Banner 142 03

จุฬาฯ อวดนวัตกรรม ชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม

ปัญหาระบบนิเวศใต้ท้องทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วกำลังเป็นวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยพลัน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศใต้ท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติทางสภาพภูมิอากาศและการกระทำของมนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดหลากสายพันธุ์ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนบางชนิดเสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ และหนึ่งในนั้นคือ “ปะการัง”  จากรายงานของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ประเมินว่าท้องทะเลหลายแห่งทั่วโลกกำลังประสบภาวะความตึงเครียดจากสภาพแวดล้อมแปรปรวนส่งผลกระทบต่อแนวปะการังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียว ปะการังทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบไปแล้วถึงร้อยละ 38 คิดเป็นพื้นที่กว่า 1.2 หมื่นตารางกิโลเมตร ซึ่งแน่นอนว่าห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลย่อมได้รับผลกระทบสืบเนื่องกันไปด้วย สอดคล้องกันกับรายงานของ Scientific Reports ที่เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2558 คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2588 หรือในอีก 25 ปี ข้างหน้า ปะการังสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เกือบถึงขีดสุด โดยอาจเหลือปะการังทั่วโลกอยู่เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น  หากย้อนกลับมาติดตามสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย พบว่าระบบนิเวศทางทะเลไทยกำลังเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวขึ้น โดยช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเปิดเผยว่า บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นมีปะการังสีจางลงกว่าร้อยละ 5-30 และกลายเป็นปะการังฟอกขาวแล้วถึงร้อยละ 5-15 ซึ่งหากปล่อยไว้ยังไม่รีบแก้ไขอาจส่งผลกระทบลุกลามบานปลายทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทยเร็วกว่าที่คาดการณ์ โดยตัวเร่งให้สถานการณ์นี้ทวีความรุนแรงขึ้น นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate […]

3AF99F15 435C 4D23 B8F3 00CFB5801BDD

เอนจินไลฟ์ -​ ใบยา รุดสมทบ “ข้าวแสนกล่อง” หนุน สนจ. ดูแลชุมชนกักตัวและหมออิ่มท้อง

16 มิ.ย.64 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) สองสตาร์ทอัพจุฬาฯ เอนจินไลฟ์ และ ใบยาไฟโตฟาร์ม ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สนจ. นำอาหารกล่องมาร่วมบริจาคในภารกิจข้าวแสนกล่อง โดยบริษัท เอนจินไลฟ์ จำกัด บริจาคอาหาร 900 กล่อง นำส่งไปยังชุมชนริมคลองวัดสะพาน และ บริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด บริจาคเงินเข้าโครงการ 50,000 บาทและบริจาคอาหารอีก 108 กล่อง นำส่งไปยังศูนย์บริการวัคซีน ณ ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาฯ อาคารจามจุรี 9 เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้บุคลากรทางแพทย์ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่ ภารกิจข้าวแสนกล่องวันที่ 31 มีผู้มีจิตศรัทธาทยอยส่งอาหารกล่องเข้ามาตลอดทั้งวันรวมทั้งสิ้น 4,048 กล่อง โดยเครือข่าย Food For Fighters ได้นำส่งอาหารกล่องไปให้ชุมชนต้องถูกกักตัวกว่า 20 ชุมชน เช่น มูลนิธิดวงประทีป ชุมชนริมคลองวัดสะพาน ชุมชนโค้งรถไฟยมราช ชุมชนพัฒนาใหม่ ชุมชนบ้านมั่นคง หากนับรวมตั้งแต่เริ่มภารกิจเครือข่าย Food For […]

DC403F7C A509 412B A031 0559EB8180C8

‘เบลล่า ราณี – เวียร์ ศุกลวัฒน์’ เปิดจองโฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง นำเงินบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา วัคซีนเพื่อคนไทย’ หนุนนักวิจัยไทยที่สู้ไม่หยุดเพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนเพื่อคนไทยอีกนับล้าน

14 ก.พ.64 – รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เปิดเผยว่า ได้รับการประสานจากคุณเบลล่า ราณี แคมเปน และคุณเวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศ นักแสดงขวัญใจชาวไทยประสงค์จะร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ เพื่อสนับสนุนโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยนำ ‘โฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง’ มาร่วมบริจาคในโครงการ นำเงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา วัคซีนเพื่อคนไทย’ สนับสนุนทีมวิจัยคนไทยที่กำลังสู้ไม่หยุดเพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืช ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ผลิตได้เองในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยอีกกว่าสามสิบล้านคนเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึงปลายปีนี้ ‘มาร่วมบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา’ วันซีนเพื่อคนไทย กันเยอะๆ นะค่ะ’ ทางด้าน คุณเบลล่า ราณี แคมเปน เผยว่า “แค่อยากให้ความทรงจำของเรามันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ และมันคงจะดีหากเราได้ร่วมแชร์ประสบการณ์การเดินทางนี้ไปด้วยกัน…” โดยเบลล่า-เวียร์ เราสองคนตั้งใจนำ ‘โฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง #ไม่ใช่ไอซ์แลนด์ทำแทนไม่ได้ มาจำหน่ายเพื่อนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เพื่อเชียร์นักวิจัยไทยและร่วมเป็นส่วนหนึ่งไปกับทีมไทยแลนด์ที่กำลังสู้ไม่หยุดวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนจากฝีมือคนไทยเพื่อคนไทยอีกนับล้านคน โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ ‘มาร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ สั่งจองโฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง กับ เบลล่า-เวียร์ ได้แล้ววันนี้’ สำหรับแฟนๆ และผู้ที่สนใจร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ […]

64888257 21E2 456E 98FA 20F47A1C1321

ภารกิจพิชิตฝุ่นเพื่อคนไทย “ดร.โอ – ศ.ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล” ผู้ปลุกปั้น Sensor For All นวัตกรรมเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน

25 ปี คือ เวลาที่ “ศ.ดร.โอ พิสุทธิ์ เพียรมนกุล” ใช้ชีวิตอยู่กับเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่การเป็นนิสิตวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ ในปี 2538 ซึ่งในช่วงเวลานั้น ปัญหามลพิษทางอากาศจากเหมืองถ่านหิน และโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คือประเด็นใหญ่ที่สังคมไทยพูดถึง และเป็นหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ชายหนุ่มผู้นี้หมุนเข็มทิศชีวิตสู่เส้นทางการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม หลังจากเรียนจบที่ฝรั่งเศส ดร.พิสุทธิ์ กลับมาเป็นอาจารย์ในสาขาวิชาที่ตัวเองร่ำเรียนมาที่จุฬาฯ นอกจากนี้ยังจัดรายการวิทยุ เขียนหนังสือ และในปี 2560 ยังมีโอกาสร่วมเป็นกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งโครงการ Sensor For All นวัตกรรมตรวจวัดสภาพอากาศ เพื่อนำร่องสู่การแก้ปัญหาฝุ่นอย่างยั่งยืน นับตั้งแต่วันแรกที่ ดร. โอ เรียนด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาสิ่งแวดล้อมไทยแย่ลงขนาดไหนครับ           ถ้าแสดงด้วยกราฟ แกน Y คือเหตุการณ์สำคัญทางสิ่งแวดล้อม แกน X คือเวลา ก็ต้องบอกว่า เส้นกราฟพุ่งสูงปรี๊ดอย่างรวดเร็วครับ และถ้าถามว่า ในวันนี้คนสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมแค่ไหน ถ้าดูในโซเชียลมีเดียจะเห็นว่า นี่คือเรื่องหนึ่งที่คนชอบแชร์ แต่มันไปหยุดแค่ความตระหนักรู้ แถมบางคนมาพร้อมความตระหนกบ่นกร่นด่าไปทุกอย่าง […]

Banner 142 01

ฟื้นลุ่มน้ำน่านด้วยสหศาสตร์จุฬาฯ

จังหวัดน่านกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนสารเคมีในธรรมชาติ โดยมีการขยายตัวของทั้งเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวไปยังผืนป่าและการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูกาลในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำได้นำไปสู่การใช้สารเคมีในปริมาณมาก จากรายงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2551 พบการใช้สารเคมีทางการเกษตรสูงถึง 1,172.7 ตันต่อปี โดยสารฆ่าวัชพืชนั้นอยู่ในอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 92.04  แม้ว่าสารฆ่าวัชพืชจะสามารถสลายตัวไปได้เองตามธรรมชาติ หากบางส่วนยังคงหลงเหลือตกค้างเพราะมีค่าครึ่งชีวิตนานถึง 10 ปี ส่งผลให้ศักยภาพของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลดลงจนเกิดผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวทั้งปัญหาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม หน้าดินถูกกัดเซาะพังทลาย อุทกภัยที่อาจชะล้างสารเคมีทางการเกษตรลงสู่ลำน้ำ สารพิษตกค้างในสัตว์น้ำที่ชุมชนนิยมนำไปบริโภค เช่น ปูนา กบหนอง หอยกาบน้ำจืด และปลากระมัง กระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนตามมาเป็นลำดับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จึงได้จัดทำโครงการวิทยาเพื่อพื้นถิ่นซึ่งเป็นโครงการตามแผนพัฒนาวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อวิจัยและพัฒนาการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นในลุ่มน้ำน่านแบบบูรณาการในพื้นที่จังหวัดน่านมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดวิกฤติการณ์อุทกภัยใหญ่ในปี พ.ศ. 2561 สร้างความเสียหายรุนแรงในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน เกิดการชะล้างสารเคมีทางการเกษตรลงสู่แหล่งน้ำอย่างกว้างขวางจนอาจสร้างผลกระทบกับทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ คณะวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ติดตามและตรวจสอบคุณภาพน้ำ ตะกอนดิน พื้นดิน รวมถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ “ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำน่านและลำน้ำสาขา” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” ในโครงการพระราชดำริของพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน โดยอาศัยแผนที่ลุ่มน้ำน่านในระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศของโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” ครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำน่านและลำน้ำสาขาจากแหล่งต้นน้ำจนถึงเขื่อนสิริกิติ์ในพื้นที่ 15 […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner