ทำความรู้จัก “หมอพร้อม” เวอร์ชั่น 2 LINE OA
หลังจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่ ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน จนถึงขณะนี้สามารถฉีดวัคซีนครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด รวมกว่า 1.2 ล้านโดส มีผู้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว กว่า 1 ล้านคน และรับวัคซีนครบ 2 เข็มอีกกว่า 2 แสนคน ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยทีมแพทย์ เปิดตัว Line Official Account “หมอพร้อม เวอร์ชั่น 2” รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยมี 4 […]
อ่านการ์ตูนสู้โควิดกับ “KnowCovid” จากสำนักพิมพ์การ์ตูนบรรลือสาส์น
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชนที่ได้รับข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับโรคร้ายดังกล่าวจากหลากหลายช่องทางในแต่ละวัน จนอาจก่อให้เกิดความเครียดขึ้นนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ (UN) องค์การอนามัยโลก (WHO) กระทรวงสาธารณสุข ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ และบันลือกรุ๊ป (สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น) ในนามขายหัวเราะสตูดิโอ จัดทำชุดการ์ตูนความรู้ KnowCovid เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนในการรับมือกับเชื้อโควิด-19 ภายใต้แนวคิดที่ว่า “Laughter is the best medicine” การหัวเราะเป็นยาที่ดีที่สุดของชีวิต ซึ่งการ์ตูนชุดดังกล่าวอัดแน่นไปด้วยสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรู้เท่าทันโรคร้ายดังกล่าวผสมผสานกับอารมณ์ขันจากนักเขียนชื่อดัง อาทิ ต่าย ขายหัวเราะ (ภักดี แสนทวีสุข) เอ๊าะ ขายหัวเราะ (ภูวดล ปุณยประยูร)เฟน สตูดิโอ (อารีเฟน ฮะซานี) และนักเขียนท่านอื่นอีกหลายท่าน การ์ตูนชุดนี้นำเสนอการใช้ชีวิตในรูปแบบ “ความปกติใหม่” หรือ “New normal” ผ่านวิถีชีวิตของตัวละครที่ผู้อ่านหนังสือการ์ตูนชุดขายหัวเราะคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นวิธีสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง การล้างมือเป็นประจำ การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง มาตรการจัดการขั้นเด็ดขาดในการทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ ผลกระทบของความเครียดที่นำไปสู่ภาวะความรุนแรงในครอบครัวต่อเด็กและสตรี รวมถึงการสร้างความเข้าใจของคนในสังคมต่อผู้ติดเชื้อหรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การควบคุมการแพร่ระบาด ให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งแนะนำวิธีการรับมือกับเชื้อโควิด-19 ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง […]
ถอดรหัส Skincare 101: ความลับจากข้างกล่องที่คุณ (อาจ) ไม่เคยรู้
หากพูดถึงเครื่องสำอาง แน่นอนว่าทุกวันนี้คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศใดหรือวัยใดก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิว หรือที่เรียกันทั่วไปว่า สกินแคร์ (Skincare) ซึ่งในปี 2019 ที่ผ่านมา ก่อนที่เราจะเจอปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรา Euromonitor International เปิดเผยว่า มีมูลค่าการตลาดของสกินแคร์สูงถึง 7.1 หมื่นล้านบาท และยังมีอัตราการเติบโตของตลาดประมาณ 9% ต่อปี จากมูลค่าการตลาดนี้ เห็นได้ชัดว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรของประเทศ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสกินแคร์โดยเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว ดังนั้นในมูลค่าที่สูงขนาดนี้ การเลือกซื้อสกินแคร์สักชิ้นคงจะไม่ใช่เรื่องเล็กของใครหลายคนเป็นแน่ ไม่ใช่แค่เพียงราคาที่ต้องจ่าย แต่ว่าผลลัพธ์ที่เราคาดหวังก็คงจะไม่น้อยไปกว่าราคาเช่นกัน ซึ่งการเลือกสกินแคร์สักชิ้นคงไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจเลือกที่จะไปหาข้อมูลจาก Beauty Blogger หรืออ่านรีวิวต่าง ๆ จากช่องทางออนไลน์ บางคนก็เดินดูตามห้างสรรพสินค้า หรือเคาน์เตอร์ร้านค้าเลย ซึ่งบางครั้งอาจจะได้สกินแคร์กลับมาใช้แล้วถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง แต่จริง ๆ แล้วข้อมูลของผลิตภัณฑ์สกินแคร์นั้นแทบไม่ต้องไปหาจากที่ไหนไกลเลย มันถูกเขียนไว้หมดแล้วที่ข้างกล่อง หรือที่เรียกกันว่า บรรจุภัณฑ์ นี่เอง แค่อาจจะต้องมาถอดรหัส ไขข้อมูลกันหน่อยว่า มีสารอะไรบ้างที่ประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์ตัวนั้น ผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์ มักมีลักษณะเนื้อของผลิตภัณฑ์หลัก ๆ […]
กู้วิกฤตหลังม่านแรงงานไทย จุฬาฯ จับมือ ก.แรงงาน จัดตั้งศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ ยกระดับแรงงานไทยเทศทุกมิติ
ปัญหาแรงงานที่เรื้อรังมานับสิบปี เป็นปฐมเหตุให้เกิดความพยายามจากหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมกันสางปัญหานี้ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาคือหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญที่นำองค์ความรู้ ทักษะ และงานวิจัยมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนในหลายประเด็น อาทิ การดูแลสิทธิและสวัสดิการแรงงาน ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เปรียบดั่งเป็นวาระแห่งชาตินี้ โดยทำหน้าที่เป็นเข็มทิศนำทางบ่งชี้แก่นแท้ของปัญหา บอกเล่าความท้าทาย และพยากรณ์แนวโน้มที่ทั้งอาจส่งผลกระทบกับประเทศไทยอันมีปัจจัยมาจากแรงงาน โดย ศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Collaborating Centre for Labour Research, Chulalongkorn University ; CU-ColLaR) ซึ่งมีภาคีศูนย์ประสานงานกว่า 45 องค์กร จึงได้ร่วมกันศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแรงงานใน 16 หัวข้อ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลรวม 2,473 ครั้ง ทั้งเรื่องสวัสดิการและคุณภาพชีวิตแรงงาน ค่าจ้างและรายได้ การจ้างงาน ว่างงาน เลิกจ้าง และอื่นๆ นอกจากนี้ CU-ColLaR ยังได้ดำเนินงานในกรอบงานวิจัยเกี่ยวกับแรงงานร่วม 10 กิจกรรม เช่น รูปแบบการจ้างงานและการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับงานในอนาคต: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศไทย ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการจ้างงานและแนวทางการพัฒนาทักษะบุคลากรระดับองค์กรและระดับอุตสาหกรรม เก็บข้อมูลเชิงลึกจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ ณ สถาบันเทคโนโลยีสุมิพล (SIMTEC) แรงงานไทยเดินทางไปทำงานในไต้หวัน: แนวโน้มตลาดแรงงาน สภาพการทำงาน การคุ้มครองแรงงาน […]
แหวกม่าน “วัคซีนโควิด” กับภารกิจเพื่อชาติของสองพ่อลูก “พูลเจริญ” นายแพทย์วิพุธ – รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ
หากเอ่ยถึงแวดวงสาธารณสุข หลายคนคงคุ้นเคยชื่อ และความสามารถของ ‘นายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ’ อดีตผู้อำนวยการกองโรคเอดส์และกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิวิจัยและพัฒนานโยบาย เวลาหมุนผ่านมาถึงปัจจุบันที่โลกเผชิญหน้ากับโควิด-19 นามสกุลพูลเจริญ ได้รับการพูดถึงอีกครั้ง แต่หนนี้คือ ‘รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ’ หรือ ‘อาจารย์แป้ง’ ลูกสาวของคุณหมอวิพุธ ที่ถอดดีเอ็นเอความเก่งมาจากพ่อ นอกจากเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แล้ว เธอคือผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ บริษัทสตาร์ทอัพเพื่อวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช อันเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย’ ที่ชวนคนไทยร่วมระดมเงินบริจาคพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งวันนี้อยู่ในขั้นเตรียมพร้อมสำหรับทดสอบในมนุษย์ ‘The Sharpener’ นัดสัมภาษณ์พิเศษคุณหมอวิพุธ และอาจารย์แป้ง ถึงการทำงานต่อสู้ไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มข้น จากใบยา ถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 อาจารย์แป้งเล่าถึงจุดเริ่มต้นบนเส้นทางงานวิจัย “เราเริ่มศึกษาเรื่องโปรตีนจากพืช ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอก สาขา Plant Biology ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 15 ปีก่อน ตอนนั้นได้ร่วมทีมวิจัยวัคซีนอีโบลา หลังจากเรียนจบก็ไปทำงานเกี่ยวกับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งหมดใช้แพลตฟอร์มเดียวกันคือ โปรตีนจากพืช และเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน เราและ ‘อาจารย์บิ๊บ – ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ’ ได้ร่วมกันก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ สตาร์ทอัพที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช และเมื่อต้นปีที่แล้วที่มีคนไทยเริ่มติดเชื้อโควิด-19 เราจึงเริ่มผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในห้องแล็บทันที” “แต่ก้าวแรกของ ใบยา ไฟโตฟาร์ม ไม่ง่ายเลยค่ะ เนื่องจากยาชีววัตถุเป็นเทคโนโลยีใหม่ เวลานำเสนอให้หลายที่พิจารณาเงินทุน จึงไม่ได้รับความสนใจมากนัก เรากับ อ.บิ๊บ จึงตัดสินใจใช้เงินส่วนตัวลงขันกันหลายล้านบาทเพื่อให้ได้ลุยงานต่อ […]
‘จุฬาฯ-ใบยา’ ไม่หวั่นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ เร่งพัฒนาวัคซีนรุ่น 2 คืบหน้า เตรียมรับมือระบาดซ้ำ ชวนคนไทย ‘สู้ไม่หยุด’ ร่วมเป็นทีมไทยแลนด์บริจาคได้ถึงสิ้นปี 64
แคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย #ทีมไทยแลนด์” จากกระแสข่าวพบไวรัสโควิด-19 ในอังกฤษและแอฟริกาใต้กลายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและกักตัวใน State Quarantine เป็นเหตุให้หลายฝ่ายกังวลว่าวัคซีนที่นำเข้ามาอาจใช้ไม่ได้ผลนั้น ศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ รพ.จุฬาฯ มั่นใจว่าปัจจุบันมาตรการต่างๆ ของรัฐ โดยเฉพาะการตรวจเชิงรุกยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อติดตามการแพร่ระบาด และศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงสารรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเอาชนะไวรัสนี้ได้ แต่การมีแพลตฟอร์มพัฒนาวัคซีนได้เองในประเทศจะยิ่งสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทยได้ ไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์ไปก็ยังสามารถปรับวัคซีนสู้ได้ทัน ด้าน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ เดินหน้าพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 เตรียมรับมือหากระบาดระลอกใหม่ ดันแคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย” ขอบคุณและชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคได้ถึงสิ้นปี 2564 เร่งผลิตวัคซีนทดสอบในมนุษย์ได้ทันกลางปีนี้ สถานการณ์ล่าสุดเมื่อโควิด-19 กลายพันธุ์ แค่วัคซีนเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ‘ไวรัสโคโรนา สามารถกลายพันธุ์ปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งนอกจากจะมีไวรัส SARS แล้วยังพบว่ามีไวรัสชนิดอื่นแฝงอยู่ด้วย จนทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าหากไวรัสรวมตัวกันอาจก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ขึ้นมาได้อีก ซึ่งถือเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของไวรัสที่อาจกลายพันธุ์เพื่อให้อยู่รอดได้ในทุกสภาวะ ไม่ว่าจะแพร่จากสัตว์สู่มนุษย์ หรือมนุษย์สู่มนุษย์ ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาแพลตฟอร์มหรือกระบวนการผลิตวัคซีนรองรับเหตุการณ์ หรือโรคอุบัติใหม่ให้ทันการณ์ อย่างไรก็ตามเวลานี้ ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าไวรัสโควิด-19 จะกลายพันธุ์ไปได้อีกกี่สายพันธุ์ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเฝ้าติดตามและตรวจเชิงรุก ติดตามการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ซึ่งศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ คาดการณ์ว่าจะเริ่มตรวจเชิงรุกภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 […]
จุฬาฯ ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรมระบบกรองน้ำบาดาลดื่มได้ต้นแบบ ใช้ถ่านกระดูกแก้ฟลูออไรด์เกินมาตรฐาน
น้ำบาดาล ถือเป็นแหล่งน้ำสำรองที่คนไทยใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตจ่ายน้ำประปาของทั้งการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านในพื้นที่บริเวณดังกล่าวนิยมขุดเจาะสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยประเทศไทยมีแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่อยู่ 5 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ พื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนใต้ (พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง) พื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนเหนือ พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง พื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ และพื้นที่ราบลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลําพูน โดยในปี พ.ศ.2551 สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาลได้สำรวจข้อมูลทางอุทกธรณีวิทยา พบว่าแหล่งน้ำบาดาลสำคัญในพื้นที่ภาคเหนือของไทยอย่างพื้นที่ราบลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนนั้น มีปริมาณฟลูออไรด์เฉลี่ยสูงเกิน 1.5 ppm ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานน้ำเพื่อการบริโภคที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดไว้ไม่ให้ค่าฟลูออไรด์สูงเกิน 0.7 ppm อันเป็นผลมาจากสภาพภูมิประเทศที่มีคุณลักษณะพิเศษเป็นเขตภูเขาและหุบเขาสลับซับซ้อนของภาคเหนือ กล่าวคือ เมื่อน้ำผิวดินไหลผ่านชั้นหินที่มีปริมาณฟลูออไรด์สะสมอยู่มาก ไหลชะลงมาจนกลายเป็นน้ำบาดาล จึงทำให้น้ำบาดาลในแหล่งนี้มีปริมาณฟลูออไรด์สะสมอยู่สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไปด้วย แม้ว่าฟลูออไรด์จะเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญนำมาใช้รักษาสุขภาพช่องปากและป้องกันฟันผุได้ดีในมนุษย์ แต่หากได้รับในปริมาณที่สูงมากเกินไปในระยะยาวอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของผู้ใช้น้ำบาดาล อาทิ ฟันตกกระ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สมรรถนะของสมองทำงานลดลง ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนากระบวนการกำจัดฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำในพื้นที่ห่างไกลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศจึงจำเป็นอย่างยิ่งยวด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักบริหารกิจการนิสิต และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ภายใต้การสนับสนุนจาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และ มูลนิธิรากแก้ว เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพคนไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมระบบกรองน้ำบาดาลต้นแบบ โดยพัฒนากระบวนการการดูดซับ (Adsorption) […]
ข้าคือแม่น้ำ… แม่น้ำคือข้า – นิวซีแลนด์มอบสถานะบุคคลให้แม่น้ำของ ชาวเมารี
“แม่น้ำสายใหญ่ ไหลจากเทือกเขาลงสู่ทะเล ข้าคือแม่น้ำ แม่น้ำคือข้า” ด้วยคำกล่าวนี้ ชนเผ่าเมารีแห่งฟังกานุยในนิวซีแลนด์ประกาศสายสัมพันธ์ที่ไม่อาจตัดขาด ของตนกับแม่น้ำที่เปรียบดังบรรพชน แม่น้ำสายนี้เกิดจากทุ่งหิมะของภูเขาไฟสามลูกทางตอนกลางของเกาะเหนือ ชนเผ่าเมารีกลุ่มต่างๆ มีตำนานเล่าขานว่า น้ำตาหยดหนึ่งของนภบิดรหรือเทพแห่งท้องฟ้าตกลงสู่ตีนเขาลูกที่สูงที่สุดในบรรดาขุนเขาเหล่านี้ นั่นคือภูเขารัวพีฮูอันโดดเดี่ยว และแม่น้ำสายนี้จึงถือกำเนิดขึ้น แม่น้ำที่เอ่อท้นเพราะได้น้ำจากแควมากมายไหลคดเคี้ยวดุจปลาไหลแหวกว่ายผ่านแดน แห่งขุนเขา ตลอดระยะทาง 290 กิโลเมตรสู่ทะเล หากเดินทางตามถนนสูงชันเลียบแม่น้ำสายนี้ เราจะเห็นนักพายเรือแคนูลอยล่องไปตามช่วงที่นิ่งสงบของแม่น้ำ เป็นหนึ่งเดียวกับกระแสน้ำ กิ่งไม้ใบไม้ และฟองคลื่นขาว ก่อนจะจ้วงไม้พายลึกทะยานผ่านช่วงที่สายน้ำเชี่ยวกราก นี่คือแม่น้ำที่ชนพื้นเมืองแห่งฟังกานุยควบคุม ดูแล และพึ่งพามากว่า 700 ปี นี่คือ อาวาทูพัว แม่น้ำแห่งพลังศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา แต่เมื่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปมาถึงในช่วงกลางศตวรรษที่สิบเก้า อำนาจตามประเพณีของชนเผ่าต่างๆก็ถูกลดทอน และท้ายที่สุดก็สูญสิ้นไปด้วยกฎหมายของรัฐบาล นับแต่นั้น ชนพื้นเมืองได้แต่เฝ้ามองแม่น้ำของพวกเขาทรุดโทรมและถูกย่ำยี แก่งน้อยใหญ่ ถูกระเบิดเพื่อเปิดร่องน้ำให้เรือกลไฟของนักท่องเที่ยวแล่นได้สะดวกขึ้น และเปิดทางสู่การยึดครองที่ดินที่อยู่ลึกเข้าไป กรวดก้นแม่น้ำถูกขุดไปทำหินโรยทางรถไฟและทำถนน ที่น่าเศร้าที่สุดคือน้ำจากต้นน้ำถูกผันไปยังพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ที่ขยายตัว ทำให้กระแสน้ำตามธรรมชาติในลำน้ำตอนบนแห้งเหือด ซึ่งถือเป็นการดูหมิ่นทางวัฒนธรรมอย่างถึงแก่น เพราะตามคติความเชื่อของเมารี หัวคือส่วนศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของบุคคล และสำหรับพวกเขา แม่น้ำสายนี้คือบุคคล เป็น ทูพูนา หรือบรรพบุรุษคนหนึ่งจริงๆ แต่เมื่อวันที่ 20 มีนาคม […]
‘เบลล่า ราณี – เวียร์ ศุกลวัฒน์’ เปิดจองโฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง นำเงินบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา วัคซีนเพื่อคนไทย’ หนุนนักวิจัยไทยที่สู้ไม่หยุดเพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนเพื่อคนไทยอีกนับล้าน
14 ก.พ.64 – รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เปิดเผยว่า ได้รับการประสานจากคุณเบลล่า ราณี แคมเปน และคุณเวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศ นักแสดงขวัญใจชาวไทยประสงค์จะร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ เพื่อสนับสนุนโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยนำ ‘โฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง’ มาร่วมบริจาคในโครงการ นำเงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา วัคซีนเพื่อคนไทย’ สนับสนุนทีมวิจัยคนไทยที่กำลังสู้ไม่หยุดเพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืช ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ผลิตได้เองในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยอีกกว่าสามสิบล้านคนเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึงปลายปีนี้ ‘มาร่วมบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา’ วันซีนเพื่อคนไทย กันเยอะๆ นะค่ะ’ ทางด้าน คุณเบลล่า ราณี แคมเปน เผยว่า “แค่อยากให้ความทรงจำของเรามันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ และมันคงจะดีหากเราได้ร่วมแชร์ประสบการณ์การเดินทางนี้ไปด้วยกัน…” โดยเบลล่า-เวียร์ เราสองคนตั้งใจนำ ‘โฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง #ไม่ใช่ไอซ์แลนด์ทำแทนไม่ได้ มาจำหน่ายเพื่อนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เพื่อเชียร์นักวิจัยไทยและร่วมเป็นส่วนหนึ่งไปกับทีมไทยแลนด์ที่กำลังสู้ไม่หยุดวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนจากฝีมือคนไทยเพื่อคนไทยอีกนับล้านคน โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ ‘มาร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ สั่งจองโฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง กับ เบลล่า-เวียร์ ได้แล้ววันนี้’ สำหรับแฟนๆ และผู้ที่สนใจร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ […]
ภารกิจพิชิตฝุ่นเพื่อคนไทย “ดร.โอ – ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล” ผู้ปลุกปั้น Sensor For All นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน
25 ปี คือ เวลาที่ “ศ.ดร.โอ พิสุทธิ์ เพียรมนกุล” ใช้ชีวิตอยู่กับเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การเป็นนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ ในปี 2538 ซึ่งในช่วงเวลานั้น ปัญหามลพิษทางอากาศจากเหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คือประเด็นใหญ่ที่สังคมไทยพูดถึง และเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ชายหนุ่มผู้นี้หมุนเข็มทิศชีวิตสู่เส้นทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากเรียนจบที่ฝรั่งเศส ดร.พิสุทธิ์ กลับมาเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาที่ตัวเองร่ำเรียนมาที่จุฬาฯ นอกจากนี้ยังจัดรายการวิทยุ เขียนหนังสือ และในปี 2560 ยังมีโอกาสร่วมเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ Sensor For All นวัตกรรมตรวจวัดสภาพอากาศ เพื่อนำร่องสู่การแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่วันแรกที่ ดร. โอ เรียนด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมไทยแย่ลงขนาดไหนครับ ถ้าแสดงด้วยกราฟ แกน Y คือเหตุการณ์สำคัญทางสิ่งแวดล้อม แกน X คือเวลา ก็ต้องบอกว่า เส้นกราฟพุ่งสูงปรี๊ดอย่างรวดเร็วครับ และถ้าถามว่า ในวันนี้คนสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมแค่ไหน ถ้าดูในโซเชียลมีเดียจะเห็นว่า นี่คือเรื่องหนึ่งที่คนชอบแชร์ แต่มันไปหยุดแค่ความตระหนักรู้ แถมบางคนมาพร้อมความตระหนกบ่นกร่นด่าไปทุกอย่าง […]