Banner 149

‘จุฬาฯ-ใบยา’ ไม่หวั่นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ เร่งพัฒนาวัคซีนรุ่น 2 คืบหน้า เตรียมรับมือระบาดซ้ำ ชวนคนไทย ‘สู้ไม่หยุด’ ร่วมเป็นทีมไทยแลนด์บริจาคได้ถึงสิ้นปี 64

แคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย #ทีมไทยแลนด์” จากกระแสข่าวพบไวรัสโควิด-19 ในอังกฤษและแอฟริกาใต้กลายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและกักตัวใน State Quarantine เป็นเหตุให้หลายฝ่ายกังวลว่าวัคซีนที่นำเข้ามาอาจใช้ไม่ได้ผลนั้น ศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ รพ.จุฬาฯ มั่นใจว่าปัจจุบันมาตรการต่างๆ ของรัฐ โดยเฉพาะการตรวจเชิงรุกยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อติดตามการแพร่ระบาด และศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงสารรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเอาชนะไวรัสนี้ได้ แต่การมีแพลตฟอร์มพัฒนาวัคซีนได้เองในประเทศจะยิ่งสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทยได้ ไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์ไปก็ยังสามารถปรับวัคซีนสู้ได้ทัน ด้าน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ เดินหน้าพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 เตรียมรับมือหากระบาดระลอกใหม่ ดันแคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย” ขอบคุณและชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคได้ถึงสิ้นปี 2564 เร่งผลิตวัคซีนทดสอบในมนุษย์ได้ทันกลางปีนี้ สถานการณ์ล่าสุดเมื่อโควิด-19 กลายพันธุ์ แค่วัคซีนเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ ศ.นพ.ธีระวัฒน์  เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ‘ไวรัสโคโรนา สามารถกลายพันธุ์ปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งนอกจากจะมีไวรัส SARS แล้วยังพบว่ามีไวรัสชนิดอื่นแฝงอยู่ด้วย  จนทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าหากไวรัสรวมตัวกันอาจก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ขึ้นมาได้อีก ซึ่งถือเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของไวรัสที่อาจกลายพันธุ์เพื่อให้อยู่รอดได้ในทุกสภาวะ ไม่ว่าจะแพร่จากสัตว์สู่มนุษย์ หรือมนุษย์สู่มนุษย์ ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาแพลตฟอร์มหรือกระบวนการผลิตวัคซีนรองรับเหตุการณ์ หรือโรคอุบัติใหม่ให้ทันการณ์ อย่างไรก็ตามเวลานี้ ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าไวรัสโควิด-19 จะกลายพันธุ์ไปได้อีกกี่สายพันธุ์   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเฝ้าติดตามและตรวจเชิงรุก ติดตามการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ซึ่งศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ คาดการณ์ว่าจะเริ่มตรวจเชิงรุกภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้  ซึ่งไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 […]

Banner 148

จุฬาฯ ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายภาคเหนือ พัฒนานวัตกรรมระบบกรองน้ำบาดาลดื่มได้ต้นแบบ ใช้ถ่านกระดูกแก้ฟลูออไรด์เกินมาตรฐาน

น้ำบาดาล ถือเป็นแหล่งน้ำสำรองที่คนไทยใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค ทำเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตจ่ายน้ำประปาของทั้งการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาค จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านในพื้นที่บริเวณดังกล่าวนิยมขุดเจาะสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยประเทศไทยมีแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่อยู่ 5 พื้นที่ทั่วประเทศ ได้แก่ พื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนใต้ (พื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง) พื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยาตอนเหนือ พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง พื้นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของภาคใต้ และพื้นที่ราบลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลําพูน โดยในปี พ.ศ.2551 สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาลได้สำรวจข้อมูลทางอุทกธรณีวิทยา พบว่าแหล่งน้ำบาดาลสำคัญในพื้นที่ภาคเหนือของไทยอย่างพื้นที่ราบลุ่มแอ่งเชียงใหม่-ลำพูนนั้น มีปริมาณฟลูออไรด์เฉลี่ยสูงเกิน 1.5 ppm ซึ่งอยู่ในระดับที่สูงเกินกว่าค่ามาตรฐานน้ำเพื่อการบริโภคที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดไว้ไม่ให้ค่าฟลูออไรด์สูงเกิน 0.7 ppm อันเป็นผลมาจากสภาพภูมิประเทศที่มีคุณลักษณะพิเศษเป็นเขตภูเขาและหุบเขาสลับซับซ้อนของภาคเหนือ กล่าวคือ เมื่อน้ำผิวดินไหลผ่านชั้นหินที่มีปริมาณฟลูออไรด์สะสมอยู่มาก ไหลชะลงมาจนกลายเป็นน้ำบาดาล จึงทำให้น้ำบาดาลในแหล่งนี้มีปริมาณฟลูออไรด์สะสมอยู่สูงกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไปด้วย   แม้ว่าฟลูออไรด์จะเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญนำมาใช้รักษาสุขภาพช่องปากและป้องกันฟันผุได้ดีในมนุษย์ แต่หากได้รับในปริมาณที่สูงมากเกินไปในระยะยาวอาจส่งผลร้ายต่อสุขภาพของผู้ใช้น้ำบาดาล อาทิ ฟันตกกระ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด สมรรถนะของสมองทำงานลดลง ตลอดจนปัญหาเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนากระบวนการกำจัดฟลูออไรด์ในแหล่งน้ำในพื้นที่ห่างไกลด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศจึงจำเป็นอย่างยิ่งยวด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ร่วมกับ สำนักบริหารกิจการนิสิต และ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย ภายใต้การสนับสนุนจาก ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ และ มูลนิธิรากแก้ว เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพคนไทยในพื้นที่ห่างไกล จึงได้ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมระบบกรองน้ำบาดาลต้นแบบ โดยพัฒนากระบวนการการดูดซับ (Adsorption) […]

03BFDA40 B0B0 45ED A1A7 9C206663016C

ข้าคือแม่น้ำ… แม่น้ำคือข้า – นิวซีแลนด์มอบสถานะบุคคลให้แม่น้ำของ ชาวเมารี

“แม่น้ำสายใหญ่ ไหลจากเทือกเขาลงสู่ทะเล ข้าคือแม่น้ำ แม่น้ำคือข้า” ด้วยคำกล่าวนี้ ชนเผ่าเมารีแห่งฟังกานุยในนิวซีแลนด์ประกาศสายสัมพันธ์ที่ไม่อาจตัดขาด ของตนกับแม่น้ำที่เปรียบดังบรรพชน แม่น้ำสายนี้เกิดจากทุ่งหิมะของภูเขาไฟสามลูกทางตอนกลางของเกาะเหนือ ชนเผ่าเมารีกลุ่มต่างๆ มีตำนานเล่าขานว่า น้ำตาหยดหนึ่งของนภบิดรหรือเทพแห่งท้องฟ้าตกลงสู่ตีนเขาลูกที่สูงที่สุดในบรรดาขุนเขาเหล่านี้ นั่นคือภูเขารัวพีฮูอันโดดเดี่ยว และแม่น้ำสายนี้จึงถือกำเนิดขึ้น แม่น้ำที่เอ่อท้นเพราะได้น้ำจากแควมากมายไหลคดเคี้ยวดุจปลาไหลแหวกว่ายผ่านแดน แห่งขุนเขา ตลอดระยะทาง 290 กิโลเมตรสู่ทะเล หากเดินทางตามถนนสูงชันเลียบแม่น้ำสายนี้ เราจะเห็นนักพายเรือแคนูลอยล่องไปตามช่วงที่นิ่งสงบของแม่น้ำ เป็นหนึ่งเดียวกับกระแสน้ำ กิ่งไม้ใบไม้ และฟองคลื่นขาว ก่อนจะจ้วงไม้พายลึกทะยานผ่านช่วงที่สายน้ำเชี่ยวกราก นี่คือแม่น้ำที่ชนพื้นเมืองแห่งฟังกานุยควบคุม ดูแล และพึ่งพามากว่า 700 ปี นี่คือ อาวาทูพัว แม่น้ำแห่งพลังศักดิ์สิทธิ์ของพวกเขา แต่เมื่อผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยุโรปมาถึงในช่วงกลางศตวรรษที่สิบเก้า อำนาจตามประเพณีของชนเผ่าต่างๆก็ถูกลดทอน และท้ายที่สุดก็สูญสิ้นไปด้วยกฎหมายของรัฐบาล นับแต่นั้น ชนพื้นเมืองได้แต่เฝ้ามองแม่น้ำของพวกเขาทรุดโทรมและถูกย่ำยี แก่งน้อยใหญ่ ถูกระเบิดเพื่อเปิดร่องน้ำให้เรือกลไฟของนักท่องเที่ยวแล่นได้สะดวกขึ้น และเปิดทางสู่การยึดครองที่ดินที่อยู่ลึกเข้าไป กรวดก้นแม่น้ำถูกขุดไปทำหินโรยทางรถไฟและทำถนน ที่น่าเศร้าที่สุดคือน้ำจากต้นน้ำถูกผันไปยังพื้นที่ลุ่มน้ำต่างๆในโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ที่ขยายตัว ทำให้กระแสน้ำตามธรรมชาติในลำน้ำตอนบนแห้งเหือด ซึ่งถือเป็นการดูหมิ่นทางวัฒนธรรมอย่างถึงแก่น เพราะตามคติความเชื่อของเมารี หัวคือส่วนศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของบุคคล และสำหรับพวกเขา แม่น้ำสายนี้คือบุคคล เป็น ทูพูนา หรือบรรพบุรุษคนหนึ่งจริงๆ แต่เมื่อวันที่ 20 มีนาคม […]

banner9 01

ด่วน! ส่งข้าว 500 กล่องอุ้มสวนหลวง-ประเวศ หลังติดโควิด 32 ราย

19 มิ.ย. 2564 ภารกิจข้าวแสนกล่อง โดยสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) และเครือข่าย Food For Fighters เร่งส่งอาหาร 500 กล่องพร้อมถุงยังชีพ 80 ชุด เยียวยาชุมชนหลังวัดปากบ่อ ถนนอ่อนนุช เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นชุมชนล่าสุดที่ได้ประสานขอรับความช่วยเหลือเข้ามาหลังพบผู้ติดเชื้อ 32 ราย จนมีผู้เดือดร้อนกว่า 200 ครัวเรือน  นอกจากนี้ยังนำส่งอาหารกล่องให้กับโรงพยาบาลสนามและชุมชนแออัดอีก 15 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนามจุฬาฯ โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางบางขวาง มูลนิธิดวงประทีป ตรอกบ้านสายรัดประคด ชุมชนคลองเตยล็อก 1-2-3 และ 4-5-6 ชุมชนริมคลองวัดสะพาน ชุมชน 70 ไร่ ชุมชนบ้านมั่นคง ชุมชนวัดเเคนางเลิ้ง ชุมชนเชื้อเพลิง 1 และ 2 ชุมชนเย็นอากาศ ชุมชนริมคลองสามัคคี และ ชุมชนร่มเกล้า ภารกิจวันที่ 34 ของข้าวแสนกล่องนั้นได้รับมอบอาหารกล่องเพื่อนำส่งให้ชุมชนแออัดที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพฯ […]

dd 2

กกพ. ห่วงใยคนกรุงกักตัว ส่งน้ำส้มร่วมภารกิจข้าวแสนกล่อง

18 มิ.ย. 2564 วันที่ 33 ของภารกิจข้าวแสนกล่อง ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) Food For Fighters มีผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคอาหารกล่องเพื่อส่งต่อให้ผู้ที่ยังรอรับการช่วยเหลือในชุมชนแออัดพื้นที่กรุงเทพฯ เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,755 กล่อง วันนี้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน โดยคุณกัลย์ แสงเรือง ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงาน กกพ. นำคณะผู้ปฏิบัติงานร่วมบริจาคอาหารกล่องและน้ำส้มส่งให้ชุมชนกักตัวนอกจากนี้ยังมีผู้มีจิตศรัทธาอีกมากมายทยอยนำอาหารกล่องและสิ่งของที่จำเป็นมาบริจาคตลอดวัน อาทิ ศูนย์บริการและโชว์รูม มาสด้า นที ราชพฤกษ์ สมาคมนิสิตเก่าพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ จุฬาฯ คณาจารย์และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร้าน NDO Sushi ร้าน Little Home วันนี้เครือข่าย Food For Fighters ส่งมอบอาหารกล่องไปให้บุคลากรทางการแพทย์ ณ บริเวณจุดบริการวัคซีนโควิด19 โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางบางขวาง และโรงพยาบาลรามาธิบดี รวมถึงชุมชนในกรุงเทพฯ อีกกว่า 10 […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner