จุฬาฯ เปิดยุทธการดับเบาหวาน ชูแพลตฟอร์ม “หวานน้อย” ช่วยคนไทยรอดเบาหวาน
จุฬาฯ ถกวิกฤตเบาหวานคุกคามไทย ชูแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำ “หวานน้อย” แก้ปัญหาเบาหวานครบวงจร ขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตโรคเบาหวานที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวานถึง 537 ล้านคน และมีแนวโน้มที่น่าวิตกว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคนในปี 2573 และ 783 ล้านคนในปี 2588 สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันพบผู้ป่วยเบาหวานแล้วประมาณ 6.5 ล้านคน โดยที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือร้อยละ 40 ของผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วย ล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงจัดประชุมวิชาการประจำปี 2024 “เปิดยุทธการดับเบาหวาน” เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งสร้างความตระหนักและแนวทางจัดการปัญหาโรคเบาหวานอย่างยั่งยืน โดยอัพเดทความก้าวหน้าของ “หวานน้อย” แพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำสูงที่พัฒนาโดยทีมวิจัยคนไทย เพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานครบวงจร ท่ามกลางความสนใจจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมงานกว่า 300 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คณาจารย์ นักวิจัย นิสิตจุฬาฯ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุข สื่อมวลชน […]
“100 ปี เขื่อนพระราม 6” ปฐมบทแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ชป.มั่นใจ เขื่อนพระราม 6 บริหารจัดการน้ำอย่างเต็มศักยภาพ
วันนี้ (25 พ.ย. 67) นายเสริมชัย เซียวศิริถาวร ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 10 พร้อมด้วย นายทนงศักดิ์ มูลใจตา หัวหน้าฝ่ายวิศกรรม นายสุปัญญา กาญจนธีรวัฒน์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน นายเอกชัย สำเนียงใหม่ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 และผู้เกี่ยวข้อง นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ ติดตามการบริหารจัดการน้ำเขื่อนพระราม 6 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เขื่อนพระราม 6 เป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของไทย ตั้งอยู่ที่ตําบลท่าหลวง อําเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2467 มีระบบบริหารจัดการน้ำที่เชื่อมโยงกันทั้งลุ่มน้ำ โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างเขื่อนขนาดใหญ่ทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งจะใช้เกณฑ์ควบคุมปริมาณน้ำในเขื่อน (Rule Curve) ที่เป็นมาตรฐานสากล ควบคุมทั้งการรับน้ำเข้าพื้นที่ฝั่งตะวันออกผ่านประตูระบายน้ำสำคัญในอัตราที่กำหนด มีจุดประสงค์เพื่อใช้จัดสรรน้ำอุปโภคบริโภค รวมทั้งสนับสนุนภาคการเกษตร อุตสาหกรรม รักษาระบบนิเวศ และบรรเทาภัยแล้งมีพื้นที่รับประโยชน์กว่า 1.5 ล้านไร่ อีกทั้งยังมีส่วนสําคัญในการจ่ายนํ้าให้แก่โรงไฟฟ้าวังน้อย โรงไฟฟ้าเอกชน และนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ในพื้นที่โดยรอบด้วย นายเสริมชัย […]
“ลูกพระเกี้ยว” เฮลั่น “สมาคมผู้ปกครองสาธิตจุฬาฯ” จัดให้ 3 ล้านบาท หนุนสุดตัวหวังขึ้นชั้นไทยลีก 2
“ลูกพระเกี้ยว” จามจุรียูไนเต็ด ทีมดังไทยลีก 3 ได้รับการสนับสนุนครั้งสำคัญ หลังสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ทุ่มงบ 3 ล้านบาท เสริมความแข็งแกร่งเพื่อลุ้นโควตาเลื่อนชั้นสู่ไทยลีก 2 ในฤดูกาลหน้า ความเคลื่อนไหวของทีม “ลูกพระเกี้ยว” จามจุรียูไนเต็ด สโมสรฟุตบอลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่กำลังลุยศึก ไทยลีก 3 ล่าสุดได้รับข่าวดี เมื่อ “บิ๊กกำพล” คุณกำพล โชติปทุมวรรณ นายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ประกาศสนับสนุนสโมสร พร้อมจัดฟุตบอลการกุศลแมตช์พิเศษ ณ สนามโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้บริหารจุฬาฯ มาร่วมให้กำลังใจคับคั่ง อาทิ รศ.ดร.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี รศ.ดร.วิชิต คะนึงสุขเกษม ประธานสโมสรฟุตบอลจามจุรี ยูไนเต็ด บรรยากาศเต็มไปด้วยความคึกคัก เมื่อ “บิ๊กกำพล” นำทีมนักเตะกิตติมศักดิ์กว่า 15 ชีวิต […]
เปิดศักราชเรียนรู้ตลอดชีวิต จุฬาฯ จับมือ The Sharpener ปั้นหลักสูตรใหม่สร้าง Global Talent หัวใจไทย
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) ร่วมกับ The Sharpener School จัดงานปฐมนิเทศหลักสูตร “Media and Communication for Transnational Citizens” แบบไฮบริดให้กับผู้เรียน รุ่นที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น 478 คน ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ (Hall of Intania) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารสถาบันการศึกษา คณาจารย์ และภาคีเครือข่ายร่วมงานอย่างคับคั่ง อาทิ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ดร.สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร คุณอังคณา สุขวิบูลย์ อดีต ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ อดีตเลขาธิการ […]
วิศวจุฬาฯ ปลอบขวัญน่าน ส่งข้าวสาร 4 ตัน พร้อมอุปกรณ์ฟื้นฟูบ้านหลังน้ำลด
26 ส.ค.67 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี พร้อมผู้บริหารและคณาจารย์ เฝ้าติดตามสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนืออย่างใกล้ชิด แสดงความห่วงใยและเร่งให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดน่าน โดยเร่งประสานขอความร่วมมือจากประชาคมวิศวจุฬาฯ และสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) ระดมทุนและอุปกรณ์จำเป็นอย่างเร่งด่วนเพื่อจัดส่งไปบรรเทาทุกข์พี่น้องประชาชนในพื้นที่ประสบภัยแล้ว การดำเนินการครั้งนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมจากทุกภาคส่วน สามารถรวบรวมสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่จำเป็น มูลค่ากว่า 100,000 บาท ได้อย่างรวดเร็ว และได้ประสานหน่วยงานที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อส่งมอบความช่วยเหลือให้ถึงมือผู้ประสบภัยโดยตรง รศ.ดร.วิทยา วัณณสุโภประสิทธิ์ คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ทันทีที่เราทราบถึงความเดือดร้อนของพี่น้องชาวน่าน พวกเราชาววิศวจุฬาฯ ก็ได้เร่งระดมความช่วยเหลือเร่งด่วนชวนกันมาปันน้ำใจให้เพื่อนพี่น้องคนไทยด้วยกัน โดยเฉพาะในพื้นที่น่านเองเรามีโครงการร่วมกันพัฒนาแหล่งน้ำให้กับชาวบ้านจึงผูกพันกันมานาน ยามมีภัยเราและภาคีเครือข่ายจึงต้องรีบช่วยเหลือกันทันทีเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นกำลังใจให้พี่น้องชาวน่านผ่านพ้นวิกฤตครั้งนี้ไปได้โดยเร็ว” รายการสิ่งของที่จัดส่งไปยังพื้นที่ประสบภัยประกอบด้วยสิ่งจำเป็นหลากหลายประเภท ได้แก่ ยารักษาโรคที่จำเป็นสำหรับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น อุปกรณ์ทำความสะอาดที่จะช่วยฟื้นฟูบ้านเรือนหลังน้ำลด เช่น ถุงขยะจำนวน 100 กิโลกรัม รองเท้าบูท 200 คู่ ถุงมือยาง 240 คู่ ไม้กวาดทางมะพร้าว 200 อัน ตะกร้า 100 อัน และไม้ถูพื้น 100 อัน […]