อ่านการ์ตูนสู้โควิดกับ “KnowCovid” จากสำนักพิมพ์การ์ตูนบรรลือสาส์น
ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชนที่ได้รับข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับโรคร้ายดังกล่าวจากหลากหลายช่องทางในแต่ละวัน จนอาจก่อให้เกิดความเครียดขึ้นนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ (UN) องค์การอนามัยโลก (WHO) กระทรวงสาธารณสุข ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ และบันลือกรุ๊ป (สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น) ในนามขายหัวเราะสตูดิโอ จัดทำชุดการ์ตูนความรู้ KnowCovid เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนในการรับมือกับเชื้อโควิด-19 ภายใต้แนวคิดที่ว่า “Laughter is the best medicine” การหัวเราะเป็นยาที่ดีที่สุดของชีวิต ซึ่งการ์ตูนชุดดังกล่าวอัดแน่นไปด้วยสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรู้เท่าทันโรคร้ายดังกล่าวผสมผสานกับอารมณ์ขันจากนักเขียนชื่อดัง อาทิ ต่าย ขายหัวเราะ (ภักดี แสนทวีสุข) เอ๊าะ ขายหัวเราะ (ภูวดล ปุณยประยูร)เฟน สตูดิโอ (อารีเฟน ฮะซานี) และนักเขียนท่านอื่นอีกหลายท่าน การ์ตูนชุดนี้นำเสนอการใช้ชีวิตในรูปแบบ “ความปกติใหม่” หรือ “New normal” ผ่านวิถีชีวิตของตัวละครที่ผู้อ่านหนังสือการ์ตูนชุดขายหัวเราะคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นวิธีสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง การล้างมือเป็นประจำ การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง มาตรการจัดการขั้นเด็ดขาดในการทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ ผลกระทบของความเครียดที่นำไปสู่ภาวะความรุนแรงในครอบครัวต่อเด็กและสตรี รวมถึงการสร้างความเข้าใจของคนในสังคมต่อผู้ติดเชื้อหรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การควบคุมการแพร่ระบาด ให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งแนะนำวิธีการรับมือกับเชื้อโควิด-19 ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง […]
ถอดรหัส Skincare 101: ความลับจากข้างกล่องที่คุณ (อาจ) ไม่เคยรู้
หากพูดถึงเครื่องสำอาง แน่นอนว่าทุกวันนี้คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศใดหรือวัยใดก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิว หรือที่เรียกันทั่วไปว่า สกินแคร์ (Skincare) ซึ่งในปี 2019 ที่ผ่านมา ก่อนที่เราจะเจอปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรา Euromonitor International เปิดเผยว่า มีมูลค่าการตลาดของสกินแคร์สูงถึง 7.1 หมื่นล้านบาท และยังมีอัตราการเติบโตของตลาดประมาณ 9% ต่อปี จากมูลค่าการตลาดนี้ เห็นได้ชัดว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรของประเทศ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสกินแคร์โดยเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว ดังนั้นในมูลค่าที่สูงขนาดนี้ การเลือกซื้อสกินแคร์สักชิ้นคงจะไม่ใช่เรื่องเล็กของใครหลายคนเป็นแน่ ไม่ใช่แค่เพียงราคาที่ต้องจ่าย แต่ว่าผลลัพธ์ที่เราคาดหวังก็คงจะไม่น้อยไปกว่าราคาเช่นกัน ซึ่งการเลือกสกินแคร์สักชิ้นคงไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจเลือกที่จะไปหาข้อมูลจาก Beauty Blogger หรืออ่านรีวิวต่าง ๆ จากช่องทางออนไลน์ บางคนก็เดินดูตามห้างสรรพสินค้า หรือเคาน์เตอร์ร้านค้าเลย ซึ่งบางครั้งอาจจะได้สกินแคร์กลับมาใช้แล้วถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง แต่จริง ๆ แล้วข้อมูลของผลิตภัณฑ์สกินแคร์นั้นแทบไม่ต้องไปหาจากที่ไหนไกลเลย มันถูกเขียนไว้หมดแล้วที่ข้างกล่อง หรือที่เรียกกันว่า บรรจุภัณฑ์ นี่เอง แค่อาจจะต้องมาถอดรหัส ไขข้อมูลกันหน่อยว่า มีสารอะไรบ้างที่ประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์ตัวนั้น ผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์ มักมีลักษณะเนื้อของผลิตภัณฑ์หลัก ๆ […]
โค้งสุดท้าย สนจ.รุดส่งข้าว 4,000 กล่อง
23 มิ.ย. 2564 นายมกร พงษ์ธนพฤกษ์ เลขาธิการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) พร้อมด้วยนายสุทธิพันธ์ วรรณวินเวศน์ และนายอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร กรรมการอำนวยการสนจ. เป็นตัวแทนส่งมอบอาหาร 4,000 กล่อง ให้เครือข่าย Food For Fighters โดยส่งวันละ 500 กล่อง ต่อเนื่องจนสิ้นสุดภารกิจ เพื่อนำส่งชุมชนที่ยังต้องกักตัวและได้รับความเดือดร้อนจากการแพร่ระบาดใหม่ของโควิด-19 วันนี้เครือข่าย Food For Fighters นำส่งอาหารกล่องให้กับโรงพยาบาลสนามและชุมชนแออัดอีก 12 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางบางขวาง มูลนิธิดวงประทีป ชุมชนเเฟลต 29 ดินเเดง ชุมชนคลองเตยล็อก 1-2-3 และ 4-5-6 ชุมชนริมคลองวัดสะพาน ชุมชน 70 ไร่ ชุมชนบ้านมั่นคง ชุมชนศิริภาพ และชุมชนพัฒนาใหม่ โดยมีโรงพยาบาลสนามราชพิพัฒน์2 (วัดศรีสุดาราม) ติดต่อขอรับการสนับสนุนเข้ามาเป็นครั้งแรก ภารกิจวันที่ […]
กู้วิกฤตหลังม่านแรงงานไทย จุฬาฯ จับมือ ก.แรงงาน จัดตั้งศูนย์วิจัยแรงงานแห่งชาติ ยกระดับแรงงานไทยเทศทุกมิติ
ปัญหาแรงงานที่เรื้อรังมานับสิบปี เป็นปฐมเหตุให้เกิดความพยายามจากหลายภาคส่วนเข้ามาร่วมกันสางปัญหานี้ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาคือหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญที่นำองค์ความรู้ ทักษะ และงานวิจัยมาเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนในหลายประเด็น อาทิ การดูแลสิทธิและสวัสดิการแรงงาน ตลอดจนปัญหาการขาดแคลนแรงงานของประเทศไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเองมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาที่เปรียบดั่งเป็นวาระแห่งชาตินี้ โดยทำหน้าที่เป็นเข็มทิศนำทางบ่งชี้แก่นแท้ของปัญหา บอกเล่าความท้าทาย และพยากรณ์แนวโน้มที่ทั้งอาจส่งผลกระทบกับประเทศไทยอันมีปัจจัยมาจากแรงงาน โดย ศูนย์ประสานงานเพื่อการวิจัยแรงงานแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Collaborating Centre for Labour Research, Chulalongkorn University ; CU-ColLaR) ซึ่งมีภาคีศูนย์ประสานงานกว่า 45 องค์กร จึงได้ร่วมกันศึกษาวิจัยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแรงงานใน 16 หัวข้อ มีการเก็บรวบรวมข้อมูลรวม 2,473 ครั้ง ทั้งเรื่องสวัสดิการและคุณภาพชีวิตแรงงาน ค่าจ้างและรายได้ การจ้างงาน ว่างงาน เลิกจ้าง และอื่นๆ นอกจากนี้ CU-ColLaR ยังได้ดำเนินงานในกรอบงานวิจัยเกี่ยวกับแรงงานร่วม 10 กิจกรรม เช่น รูปแบบการจ้างงานและการพัฒนาบุคลากรเพื่อรองรับงานในอนาคต: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนในประเทศไทย ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการจ้างงานและแนวทางการพัฒนาทักษะบุคลากรระดับองค์กรและระดับอุตสาหกรรม เก็บข้อมูลเชิงลึกจากการลงพื้นที่สัมภาษณ์ ณ สถาบันเทคโนโลยีสุมิพล (SIMTEC) แรงงานไทยเดินทางไปทำงานในไต้หวัน: แนวโน้มตลาดแรงงาน สภาพการทำงาน การคุ้มครองแรงงาน […]
แหวกม่าน “วัคซีนโควิด” กับภารกิจเพื่อชาติของสองพ่อลูก “พูลเจริญ” นายแพทย์วิพุธ – รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ
หากเอ่ยถึงแวดวงสาธารณสุข หลายคนคงคุ้นเคยชื่อ และความสามารถของ ‘นายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ’ อดีตผู้อำนวยการกองโรคเอดส์และกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิวิจัยและพัฒนานโยบาย เวลาหมุนผ่านมาถึงปัจจุบันที่โลกเผชิญหน้ากับโควิด-19 นามสกุลพูลเจริญ ได้รับการพูดถึงอีกครั้ง แต่หนนี้คือ ‘รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ’ หรือ ‘อาจารย์แป้ง’ ลูกสาวของคุณหมอวิพุธ ที่ถอดดีเอ็นเอความเก่งมาจากพ่อ นอกจากเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แล้ว เธอคือผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ บริษัทสตาร์ทอัพเพื่อวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช อันเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย’ ที่ชวนคนไทยร่วมระดมเงินบริจาคพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งวันนี้อยู่ในขั้นเตรียมพร้อมสำหรับทดสอบในมนุษย์ ‘The Sharpener’ นัดสัมภาษณ์พิเศษคุณหมอวิพุธ และอาจารย์แป้ง ถึงการทำงานต่อสู้ไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มข้น จากใบยา ถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 อาจารย์แป้งเล่าถึงจุดเริ่มต้นบนเส้นทางงานวิจัย “เราเริ่มศึกษาเรื่องโปรตีนจากพืช ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอก สาขา Plant Biology ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 15 ปีก่อน ตอนนั้นได้ร่วมทีมวิจัยวัคซีนอีโบลา หลังจากเรียนจบก็ไปทำงานเกี่ยวกับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งหมดใช้แพลตฟอร์มเดียวกันคือ โปรตีนจากพืช และเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน เราและ ‘อาจารย์บิ๊บ – ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ’ ได้ร่วมกันก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ สตาร์ทอัพที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช และเมื่อต้นปีที่แล้วที่มีคนไทยเริ่มติดเชื้อโควิด-19 เราจึงเริ่มผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในห้องแล็บทันที” “แต่ก้าวแรกของ ใบยา ไฟโตฟาร์ม ไม่ง่ายเลยค่ะ เนื่องจากยาชีววัตถุเป็นเทคโนโลยีใหม่ เวลานำเสนอให้หลายที่พิจารณาเงินทุน จึงไม่ได้รับความสนใจมากนัก เรากับ อ.บิ๊บ จึงตัดสินใจใช้เงินส่วนตัวลงขันกันหลายล้านบาทเพื่อให้ได้ลุยงานต่อ […]