4B137CD4 AFB6 4559 B534 4D0AC874B059

“จุฬาฯ – ใบยา” เดินหน้าประกาศความสำเร็จวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาสังคม Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19” นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 14.00-15.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยมี ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดงานร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ และได้รับเกียรติจาก นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทและการสนับสนุนศักยภาพการผลิตวัคซีนในประเทศไทย ภายในงานเสวนามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย […]

Banner 109 2

Innovations for Society เคล็ดลับจุฬาฯ ส่งสตาร์ทอัพช่วยชาติ

“Innovations for Society” คือ วิสัยทัศน์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นเข็มทิศนำทาง ภายใต้การนำของ “ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” อธิการบดี 2 สมัย ซึ่งเริ่มปรากฏผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนไทยเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดในงาน “HEALTHCARE 2020 สุขภาพดี วิถีใหม่ ใจชนะ” เมื่อวันที่ 3-6 ก.ย. 63 จัดโดยเครือมติชนและพันธมิตร ได้นำนวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ในยุคโควิด-19 มาอัพเดทให้คนไทยได้อุ่นใจ ซึ่งแน่นอนว่า นวัตกรรมจุฬาฯ นั้นโดดเด่นสมกับที่เป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับ TOP100 ของโลก เราจึงได้ใช้โอกาสนี้พูดคุยกับท่านอธิการบดีจุฬาฯ ติดตามความก้าวหน้าของนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงภายใต้แนวคิด “CHULA FUTURE HEALTH” ซึ่งสอดรับกับสาระสำคัญของงานที่มุ่งเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของคนไทยเป็นหลัก เราจึงได้เห็นนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพคนไทยในยุคที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ที่พัฒนาโดยทีมสตาร์ทอัพจุฬาฯ ได้แก่ BAIYA Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID และ TANN D กันอย่างใกล้ชิด Innovations for Society เป็นจริงได้ด้วยการผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร […]

F15592EB D068 4222 9752 44A7019A05CD

จุฬาฯ ส่ง “รถ CU กองหนุน” เสริม “State Quarantine” เข้มแข็ง นวัตกรรมป้องโควิด-19 ระลอกใหม่

เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 สถานการณ์ในหลายประเทศยังคงน่าเป็นห่วง และเสี่ยงที่เชื้อร้ายนี้จะแพร่ระบาดเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้นได้จากการเดินทางกลับประเทศของคนไทยที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในต่างแดน และชาวต่างชาติที่มีเหตุจำเป็นให้ต้องเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐบาลจึงให้ความสำคัญและออกมาตรการที่เข้มข้นเพื่อให้ State Quarantine และ Local Quarantine ภายใต้การดูแลร่วมกันของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข เป็นกลไกสำคัญช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกที่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย การบริหารจัดการ State Quarantine และ Local Quarantine เพื่อดูแลผู้ต้องกักตัวอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นที่ต้องดำเนินไปอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขและต้องมั่นใจได้ว่าทุกคนที่ต้องพำนักและปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถานที่แห่งนี้จะปลอดภัย ไร้ความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์  จึงคิดค้นและพัฒนา “รถกองหนุน” หรือ รถความดันบวก (Positive Pressure) ปลอดเชื้อ 100%  อีกหนึ่งนวัตกรรมเสริมความเข้มแข็งให้กลไกการดูแลประชาชนที่ต้องกักตัวอยู่ใน State Quarantine และ Local Quarantine มีประสิทธิภาพ เป็นตัวช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่ต้องมาพำนักที่นี่ชั่วคราว ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า “การนำนวัตกรรมเข้ามาเสริมในกระบวนการการดูแลพี่น้องประชาชนที่ต้องเข้ามาอยู่ใน State Quarantine หรือ Local Quarantine […]

Banner 67 2

จุฬาฯ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนเปิดเมือง ชู “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบป้องกันโควิดระลอกใหม่

วันนี้ (1 มิ.ย. 63) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังพันธมิตรปูพรมตรวจภูมิคุ้มกันก่อนคลายล็อกให้ชาวปัตตานีนับหมื่นด้วยชุดตรวจว่องไว ยก “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบจัดการชุมชนควบคุม โควิด-19 หนุนรัฐทำ Big Data รับมือระยะยาว ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัตตานีโมเดลเป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดปัตตานีร่วมกันพัฒนาขึ้น เราได้เรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนของปัตตานีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้นวัตกรรมชุดตรวจแบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit ผลงานของคณะเภสัชศาสตร์และบริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานีเป้าหมายจำนวนหมื่นรายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อโควิด-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ เช่น กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนก่อน กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต่อมา กลุ่มใดมีภูมิแล้ว กลุ่มใดควรตรวจก่อน เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สู้กับวิกฤติโควิด-19 มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับคนไทย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จุฬาฯ พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลกที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ […]

690493F1 9FE1 450A 8E3E 34E2CEABC53F

ดร. มหิศร ว่องผาติ กับภารกิจส่งหุ่นยนต์เซฟคุณหมอของ CU-RoboCovid

ที่ผ่านมาประเด็นเรื่องหุ่นยนต์และ AI จะแย่งงานมนุษย์เป็นที่ถกเถียงกันแพร่หลาย และสร้างความกังวลให้กับทุกวิชาชีพ แต่กลายเป็นว่าเมื่อทั่วโลกเผชิญกับความท้าทายรอบด้านจากโรคระบาดโควิด-19 เราได้เห็นการระดมเทคโนโลยีหุ่นยนต์ไปช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งอยู่ “ด่านหน้า” ของการปะทะกับโรคอุบัติใหม่นี้   ดร.มหิศร ว่องผาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท Obodroid และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท HG Robotics พาเราย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นของโครงการ CU-RoboCovid ที่กลุ่มนิสิตเก่าและทีมวิจัยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท HG Robotics และ Obodriod ได้ตั้งเป้าที่จะผลิตหุ่นยนต์ช่วยเหลือทางการแพทย์จำนวน 200 ตัว เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ ผ่านการเปิดรับบริจาค นับตั้งแต่วันที่ประเทศไทยยังไร้มาตรการล็อกดาวน์ จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีจำกัด จุดเริ่มต้นของโครงการ CU-RoboCovid คืออะไร  โครงการนี้เริ่มต้นประมาณวันที่ 12-13 มีนาคม รุ่นพี่คณะเราเห็นตัวเลขของผู้ติดเชื้อโรคระบาดกำลังพุ่งสูงขึ้น เราทำงานเกี่ยวกับหุ่นยนต์และได้พูดคุยกับคุณหมอว่าเราจะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง วันที่ 15 คุณหมอได้กรุณาให้เราไปที่โรงพยาบาล ตอนนั้นเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาจะพาเข้าไปในวอร์ดของผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งเป็นผู้ป่วยคนแรก ๆ ที่อยู่ในห้องแยกโรคความดันลบ (Negative Pressure Room) เราได้เห็นว่าผู้ป่วยยังช่วยเหลือตัวเองได้ตามปกติ แต่หมอและพยาบาลที่เข้าไปตรวจจะต้องใส่ชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE) และเปลี่ยนใหม่ทุกครั้ง ถ้าลืมหรือต้องการอุปกรณ์เพิ่ม […]

86C51521 6146 4998 9913 17525BAD2333

น้องปิ่นโต บินลัดฟ้าถึงน่าน พร้อมปฏิบัติการช่วยหมอสู้โควิด

วันนี้ (15 เม.ย.63) สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) เปิดเผยความคืบหน้าของภารกิจจัดส่งหุ่นยนต์ช่วยเซฟหมอว่า “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานหุ่นยนต์ CU RoboCOVID “ปิ่นโต” และ “น้องกระจก” ไปช่วยบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกในการรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ณ โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน และ โรงพยาบาลสันทรายจังหวัดเชียงใหม่ ในการนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และกองทัพอากาศ ได้เร่งดำเนินการนำหุ่นยนต์ชุดดังกล่าวไปติดตั้งที่โรงพยาบาลทั้งสองแห่งตามพระราชประสงค์ “ปิ่นโต” และ “น้องกระจก” คือหนึ่งในหุ่นยนต์ตามโครงการ “CU-RoboCOVID” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอพระราชทานน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพระราชทานให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ตามพระราชอัธยาศัยใช้สู้ภัย COVID-19 มุ่งลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาล ขณะนี้พร้อมออกปฏิบัติภารกิจนี้แล้ว

Banner 53.1

จุฬาฯ ลุยสู้โควิด ส่งกองทัพหุ่นยนต์เซฟหมอ “CU-RoboCOVID” กว่าร้อยตัว พร้อมช่วยหมอทั่วประเทศแล้ว

7 เม.ย.63 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เร่งผลิตหุ่นยนต์ “CU-RoboCOVID” 103 ชุด มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท นำทีมโดยเจ้า “PINTO” มอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศใช้สู้ภัย COVID-19 มุ่งลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาล สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ขณะนี้ บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานกันอย่างหนักตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเตรียมจัดส่งหุ่นยนต์นักรบอัศวิน “PINTO” (ปิ่นโต) จำนวน 103 ตัว มาสนับสนุนภารกิจนี้  ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “PINTO คือ หุ่นยนต์ซีรี่ส์หนึ่งของ CU-RoboCovid โครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์เพื่อส่งไปช่วยหมอสู้ภัย COVID-19 ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้บุคลากรทางการแพทย์ในยามนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และพันธมิตร จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์ 3 ชุดหลัก ได้แก่ หุ่นยนต์ส่งของ (Remote Control Delivery Robot)  หุ่นยนต์สื่อสารทางไกล  (Telepresence Robot) และ หุ่นยนต์เครื่องช่วยหายใจ (Ambu Bag)  “ปิ่นโต” (PINTO)  สำหรับปิ่นโต (PINTO) ที่เราผลิตให้กับ สนจ. ในครั้งนี้ เป็นหุ่นยนต์ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ระยะไกลที่ติดตั้งพร้อมด้วยระบบ Telepresence โดยทำหน้าที่ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ไปยังห้องผู้ป่วย พร้อมมีระบบภาพสื่อสารทางไกลที่ใช้งานง่าย ช่วยลดความเสี่ยงโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และยังช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลการทางการแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) นอกจากนี้ เรายังมีซีรี่ส์ “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) เป็นหุ่นยนต์แท็บเลต ที่นำไปไว้ที่ห้องผู้ป่วย จะทำหน้าที่สอดส่องดูแล และพูดคุยกับผู้ป่วยได้โดยที่ไม่ต้องกดรับสาย นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถกดเรียกหาพยาบาลได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ช่วยลดทั้งความเสี่ยงติดเชื้อและลดอัตราการใช้ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ลง ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับหมอและพยาบาลได้เป็นอย่างดี  “หุ่นยนต์นินจา” “หุ่นยนต์นินจา” เป็นซีรี่ส์ที่ช่วยสื่อสารทางไกลระหว่างหมอกับผู้ป่วย COVID-19 ผ่านระบบ Video Conference โดยที่ทั้งหมอ พยาบาล ยังสามารถพูดคุย โต้ตอบ สอบถามอาการกับผู้ป่วยผ่านระบบTelemedicine โดยไม่ต้องเข้าไปในหอผู้ป่วย และยังสามารถควบคุมและสั่งการการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล และที่มากไปกว่านั้น หุ่นยนต์นินจายังเชื่อมอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพต่าง ๆ เช่น วัดความดัน วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วัดชีพจร วัดอุณหภูมิ และส่งข้อมูลไปให้หมอใช้ประกอบการวินิจฉัยอาการได้ทันทีอีกด้วย” “สำหรับโครงการ CU-RoboCOVID เราได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้เรามั่นใจว่า ในอนาคตน่าจะช่วยให้จุฬาฯ ก้าวสู่การเป็นผู้สนับสนุนการสร้างบุคลากรตอบโจทย์ภัยคุกคามด้านสาธารณสุข ด้วยผลงานชั้นนำด้านนวัตกรรมทางวิศวกรรมการแพทย์ระดับโลกได้ต่อไป และต้องขอขอบคุณ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด และ บริษัท Obodroid ในฐานะผู้ผลิตที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ เป็นพันธมิตรที่ดีกับเรามาโดยตลอด” ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าว ด้านนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) เปิดเผยว่า “สนจ. ทราบถึงความต้องการใช้หุ่นยนต์เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อให้หมอและพยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สู้ร่วมกันในภารกิจนี้ ตามมาตรการ Social […]

DFC7C3AB EE71 453A 8BE4 4B82EC453AE4

CHULA COVID-19 Strip Test นวัตกรรมชุดตรวจคัดกรองเร่งด่วนเพื่อคนไทย

ณ วันนี้ (5 เ.ม.ย.63) การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ได้กลายเป็นวาระแห่งชาติของโลกนี้ไปแล้ว โดยมียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลก ทะลุ 1.1 ล้านคนไปแล้ว เฉพาะส่วนของประเทศไทยเองตรวจพบผู้ติดเชื้อแล้ว 2,169 คน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในสภาวการณ์เช่นนี้ มีหลายหน่วยงาน หลายองค์กร ต่างช่วยกันคิดค้นนวัตกรรมเพื่อช่วยเยียวยาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นสูตรยาต้านไวรัส เซรุ่ม วัคซีน เครื่องมือการตรวจหาเชื้อไวรัส ด้วยองค์ความรู้และอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ และหนึ่งในนั้นคือ กระบวนการคัดกรองด้วยการตรวจหา Anti-body ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ หนึ่งในนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าให้เราฟังว่า “ขณะที่มีการระบาดของไวรัส COVID-19 สิ่งที่เราเห็นคือผู้ป่วยที่ต้องสงสัยจะต้องถูกตรวจด้วย Real Time PCR เพื่อจะหาไวรัส ซึ่งกระบวนการตรวจแบบนี้ ต้องใช้เวลาและต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความเชี่ยวชาญสูง ซึ่งในต่างประเทศก็เริ่มมีความคิดว่า ถ้าเราสามารถตรวจคัดกรองผู้ป่วยได้ก่อน ว่าผู้ป่วยคนไหนที่มีความเสี่ยง เราก็สามารถคัดกรองผู้ป่วยเหล่านี้ไปตรวจ เพื่อยืนยันวินิจฉัยตามหลักปกติได้ สำหรับทีมวิจัยของอาจารย์ จากคณะเภสัชฯ จุฬาฯ ต่างก็มีความคิดว่า ถ้าเราสามารถผลิตตัว […]

C578F5DE 1242 4802 B47D 9F1890A9ED33

สัมภาษณ์พิเศษ อธิการบดีจุฬาฯ “ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” “CU Shelter in place : จุฬาฯ กับการรับมือ COVID-19”

“วันนี้ภัยจากไวรัส COVID-19 เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วโลก ประเทศไทยเองก็ต้องเผชิญกับปัญหาดังกล่าวด้วย วันนี้เราพิจารณาแล้วว่าผลจากไวรัส COVID-19 ไม่ได้สร้างปัญหาเฉพาะเรื่องของสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคมในวงกว้างเช่นเดียวกัน ดังนั้น เราจึงต้องมีวิธีการเตรียมตัวรองรับหรือรับมือสิ่งเหล่านี้ สำหรับบทบาทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นก็มีการดำเนินการแล้วด้วยเช่นกัน” ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยกับ The Sharpener ถึงมาตรการเพื่อรองรับปัญหาดังกล่าวว่า “ในสิ่งที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำนั้น เราได้ดำเนินการโครงการที่เรียกว่า Chula shelter in place model for Thailand fights COVID19 หรือ เรียกสั้นๆ ว่า CU Shelter-in-Place” โดยมีเป้าหมายเพื่อเป็นตัวอย่าง Thailand’s Haven บ้านที่เป็น Save Zone อยู่อย่างปลอดภัย สบายใจ พร้อม Hotline ให้ติดต่อได้ครับ ซึ่งประกอบไปด้วย 4 เรื่องหลัก ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 จัดการดูแลรักษาสุขภาพ Health […]

90963910 116933936608201 8529075111574110208 o

“CHULA COVID-19 STRIP TEST SERVICE” จุฬาฯ สนอง Social Distancing ตรวจคัดกรองออนไลน์ หากลุ่มเสี่ยงสูง ลดงานหมอ แก้คนไข้ล้น ร.พ.

ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของจุฬาฯ กล่าวถึงระบบบริการตรวจสอบ COVID-19 อย่างรวดเร็วที่พัฒนาร่วมกับทีมกลุ่มสตาร์ทอัพจุฬาฯ และเครือข่ายพันธมิตรว่า “สถานการณ์ในขณะนี้ คนไทยกำลังวิตกกังวลกันว่าท่านติดเชื้อไวรัสนี้แล้วหรือยัง เราจึงได้ออกแบบระบบการให้บริการใหม่ CHULA COVID-19 STRIP TEST SERVICE ที่ช่วยคัดกรองผู้ป่วยในเบื้องต้นจากบ้านของท่านผ่านการทำแบบสอบถามสุขภาพออนไลน์บน Web Application ‘เป็ดไทยสู้ภัย’ และแพลตฟอร์ม Telemedicine 3 ตัว คือ ChiiWii, Dr.A-Z และ Raksa จนกรองผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง หรือ PUI ออกมาและตรวจเฉพาะกลุ่มนี้ด้วย COVID-19 Strip Test ที่กลุ่มสตาร์ทอัพจากคณะเภสัชศาสตร์ของเราพัฒนาขึ้นทั้งแบบ Drive Thru และ Walk Thru ภายในไม่เกิน 10 นาที ท่านจะทราบผลการตรวจ หากผลเป็นบวก ท่านจะต้องไปตรวจ PCR ย้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันการติดเชื้อที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่หากผลออกมาเป็นลบ ท่านก็ยังต้องกักตัวเองต่อไปอย่างน้อยอีก […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner