1746779628923

วิศวจุฬาฯ อวดนวัตกรรมเด็ก Gen Z จัดใหญ่ “CEDT Innovation Summit 2025”

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประกาศความพร้อมจัดงาน “CEDT Innovation Summit 2025” (CIS 2025) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2568 ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งแรกของการรวมพลังแห่งเทคโนโลยี นวัตกรรม และการศึกษาไว้ในที่เดียว! นับเป็นเวทีแสดงความสามารถของนิสิตจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) ผ่านผลงานวิจัย นวัตกรรม และโครงงานที่มีศักยภาพต่อยอดเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ไฮไลท์สำคัญภายในงาน แข่งขัน Hackathon รอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันสุดเข้มข้น CIS 2025 Hackathon รอบชิงชนะเลิศ จะรวบรวมเยาวชนระดับมัธยมศึกษาจากทั่วประเทศ จาก 15 โรงเรียนมาประชันไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ใน 3 แทร็กหลัก: 1. Medical Track – นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ 2. Financial Track – นวัตกรรมด้านการเงินและสิ่งแวดล้อม 3. Education […]

IMG 5768

จุฬาฯ เปิดยุทธการดับเบาหวาน ชูแพลตฟอร์ม “หวานน้อย” ช่วยคนไทยรอดเบาหวาน

จุฬาฯ ถกวิกฤตเบาหวานคุกคามไทย ชูแพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำ “หวานน้อย” แก้ปัญหาเบาหวานครบวงจร ขณะนี้ทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤตโรคเบาหวานที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ปัจจุบันมีผู้ป่วยเบาหวานถึง 537 ล้านคน และมีแนวโน้มที่น่าวิตกว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคนในปี 2573 และ 783 ล้านคนในปี 2588 สำหรับประเทศไทย ปัจจุบันพบผู้ป่วยเบาหวานแล้วประมาณ 6.5 ล้านคน โดยที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งคือร้อยละ 40 ของผู้ป่วยไม่ทราบว่าตนเองป่วย ล่าสุด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงจัดประชุมวิชาการประจำปี 2024 “เปิดยุทธการดับเบาหวาน” เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ มุ่งสร้างความตระหนักและแนวทางจัดการปัญหาโรคเบาหวานอย่างยั่งยืน โดยอัพเดทความก้าวหน้าของ “หวานน้อย” แพลตฟอร์มการแพทย์แม่นยำสูงที่พัฒนาโดยทีมวิจัยคนไทย เพื่อยกระดับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานครบวงจร ท่ามกลางความสนใจจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมงานกว่า 300 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) คณาจารย์ นักวิจัย นิสิตจุฬาฯ นักศึกษาจากสถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุข สื่อมวลชน […]

Banner 229 02

ไทย-สหรัฐ ลงนาม MOU ประวัติศาสตร์ เชื่อมระบบนิเวศสตาร์ทอัพ Montgomery County ผนึกกำลัง FTI และ NIA หนุนผู้ประกอบการไทยบุกตลาดอเมริกา

ในโอกาสครบรอบ 190 ปีแห่งความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 ณ งาน Startup Innovation Thailand Event (SITE2024) ได้เกิดเหตุการณ์สำคัญที่จะเป็นจุดเปลี่ยนในวงการสตาร์ทอัพและนวัตกรรมของทั้งสองประเทศ เมื่อ Montgomery County รัฐ Maryland สหรัฐอเมริกา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI) และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเชื่อมโยงระบบนิเวศสตาร์ทอัพระหว่างไทยและสหรัฐ การลงนามครั้งประวัติศาสตร์นี้นำโดยผู้นำองค์กรสำคัญจากทั้งสองประเทศ ได้แก่ นายมาร์ค เอลริช (Mr. Marc Elrich) ผู้บริหารเขต Montgomery County นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ที่ต่างเล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมร่วมกัน โดยมี นางจูดี้ คอนเทลโล่ (Ms.Judy Costello) ผู้แทนจาก Montgomery County และรองศาสตราจารย์ […]

Banner 221 01

ลาวมั่นใจ “ไฟฟ้าหงสา” ขยายเหมืองถ่านหินกว่า 40 ตร.กม. ดึง “สหกล” ปั้นสายพานลำเลียงดินใหม่ล้ำสุดในอาเซียน

“ไฟฟ้าหงสา” จับมือ “สหกล” สร้างระบบสายพานลำเลียงดินด้วยเทคโนโลยีล้ำสุดในอาเซียนรองรับพื้นที่ส่วนต่อขยายกว่า 40 ตร.กม. ตอกย้ำกลยุทธ์ด้าน ESG ของบริษัทฯ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 ณ แขวงไซยะบูลี สปป.ลาว บริษัท ไฟฟ้าหงสา จำกัด จัดพิธีเปิดการนำใช้พื้นที่สัมประทานส่วนต่อขยายและระบบสายพานลำเลียงดิน เส้นที่ 2 ของบริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด และพิธีมอบรับสายพานลำเลียงดินเส้นที่ 2 ส่วนต่อขยายระหว่าง บริษัทไฟฟ้าหงสา จำกัด และบริษัท สหกลอิควิปเมนท์ จำกัด (มหาชน) โดยได้รับเกียรติจาก ท่านจันทะบูน สุกอาลุน รองรัฐมนตรี กระทรวงพลังงานและบ่อแร่ เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ท่านพงสะหวัน สิดทะวง เจ้าแขวง แขวงไซยะบูลี ท่านพอนสะหวัน ไชสมพัน เจ้าเมือง เมืองหงสา ท่านทวีสัก ไซยะวง เจ้าเมือง เมืองเงิน คุณคทายุทธ์ ชูพูล กรรมการผู้จัดการ […]

Banner 220

ชวนโหลดแอ๊พใหม่ “CFiD”วิศวฯ จุฬาฯ ล้ำไปอีกขั้นเตรียมคนไทยพร้อมมุ่งสู่ Net Zero

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบลัย ร่วมกับ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) เปิดตัวแอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) ชวนประชาคมจุฬาฯ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมประจำวันของตนเองมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมลงพื้นที่ตลาดนัดจุฬาฯ ณ ศาลาพระเกี้ยว จัดกิจกรรมรณรงค์ชวนชาวจุฬาฯ และผู้ที่สนใจสายกรีนร่วมภารกิจรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “CFiD” (Carbon Footprint in Daily life) ชวนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบันทึกและติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมนำไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมประจำวันที่เชื่อมโยงไปกับภารกิจมุ่งลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายในองค์กรจนบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศไทยต่อไป ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner