Banner 229 02

ไทย-สหรัฐ ลงนาม MOU ประวัติศาสตร์ เชื่อมระบบนิเวศสตาร์ทอัพ Montgomery County ผนึกกำลัง FTI และ NIA หนุนผู้ประกอบการไทยบุกตลาดอเมริกา

ในโอกาสครบรอบ 190 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ณ งาน Startup Innovation Thailand Event (SITE2024) ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่จะเป็นจุดเปลี่ยนในวงการสตาร์ทอัพและนวัตกรรมของทั้งสองประเทศ เมื่อ Montgomery County รัฐ Maryland สหรัฐอเมริกา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเชื่อมโยงระบบนิเวศสตาร์ทอัพระหว่างไทยและสหรัฐ การลงนามครั้งประวัติศาสตร์นี้นำโดยผู้นำองค์กรสำคัญจากทั้งสองประเทศ ได้แก่ นายมาร์ค เอลริช (Mr. Marc Elrich) ผู้บริหารเขต Montgomery County นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ต่างเล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมร่วมกัน โดยมี นางจูดี้ คอนเทลโล่ (Ms.Judy Costello) ผู้แทนจาก Montgomery County และรองศาสตราจารย์ […]

Banner 221 01

ลาวมั่นใจ “ไฟฟ้าหงสา” ขยายเหมืองถ่านหินกว่า 40 ตร.กม. ดึง “สหกล” ปั้นสายพานลำเลียงดินใหม่ล้ำสุดในอาเซียน

“ไฟฟ้าหงสา” จับมือ “สหกล” สร้างระบบสายพานลำเลียงดินด้วยเทคโนโลยีล้ำสุดในอาเซียนรองรับพื้นที่ส่วนต่อขยายกว่า 40 ตร.กม. ตอกย้ำกลยุทธ์ด้าน ESG ของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ณ แขวงไซยะบูลี สปป.ลาว บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด จัดพิธีเปิดการนำใช้พื้นที่สัมประทานส่วนต่อขยายและระบบสายพานลำเลียงดิน เส้นที่ 2 ของบริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด และพิธีมอบรับสายพานลำเลียงดินเส้นที่ 2 ส่วนต่อขยายระหว่าง บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด และบริษัท สหกลอิควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยได้รับเกียรติจาก ท่านจันทะบูน สุกอาลุน รองรัฐมนตรี กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ท่านพงสะหวัน สิดทะวง เจ้าแขวง แขวงไซยะบูลี ท่านพอนสะหวัน ไชสมพัน เจ้าเมือง เมืองหงสา ท่านทวีสัก ไซยะวง เจ้าเมือง เมืองเงิน คุณคทายุทธ์ ชูพูล กรรมการผู้จัดการ […]

Banner 220

ชวนโหลดแอ๊พใหม่ “CFiD”วิศวฯ จุฬาฯ ล้ำไปอีกขั้นเตรียมคนไทยพร้อมมุ่งสู่ Net Zero

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบลัย ร่วมกับ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) เปิดตัวแอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) ชวนประชาคมจุฬาฯ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมประจำวันของตนเองมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมลงพื้นที่ตลาดนัดจุฬาฯ ณ ศาลาพระเกี้ยว จัดกิจกรรมรณรงค์ชวนชาวจุฬาฯ และผู้ที่สนใจสายกรีนร่วมภารกิจรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “CFiD” (Carbon Footprint in Daily life) ชวนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบันทึกและติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมนำไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมประจำวันที่เชื่อมโยงไปกับภารกิจมุ่งลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายในองค์กรจนบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศไทยต่อไป ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ […]

Banner 219

นิติจุฬาฯ จับมือหน่วยงานกฎหมายชั้นนำพานิสิตยุคใหม่พุ่งออกนอกกรอบการศึกษากฎหมายแบบเดิม

เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2566 ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดี จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนสร้างเสริมวิชาการทางนิติศาสตร์และพัฒนาทักษะวิชาชีพสำหรับนักกฎหมาย ระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ หน่วยงานภาครัฐและสำนักกฎหมายเอกชน ได้แก่ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด, Chandler MHM, DLA PIPER, HERBERT SMITH FREEHILLS, KUDUN & PARTNERS, RAJAH & TANN ASIA, Thanathip & Partners, Tilleke & Gibbins, NISHIMURA & ASAHI และ WEERAWONG C&P ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยานคับคั่ง การลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของความร่วมมือ เพราะคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านกฎหมายชั้นนำทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงกว่า 6 ปีที่ผ่านมา พิธีในวันนี้จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความร่วมมือกันระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานวิชาชีพที่มีอยู่อย่างเข้มข้น […]

Banner 217

นักวิจัยไทยสุดเจ๋งคว้า 2 เหรียญทองเวทีโลก

เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คนไทยได้เฮกันอีกครั้ง เมื่อนักวิจัยไทยได้พาธงไตรรงค์โบกสะบัดบนเวทีโลกได้สำเร็จกลางงาน Seoul International Invention Fair 2023 (SIIF) ณ COEX กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ประกาศศักดาตอกย้ำให้โลกได้รู้ว่าคนไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน ปีนี้ประเทศไทยนำโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้คัดเลือกนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยที่มีศักยภาพถึง 200 คน เป็นตัวแทนประเทศนำผลงานเข้าประกวดแข่งขันในรายการระดับโลกนี้ ผลปรากฏว่าหนึ่งในนักวิจัยหัวหมู่ทะลวงฟันของไทย คือ ดร.เดวิด มกรพงศ์ จาก Inno VitalTech บริษัทสปินออฟดาวรุ่งสายวิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถพิชิตรางวัลวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมกลับมาฝากพี่น้องชาวไทยได้ถึง 2 เหรียญทอง 1 เหรียญทองแดง และ 1 รางวัลพิเศษ โดยรางวัลระดับเหรียญทองแรก มาจากผลงานการพัฒนาสารสำคัญจากดอกดาวเรืองที่มีสารลูทีนและซีเซนทีนคุณภาพสูงและการทดสอบประสิทธิภาพทางดวงตาที่สามารถลดอาการตาแห้งและลดอาการไม่สบายตาได้ภายใน 30 วัน เพื่อบรรเทาอาการจาก Computer Vision Syndrome ผลงานต่อมาเป็นรางวัลระดับเหรียญทองอีกเช่นกันกับผลงานการพัฒนาตำรับวิตามินสำคัญ 46 ชนิด เพื่อดูแลสุขภาพผู้บริโภคโดยให้สารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน และช่วยต้านอนุมูลอิสระแบบมีนัยยะสำคัญ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner