ฉลามชอบงับคุณ !!! วอลรัสก็เช่นกัน
“…ฉลามนั้นชอบงับคุณ ส่วนผมนั้นชอบคุณงับ….”ขณะที่ในโลกโซเชียลบน Tik Tok บ้านเรา กำลังฮิตเต้นท่าคัฟเวอร์เพลงนี้กันจนเป็นกระแสส่งให้เพลงนี้ติดชาร์ทมียอดวิวกว่า 10 ล้านครั้งไปในไม่กี่วัน แต่หากข้ามโลกไปอีกซีกหนึ่ง คนยุโรปเขาก็กำลังติดตามความน่ารักของเจ้าวอลรัส “Freaya” ที่มักแวะเวียนขึ้นมาอวดโฉมทักทายนักท่องเที่ยวที่เล่นเรือแถวออสโลฟยอด นอร์เวย์อย่างเป็นกันเอง น้องคือวอลรัสแอตแลนติกที่มีน้ำหนักตัวถึง 0.6 ตัน ซึ่งปกติจะต้องใช้ชีวิตอยู่บนแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก แต่ด้วยเพราะสภาวะโลกรวน (Climate Change) จึงทำให้แผ่นน้ำแข็งละลายเร็วจนมีผลกระทบโดยตรงต่อถิ่นอาศัยของครอบครัวเจ้า Freaya จึงทำให้เราได้เห็นพฤติกรรมน่ารัก ๆ ของน้องอย่างใกล้ชิดชนิดที่เรียกว่าว่ายน้ำขึ้นมานอนอาบแดดกันบนเรือท่องเที่ยวเลยทีเดียว แต่ในทางกลับกันพฤติกรรมเหล่านี้ได้สร้างความกังวลใจให้กับเจ้าหน้าที่กรมประมงนอร์เวย์ถึงพฤติกรรมของเจ้า Freaya เกรงจะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ โดยมีเรือท่องเที่ยวหลายลำพลิกคว่ำจากน้ำหนักตัวของวอลรัส บ้างเกรงอันตรายจากการเข้าใกล้ชนิดประชิดตัวเพื่อไปถ่ายรูปกับน้องของเด็ก ๆ ล่าสุดจึงจำเป็นต้องตัดสินใจทำการุณฆาตน้องวอลรัสตัวนี้ที่ล่วงล้ำเข้ามาพักผ่อนในถิ่นพำนักของมนุษย์ สร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในหมู่นักอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล (Marine Mamal) หลายประเทศ โดยเฉพาะนิวซีแลนด์ที่คุ้นเคยกับการขึ้นมาใช้ชีวิตบนชายฝั่งของสัตว์ตระกูลแมวน้ำในพื้นที่ทับซ้อนกับเขตอยู่อาศัยของมนุษย์ รู้หรือไม่? วอลรัส สิงโตทะเล และแมวน้ำ ไม่ใช่สัตว์ชนิดเดียวกันแต่น้อง ๆ เหล่านี้มักถูกเหมารวมเรียกว่า “แมวน้ำ” ก่อนจะเสพดราม่าเราจึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับน้อง ๆ เหล่านี้กัน น้องเป็นสัตว์ประเภทเท้าครีบ กินเนื้อเป็นอาหาร (carnivor) ทั้งปลา ปลาหมึก หอย และแพลงตอนสัตว์ […]
หุ่นยนต์ ‘Walkie’ ดังกระหึ่ม วิศวฯ จุฬาฯ คว้ารองแชมป์โลก
เมื่อประเทศไทยอยู่ในยุคสมัยแห่งสังคมผู้สูงวัยมาระยะหนึ่งแล้ว จึงทำให้ไม่น่าแปลกใจเลยที่เราจะได้เห็นตลาดสินค้าและบริการขานรับและพุ่งเป้าใส่ใจไลฟ์สไตล์คนสูงอายุ หรือกลุ่ม Eldery Care ที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เราก็ได้เห็นความพยายามของหลายบริษัทยักษ์ใหญ่โดดลงมาชิงชัยแข่งกันปักธงในตลาดนี้โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิต “หุ่นยนต์” เร่งพัฒนานวัตกรรม ปรับปรุงผลิตภัณฑ์โดยนำปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาประยุกต์เอื้อต่อการใช้งานของกลุ่มเป้าหมายที่มีลักษณะเฉพาะตัว เข้าตำรา “คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ” เพราะคนตัดสินใจซื้อส่วนใหญ่เป็นลูกหลานหามาให้ไว้ใช้งานด้วยความห่วงใย หลายครอบครัวจึงกำลังมองหาหุ่นยนต์มาเป็นตัวช่วยแบ่งเบาภาระการดูแลผู้สูงวัยในบ้าน ไม่เพียงบริษัทระดับโลกเท่านั้นที่กำลังแข่งขันพัฒนาหุ่นยนต์ แต่ในระดับผู้พัฒนาระดับจูเนียร์ลงมาอย่างกลุ่มนิสิตนักศึกษาทั่วโลกเองก็ทำได้เก่งกาจไม่แพ้กันเลยทีเดียว ล่าสุดกับการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติในรายการที่ใหญ่ที่สุดในโลก “RoboCup@Home 2022” ที่เวียนกลับมาจัดที่ประเทศไทยอีกครั้ง เมื่อวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2565 ทีมหุ่นยนต์สัญชาติไทยโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้แสดงศักยภาพความเก่งกล้าสามารถในด้านนี้เป็นที่ประจักษ์แก่คนทั้งโลก โดยคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งมาครองได้สำเร็จ The Sharpener, Sharpen your SDG จึงพลาดไม่ได้ที่จะพาทุกท่านมารู้จักกับ “น้องเอิร์ธ ธนโชติ” หัวหน้าทีม EIC Chula ผู้พัฒนาหุ่นยนต์น้อง ‘Walkie’ จนดังกระหึ่มโลก ธนโชติ สรรพกิจ หรือ เอิร์ธ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าชมรมหุ่นยนต์แห่งวิศวฯ […]
FAO ถวายตำแหน่ง “ทูตพิเศษด้านการขจัดความอดอยากหิวโหย (FAO Special Ambassador for Zero Hunger) ประจำปี 2565-2567” แด่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และยกย่องการทรงงานช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความหิวโหยของผู้ยากไร้ในไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก”
เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคมที่ผ่านมา นาย Qu Dongyu ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ส่งหนังสืออย่างเป็นทางการผ่านรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องการถวายตำแหน่ง “ทูตพิเศษด้านการขจัดความอดอยากหิวโหย FAO Special Goodwill Ambassador for Zero Hunger for Asia and the Pacific” แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565-2567 และ FAO ได้ยกย่องการทรงงานของ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพฯ ในการให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน และแก้ไขปัญหาความหิวโหยของผู้ยากไร้ในไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมาโดยตลอด รวมทั้ง ทรงสนับสนุนงานด้านการปรับเปลี่ยนพลิกโฉมระบบอาหารและเกษตร (Agri-food systems transformation) ของ FAO เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการผลิตที่ดีขึ้น โภชนาการที่ดีขึ้น สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และชีวิตที่ดียิ่งขึ้นของทุกคน (Better production, Better nutrition, Better […]
มูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ร่วมกับ สนจ. จัดคอนเสิร์ตการกุศล Be Musical Charity Concert 2022 “You will be FOUND” ระดมทุนเพื่อ “คืนหัวใจ ให้ชีวิต” ในโอกาส 105 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาฯ
มูลนิธิเด็กโรคหัวใจ ในพระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดย ผศ.นายแพทย์ ธนะรัตน์ ลยางกูร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ร่วมกับ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) โดย อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมฯ จัดแถลงข่าว คอนเสิร์ตการกุศล Be Musical Charity Concert 2022 “You will be FOUND” ระดมทุน “คืนหัวใจ ให้ชีวิต” ผ่าตัดและสวนหัวใจเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หนึ่งในกิจกรรมสำคัญฉลอง 105 ปี แห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ เหรัญญิกสนจ. ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน (ฝั่งสนจ.), พิมพ์ใจ โพธิภักติ ที่ปรึกษามูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงาน (ฝั่งมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ), สุดาพิมพ์ โพธิภักติ ผู้อำนวยการแสดงคอนเสิร์ตการกุศลฯ,เอฟ-รัฐพงศ์ ปิติชาญ ผู้เข้ารอบสุดท้าย Golden Song Season 2, ครูบี- สุชัญญ์ญา นรปฏิพัทธิ์ วอยซ์โค้ช AF และ KPN และอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ร่วมงานแถลงข่าวฯ ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผศ.นายแพทย์ ธนะรัตน์ ลยางกูร ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ กล่าวว่า “มูลนิธิ เด็กโรคหัวใจฯ ได้ดำเนินโครงการรักษาเด็กโรคหัวใจด้วยการผ่าตัดและการใช้สายสวนนอกเวลาราชการ ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กยากจนที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิดได้รับการผ่าตัดอย่างทันท่วงที ปัจจุบัน ในประเทศไทยจะมีเด็กเกิดใหม่ประมาณ 600,000 คนต่อปี และมีอัตราการเสี่ยงเป็นเด็กหัวใจพิการ แต่กำเนิด 8 ต่อ 1,000 คน หรือประมาณ 5,000 คนต่อปี โดยครึ่งหนึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาแก้ไขความผิดปกติด้วยการสวนหัวใจหรือการผ่าตัด ซึ่งมีค่าใช้จ่าย 35,000 บาทต่อคน หรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับวิธีรักษา และ ความรุนแรงของโรค แต่เนื่องจากขีดความสามารถโดยรวมของทั้งประเทศยังไม่สามารถให้การรักษาได้ทันท่วงทีกับปริมาณเด็กที่มีความต้องการในการรักษา ในอดีตจึงมีผู้ป่วยรอคิวผ่าตัดรอสะสมนาน ยาวเป็นปี หลายรายเสียชีวิตระหว่างการรอคิวผ่าตัด ณ ปัจจุบัน ด้วยความช่วยเหลือของมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ ที่สนับสนุนให้มีการผ่าตัดนอกเวลาราชการ ทำให้ปัจจุบันคิวการผ่าตัดในเวลาราชการดีขึ้นมาก ปัญหาที่ท้าทายในปัจจุบัน คือ ต้องให้ความช่วยเหลือเด็กที่อายุน้อยลง […]
ปลูกป่าชายเลน
น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้
แม้ว่าทั่วโลกจะมีป่าชายเลนอยู่เพียงแค่ 1% ในพื้นที่ป่าเขตร้อนก็ตาม แต่เมื่อมองให้ลึกลงไปเราจะพบความน่าอัศจรรย์ของระบบนิเวศที่อาจเรียกได้ว่าเป็น Rare Item แฝงอยู่มากมายในป่าแห่งนี้ โดยเฉพาะในความ ‘น้อยแต่มาก เรียบแต่โก้’ ของป่าชายเลนในประเทศไทยที่ทำเอานักวิจัยสายอีโค่โกกรีนทั่วโลกต้องบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาสัมผัสด้วยตัวเองและต่างอิจฉาคนไทยที่มีทรัพยากรตัวกลั่นช่วยดูดซับและกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการสำคัญที่ทำให้โลกร้อนได้ดีกว่าป่าบกอื่นหลายเท่า วันนี้โรงไฟฟ้าบางปะกง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่คลุกคลีอยู่กับชาวบ้านและป่าชายเลนริมน้ำบางปะกงมากว่า 40 ปี จึงชวนเรามาล่องเรือไปดูกันให้เห็นจะจะกับครั้งแรกของทริปปลูกป่าโลว์คาร์บอน “กฟผ.ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” แต่ก่อนที่เราจะออกเรือไปลุยเลนกับ กฟผ. The Sharpener ก็ไม่พลาดที่จะเหลาคมความคิดเตรียมความฟิตให้เพื่อน ๆ ได้รู้จักกับ Rare Item ทั้ง 5 ของป่าชายเลนกัน 1. ป่าชายเลนเป็นป่าลักษณะพิเศษที่พันธุ์ไม้สามารถขึ้นอยู่ได้ในดินเลนและดินที่มีน้ำทะเลท่วมถึงเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราว และทนอยู่ในสภาวะที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้ ต้นไม้ในป่าชายเลนจึงต้องปรับตัวและเปลี่ยนแปลงลักษณะทั้งภายนอกและภายในทั้ง ลำต้น ใบ ดอก และผล ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพิเศษนี้ 2. ป่าชายเลนเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญชั้นยอดของโลก แต่จะพบป่าชายเลนเพียง 1% ในป่าเขตร้อนทั่วโลกเท่านั้น โดยระบบนิเวศของป่าชายเลนเรียกว่า “บลูคาร์บอน” (Blue Carbon) จะกักเก็บคาร์บอนส่วนใหญ่ไว้ในรากและตะกอนดินและจะถูกกักเก็บไว้อย่างนั้นได้นานนับพันปีหากไม่มีใครไปรบกวน ในขณะที่ระบบนิเวศของป่าบกทั่วไปในเขตร้อนหรือที่เราเรียกว่า […]