Banner 226 01

“มหาลัยไทยอยู่ตรงไหนในโลก Digital Nomad”

“Digital Nomad” เป็นคำที่คนไทยเริ่มรู้จักและได้ยินหนาหูขึ้นเรื่อย ๆ มาตั้งแต่ปีกลาย โดยคำนี้เป็นชื่อเรียกกลุ่มมนุษย์โลกพันธุ์ใหม่ที่สามารถทำงานได้จากทุกที่ทั่วโลกที่มีอินเทอร์เน็ต และคนกลุ่มนี้เองกำลังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ที่ภาคธุรกิจและการศึกษาทั่วโลกจับตามองเช่นกัน จากรายงาน Global Digital Nomad Study ของ ABrotherAbroad.com ประเมินว่า กลุ่ม Digital Nomad ทั่วโลก สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 787 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือประมาณปีละ 26.8 ล้านล้านบาท โดยในปี 2565 จ านวน Digital Nomad ทั่วโลก พุ่งขึ้นแตะระดับ 35 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีจ านวนเพียง 15.2 ล้านคน และมีโอกาสแตะระดับ 60 ล้านคน ในปี 2573 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาด Digital Nomad ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การเพิ่มขึ้นของ […]

Banner 223 01

สางระบบเครดิตบูโรแก้หนี้ท่วม ปลดล๊อคช่วยคนไทยเข้าถึงสินเชื่อ

SDG1
SDG8 SDG10 เครดิตบูโร

IMG 0322

มหัศจรรย์ “ไหมไทย” สร้างเนื้อเยื่อเทียม กรมหม่อนไหมปลื้ม จับมือจุฬาฯ ต่อยอดนวัตกรรม  

เมื่อเอ่ยถึงผ้าที่มีคุณสมบัติมันวาว อ่อนนุ่ม ดูหรูหรา ทั่วโลกต่างต้องยกให้ “ผ้าไหมไทย” หนึ่งในมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน แต่ละปีไทยเรามีกำลังการผลิต “ผ้าไหม” ประมาณ 4,286 ตันต่อปี จัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของโลก เป็นรองเพียงจีน อินเดีย อุซเบกิสถาน และอิหร่าน (https://www.atlasbig.com/en-us/countries-by-silk-production) เท่านั้น โดยในปี 2564 กรมศุลกากรเคยเปิดเผยข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจถึงศักยภาพการส่งออกเส้นไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับไหม โดยมีมูลค่ารวมกันสูงเกือบ 365 ล้านบาท ในขณะที่ตลาดในประเทศ อุตสาหกรรมสิ่งทอกลุ่มหม่อนไหมมีมูลค่ารวมถึง 6,614.12 ล้านบาท ส่วนใหญ่มาจากผ้าไหมและผลิตภัณฑ์จากเส้นไหม นับได้ว่าหม่อนไหมนี้สร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรไทยมากกว่า 86,000 ครัวเรือนเลยทีเดียว  แม้ต้นตำรับของไหมโลกจะมีถิ่นกำเนิดจากอินเดียและจีน จนเกิดเป็นเส้นทางสายไหมที่ค้าขายกันมานับพันปี แต่สำหรับไหมไทยก็มีร่องรอยแห่งการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องล่วงเข้าขวบปีที่ 120 แล้ว นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมช่างไหม สังกัดกระทรวงเกษตราธิการ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2446 ด้วยพระราชประสงค์ให้ทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้วิชาการและวิทยาศาสตร์ด้านไหมเพื่อสร้างผู้รู้ ผู้ชำนาญชาวสยาม จวบจนปัจจุบันกรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังคงสืบทอดพระราชปณิธานนั้นสืบมาโดยมีภารกิจส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์หม่อนไหมของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ วิจัยและพัฒนาหม่อนไหม อนุรักษ์และคุ้มครองหม่อนไหม พัฒนาสินค้าและศักยภาพเกษตรกรสู่ Smart Farmer นอกจากนี้ยังส่งเสริมเศรษฐกิจและการตลาดหม่อนไหมนำไปสู่ความร่วมมือหลากมิติกับภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของชาติไทยอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   กรมหม่อนไหมและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่างมีความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันมากว่า 17 ปีแล้ว โดยมุ่งพัฒนาเส้นไหมไทยยกระดับสู่นวัตกรรมที่เป็นมากกว่าสิ่งทอ ล่าสุด “เอนจินไลฟ์” สตาร์ทอัพและบริษัทสปินออฟจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub และ CU Engineering Enterprise ก็สามารถพัฒนากระบวนการสกัดสารละลายโปรตีนไฟโบรอินจากเส้นใยไหมได้สำเร็จ  รศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ Founder & CEO บริษัท เอนจิน ไลฟ์ จำกัด เปิดเผยว่า “โปรตีนไฟโบรอินในไหมไทยมีคุณสมบัติโดดเด่นสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ ดังจะเห็นได้จากความเข้ากันได้ทางชีวภาพ พบปฏิกิริยาต่อต้านจากภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ในระดับต่ำ และยังสามารถย่อยสลายได้เอง เราจึงนำโปรตีนสำคัญจากเส้นไหมนี้มาพัฒนานวัตกรรมระบบนำส่งยา วัคซีน และสารสมุนไพรเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ ได้ อาทิ โรคมะเร็ง โรคข้อเสื่อม โรคเบาหวาน และยังสามารถพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ใช้งานได้จริงทั้งในรูปแบบ 3D Hydrogel แผ่นแปะอนุภาคจิ๋วขนาดไมครอน และเส้นใยนาโน ซึ่งสิ่งที่เราทำได้เองนี้อาจช่วยพลิกโฉมวงการสาธารณสุข ลดการพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศช่วยให้คนไทยเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้อย่างถ้วนหน้า” นับเป็นอีกย่างก้าวที่สำคัญของไหมไทยที่วันนี้ถูกพลิกโฉมจากสินค้าเกษตรก้าวล้ำสู่นวัตกรรมทางการแพทย์ที่นำมาใช้งานได้จริงแล้วโดยฝีมือนักวิจัยไทย และต้องจับตาดูช็อตต่อเนื่องหลังวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา เมื่อศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของคณะผู้บริหารจากกรมหม่อนไหม นำโดยนายประกอบ เผ่าพงศ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม หารือกันและได้จรดปากกาลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ(MOU) ฉบับใหม่ เร่งสนับสนุน ส่งเสริม และพัฒนากระบวนการเลี้ยงหนอนไหมและผลิตรังไหมอินทรีย์จากโรงเลี้ยงไหมต้นแบบให้มีมาตรฐานเหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ หวังต่อยอดใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องว่าจะสร้างแรงสั่นสะเทือนใหม่ให้เศรษฐกิจไทยได้อีกกี่ริกเตอร์ หากไทยเราสามารถพิมพ์เนื้อเยื่อสามมิติสร้างหลอดเลือดเทียมเส้นประสาทเทียม ท่อน้ำตาเทียม เปลือกตาเทียม ผิวหนังเทียม และกระดูกเทียมได้เองจาก “ไหมไทย”  

Banner 213

มหากาพย์ไฟป่าพ่นพิษ แคนาดาอ่วม คาดจีดีพีวูบกว่า 1.7 

ช่วงวันที่ 7-8 มิถุนายนที่ผ่านมา เราคงได้รับทราบข่าวใหญ่ส่งตรงมาจากสหรัฐอเมริกากันแล้ว เมื่อประชาชนในเมืองใหญ่อย่างนิวยอร์คและอีกหลายเมืองใกล้เคียงต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดเลวร้ายจาก PM2.5 ท่ามกลางดัชนีคุณภาพอากาศขึ้นแท่นเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยวัดค่า AQI ได้ถึง 265 และไต่ระดับขึ้นไปจนเกิน 300 ในบางเวลา จนทำให้ท้องฟ้ากลายเป็นสีส้มดูแปลกตา เป็นเหตุให้ทางการนครนิวยอร์กออกประกาศเตือนประชาชนถึงความเสี่ยงด้านสุขภาพจากมลพิษทางอากาศพร้อมทั้งสั่งงดกิจกรรมกลางแจ้งของโรงเรียนรัฐบาลทั่วทั้งเมือง ซึ่งแน่นอนว่าเหล่า New Yorker ไม่น่าจะ happy กับสิ่งนี้แน่นอน กลุ่มหมอกควันมวลขนาดใหญ่ที่พัดเข้ามาในเขตสหรัฐอเมริกาครั้งนี้มีต้นกำเนิดมาจากไฟป่าที่กำลังลุกโหมรุนแรงอยู่ในเขตประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างแคนาดา โดยควันไฟได้เริ่มพัดพาข้ามแดนมาตั้งแต่ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว โดยมีการแจ้งเตือนสภาพมลพิษทางอากาศจาก National Weather Service and Environmental Protection Agency อยู่บ้าง แต่ปัญหาหมอกควันในนิวยอร์คก็ได้ทุเลาเบาบางลงไปแล้ว เหลือไว้แต่ต้นตอแหล่งกำเนิดไฟป่าในแคนาดาที่ยังคงความรุนแรง ลุกลามขยายวงกว้างออกไปจนยากจะควบคุมได้ และยังพบว่าในหลายพื้นที่ได้รับผลกระทบใหญ่หลวงจนทำให้ดูเหมือนว่าฝุ่นควันที่พัดเข้าไปในเขตสหรัฐนั้นกลายเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่พ้นน้ำมาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นไปเลย แม้ว่าแคนาดาจะมีไฟป่าเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี จนสามารถเรียกได้ว่าช่วงนี้ถือเป็น “ฤดูกาลแห่งไฟ” ตามธรรมชาติของป่าสนในเขตนี้ แต่ทว่าไฟป่าปีนี้รุนแรงเกินกว่าที่เคยเกิดขึ้น จากข้อมูลที่สอดรับกันของทั้ง Canadian Wildland Fire Information System และวารสาร Nature แสดงให้เห็นว่าในปีก่อน ๆ ช่วงต้นฤดูกาลแห่งไฟ […]

Banner 2251

NPR Digital Partner
เพื่อนคู่คิดธุรกิจ SMEs ไทยฝ่าวิฤตเศรษฐกิจดิจิทัล

เมื่อภาคธุรกิจ SMEs สำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย ในฐานะที่เป็นหน่วยธุรกิจที่มีผู้ประกอบการมากถึง 3 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 99.5 ของวิสาหกิจหรือกิจการในไทย ต้องยอมรับว่าธุรกิจ SMEs นั้นก่อให้เกิดการจ้างงานมากที่สุดและยังมีส่วนสำคัญผลักดันให้เกิดขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งจากการส่งออกและนำเข้าสินค้าและบริการ รวมถึงเป็นกลไกหมุนเวียนรายได้และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ อีกด้วย แต่เมื่อโควิด-19 ได้แพร่ระบาดไปทั่วทุกมุมโลก ย่อมส่งผลกระทบต่อ SMEs ไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่อยู่รอด พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสด้วยการสร้างรายได้ ลดรายจ่าย เสริมสภาพคล่องระยะสั้น และเตรียมความพร้อมให้ธุรกิจพัฒนาต่อได้ในระยะยาวให้กลับมาพร้อมเข้าสู่การแข่งขันได้อย่างรวดเร็วด้วยการทำ Digital Transformation ผ่านระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) และใช้ซอฟท์แวร์เข้ามาบริหารจัดการธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ประกอบการหลายท่านทราบกันดีว่าระบบเหล่านี้มีต้นทุนที่สูงเกินเอื้อม และยังมีบางอย่างที่ไม่สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับขนาดและประเภทธุรกิจ SMEs วันนี้ The Sharpener จึงได้ชวนคนรุ่นใหม่ไฟแรง 3 ท่านจาก NPR Digital Partner ทั้ง แพรี่ แพรวา นิมิตกุล Head of Strategyนีโน่ ศุภกิตติ์ เกษตรตระการ Head […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner