วิศวจุฬาฯ อวดนวัตกรรมเด็ก Gen Z จัดใหญ่ “CEDT Innovation Summit 2025”
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ประกาศความพร้อมจัดงาน “CEDT Innovation Summit 2025” (CIS 2025) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม 2568 ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครั้งแรกของการรวมพลังแห่งเทคโนโลยี นวัตกรรม และการศึกษาไว้ในที่เดียว! นับเป็นเวทีแสดงความสามารถของนิสิตจากหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัล (CEDT) ผ่านผลงานวิจัย นวัตกรรม และโครงงานที่มีศักยภาพต่อยอดเชิงพาณิชย์ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และเครือข่ายระหว่างสถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน ไฮไลท์สำคัญภายในงาน แข่งขัน Hackathon รอบชิงชนะเลิศ การแข่งขันสุดเข้มข้น CIS 2025 Hackathon รอบชิงชนะเลิศ จะรวบรวมเยาวชนระดับมัธยมศึกษาจากทั่วประเทศ จาก 15 โรงเรียนมาประชันไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ใน 3 แทร็กหลัก: 1. Medical Track – นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ 2. Financial Track – นวัตกรรมด้านการเงินและสิ่งแวดล้อม 3. Education […]
“สุนทราภรณ์รวมดาว แดนซ์สนุก ปลุกทุกจังหวะ”มหกรรมคอนเสิร์ตลีลาศการกุศลแห่งปีชวนคุณร่วมแดนซ์สนุก ปลุกทุกจังหวะ เพื่อสังคมผู้สูงวัยที่ยั่งยืน
สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี จัดงานยิ่งใหญ่ส่งท้ายปี “สุนทราภรณ์รวมดาว แดนซ์สนุก ปลุกทุกจังหวะ” มหกรรมคอนเสิร์ตลีลาศการกุศลที่จะชวนคุณมาร่วมสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษจาก “อลิศ ธนัชศลักษณ์ ฮัดสัน” ดวลเพลงเพราะ “พรศุลี วิชเวช” และทีมนักร้องคลื่นลูกใหม่วงสุนทราภรณ์ พร้อมนักเต้นจากชมรมลีลาศจุฬาฯ ไลน์แดนซ์สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ และเหล่าพันธมิตรเท้าไฟในบรรยากาศสุดมันส์ พร้อมร่วมสนับสนุนโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงอายุไทย และการดำเนินงานของสมาคมฯวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2567 เวลา 14.00-17.00 น. ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ กรุงเทพฯพิเศษ! จองโต๊ะวันนี้:– บัตรราคาโต๊ะละ 50,000 บาท (10 ที่นั่ง)– โต๊ะสมาชิกสมาคมฯ ราคาพิเศษเพียง 35,000 บาท (10 ที่นั่ง)สำรองที่นั่งได้ที่ คุณสุพรรณี สันทบ โทร 081-628-7453 คุณคมคาย บุญเสริมสุข โทร 089-224-4116 ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุกับสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยฯ โอนเงินบริจาคตามอัธยาศัยได้ที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาสะพานขาว บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ […]
เปิดศักราชเรียนรู้ตลอดชีวิต จุฬาฯ จับมือ The Sharpener ปั้นหลักสูตรใหม่สร้าง Global Talent หัวใจไทย
ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Unisearch) ร่วมกับ The Sharpener School จัดงานปฐมนิเทศหลักสูตร “Media and Communication for Transnational Citizens” แบบไฮบริดให้กับผู้เรียน รุ่นที่ 1 จำนวนทั้งสิ้น 478 คน ณ หอประชุมคณะวิศวกรรมศาสตร์ (Hall of Intania) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารสถาบันการศึกษา คณาจารย์ และภาคีเครือข่ายร่วมงานอย่างคับคั่ง อาทิ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร์ ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ดร.สุดคนึง ฤทธิ์ฤาชัย ผู้อำนวยการวิทยาลัยนักบริหารสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ดร.เนติธร ประดิษฐ์สาร คุณอังคณา สุขวิบูลย์ อดีต ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ อดีตเลขาธิการ […]
จุฬาฯ เปิดตัว “โซลูชั่นการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล” ในงาน อว.แฟร์
ในยุคเทคโนโลยีก้าวล้ำไปอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้ตลอดชีวิตกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของประเทศไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญนี้ พร้อมเปิดประตูสู่โลกแห่งการเรียนรู้ไร้ขีดจำกัดผ่านโครงการ “โซลูชั่นการเรียนรู้ตลอดชีวิตแบบดิจิทัล” (Digital Lifelong Learning Solutions) ในงาน “อว.แฟร์: SCI POWER FOR FUTURE THAILAND” ศูนย์การศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (GenEd จุฬาฯ) ได้ริเริ่มโครงการนี้ด้วยการจัดทำรายวิชาศึกษาทั่วไปกลุ่ม Chula MOOC Flexi จำนวน 28 คอร์สเรียน ครอบคลุม 8 ชุดรายวิชา บนแพลตฟอร์มคลังความรู้ดิจิทัล Chula Neuron โดยมุ่งเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับ Digital Literacy และ Artificial Intelligence (AI) ซึ่งเป็นทักษะสำคัญแห่งยุคดิจิทัล ความพิเศษของโครงการนี้คือความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจและเวลาที่สะดวก ไม่ว่าจะเป็นนิสิตจุฬาฯ นักเรียน นักศึกษาจากสถาบันอื่น ข้าราชการ บุคลากรภาครัฐและเอกชน หรือประชาชนทั่วไป ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงความรู้คุณภาพสูงจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของประเทศ ไฮไลท์สำคัญของโครงการ คือการเปิดตัว “Digital […]
“มหาลัยไทยอยู่ตรงไหนในโลก Digital Nomad”
“Digital Nomad” เป็นคำที่คนไทยเริ่มรู้จักและได้ยินหนาหูขึ้นเรื่อย ๆ มาตั้งแต่ปีกลาย โดยคำนี้เป็นชื่อเรียกกลุ่มมนุษย์โลกพันธุ์ใหม่ที่สามารถทำงานได้จากทุกที่ทั่วโลกที่มีอินเทอร์เน็ต และคนกลุ่มนี้เองกำลังกลายเป็นเป้าหมายใหม่ที่ภาคธุรกิจและการศึกษาทั่วโลกจับตามองเช่นกัน จากรายงาน Global Digital Nomad Study ของ ABrotherAbroad.com ประเมินว่า กลุ่ม Digital Nomad ทั่วโลก สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 787 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี หรือประมาณปีละ 26.8 ล้านล้านบาท โดยในปี 2565 จ านวน Digital Nomad ทั่วโลก พุ่งขึ้นแตะระดับ 35 ล้านคน เพิ่มขึ้น 2.3 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีจ านวนเพียง 15.2 ล้านคน และมีโอกาสแตะระดับ 60 ล้านคน ในปี 2573 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกถือเป็นตลาด Digital Nomad ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง การเพิ่มขึ้นของ […]