คุยผ่าวิกฤติโควิด-19 ทางรอดธุรกิจร้านอาหาร
เหล่า Foodie ทั้งหลาย ห้ามพลาด คืนนี้ 2 ทุ่ม! รายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Live Talk ชิค ชิค EP.7 ชวนมาคุยผ่าวิถีใหม่ เซอร์วิสไทยต้องรอด กับ ภู–ภูวณัฏฐ์ แท่นวัฒนกุล เจ้าของร้านเหลือใจ อาหารคลีนรสแซบ กินได้ทุกวัน ไม่มีเบื่อ พร้อมกูรูมากกระบวนท่า ฝ่ามาแล้วทุกวิกฤติ ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี จุฬาฯ และอุปนายก สนจ. ทางแฟนเพจ The Sharpener และ Chula Alumniดำเนินรายการโดย 4 Co-Host แมค อาร์ต ปาร์ค และกรีน
พลิกตำราต่อลมหายใจให้ธุรกิจร้านอาหาร
ขึ้นชื่อเป็นร้านอาหารไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ จะเป็นร้านข้างทางหรือภัตตาคารขึ้นเหลาหรูหรา ก่อนหน้านี้ล้วนแต่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กันถ้วนหน้า ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เมื่อต้นเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา เปิดเผยบทวิจัยเรื่อง “การปรับตัวของธุรกิจร้านอาหารเข้าสู่มาตรฐานใหม่” ซึ่งคาดการณ์ว่าธุรกิจร้านอาหารในปี 2563 จะหดตัวประมาณ 9.7% – 10.6% จากปีก่อน โดยมีมูลค่าเหลือเพียง 3.85 – 3.89 แสนล้านบาท ซึ่งความน่าสนใจอยู่ตรงที่การประเมินนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ครอบคลุมเฉพาะการระบาดระลอกแรกและต้องไม่เกิด “Wave 2” ในช่วงที่เหลือของครึ่งปี 2563 นี้ ทุกวันนี้ แม้เมืองจะกลับมาเปิดแล้ว แต่บรรดาผู้ประกอบการร้านอาหารยังต้องเจอกับโจทย์ท้าทายมากมายในยุค New Normal เพื่อกำหนดและสร้างมาตรฐานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคระบาดที่ยังต้องทำตามอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันการระบาดซ้ำที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ซ้ำร้ายยังมีเรื่องภาวะเศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัวเข้ามาปัจจัยภายนอกซ้ำเติมสถานการณ์ดำดิ่งลงไปอีก ปลุกให้ทั้งเจ้าของกิจการและผู้บริโภคต้องคิดหนัก จับจ่ายใช้สอยกันอย่างรัดกุมมากขึ้น หันมาดูธุรกิจร้านอาหารที่พึ่งพาลูกค้าชาวต่างชาติที่ตั้งอยู่บนห้างสรรพสินค้าและแหล่งท่องเที่ยวตามหัวเมืองใหญ่ยังคงฟุบยาว เมื่อนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้าประเทศได้ แม้จะขายผ้าเอาหน้ารอดด้วยการปลุกกระแสไทยเที่ยวไทยให้คึกคักขึ้นมาอย่างไร ก็เป็นเพียงการขัดตาทัพให้พอมีกระแสเงินสดไหลเข้ามาพอประคองธุรกิจไปได้บ้างแต่ยังมิอาจทดแทนส่วนที่ขาดหายไปได้ การปรับตัวรับ New Normal ย่อมส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ รวมถึงเม็ดเงินลงทุนที่ผู้ประกอบการต้องใส่ลงมามากน้อยแตกต่างกันไป เพื่อให้เกิด Trust Economy มั่นใจได้ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ ยิ่งในช่วงฟื้นฟูหลังผ่านพ้นวิกฤติยกแรกธุรกิจร้านอาหารที่อยู่ใกล้ชิดกับปากท้องคนไทย ต้องริเริ่ม เติมเต็มชีวิตวิถีใหม่กันอย่างไร […]
6 Contactless เทคโนโลยีจาก KBTG กับการก้าวสู่ธนาคารแห่งอนาคต
การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลกนั้นได้เร่งให้วิถีชีวิตของผู้คนนั้นเปลี่ยนเข้าสู่สิ่งที่เราเรียกกันว่า ‘ความปกติใหม่’หรือ ‘New Normal’ ที่ทุกคนนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องของความสะอาดและการเว้นระยะห่างระหว่างกัน ไม่ใช่แค่วิถีชีวิตของผู้คนเท่านั้นที่ถูกเร่งโดยการแพร่ระบาดทั่วโลกครั้งนี้ แต่ยังรวมถึงการเร่งให้โลกของเรานั้นต้องก้าวเข้าสู่ยุคของดิจิทัลมากขึ้นอีกด้วย ซึ่งในยุค New Normal นี้ ‘เทคโนโลยี’ จะเข้ามามีบทบางอย่างมากในการช่วยให้ผู้คนนั้นใช้ชีวิตได้ง่ายยิ่งขึ้น ทาง KASIKORN Business – Technology Group (KBTG) หนึ่งในผู้นำนวัตกรรมทางการเงินได้ที่ได้เข้ามาช่วยเหลือสังคมในการสรรสร้าง 6 Contactless Technology เทคโนโลยีไร้สัมผัส ตอบโจทย์ชีวิตผู้คนในยุค New Normal มากขึ้น คุณเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KBTG ได้เผยว่า COVID-19 นั้นได้เป็นปัจจัยสำคัญในการเร่งพฤติกรรมของคนอย่างมหาศาล เห็นได้ชัดจากจำนวนผู้ใช้ KPLUS ที่เพิ่มขึ้นถึง 13 ล้านคน โดยยอดธุรกรรมทางเงินนั้นเพิ่มขึ้นถึง 68% YoY หรือจาก 165 ล้านเพิ่มขึ้นเป็น 277 ล้าน รวมถึงยอด K-Payment ในประเภท E-Commerce ที่มีการเติบโตถึง 128% YoY ซึ่งโดยปกติแล้วการเปลี่ยนพฤติกรรมของคนนั้นจะใช้เวลาเป็นปีๆ แต่ในตอนนี้มันใช้เวลาแค่ 2 เดือนเท่านั้น ซึ่งนี่ก็แสดงให้เห็นว่าคนนั้นหันมาปรับเปลี่ยนสู่การใช้ Contactless […]
Multi-Brand Stores แหล่งช้อปออฟไลน์ของแบรนด์สินค้าออนไลน์ยอดฮิต กับ ชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องปรับตัว
คนไทยถูกยกให้เป็นนักช้อปตัวยงอันดับต้น ๆ ของโลก ด้วยทักษะการช้อปเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลก ยิ่งหลายปีมานี้ที่ธุรกิจ E-Commerce เติบโตอย่างมาก ยิ่งเอื้อให้พฤติกรรมจับจ่ายใช้สอยง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัสผ่านโลกโซเซียลทั้งเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม จนเกิดเป็น Social Commerce ขึ้น โดยสินค้าที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งก็คือสินค้าแฟชั่นนั่นเอง ขณะเดียวกันการช้อปปิ้งของคนไทยไม่หยุดแค่ในโลกออนไลน์เท่านั้น หลายคนยังพิสมัยที่จะซื้อแบรนด์ออนไลน์ดัง ๆ ใน Offline Stores จนเกิดเทรนด์ Multi-Brand Stores ร้านค้าที่รวบรวมสินค้าแบรนด์ชื่อดังในโลกโซเชียลหลากหลายแบรนด์มาไว้ด้วยกันในร้านเดียว หากเปรียบแล้ว Multi-Brand Stores ก็คล้ายกับห้างสรรพสินค้าขนาดย่อมที่มีสินค้าหลากไอเท็มครบครัน ตั้งแต่เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และเครื่องประดับ นับเป็นศูนย์รวมสินค้าแฟชั่นที่เปิดโอกาสให้พ่อค้าแม่ขายในโลกออนไลน์สามารถนำสินค้ามาวางขายบนชั้นแบบออฟไลน์นั่นเอง ที่มาของร้านค้าในรูปแบบ Multi-Brand Stores แห่งแรกเกิดขึ้นในประเทศแห่งแฟชั่นชั้นนำระดับโลกอย่างฝรั่งเศส เมื่อปี 1997 คือร้าน Collette ส่วนฝั่งเอเชียนั้นคือร้าน ALAND ในเกาหลีใต้ สำหรับประเทศไทย Multi-Brand Stores ร้านแรกเกิดในปี 2013 คือร้าน Wonder Room ต่อมาเมื่อธุรกิจ Multi-Brand Stores บ้านเราเติบโตอย่างก้าวกระโดด […]
อาร์ม-ปาณพล จันทรสุกรี ผู้สร้างจุฬาฯมาร์เก็ตเพลส รันเศรษฐกิจ ฝ่าโควิด-19
ในช่วงที่โลกต้องเผชิญกับไวรัสโคโรนา 2019 ศัตรูไร้ตัวตนของมวลมนุษย์ชาติ เป็นจังหวะที่ระบบเศรษฐกิจโลกจำเป็นต้องถูก Disrupt อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ บรรยากาศการทำมาค้าขายแบบเก่าต่างได้รับผลกระทบไปตาม ๆ กัน แต่ทันใดนั้นก็เกิดปรากฏการณ์ “ตลาดแตก” ขึ้นชั่วข้ามคืน เมื่อ E-Marketplace จากแพลตฟอร์ม Facebook close group ค่ายศิษย์เก่าหลากมหาวิทยาลัยไทยแข่งกันสร้าง “ตลาดซื้อขายออนไลน์” เฉพาะกลุ่มขึ้นมา ผุดโอกาสท่ามกลางวิกฤติ ให้ทุกคนผันตัวมาเป็นพ่อค้าแม่ขายสไตล์ WFH จนเงินสะพัดช่วยประคับประคองให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขับเคลื่อนไปได้ และแน่นอนว่า “จุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส” คือ ตลาดออนไลน์ที่มีสมาชิกมากที่สุดราว 2.5 แสนราย ที่เปิดโอกาสให้ทั้งนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน ครูบาอาจารย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่บุคลากรจุฬาฯ ได้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการกันอย่างเต็มที่ ในบรรยากาศที่อบอุ่นและมีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สร้างสีสันให้ช่วงวิกฤติโควิด-19 ของใครหลายคนกลับมาสดใสซาบซ่าอีกครั้ง The Sharpener มีโอกาสได้พูดคุยกับ “คุณอาร์ม ปาณพล จันทรสุกรี” ผู้ก่อตั้งจุฬาฯ มาร์เก็ตเพลส ผ่านรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” ใน Episode 5 ที่ผ่านมา […]