จุฬาอารี นวัตกรรมขับเคลื่อนสังคม ต้นแบบบูรณาการสหศาสตร์สานพลังเครือข่ายรับมือสังคมผู้สูงวัยไทย
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบในอีกหนึ่งปีข้างหน้า? สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปักหมุดให้ปี พ.ศ. 2564 เป็นปีสำคัญของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทย และกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ตัวเลขประชากรไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป กำลังจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากความรุดหน้าทางด้านเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการแพทย์ของประเทศ ทำให้คนไทยมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น ประกอบกับนโยบายการวางแผนครอบครัวที่เน้นควบคุมการมีบุตรมาโดยตลอดนับสิบปีได้ส่งผลโดยตรงต่อการลดภาวะเจริญพันธุ์ของคนไทยลงอย่างรวดเร็ว และยังส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยลดลงอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะด้านการผลิตและการออมมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสังคมที่รัฐต้องเร่งแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ปัญหาด้านสภาพจิตใจหลังวัยเกษียณ รวมไปถึงปัญหาค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลรักษาพยาบาลกลุ่มผู้สูงวัยทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และนี่คือภาพสังคมไทยที่เราจะได้ประสบพบเจอในห้วงช่วงเวลานับจากนี้ไปอีกสามทศวรรษ และกำลังเป็นประเด็นท้าทายประเทศไทยให้จำต้องมีทางออกกับเรื่องนี้ก่อนจะสายเกินแก้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำโครงการ“จุฬาอารี : โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (Chulalongkorn University Platform for Ageing Research Innovation : Chula ARi) บูรณาการศาสตร์ในจุฬาฯ ที่หลากหลายทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและการมีส่วนร่วม ด้านประชากรและสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อออกแบบอนาคตผู้สูงอายุไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยศึกษาข้อมูลจากผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวง.4 ชุมชนใหญ่ ได้แก่ ชุมชนวังทองหลาง ชุมชนสามแพร่ง (แพร่งภูธร แพร่งนรา […]
เบื้องหลังภารกิจสู้โควิด-19 เพื่อมวลมนุษยชาติ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ (EID)
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาโลกเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ (Emerging Disease) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งไวรัสซิกา ไวรัสอีโบลา ไวรัสเมอร์ส และล่าสุดที่มวลมนุษยชาติกำลัง ประสบอยู่นั้นคือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ระบาดใหญ่จนมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ล้านคน และคร่าชีวิตคนหลากชาติพันธุ์ไปแล้วกว่า 1 ล้านคน ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อไวรัสเหล่านี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วคือความรุดหน้าแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในโลกไร้พรมแดนที่เอื้อให้การทำกิจกรรมและการเดินทางไปมาหาสู่กันทั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว จนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในหลายประเทศเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ประเทศไทย ในฐานะหมุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จึงตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญกับการรับเชื้อโรคข้ามพรมแดน จากการเปิดข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในประเทศเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้อาจเป็นพาหะนำโรคอุบัติใหม่ติดเชื้อจากคนสู่คนข้ามพรมแดนเข้ามาด้วยเช่นกัน การเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่จึงเป็นภารกิจสำคัญที่หน่วยงานในแวดวงสาธารณสุขไทยเทศตระหนักและขานรับเป็นวาระที่จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายพัฒนาความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ระงับยับยั้งก่อนแพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะแพทยศาสตร์ ได้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ขึ้นในปี พ.ศ.2559 ทำงานควบคู่กันกับศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน เพื่อดำเนินการเชิงรุกเข้าถึงแหล่งกำเนิดโรค (upstream operation) และเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ผ่านการสร้างความร่วมมือในระดับโลก (global collaboration) ซึ่งศูนย์นี้มีบทบาทสำคัญช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด-19 จากสนับสนุนสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณาสุข ให้สามารถตรวจยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อโรค COVID-19 และยืนยันผลจากการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส เพื่อเป็นข้อมูลให้กับกระทรวงสาธารณสุขใช้ควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้ทันท่วงที ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา […]
จุฬาฯ อวดสองนวัตกรรมคืนชีวิตใหม่ให้ปะการังไทย ผสมเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก พร้อมชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม
ปัญหาระบบนิเวศใต้ท้องทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วกำลังเป็นวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยพลัน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศใต้ท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติทางสภาพภูมิอากาศและการกระทำของมนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดหลากสายพันธุ์ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนบางชนิดเสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ และหนึ่งในนั้นคือ “ปะการัง” จากรายงานของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ประเมินว่าท้องทะเลหลายแห่งทั่วโลกกำลังประสบภาวะความตึงเครียดจากสภาพแวดล้อมแปรปรวนส่งผลกระทบต่อแนวปะการังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียว ปะการังทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบไปแล้วถึงร้อยละ 38 คิดเป็นพื้นที่กว่า 1.2 หมื่นตารางกิโลเมตร ซึ่งแน่นอนว่าห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลย่อมได้รับผลกระทบสืบเนื่องกันไปด้วย สอดคล้องกันกับรายงานของ Scientific Reports ที่เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2558 คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2588 หรือในอีก 25 ปี ข้างหน้า ปะการังสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เกือบถึงขีดสุด โดยอาจเหลือปะการังทั่วโลกอยู่เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น หากย้อนกลับมาติดตามสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย พบว่าระบบนิเวศทางทะเลไทยกำลังเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวขึ้น โดยช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเปิดเผยว่า บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นมีปะการังสีจางลงกว่าร้อยละ 5-30 และกลายเป็นปะการังฟอกขาวแล้วถึงร้อยละ 5-15 ซึ่งหากปล่อยไว้ยังไม่รีบแก้ไขอาจส่งผลกระทบลุกลามบานปลายทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทยเร็วกว่าที่คาดการณ์ โดยตัวเร่งให้สถานการณ์นี้ทวีความรุนแรงขึ้น นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate […]
เปิดเคล็ดลับความสำเร็จ จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้ ชวนดูคาราวาน Smart Mobility
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้” (Chula Smart City) ผ่าน “SMART 4” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 4 มิติ ได้แก่ Smart Living, Smart Energy, Smart Environment และ Smart Mobility รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน ที่ใช้ชีวิตบนพื้นที่กว่า 1.5 พันไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมสร้างคุณค่าต่อยอดให้ชุมชนและสังคม ชูจุดเด่นยานยนต์หลากรูปแบบตอบโจทย์ SMART MOBILITY ผลงานนวัตกรรมยานยนต์ในกลุ่ม Smart Mobility มียานยนต์รองรับการสัญจรที่น่าจับตามองชวนให้ลองใช้อยู่ถึง 5 ผลงาน ได้แก่ 1) รถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Pop Bus) ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า สานต่อแนวคิดลดมลภาวะตามโครงการนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรจุฬาฯ รวมไปถึงชุมชนรอบข้างโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย […]
สำรวจความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 จาก ‘ทีมไทยแลนด์’ ผลิตเอง ใช้เอง ความหวังของคนไทยทั้งประเทศ
ผ่านไปเกือบ 1 ปีแล้ว หลังเริ่มพบการแพร่ระบาดของ ‘โควิด-19’ หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก การพัฒนาวัคซีนสำหรับรับมือกับโควิด-19 จึงถือเป็นวาระสำคัญที่ทั้งโลกจับตามอง เพราะจะสร้างความมั่นใจให้กับผู้คนในการใช้ชีวิตและการเดินทางมากยิ่งขึ้น ทว่าการพัฒนาวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่าย ข้อมูลจาก พญ.อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง จากจดหมายข่าว ‘แวดวงวัคซีน’ โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระบุว่า โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาวัคซีนให้สำเร็จ 1 ชนิดอาจกินเวลาถึง 10-15 ปี อันเนื่องมาจากการทดสอบหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้วัคซีนที่มีคุณภาพดีและมีความปลอดภัยสูง หลังจากการทดสอบในสัตว์ทดลองแล้วก็ต้องนำไปทดสอบในคนอีก 3 ระยะ ก่อนจะนำไปผลิตและขึ้นทะเบียนนำมาใช้ แต่การระบาดของอีโบลาในแถบแอฟริกาตะวันตก ทำให้มีการพัฒนาวัคซีนที่เร่งรัดจนสำเร็จในระยะเวลา 2 ปี ทำให้เกิดความหวังของการพัฒนาวัคซีนอย่างรวดเร็วเมื่อมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น สำหรับการพัฒนาวัคซีนสำหรับโควิด-19 องค์การอนามัยโลกระบุว่าไม่ทราบแน่ชัดว่าเราจะมีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไว้พร้อมสำหรับการแจกจ่ายเมื่อใด แต่ก็คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นช่วงต้นถึงกลางปี 2021 นี้ และขณะนี้เราก็ได้เห็นความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรือรัสเซีย ส่วนประเทศไทยนั้นมีทั้งแนวทางการจัดหาวัคซีนจากต่างประเทศ การเตรียมการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการวิจัย-พัฒนาวัคซีนเองภายในประเทศ โดยกรณีของการพัฒนาและวิจัยวัคซีนภายในประเทศนั้น ประเทศไทยมีทีมนักวิจัยและพัฒนาวัคซีนจากหลายหน่วยงานที่กำลังทำงานเพื่อค้นหาวัคซีนสำหรับโควิด-19 เราจะลองมาสำรวจตัวอย่างของทีมพัฒนาวัคซีนเหล่านี้ รวมถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากฝีมือคนไทยกัน วัคซีนจุฬาฯ คืบหน้า เริ่มจากการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด […]