั้นเบื่ออาหารเลยก็มี แน่นอนว่า กรมป่าไม้ก็ได้แบ่งประเภทไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้ปลูกสร้างสวนป่าไว้ตามการเจริญเติบโตของไม้นั้น ๆ ไว้เช่นกัน มีทั้งไม้โตเร็ว ไม้โตปานกลาง และไม้โตช้า โดยไม้โตเร็วจะมีอายุรอบตัดฟันไม้ 5-15 ปี ช่วงที่ไม้มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดอยู่ที่ 5-10 ปี จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มช้าลง ในขณะที่ไม้โตปานกลางและไม้โตช้า มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านช่วง 5 ปีแรกไปแล้ว จนถึงอายุ 20-30 ปี […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner