Banner 208 01

แปลกแต่จริง ไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมาก….. 

“ทำไมไม้อายุน้อยกลับได้คาร์บอนเครดิตมากกว่าไม้อายุมาก?” คำถามนี้เกิดขึ้นทันทีเมื่อหลายคนได้เห็นการเปิดเผยข้อมูลการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในยางพาราแต่ละช่วงอายุของการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ซึ่งอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (https://www.raot.co.th/ewt_news.php?nid=91127&filename=index) ยางพาราสามารถกักเก็บและดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดเมื่ออายุ 6-10 ปี คิดเป็นค่าเฉลี่ย 1.34 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่ต่อปี แต่หลังจากนั้นการกักเก็บจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อยางพาราอายุมากขึ้น ซึ่งดูเหมือนจะสวนทางกับความรู้สึกของเราที่มักคิดกันว่าต้นไม้ยิ่งโตก็น่าจะได้คาร์บอนเครดิตเพิ่มขึ้นด้วย แต่แท้จริงแล้วยังมีสิ่งที่เราต้องกลับมาทำความเข้าใจในเรื่องของการเจริญเติบโตของต้นไม้กันก่อน ถ้าพูดกันให้เห็นภาพง่าย ๆ ก็จะเทียบการเจริญเติบโตของต้นไม้เปรียบได้กับมนุษย์เรา ที่มีวัยเด็ก วัยทำงาน และวัยเกษียณ โดยช่วงวัยทำงานจะเริ่มเมื่อไม้มีอายุโตได้ประมาณ 3-5 ปี จะเป็นช่วงที่ต้นไม้เจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด จึงกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าในช่วงระยะอื่นเพราะจะนำไปใช้สร้างเนื้อไม้ให้หนาและสูงใหญ่ตั้งตรงได้ แต่ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว ต้นไม้จะมีอัตราการเจริญเติบโตค่อย ๆ ลดลง เหมือนคนสูงวัยที่กินอะไรไม่ค่อยลง บางคนหนักข้อถึงขั้นเบื่ออาหารเลยก็มี แน่นอนว่า กรมป่าไม้ก็ได้แบ่งประเภทไม้มีค่าทางเศรษฐกิจที่ใช้ปลูกสร้างสวนป่าไว้ตามการเจริญเติบโตของไม้นั้น ๆ ไว้เช่นกัน มีทั้งไม้โตเร็ว ไม้โตปานกลาง และไม้โตช้า โดยไม้โตเร็วจะมีอายุรอบตัดฟันไม้ 5-15 ปี ช่วงที่ไม้มีอัตราการเจริญเติบโตสูงที่สุดอยู่ที่ 5-10 ปี จากนั้นอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มช้าลง ในขณะที่ไม้โตปานกลางและไม้โตช้า มีอัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น เมื่อผ่านช่วง 5 ปีแรกไปแล้ว จนถึงอายุ 20-30 ปี […]

S 82100258

จุดสลบรถ EV …
อาจมาถึงเร็วเกินคาด

จากกระแสเปลี่ยนผ่านไปสู่ยุค Carbon Neutrality ต่อเนื่องไปถึง Net Zero Emission ที่หลายประเทศต่างขานรับแนวนโยบายนี้ล้อมาจากเวที COP26 และกำลังจัดกิจกรรมรณรงค์โน้มน้าวใจให้ผู้คนหันมาเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมหันมารักษ์โลกกันมากขึ้น นับเป็นอีกหนึ่งความพยายามและถือเป็นกุศโลบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้กลับมาคึกคักอีกครั้งด้วยเทรนด์ใหม่อย่าง BCG Bio-Circular-Green ไปพร้อมกัน ซึ่งเป็นอานิสงค์จากมหกรรมการควักเงินลงทุนระดับเมกะโปรเจคระดับครัวเรือนเพื่อทยอยเปลี่ยนข้าวของเครื่องใช้ในบ้านมากมายหลายรายการตามกระแสนิยม และแน่นอนว่า “รถยนต์” ก็เป็นอีกหนึ่งไอเท็มสำคัญประจำบ้านที่เข้าข่ายกำลังจะถูกทดแทนด้วยยานยนต์ไฟฟ้าหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “EV” นั่นเอง ขุมพลังรักษ์โลกที่ช่วยให้รถอีวีวิ่งไปไหนมาไหนได้โดยไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาเหมือนรถสันดาปน้ำมัน หัวใจย่อมอยู่ที่แบตเตอรี่ที่ทำหน้าที่ชาร์จไฟฟ้าเข้าไปกักเก็บไว้เป็นพลังงานให้รถแล่นได้ ปัจจุบันแบตเตอรี่ก็ได้รับการพัฒนาให้มีความจุไฟฟ้าเพิ่มได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เป็นเหตุให้ค่ายรถยนต์สามารถทยอยปล่อยรถอีวีออกมาหลากหลายรุ่น วิ่งได้ใกล้ไกลแตกต่างกันไปตามสมรรถนะ เราจึงได้เห็นการแข่งขันกันยึดหัวหาดส่วนแบ่งตลาดยานยนต์ไฟฟ้าดุเดือดขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน จากการเปิดเผยของบริษัทวิจัยตลาด Canalys เมื่อต้นปี 2022 พบว่า ตลอดปี 2021 ทั่วโลกมียอดขายรถอีวีราว 6.5 ล้านคัน เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 109 และมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 9 ของรถยนต์ใหม่จากทั่วโลก โดยเป็น Tesla ที่ครองอันดับ 1 ด้วยส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 14 แต่หากมองตัวเลขส่วนแบ่งตลาดโลก ครึ่งหนึ่งจะมาจากตลาดจีนที่คึกคักมากกว่าใคร ปล่อยรถอีวีโมเดลใหม่ออกสู่ตลาดในประเทศทุกเซกเมนต์ตั้งแต่รถเล็กราคาถูกไปจนถึงรถ SUV […]

S 82100255 1

“บัตรคนพิการ”
แอปดีที่เข้าใจผู้พิการ

บัตรคนพิการเป็นหนึ่งในสวัสดิการแห่งรัฐที่จัดให้เป็นการเฉพาะกับผู้พิการที่มาขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ซึ่งผู้ถือบัตรนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อาทิ ได้รับเบี้ยความพิการเดือนละ 800 บาท บริการด้านการแพทย์ และสิทธิตามที่รัฐบาลกำหนดไว้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมสอดคล้องกับแนวทางขององค์การสหประชาชาติ และด้วยเหตุนี้เอง สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ป.ย.) จึงได้ร่วมกับกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พัฒนาแอปพลิเคชัน “บัตรผู้พิการ” ขึ้นโดยแอปนี้สามารถดาวโหลดได้ทั้งระบบ android และ iOs เปิดตัวครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ในวันคนพิการสากล ผู้ถือบัตรคนพิการ สามารถลงทะเบียนในแอปนี้ เพื่อขอออก”บัตรประจำตัวคนพิการดิจิทัล” โดยแสดงหลักฐาน 3 รายการ ได้แก่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด และวันที่ออกบัตรประจำตัวคนพิการ โดย ”บัตรดิจิทอล” นี้สามารถใช้แทนบัตรคนพิการแบบเดิมได้ อำนวยความสะดวกให้ไม่ต้องพกพาบัตรอีกต่อไป โดยมีฟีเจอร์แจ้งเตือนเมื่อบัตรคนพิการใกล้หมดอายุ รวบรวมข้อมูลสิทธิคนพิการซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยตรงจากในแอปนี้และสมัครใช้งานได้ทันที นอกจากนี้ ผู้พิการยังสามารถใช้แอปนี้ค้นหางาน โดยเลือกการค้นหางานแบบแสดงตำแหน่งงานว่างตามภูมิลำเนา พร้อมศึกษารายละเอียด และในฟีเจอร์จัดหางานนี้เองได้เชื่อมต่อกับเวปไซต์จัดหางาน “ไทยมีงานทำ” ที่เชื่อมโยงข้อมูลกับกรมจัดหางาน และยังมีตลาดงานคนพิการซึ่งเป็นสื่อกลางรวบรวมแหล่งงานและสินค้าคนพิการพร้อมสรรพอีกด้วย และที่มากไปกว่านั้น แอปนี้ยังมีฟีเจอร์เด่นอำนวยความสะดวกให้คนพิการกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการผ่านระบบออนไลน์ได้โดยตรง มีข่าวประชาสัมพันธ์ […]

Banner 216

ฉลามชอบงับคุณ !!! วอลรัสก็เช่นกัน

“…ฉลามนั้นชอบงับคุณ ส่วนผมนั้นชอบคุณงับ….”ขณะที่ในโลกโซเชียลบน Tik Tok บ้านเรา กำลังฮิตเต้นท่าคัฟเวอร์เพลงนี้กันจนเป็นกระแสส่งให้เพลงนี้ติดชาร์ทมียอดวิวกว่า 10 ล้านครั้งไปในไม่กี่วัน แต่หากข้ามโลกไปอีกซีกหนึ่ง คนยุโรปเขาก็กำลังติดตามความน่ารักของเจ้าวอลรัส “Freaya” ที่มักแวะเวียนขึ้นมาอวดโฉมทักทายนักท่องเที่ยวที่เล่นเรือแถวออสโลฟยอด นอร์เวย์อย่างเป็นกันเอง น้องคือวอลรัสแอตแลนติกที่มีน้ำหนักตัวถึง 0.6 ตัน ซึ่งปกติจะต้องใช้ชีวิตอยู่บนแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก แต่ด้วยเพราะสภาวะโลกรวน (Climate Change) จึงทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายเร็วจนมีผลกระทบโดยตรงต่อถิ่นอาศัยของครอบครัวเจ้า Freaya จึงทำให้เราได้เห็นพฤติกรรมน่ารัก ๆ ของน้องอย่างใกล้ชิดชนิดที่เรียกว่าว่ายน้ำขึ้นมานอนอาบแดดกันบนเรือท่องเที่ยวเลยทีเดียว แต่ในทางกลับกันพฤติกรรมเหล่านี้ได้สร้างความกังวลใจให้กับเจ้าหน้าที่กรมประมงนอร์เวย์ถึงพฤติกรรมของเจ้า Freaya เกรงจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ โดยมีเรือท่องเที่ยวหลายลำพลิกคว่ำจากน้ำหนักตัวของวอลรัส บ้างเกรงอันตรายจากการเข้าใกล้ชนิดประชิดตัวเพื่อไปถ่ายรูปกับน้องของเด็ก ๆ ล่าสุดจึงจำเป็นต้องตัดสินใจทำการุณฆาตน้องวอลรัสตัวนี้ที่ล่วงล้ำเข้ามาพักผ่อนในถิ่นพำนักของมนุษย์ สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในหมู่นักอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล (Marine Mamal) หลายประเทศ โดยเฉพาะนิวซีแลนด์ที่คุ้นเคยกับการขึ้นมาใช้ชีวิตบนชายฝั่งของสัตว์ตระกูลแมวน้ำในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตอยู่อาศัยของมนุษย์ รู้หรือไม่? วอลรัส สิงโตทะเล และแมวน้ำ ไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวกันแต่น้อง ๆ เหล่านี้มักถูกเหมารวมเรียกว่า “แมวน้ำ” ก่อนจะเสพดราม่าเราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับน้อง ๆ เหล่านี้กัน น้องเป็นสัตว์ประเภทเท้าครีบ กินเนื้อเป็นอาหาร (carnivor) ทั้งปลา ปลาหมึก หอย และแพลงตอนสัตว์ […]

Banner 211

ปลูกป่าชายเลน
น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้

แม้ว่าทั่วโลกจะมีป่าชายเลนอยู่เพียงแค่ 1% ในพื้นที่ป่าเขตร้อนก็ตาม แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปเราจะพบความน่าอัศจรรย์ของระบบนิเวศที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Rare Item แฝงอยู่มากมายในป่าแห่งนี้ โดยเฉพาะในความ ‘น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้’ ของป่าชายเลนในประเทศไทยที่ทำเอานักวิจัยสายอีโค่โกกรีนทั่วโลกต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาสัมผัสด้วยตัวเองและต่างอิจฉาคนไทยที่มีทรัพยากรตัวกลั่นช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนได้ดีกว่าป่าบกอื่นหลายเท่า วันนี้โรงไฟฟ้าบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่คลุกคลีอยู่กับชาวบ้านและป่าชายเลนริมน้ำบางปะกงมากว่า 40 ปี จึงชวนเรามาล่องเรือไปดูกันให้เห็นจะจะกับครั้งแรกของทริปปลูกป่าโลว์คาร์บอน “กฟผ.ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” แต่ก่อนที่เราจะออกเรือไปลุยเลนกับ กฟผ. The Sharpener ก็ไม่พลาดที่จะเหลาคมความคิดเตรียมความฟิตให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกับ Rare Item ทั้ง 5 ของป่าชายเลนกัน 1. ป่าชายเลนเป็นป่าลักษณะพิเศษที่พันธุ์ไม้สามารถขึ้นอยู่ได้ในดินเลนและดินที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว และทนอยู่ในสภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ ต้นไม้ในป่าชายเลนจึงต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งภายนอกและภายในทั้ง ลำต้น ใบ ดอก และผล ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพิเศษนี้ 2. ป่าชายเลนเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญชั้นยอดของโลก แต่จะพบป่าชายเลนเพียง 1% ในป่าเขตร้อนทั่วโลกเท่านั้น โดยระบบนิเวศของป่าชายเลนเรียกว่า “บลูคาร์บอน” (Blue Carbon) จะกักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ไว้ในรากและตะกอนดินและจะถูกกักเก็บไว้อย่างนั้นได้นานนับพันปีหากไม่มีใครไปรบกวน ในขณะที่ระบบนิเวศของป่าบกทั่วไปในเขตร้อนหรือที่เราเรียกว่า […]

banner SDG 02

ลูกติด โควิด-19…ทำไงดี…???

“ลูกน้อย” เปรียบเสมือน “กล่องดวงใจ” ของพ่อแม่ เมื่อลูกน้อยเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อย พ่อแม่ทุกคนคงอยากจะเจ็บป่วยแทนลูก เพื่อแบกรับความทุกข์ทรมานจากการป่วยไข้แทนลูก ถ้าสามารถทำได้….. ในสถานการณ์ โควิด-19 ระลอกนี้ เมื่อโอมิครอน ย่างกรายเข้ามาในทั่วทุกมุมโลก เราคงปฏิเสธไม่ได้ที่จะต้องพบเจอกับความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ เมื่อลูกน้อยได้รับเชิ้อ โควิด เราควรทำอย่างไร เพื่อจะได้เตรียมการดูแลลูกน้อยให้ดีที่สุด ไม่ตระหนกตกใจจนทำอะไรไม่ถูก….. กรณีที่มีผลตรวจยืนยันแล้วว่าลูกหรือบุตรหลานติดเชื้อโควิด-19 อาจจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กรณี ดังนี้กรณีที่ 1 เด็กและผู้ปกครองติดเชื้อ ควรเข้ารับการรักษาโดยอยู่เป็นครอบครัว ไม่ควรแยกเด็กเล็กออกจาก ผู้ปกครองกรณีที่ 2 เด็กติดเชื้อ แต่ผู้ปกครองไม่ติดเชื้อ ให้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือ Hospitel โดยเด็กควร มีคนเฝ้า เพื่อให้ไม่รู้สึกเคว้งคว้าง โดยผู้เฝ้าต้องเป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง 7 โรค อายุไม่เกิน 60 ปี ไม่มี โรคประจำตัว และป้องกันตัวได้อย่างดีกรณีที่ 3 เกิดการระบาดเป็นกลุ่มในโรงเรียน หรือในสถานเลี้ยงดูเด็กเล็ก พิจารณาใช้พื้นที่สถานเลี้ยงดูเด็ก เล็กเป็นโรงพยาบาลสนามเฉพาะกิจ โดยดูจากความพร้อมของสถานที่และบุคลากรตามความเหมาะสมกรณีที่ 4 กรณีต้องการรักษาที่บ้านสำหรับเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด-19 […]

SDGs ทสม 01 scaled

ไม่หันหลังให้ความตั้งใจในการฟื้นฟูป่า รักษาผืนป่าด้วยกุศโลบาย “ปลูกกาแฟแก้การเผา”

“ป่าไม้” เป็นรากฐานหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากไม่มีป่า ย่อมไม่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ผืนดินย่อมแตกระแหงแห้งแล้ง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเราพูดถึงป่า บ่อยครั้งที่คนได้ยินว่าป่ากำลังถูกทำลาย แต่พวกเขาเหล่านั้นมองไม่เห็นภาพ จินตนาการความเป็นจริงไม่ออก ว่าการไม่มีป่าไม้มีผลเสียร้ายแรงอย่างไร แต่ “คุณสุชาติ สมบูรณ์เถกิง” ทสม.จังหวัดแพร่ได้เห็นภาพนั้นด้วยสายตาของเขาเอง เมื่อยุคสงเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตวมาเยือนพื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าว ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อแผ้วถางสร้างพื้นที่ทำเงิน แต่กลับเป็นการทำลายพื้นที่ทำกิน คุณสุชาติได้เดินทางขึ้นไปบนเนินเขา พบแต่ภูเขาหัวโล้นหลายลูก ปาเสื่อมโทรมและแห้งแลง ชุมชนขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก แต่สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไม่ได้ทำให้ใจของคุณสุชาติแห้งแล้งสิ้นหวัง กลับกัน มันได้จุดประกายไฟแห่งความมุ่งมั่นที่จะฟื้นคืนป่าไม้กลับคืนมาสู่พื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าวอีกครั้ง คุณสุชาติเริ่มฟื้นฟูป่าในฐานะคนธรรมดาด้วยการสร้างฝาย อาศัยเงินทุนจากการทอดผ้าป่าและกิจกรรมอื่น ๆ โดยยังไม่ได้ประสานความร่วมมือไปยังภาครัฐ รวบรวมชาวบ้าน ระดมความคิดอาศัยภูมิปัญญา นำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาใช้ เชน ไม้ไผ่ แม้จะมีเพียงชาวบ้านด้วยกันก็สามารถสร้างฝายหลวงประชารัฐได้สำเร็จ ใช้เวลากวา 7 เดือน แต่การทำงานกันเองก็มีขีดจำกัด คุณสุชาติจึงเข้าร่วมเป็น ทสม. เพื่อประสานการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้การฟื้นฟูป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระนั้น แม้การปลูกป่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่การรักษาป่าให้ดำรงอยู่ได้ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผืนป่าที่สู้ฟันฝ่าฟื้นคืนมาต้องถูกทำลายอีกครั้ง ทสม.จังหวัดแพร่จึงได้มีการหารือร่วมกับภาคประชาชนและภาครัฐ หาแนวทางป้องกันไม่ให้ผืนฝ่าถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น เพื่อลดการถางป่า คุณสุชาติจึงริเริ่มโครงการ “ปลูกกาแฟแกการเผา” […]

messageImage 1636861752376

สมการ ทสม. 1 + 1 = ?

โจทย์เลขง่าย ๆ ที่สะท้อนความสำคัญของ ทสม. วันนี้เรามีสมการเลขคณิตคิดง่าย ๆ มาชวนลับสมอง  “1 + 1 = ?” แน่นอนว่าคำตอบที่ทุกคนเตรียมไว้อยู่ในใจคือ “2” แต่หากเราจะชวนคิดกันต่ออีกสักนิดว่าเลข “1” ทั้งสองตัวที่เราเห็นในโจทย์นี้มีความหมายใดที่ลึกซึ้งแอบซ่อนอยู่ได้อีกบ้าง  อยากจะชวนให้พวกเรามอง “1” ตัวแรกเป็นเสมือนคนหนึ่งคนที่ต้องประกอบกิจการงานใด ๆ ระหว่างให้ หนึ่งคนทำกับสองคนทำ แบบไหนจะง่าย รวดเร็ว และใช้แรงน้อยกว่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบก็ยังคงเป็นให้สองคนช่วยกันทำนั่นเอง หากเรานำสมการข้างต้นนี้มาขยายความในบริบทของงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มองกันในระดับที่ใหญ่ขึ้น ดูบ้าง โดยกำหนดให้เลข “1” ตัวแรกคือ “ภาครัฐ” และเลข “1” อีกตัวที่เหลืออยู่เป็น “ภาคประชาชน”  เราต่างย่อมรู้กันดีอยู่ว่า หากต่างฝั่งต่างตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตนไปโดยไม่สนใจอีกฝั่งหนึ่งเลย จริงอยู่ที่อาจมีผลลัพธ์ปรากฏขึ้น แต่จะเทียบไม่ได้เลยกับการทำงานแบบ “1 + 1” ที่ผลลัพธ์จะออกมาดีขึ้นเป็นสองเท่าทวีคูณ ตัวแปรสำคัญจากสมการนี้จึงอยู่ที่เครื่องหมาย “+” ใครกันเล่าจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายบวกที่รวมพลังของทั้งสองฝั่งผนวกรวมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะบ่อยครั้งที่แนวทางภาครัฐไม่สอดคล้องต้องกันกับมุมมองของภาคประชาชน จึงยากจะประสานพลังให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันได้ “ทสม.” หรือ “อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน” จึงจำเป็นต้องเข้ามาสวมบทบาทเป็นเครื่องหมายบวกนั้น […]

SDGs ทสม 02 scaled

จาก ทส. ยกกำลัง 2 + 4 สู่ยุค New Normal ทส. ยกกำลังเอ็กซ์

เมื่อช่วงต้นปีงบประมาณ 2564 ที่ผ่านมา นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เคยให้แนวทางการทำงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในปีนี้ไว้ว่า ให้ทำงานแบบ “ทส. ยกกำลัง 2 + 4” “ยกกำลัง 2” คือ คนทำงานต้องยกระดับการทำงาน ความกระตือรือร้น จิตใจในการทำงาน จะต้องเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เพื่อให้การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเกิดผลลัพธ์เป็นทวีคูณ ต้องห้ามหย่อนยานกับหน้าที่อันทรงเกียรตินี้ แล้วเสริมพลังด้วย “บวก 4” คือ หนึ่ง ทำงานโดยเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ สืบสานงานอนุรักษ์ที่พระองค์ทรงทำไว้ให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สอง การทำงานต้องมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ดังที่เน้นย้ำมาเสมอว่า การทำงานแบบต่างคนต่างทำ ภาครัฐและประชาชนไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่อาจนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีได้ สาม ต้องทำงานแบบมีความรู้เชิงวิชาการ เพราะความรู้คือรากฐานของพลังในการสร้างสรรค์ทุกสิ่งอย่าง การทำงานแบบไม่มีความรู้ใหม่ ๆ ที่เท่าทันโลก อาจยากที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และสี่ ต้องทำงานภายใต้หลักธรรมาภิบาล ต้องโปร่งใส ยุติธรรม ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติทั้งหมดโดยยึดประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง “การทำงานแบบ ยกกำลัง 2 + […]

SDGs ทสม 03 scaled

เหตุผลที่คุณต้องห้ามพลาด “ข่าวสาร ทสม.”

เพราะ “การสื่อสาร” กลายเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าเราจะทำงานทำงานในสาขาอาชีพใดก็ตาม แม้แต่ในสายงานบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ยิ่งต้องอาศัยการสื่อสารเป็นอาวุธลับในการทำให้ภารกิจของเราสำเร็จลุล่วง ทั้งการรายงานสภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม เมื่อประสบพบเจอ และการแก้ไขให้ทันท่วงที เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ดูแลรักษา เฝ้าระวัง ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน หรือ ทสม. ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นด้วยจิตอาสา โดยมีบาทบาททั้งการประสานงาน และการจัดกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีส่วนร่วมกับหน่วยงาน และชุมชน และที่สำคัญคือ เป็นนักสื่อสารสิ่งแวดล้อมที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการรายงานสถานการณ์ทรัพยากร การจัดกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการแจ้งข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชนในพื้นที่ทราบ หรือเรียกว่า “ข่าวสาร ทสม.” นั่นเอง และยิ่งทุกวันนี้ โลกได้มีเทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวหน้า ซึ่งเราต่างก็มีโทรศัพท์มือถือ หรือเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย ทำการง่ายต่อการติดตาม และการใช้ประโยชน์จาก ข่าวสาร ทสม. หรือส่งต่อได้เพียงปลายนิ้วสัมผัส เพียงคุณหยิบโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต โน้ตบุ๊ค หรืออุปกรณ์สื่อสารใดอีกก็ได้ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ขึ้นมา และ เสิร์ชหาแอปพลิเคชัน “Arsa4thai” ดาวน์โหลดและติดตั้งแอปนี้เอาไว้   ซึ่งแอปนี้จะช่วยคุณสื่อสารกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมได้จบครบในแอปเดียว ทั้งส่งเสริมให้เกิดการรับรู้ แลกเปลี่ยน รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้ทันที เผยแพร่ข้อมูลกิจกรรมไปยังสื่อสังคมออนไลน์ก็สามารถทำได้ในแอปเดียว […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner