เรียนรู้โลกกว้างผ่านแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต พิพิธภัณฑ์และหอศิลป์จุฬาฯ เปิดชมฟรีตลอดปี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวิชาการและการอนุรักษ์ให้นิสิต คณาจารย์ และบุคลากร อีกทั้งยังบุคคลภายนอกที่สนใจได้เข้ามาเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ศึกษาหาความรู้เสริมเพิ่มเติมทักษะต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างเพลิดเพลินตามอัธยาศัยในแบบสรรสาระ (Edutainment) ผ่านการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ซึ่งมีทั้งส่วนที่อยู่ภายในกำกับของส่วนกลางมหาวิทยาลัยและอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของหลายคณะ รวมมากถึง 23 แห่ง ซึ่งแต่ละแห่งล้วนเป็นคลังความรู้ที่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะตัว อาทิ พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาฯ, พิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์ สังกัดคณะทันตแพทยศาสตร์, พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้อีกหลายแห่งกระจายอยู่ในพื้นที่ของจุฬาฯ ในแต่ละภูมิภาคอีก 2 แห่ง ได้แก่ พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ จังหวัดเชียงใหม่ และพิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน จังหวัดชลบุรี เป็นต้น จุฬาฯ ได้พัฒนาทั้งเนื้อหาและรูปแบบการจัดแสดงในแบบสหศาสตร์อยู่อย่างต่อเนื่องตลอดปี โดยบูรณาการเนื้อหาและเทคนิคการนำเสนอผ่านความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ในรั้วจุฬาฯ ด้วยกัน อาทิ นิทรรศการ “กายวิจิตร” นำเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์มาผนวกเข้ากับการนำเสนอด้านศิลปกรรมศาสตร์, นิทรรศการ “อนันตกาล” (FOREVER) กับการสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและคติความเชื่อทางศาสนา, นิทรรศการเชิดชูเกียรติศิลปิน ชวลิต เสริมปรุงสุข : Rest In Progress ผู้สร้างแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ ผู้เป็นกำลังใจของผู้สูงวัย […]
จุฬาฯ จับมือ ก.สาธารณสุข แก้ปัญหาสิงห์อมควัน จัดเขตสูบหรี่คุ้มครองนิสิต-บุคลากร นำร่องปรับพฤติกรรมคนไทย
ในทุก ๆ 1 นาที ทั่วโลกมีผู้ที่ต้องปิดฉากชีวิตลงจากภัยร้ายของบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับเป็นอันดับต้น ๆ มากกว่าปีละ 5 ล้านคน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องหันหน้ามาร่วมกันดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ยอดผู้สูบบุหรี่กว่า 650 ล้านคน ไม่ต้องจบชีวิตก่อนวัยอันควร ขณะที่เมื่อหันกลับมาดูสถานการณ์ในประเทศไทยไทย ข้อมลูจากแผนงานควบคุมยาสูบในปี พ.ศ.2560-2564 เผยว่า ปัญหาการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอายุรหะว่าง 15-18 ปี ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 6.58 เป็นร้อยละ 8.25 สอดคล้องกันกับข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ระบุว่าเยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่กว่า 400,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ตลอดชีวิต หากยังได้รับการกระตุ้นจากกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่พยายามโฆษณาหลอกล่อเด็กและเยาวชนอีกด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ “นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และจัด “เขตสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะ พ.ศ. 2563” เพื่อมุ่งปรับพฤติกรรมคุมเข้มผู้สูบบุหรี่ในสถานศึกษาโดยจัดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่อาคาร สิ่งปลูกสร้าง สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ พร้อมแสดงเครื่องหมายแยกเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ให้ชัดเจน เพื่อดูแลพื้นที่ในเขตสูบบุหรี่ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมาะสม ทั้งนี้ยังได้รณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรเกิดแรงจูงใจร่วมลด ละ เลิกสูบบุหรี่ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]
“MDCU Let’s Talk” น้องหมอจุฬาฯ เลิกเครียด ส่งรุ่นพี่ คุยเสริมสุข นอกห้องเรียน
แพทย์ จุฬาฯ จัด “MDCU Let’s Talk” ส่งแพทย์รุ่นพี่และนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตกับนิสิตแพทย์ทุกชั้นปี คลายภาวะกดดันจากการเรียน หวังส่งบัณฑิตถึงฝั่งยกรุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ใส่ใจสุขภาพจิตนิสิตแพทย์ที่มีความเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิตจากภาวะเครียดจากการเรียน จึงได้จัดโครงการ “สร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อการเรียนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตอย่างมีความสุข” (MDCU Let’s Talk)” บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่นิสิตแพทย์ทุกชั้นปีผ่านการเข้ารับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive and Behavioral Therapists) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชศาสตร์ และนักจิตวิทยาการศึกษา ผศ. นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร วิทยากรประจำโครงการเผยว่า “หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตรกว่า 6 ปี เนื้อหาสาระในแต่ละรายวิชามีปริมาณมากและค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับกรอบระยะเวลา และมักสร้างความท้อแท้ หมดกำลังใจระหว่างเรียน จนนิสิตแพทย์เกิดภาวะเครียดสะสม บางรายมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งเราพอจะเห็นได้อยู่เนือง ๆ จากการดำเนินงานของโครงการ MDCU Let’s Talk ในปีที่ผ่านมา มีนิสิตแพทย์ให้ความสนใจขอเข้ารับบริการ จำนวน 43 คน และปีการศึกษา 2561 จำนวน 54 คน ซึ่งหลังจากติดตามผลการเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่นพี่ […]