ด่วน ! นายกฯ งัดพรก.ฉุกเฉินเบรกผู้ว่าฯทั่วประเทศ คลายล็อกดาวน์
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 4) ใจความว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 แล้ว นั้น โดยที่รัฐบาลได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเป็นลําดับอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคงร่วมกันประเมินสถานการณ์เพื่อพิจารณาผ่อนคลาย หรือเพิ่มความเข้มงวดการบังคับใช้บางมาตรการ โดยมุ่งจะให้การควบคุมและการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉินสามารถยุติลงได้โดยเร็วและไม่ย้อนกลับมาอีก ขณะเดียวกัน ประชาชนสามารถดํารงชีวิต ได้อย่างปกติสุข ภายใต้มาตรการป้องกันโรคและคําแนะนําของทางราชการ โดยจะพิจารณาผ่อนคลาย เป็นลําดับขั้นตอนตามหลักเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกําหนดและคํานึงถึงประเภทของกิจการ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงน้อย สถานที่ซึ่งสามารถจัดระบบควบคุมดูแลได้ […]
น้องปิ่นโต บินลัดฟ้าถึงน่าน พร้อมปฏิบัติการช่วยหมอสู้โควิด
วันนี้ (15 เม.ย.63) สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) เปิดเผยความคืบหน้าของภารกิจจัดส่งหุ่นยนต์ช่วยเซฟหมอว่า “สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานหุ่นยนต์ CU RoboCOVID “ปิ่นโต” และ “น้องกระจก” ไปช่วยบุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติหน้าที่อำนวยความสะดวกในการรักษาและป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ณ โรงพยาบาลน่าน จังหวัดน่าน และ โรงพยาบาลสันทรายจังหวัดเชียงใหม่ ในการนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และกองทัพอากาศ ได้เร่งดำเนินการนำหุ่นยนต์ชุดดังกล่าวไปติดตั้งที่โรงพยาบาลทั้งสองแห่งตามพระราชประสงค์ “ปิ่นโต” และ “น้องกระจก” คือหนึ่งในหุ่นยนต์ตามโครงการ “CU-RoboCOVID” ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอพระราชทานน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อพระราชทานให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ตามพระราชอัธยาศัยใช้สู้ภัย COVID-19 มุ่งลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาล ขณะนี้พร้อมออกปฏิบัติภารกิจนี้แล้ว
จุฬาฯ คิดสเปรย์ฉีดหน้ากากต้านโควิดพ่วงฝุ่นจิ๋ว
ทีมวิจัยจุฬาฯ คิดค้นสเปรย์สำหรับพ่นหน้ากากผ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันไวรัส กันน้ำ กรองเชื้อโรค นับเป็นนวัตกรรมใหม่เพื่อเป็นทางเลือกการใช้หน้ากากผ้าแก่บุคคลทั่วไป ช่วงที่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ขาดแคลนช่วงโควิด-19 ระบาด ชีลด์พลัส โพรเทคติ้ง สเปรย์ (Shield+ Protecting Spray) เป็นผลงานวิจัยของ ทีมวิจัย ผศ. ดร. ภญ. จิตติมา ลัคนากุล คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปราศจากสารที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ใช้สำหรับพ่นหน้ากากผ้า โดยสเปรย์จะทำหน้าที่เป็นตัวกรองของหน้ากากผ้า ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันไวรัส น้ำและละอองสารคัดหลั่ง สเปรย์ดังกล่าว ผ่านการวิจัยและทดสอบประสิทธิภาพเปรียบเทียบระหว่างหน้ากากผ้าก่อนสเปรย์และหลังสเปรย์ พบว่า หน้ากากผ้าที่ผ่านการพ่นสเปรย์ด้วย Shield+ Protecting Spray เกิดการเชื่อมต่อของเส้นใยผ้ามากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอนเพิ่มขึ้น 83% และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการกรองเชื้อโรคในน้ำลายและในอากาศได้มากขึ้น 93% และ 142% ตามลำดับ นอกจากคุณสมบัติกรองอนุภาคและเชื้อโรคแล้ว หน้ากากผ้าที่ผ่านการใช้สเปรย์มีคุณสมบัติการกันน้ำที่ดีกว่า จึงสามารถเพิ่มประสิทธิผลของหน้ากากผ้าทั่วไป ทำให้ประชาชนใช้หน้ากากผ้าแทนหน้ากากอนามัยได้อย่างมั่นใจ เปิดโอกาสให้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์มีเหลือเพียงพอให้บุคลากรทางการแพทย์และช่วยลดปัญหาหน้ากากอนามัยขาดแคลน และยังเป็นการช่วยลดขยะได้ ทีมงานวิจัยของ ผศ. ดร. ภญ. […]
เปิดใจ “โอ คุกเข่า” กว่าจะเป็น “ห่าง…แต่ห่วง”
ในภาวะวิกฤติ COVID-19 กำลังระบาด ส่งผลให้คนไทยวิตกกังวลกับเรื่องปัญหาสุขภาพ การดำเนินชีวิตที่ต้อง Work from home ลามไปจนถึงเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ อีกมากมาย จึงเป็นหน้าที่ของหลายค่ายเพลง หลากศิลปิน ต้องออกมาชวน Let the music heal your soul. ปล่อยเพลงกล่อมเกลาจิตใจเยียวยาทุกข์ภัยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ให้คนไทยข้ามผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายนี้ไปให้ได้ “ห่าง…แต่ห่วง” นับเป็นอีกเพลงหนึ่งที่ถูกแต่งขึ้นมาโดยเฉพาะในห้วงช่วงเวลานี้ ขับร้องโดย “โอ คุกเข่า” หรือ “อภิสิทธิ์ ณัฐวรวโรฒม์” สถาปนิกระดับ 7 ฝ่ายออกแบบและบริหารงานก่อสร้าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่เจ้าตัวบอกกับเราว่าเพลงนี้ทำออกมาเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับไวรัสนี้ และอยากทำเพลงที่สร้างขวัญและกำลังใจให้หลาย ๆ คน ก้าวผ่านวิกฤติโรค COVID-19 ไปได้ โดยไม่ต้องเครียดมาก เส้นทางสายดนตรีของ “โอ คุกเข่า”“ผมเป็นคนที่ชอบร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก และก็เดินสายประกวดร้องเพลงมาตั้งแต่อายุ 12 ปี ทั้งเวทีลูกทุ่ง ลูกกรุง สตริง ถามว่าประสบผลสำเร็จไหม ก็ได้ถ้วยรางวัลมาประมาณ 200 […]
จุฬาฯ ลุยสู้โควิด ส่งกองทัพหุ่นยนต์เซฟหมอ “CU-RoboCOVID” กว่าร้อยตัว พร้อมช่วยหมอทั่วประเทศแล้ว
7 เม.ย.63 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เร่งผลิตหุ่นยนต์ “CU-RoboCOVID” 103 ชุด มูลค่ากว่า 5 ล้านบาท นำทีมโดยเจ้า “PINTO” มอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศใช้สู้ภัย COVID-19 มุ่งลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ให้แพทย์และพยาบาล สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ขณะนี้ บุคลากรทางการแพทย์ต้องทำงานกันอย่างหนักตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงเตรียมจัดส่งหุ่นยนต์นักรบอัศวิน “PINTO” (ปิ่นโต) จำนวน 103 ตัว มาสนับสนุนภารกิจนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “PINTO คือ หุ่นยนต์ซีรี่ส์หนึ่งของ CU-RoboCovid โครงการพัฒนาหุ่นยนต์และอุปกรณ์สนับสนุนการแพทย์เพื่อส่งไปช่วยหมอสู้ภัย COVID-19 ช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อ แบ่งเบาภาระงาน และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้บุคลากรทางการแพทย์ในยามนี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และพันธมิตร จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยเหลือแพทย์ 3 ชุดหลัก ได้แก่ หุ่นยนต์ส่งของ (Remote Control Delivery Robot) หุ่นยนต์สื่อสารทางไกล (Telepresence Robot) และ หุ่นยนต์เครื่องช่วยหายใจ (Ambu Bag) “ปิ่นโต” (PINTO) สำหรับปิ่นโต (PINTO) ที่เราผลิตให้กับ สนจ. ในครั้งนี้ เป็นหุ่นยนต์ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ระยะไกลที่ติดตั้งพร้อมด้วยระบบ Telepresence โดยทำหน้าที่ส่งอาหารและเวชภัณฑ์ไปยังห้องผู้ป่วย พร้อมมีระบบภาพสื่อสารทางไกลที่ใช้งานง่าย ช่วยลดความเสี่ยงโดยเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และยังช่วยอำนวยความสะดวกให้บุคลการทางการแพทย์ทำงานได้ง่ายขึ้น “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) นอกจากนี้ เรายังมีซีรี่ส์ “น้องกระจก” (Quarantine Telepresent) เป็นหุ่นยนต์แท็บเลต ที่นำไปไว้ที่ห้องผู้ป่วย จะทำหน้าที่สอดส่องดูแล และพูดคุยกับผู้ป่วยได้โดยที่ไม่ต้องกดรับสาย นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถกดเรียกหาพยาบาลได้เมื่อต้องการความช่วยเหลือ ช่วยลดทั้งความเสี่ยงติดเชื้อและลดอัตราการใช้ชุดอุปกรณ์ทางการแพทย์ลง ขณะเดียวกันยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับหมอและพยาบาลได้เป็นอย่างดี “หุ่นยนต์นินจา” “หุ่นยนต์นินจา” เป็นซีรี่ส์ที่ช่วยสื่อสารทางไกลระหว่างหมอกับผู้ป่วย COVID-19 ผ่านระบบ Video Conference โดยที่ทั้งหมอ พยาบาล ยังสามารถพูดคุย โต้ตอบ สอบถามอาการกับผู้ป่วยผ่านระบบTelemedicine โดยไม่ต้องเข้าไปในหอผู้ป่วย และยังสามารถควบคุมและสั่งการการทำงานของหุ่นยนต์ได้จากระยะไกล และที่มากไปกว่านั้น หุ่นยนต์นินจายังเชื่อมอุปกรณ์วัดและบันทึกสัญญาณชีพต่าง ๆ เช่น วัดความดัน วัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ วัดชีพจร วัดอุณหภูมิ และส่งข้อมูลไปให้หมอใช้ประกอบการวินิจฉัยอาการได้ทันทีอีกด้วย” “สำหรับโครงการ CU-RoboCOVID เราได้รับความร่วมมือจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ทำให้เรามั่นใจว่า ในอนาคตน่าจะช่วยให้จุฬาฯ ก้าวสู่การเป็นผู้สนับสนุนการสร้างบุคลากรตอบโจทย์ภัยคุกคามด้านสาธารณสุข ด้วยผลงานชั้นนำด้านนวัตกรรมทางวิศวกรรมการแพทย์ระดับโลกได้ต่อไป และต้องขอขอบคุณ บริษัท เอชจี โรโบติกส์ จำกัด และ บริษัท Obodroid ในฐานะผู้ผลิตที่ร่วมกันขับเคลื่อนโครงการนี้ เป็นพันธมิตรที่ดีกับเรามาโดยตลอด” ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล กล่าว ด้านนายวิบูลย์ ฤกษ์ศิระทัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) เปิดเผยว่า “สนจ. ทราบถึงความต้องการใช้หุ่นยนต์เพื่อลดความเสี่ยงติดเชื้อให้หมอและพยาบาล ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่สู้ร่วมกันในภารกิจนี้ ตามมาตรการ Social […]