1739712868907

จุฬาฯ เสิร์ฟขบวนคัลเลอร์การ์ด ชูธง 22 รุ่นพี่ไอดอลเด็กเจ็น Z

เป็นประจำทุกครั้งสำหรับงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯ ที่เหล่านิสิตนักศึกษาของสองสถาบันเก่าแก่ของประเทศไทยจะสะท้อนสังคมและล้อการเมืองผ่านขบวนพาเหรดซึ่งเป็นอีกหนึ่งไฮไลท์ที่คนไทยทั้งประเทศต่างเฝ้ารอว่าจะมีเรื่องเด่นประเด็นใดออกมาสื่อสารกับสังคมไม่แพ้การฟาดแข้งกันในสนาม ล่าสุดหลังจากห่างหายไปกว่า 5 ปี ฟุตบอลประเพณีครั้งที่ 75 ได้หวนกลับมาอีกครั้ง ตามคำเรียกร้องของแฟน ๆ โดยพาเหรดทีมจุฬาฯ เสิร์ฟขบวนใหม่ “จุฬาฯ คัลเลอร์การ์ด” เข้าสนามเรียกเสียงฮือฮาได้ไม่น้อยด้วยคอนเซ็ปต์ ‘Sway Your Own Way – สะบัดความมั่นใจในแบบคุณ’ ที่ไม่เพียงแสดงออกผ่านการโบกสะบัดธงอาณัติสัญญานในขบวนพาเหรดเท่านั้นแต่ยังพร้อมขับเคลื่อนสังคมด้วยจิตวิญญาน CU Spirit โดยมีแรงบันดาลใจมาจากพี่นิสิตเก่าคนดังมากประสบการณ์จากหลากหลายวงการเป็นต้นแบบแห่งการสร้างสรรค์สังคมให้น้องนิสิตก้าวเดินตามรอยต่อไป เราจึงได้เห็นโฉมหน้าของรุ่นพี่นิสิตเก่าทั้ง 22 ท่านบนผืนธงใหญ่ของพวกเขาโบกสะบัดประกาศนามในสนามศุภชลาศัย เมื่อวันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ประกอบด้วย

Banner 236 01

ปลุกดาวติ๊กต็อกพลิกโฉมเมืองหลวงTikTok จับมือ กทม. สนับสนุน BKKFoodBank

เผย “คอนเทนต์สร้างสรรค์” บนแพลตฟอร์ม TikTok เป็นพลังขับเคลื่อน แนวคิด-วัฒนธรรม-การใช้ชีวิตในวิถีใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาสังคมแห่งการเกื้อหนุนที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 TikTok แพลตฟอร์มเอ็นเตอร์เทนเมนท์สำหรับทุกคน สานต่อความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ดึงพลัง TikTok Top Creator และคอมมูนิตี้บนแพลตฟอร์มมาร่วมสนับสนุนต่อยอดโครงการ BKK Food Bank หรือ “ธนาคารอาหารกรุงเทพมหานคร” มุ่งขยายการเข้าถึง สร้างการตระหนักรู้ และนำพาสังคมไทยเดินหน้าสู่สังคมแห่งการเกื้อหนุนที่ยั่งยืนที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ง่าย ๆ เพียงเริ่มต้นจากการจัดการอาหารและสิ่งของส่วนเกินอย่างมีคุณภาพ โดยความร่วมมือนี้ กทม. และ TikTok คาดหวังว่าข้อมูลข่าวสารจะได้รับการถ่ายทอดในประเทศไทยด้วยคอนเทนต์คุณภาพ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการ BKK Food Bank ตั้งแต่ปี 2565 มีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความมั่นคงทางอาหาร และสร้างสังคมที่ยั่งยืน ขยายการรับรู้เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริงในสังคม ศักยภาพและพลังคอมมูนิตี้บนแพลตฟอร์ม TikTok สามารถช่วยเติมเต็มโครงการได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีฐานผู้ใช้งานหลายล้านคนและจุดเด่นของความเป็น Entertainment […]

Banner 209 01 1

ติดเส้นศูนย์สูตรแล้วไง เมื่อลอดช่องจะดับร้อนด้วย “Cooling Singapore”

“สิงคโปร์” ประเทศขนาดจิ๋วที่มีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แต่กลับอัดแน่นไปด้วยผู้คนจำนวนมาก ส่งผลให้ความหนาแน่นของประชากรบนเกาะเล็ก ๆ ปลายแหลมมลายูแห่งนี้จัดอยู่ใน top 3 เป็นรองเพียงแค่มาเก๊าและโมนาโกเท่านั้น อีกทั้งชัยภูมิของประเทศนี้ก็ไม่ธรรมดา ตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียง 1 องศา ด้วยสภาพอากาศแบบร้อนชื้นศูนย์สูตรจึงเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัด จนอาจส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ ทำให้รัฐบาลสิงคโปร์ได้ทุ่มเทเวลาตลอด 6 ทศวรรษเพื่อรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศที่คาดว่าจะเกิดขึ้น นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งจากความมุ่งมั่นของประเทศเล็กพริกขี้หนูที่หวังจะสร้างเมืองในฝันเพื่อทุกคน พวกเขาทำอย่างไร และทำไมต้องทำ The Sharpener มีเรื่องราวดี ๆ มาฝากกัน หลังจากที่สิงคโปร์แยกตัวออกจากมาเลเซียในปี ค.ศ. 1965 คนสิงคโปร์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากหลายปัจจัย ทั้งการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้น การเติบโตของอุตสาหกรรม และการอพยพเข้ามาของแรงงานต่างชาติ นำมาซึ่งการเจริญเติบโตของเมือง ซึ่งถือเป็นแหล่งที่อยู่ของประชากรเหล่านี้ ผนวกกับความเปราะบางของประเทศที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจนอาจทำให้เกาะสวรรค์แห่งนี้จมหายลับไปในทะเล และที่มากไปกว่านั้นสิงคโปร์ยังเสี่ยงได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ “เกาะความร้อนในเมือง” หรือ “Urban Heat Island” ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เมืองสัมผัสได้ถึงความร้อนมากกว่าบริเวณโดยรอบจากการดูดกลืนความร้อนของวัตถุต่าง ๆ เช่น คอนกรีต ยางมะตอย เป็นต้น ล้วนส่งผลโดยตรงกับผู้คนที่ต้องอาศัยอยู่ในเขตเมืองเฉกเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ตามข้อมูลของ Barcelona Institute for Global Health […]

Banner 210 01

ปลุก “เดอะแบก” หลุดกับดักภาษีที่ดินแพง หนุนทำสวนป่าเศรษฐกิจหมุนเวียนตามแนว BCG

หลังจากที่ที่ดินทิ้งร้างทั่วประเทศ ได้กลายเป็นเป้าหมายใหม่ของการรีดภาษีสร้างรายได้เข้ารัฐผ่านพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งก็ได้เริ่มจัดเก็บเข้าคลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ในอัตราตั้งแต่ร้อยละ 0.3-0.7 ของมูลค่าที่ดินผืนที่ไม่ได้นำมาทำประโยชน์ ซึ่งแน่นอนว่าที่ดินแต่ละแปลงจะเล็กจะใหญ่สนนราคาภาษีที่ผู้ถือครองไว้ต้องจ่ายย่อมมีมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับทำเลและอีกหลายปัจจัย แต่นั่นก็ได้กลายเป็นรายจ่ายใหม่ของพลเมืองดีที่มีที่ดินต้องแบกรับไว้โดยปริยาย ซึ่งดูเหมือนว่าที่ผ่านมาจะยังไม่กระทบกับเงินในกระเป๋าของเหล่าแลนด์ลอร์ดสักเท่าไหร่ ยิ่งในช่วงวิกฤตโควิดระบาดสองปีนั้นถือเป็นช่วงเผาหลอกที่รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ออกโปรแรงเยียวยาภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ลดภาษีให้ถึงร้อยละ 90 จากอัตราจริงที่ต้องจ่าย ทำให้แลนด์ลอร์ดน้อยใหญ่ยังจ่ายกันได้สบาย แต่เมื่อโปรแรงหมดลงก็เริ่มเข้าสู่ช่วงเผาจริงกันแล้ว หลายคนก็ตั้งท่าเตรียมควักตังค์ไปจ่ายภาษีก้อนใหญ่ แต่เอาเข้าจริงก็ยังพบโปรใหม่ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่ยังปรับลดภาษีลงให้อีกร้อยละ 15 จากอัตราจริงที่ต้องจ่ายแถมขยายเวลาชำระภาษีออกไปอีก 2 เดือน คือจ่ายได้ถึงสิ้นเดือนมิถุนายนนี้อีกต่างหาก เรียกว่าจูงใจกระตุ้นให้แลนด์ลอร์ดกล้าจ่ายภาษีกันได้คล่องมือรอดไปได้อีกหนึ่งปี แต่ที่ต้องจับตาดูกันคือในปี พ.ศ. 2567 รัฐบาลใหม่จะมีโปรดีอะไรออกมาอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ ๆ  กรมธนารักษ์ได้ชิงประกาศใช้ราคาประเมินที่ดินใหม่ในรอบปี พ.ศ. 2566-2569 ไปแล้ว โดยราคาที่ดินจะเพิ่มขึ้นอีกเฉลี่ยร้อยละ 8 เลยทีเดียว จากการสำรวจของกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ. 2563 พบว่า เฉพาะเมืองหลวงของเรายังมีที่ดินทิ้งร้างซ่อนอยู่ถึง 65,625 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ทั้งหมด แต่หลายแปลงในจำนวนนี้ปัจจุบันได้กลายมาเป็นดงกล้วย สวนมะนาว […]

Banner 223

กฟผ. ผนึก ม.เกษตร สู้โลกรวน ชวนคนไทยปลูกต้นไม้ง่าย ๆ มุ่งสู่ Carbon Neutrality

กฟผ. ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชวนรักษ์โลกผ่านการปลูกต้นไม้ทุกชนิด รวมถึงพืชผักสวนครัว หวังลดโลกรวน PM2.5 ให้บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี ค.ศ. 2050 4 ธ.ค.2565 ณ สวนหลวง ร.9 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดกิจกรรม “Forest Talk สรวลเส (วนา) ปลูกป่าอย่างไรให้รอด” ในงานพรรณไม้งามอร่ามสวนหลวง ร.9 แชร์เทคนิครับมือสภาวะโลกรวนและ PM2.5 พร้อมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปลูกป่า นำโดยนายชัยวุฒิ หลักเมือง ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน กฟผ. รองศาสตราจารย์ ดร.พัชรียา บุญกอแก้ว หัวหน้าภาควิชาพืชสวน คณะเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และปาร์ค ภาณุภัทร อโนมกิติ ศิลปินนักแสดงตัวแทนคนรุ่นใหม่ รวมทั้งมีการจัดนิทรรศการ “พรรณพฤกษาราชานุสรณ์” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศ์ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ณ หอรัชมงคล กฟผ. ยังได้ร่วมจัดแสดงสวนหย่อมในรูปแบบสวนป่าที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยดอกไม้ป่า กล้าไม้ […]

FA00B46E 0F9E 4694 B5E2 DE6A2BB13D55

วิศวฯ จุฬาฯ คึกคัก
หนุน “ชัชชาติ” กู้วิกฤต กทม.

17 มิ.ย.65 ณ ลานเกียร์ วิศวฯ จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) จัดงาน “ผู้ว่าฯ แข็งแกร่ง อินทาเนีย ร่วมแรง เปลี่ยนแปลง กทม.” เพื่อให้เหล่านิสิตเก่าหลากรุ่นหลายวัยกว่า 400 คน ร่วมแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ พร้อมด้วยทีมผู้บริหารสาย Intania Connection ได้แก่ นายต่อศักดิ์ โชติมงคล (วศ.18) ประธานที่ปรึกษาผู้ว่าฯ กทม. รศ.ดร.วิศณุ ทรัพย์สมพล (วศ.29) และนายศานนท์ หวังสร้างบุญ (วศ.50) รองผู้ว่าฯ กทม. โดยมีคนดังจากหลากหลายวงการมาร่วมงานคับคั่ง อาทิ น.ส.อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดร.ปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ […]

Banner 205

บ๊อช จับมือสภาลมหายใจเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยบรรเทาปัญหามลพิษทางอากาศ

เครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช อุปกรณ์สำคัญที่ยืนยันแนวความคิดของโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” ความร่วมมือนี้ตั้งเป้าสร้างความเข้าใจรูปแบบของมลภาวะทางอากาศ ตรวจจับฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหามลภาวะทางอากาศผ่านโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” บ๊อชติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในชุมชนหมื่นสารเพื่อวัดและเก็บข้อมูลความหนาแน่นของมลภาวะทางอากาศ ผลงานวิจัยจากโครงการ “บ้านสู้ฝุ่น” พบว่า พรรณไม้สู้ฝุ่นสามารถดูดซับฝุ่นละอองขนาดเล็กและสารประกอบระเหยง่ายในอากาศได้ ปัญหามลภาวะทางอากาศที่มาจากการขนส่งทางถนน สามารถบรรเทาได้ด้วยการยกระดับโซลูชันระบบส่งกำลัง รวมไปถึงโซลูชันนวัตกรรมด้านการขับเคลื่อน กรุงเทพ –บ๊อช เดินหน้าช่วยเหลือการแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศในประเทศไทย สนับสนุนโครงการวิจัย “บ้านสู้ฝุ่น” โครงการบ้านต้นแบบที่ริเริ่มโดย สภาลมหายใจเชียงใหม่ ในการจัดการพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นภายในครัวเรือนเพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่ หนึ่งในพื้นที่ที่ประสบปัญหามลภาวะทางอากาศรุนแรงที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย โดยมีเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง (air quality monitoring box) ของบ๊อช เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยยืนยันผลวิจัยของโครงการ มอบข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์ จากการประมวลผลด้วยเซนเซอร์ประสิทธิภาพสูง ซึ่งนับเป็นข้อมูลสำคัญที่จะช่วยต่อยอดไปสู่การคิดค้นและปรับใช้มาตการต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศได้ บ๊อช ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองในบริเวณชุมชนหมื่นสาร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา เพื่อวัดค่าคุณภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในบริเวณพื้นที่รอบชุมชนหมื่นสาร นอกจากนั้น บ๊อช […]

1

ส่งข้าวฟ้าผ่า กลางแคมป์พระราม 3 ยื้อ 136 ชีวิต ถูกพักงาน ไร้ผู้เหลียวแล

4 กค. 64 ณ ศูนย์ Food for Fighters สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ ทันทีที่ภารกิจข้าวแสนกล่องได้รับแจ้งเหตุ “ด่วน 136 ชีวิตร้องขอสิ่งประทังชีวิตหลังปิดแคมป์คนงาน ไม่มีใครดูแล” ที่เสนอข่าวโดย NationTV (https://www.nationtv.tv/news/378828263) และ Khaosod TV (https://www.youtube.com/watch?v=U6FNthlb4sI&ab_channel=KhaosodTV-%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%94) จาก รศ.ไพลิน ผ่องใส อดีตอาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ เครือข่าย Food for Fighters ได้เร่งประสานไปยัง “หัวหน้าอู๋” ผู้ดูแลแคมป์คนงานย่านพื้นที่ย่านพระราม 3 ซอย 75 แยก 1 ติดทางด่วนแห่งนี้ ซึ่งเป็นของบริษัทรับเหมาก่อสร้างชื่อดังแห่งหนึ่ง และได้เร่งนำอาหารกล่อง จำนวน 140 กล่อง เข้าไปบรรเทาความหิวโหยของคนงานภายในแคมป์ทั้งหมด 136 คนในทันที โดยทั้งหมดถูกกักตัวแม้จะได้รับวัคซีนแล้ว ตามมาตรการปิดแคมป์คนงาน หวังสกัดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาของรัฐบาล นอกจากนี้ยังได้รับการร้องขอความช่วยเหลือสิ่งของที่จำเป็นจากแคมป์ดังกล่าว อาทิ หน้ากากอนามัย ข้าวสาร อาหารแห้ง […]

Banner 170

รู้ทัน โควิด-19 ใส่ใจผู้อยู่ร่วมกับเชื้อHIV “People Living With HIV” (PLWH)

ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก การฉีดวัคซีนดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ช่วยระงับยับยั้งวิกฤต หลายประเทศเริ่มให้วัคซีนกับประชาชนมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จนเริ่มกลับมา “ถอดแมสก์” ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่สำหรับประเทศไทยที่เพิ่งเริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs : Non-Communicable diseases) ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (COPD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่หากติดเชื้อโคโรนาไวรัสขึ้นมาอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนปกติ เฉกเช่นเดียวกับ “ผู้มีเชื้อ HIV” (Human Immunodeficiency Virus) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์โอภาส พุทธเจริญ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ และหัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยกับ The Sharpener ในประเด็นสำคัญสะท้อนการใช้ชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV (PLWH) ในช่วงโควิด-19 ไว้ในหลายประเด็น New Normal New Safe Sex นายแพทย์โอภาส เปิดบทสนทนากับเราโดยอรรถาธิบายสภาพความจริงอีกด้านของกลุ่ม PLWH ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงในห้วงช่วงเวลาที่โควิดระบาดหนักเช่นนี้ “การรณรงค์ของหน่วยงานรัฐให้รักษาระยะห่างทางสังคม […]

Banner 169

3 หน่วยงาน ผนึกกำลังรองรับการเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้า ช่วยลดมลภาวะ กระตุ้นเศรษฐกิจไทย

กฟผ. MEA รฟท. ผนึกกำลังร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รับเทรนด์การเดินทางด้วยยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาการปล่อยมลพิษทางอากาศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้ฤกษ์ดีเปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักร และสถานีต้นทางบางซื่อ พร้อมส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้ารองรับสถานีกลางบางซื่อและโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) รวมถึงรองรับการใช้ไฟฟ้าพื้นที่เมืองมหานครในอนาคต เริ่มใช้งาน ก.ค. นี้ วันนี้ (21 มิถุนายน 2564) นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) นายกีรพัฒน์ เจียมเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง (MEA) และนายอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการกลุ่มอำนวยการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ร่วมพิธีเปิดสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักร กฟผ. และสถานีต้นทางบางซื่อ MEA เพื่อส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับสถานีกลางบางซื่อและโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ณ สถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักร กรุงเทพมหานคร นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. เปิดเผยว่า กฟผ. ได้ดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ร่วมกับ MEA และ รฟท. ก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงจตุจักรเพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้ารองรับการใช้ไฟฟ้าของสถานีกลางบางซื่อ และโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner