สัญญาณโควิดระลอก 2 ! UKพบคนไข้รายวันสูงสุดตั้งแต่พ.ค. ฝรั่งเศสติดเชื้อวันเดียว 7 พัน
สหราชอาณาจักรพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากถึง 2,988 คนในวันอาทิตย์ (6ก.ย.) สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แมตต์ แฮนค็อค รัฐมนตรีสาธารณสุขยอมรับน่ากังวล แม้ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว ขณะที่สถานการณ์ในฝรั่งเศส กลับมาอยู่ในขั้นวิกฤตอีกครั้ง หลังพบผู้ติดเชื้ออีกกว่า 7,000 คนในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา “การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อที่เราพบเห็นในวันนี้ เป็นสิ่งที่น่ากังวล” แมตต์ แฮนค็อค รัฐมนตรีสาธารณสุขแห่งสหราชอาณาจักรกล่าว “หลักๆแล้วการติดเชื้อเกิดขึ้นในหมู่วัยรุ่น แต่ก็อย่างที่เราพบเห็นในประเทศอื่นๆทั่วโลกและในยุโรป ว่าการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อในหมู่คนหนุ่มสาวในลักษณะนี้ อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในทั่วทุกกลุ่มประชากร” เขาบอกว่าทุกคนจำเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แนวโน้มของจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19รายวันในสหราชอาณาจักร เริ่มเพิ่มขึ้นมาหลายสัปดาห์ แม้จำนวนคนไข้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและยอดผู้เสียชีวิตยังคงอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลสหราชอาณาจักรระบุว่าในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา พบผู้เสียชีวิตเพียง 2 ราย ภายในเวลา 28 วันนับตั้งแต่มีผลตรวจโควิด-19 ออกมาเป็นบวก ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมของประเทศอยู่ที่ 41,551 คน แฮนค็อคบอกว่ารัฐบาลจะเดินหน้าใช้มาตรการล็อกดาวน์ระดับท้องถิ่นเพื่อช่วยสกัดการแพร่ระบาดของไวรัส แต่มาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม ยังคงมีความสำคัญลำดับต้นๆ ตัวเลขผู้ติดเชื้อในสหราชอาณาจักร สอดคล้องกับสถานการณ์ของโควิด-19 ในฝรั่งเศส ที่ไวรัสกลับมาแพร่ระบาดรอบใหม่ แม้ตัวเลขในวันอาทิตย์ (6ก.ย.) จะลดลงจากช่วง 2 […]
‘หมอธีระวัฒน์’ ปลุกคนไทยอย่าหย่อนวินัย เตือนติดโควิดแพร่เชื้อได้ถึง30วัน !
วันนี้ (7 ก.ย. 63) ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์โรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า สิ่งที่ต้องตระหนักในประเทศไทยก็คือมีคนที่ติดเชื้อแพร่เชื้อได้โดยไม่มีอาการอยู่แล้ว ทั้งนี้ถ้าคนที่ติดเชื้อไม่ได้เปราะบางก็จะแพร่เชื้อไปได้ 20 ถึง 30 วันก็ได้ และหยุดแพร่ แต่ถ้าตนเองมีวินัยใส่หน้ากาก รักษาระยะห่าง ล้างมือ ก็ไม่สามารถปล่อยเชื้อไปให้ผู้อื่น และคนอื่น ๆ ที่มีวินัยเช่นกัน ก็ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าตนเองได้ แต่ถ้าเมื่อใด ที่เริ่มผ่อนคลายวินัย เชื้อจากคนที่ไม่มีอาการเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ เริ่มแพร่เป็นลูกโซ่ และในที่สุดก็จะเจอคนที่อาจไม่แข็งแรงนัก และได้รับเชื้อค่อนข้างมาก จนเกิดอาการขึ้นและในที่สุดก็จะเริ่มเห็นอาการหนักเข้าโรงพยาบาล การตรวจหาว่ามีคนติดเชื้อโดยไม่มีอาการหรือไม่มากน้อยเพียงใดในแต่ละพื้นที่ด้วยการตรวจเลือดจะเป็นการให้ข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อการวางแผนให้รัดกุม และถ้าตรวจเลือดได้ผลบวกจึงค่อยตรวจว่ามีเชื้อปล่อยออกมาได้หรือไม่ด้วยการแยงจมูก แต่โดยสรุป การรักษาวินัยดังที่ผ่านมา จะทำให้ระบบสาธารณสุขอยู่รอดได้ และคนไทยปลอดภัย หมายเหตุ ข้อมูลหลักฐานการแพร่เชื้อโดยไม่มีอาการในพื้นที่ต่างๆ จะได้นำเสนอโดยคณะทำงานเร็วๆ นี้ครับ ที่มา https://www.thaipost.net/main/detail/76719
นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95
ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมด้วย ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นายชานนทร์ เนียมก้องกิจ นายรัฐฐา วัธนะชัย จากกลุ่มบริษัท KIJ Marketing จำกัด และ ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ร่วมกันแถลงข่าว นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบหน้ากากอนามัย N95 เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการสำหรับทางการแพทย์ โดยเป็นชนิดขึ้นรูปที่มีการปรับปรุงเทคนิคการผลิต เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ และเพิ่มความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบนพื้นผิวของหน้ากากอนามัย N95 อีกทั้งตัวหน้ากากถูกออกแบบให้ผู้สวมใส่หายใจได้สะดวกขึ้น และพื้นผิวสัมผัสของหน้ากากช่วยลดการระคายเคืองต่อผิวหน้า พร้อมทั้งผ่านการทดสอบการรับรองมาตรฐานของหน้ากากอนามัยเบื้องต้น ได้แก่ ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรีย จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Fit test) จากหน่วยควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การผ่านได้ของอากาศ และการกระจายของเปลวไฟ จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งหน้ากากอนามัย N95 นี้ ยังคงพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิต ให้มีคุณสมบัติที่ดี ในราคาที่เหมาะสม ลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย N95 ในระยะยาว ทั้งยังเป็นการลดการนำเข้าหน้ากากอนามัยจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายหน้ากากอนามัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ทางศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และสภากาชาดไทย ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมโครงการ “Mask for unmask” เพื่อสั่งซื้อหน้ากากอนามัย N95 ชิ้นละ 50 บาท ทุกการสั่งซื้อ 1 ชิ้น จะได้รับสิทธิ์ส่งต่อหน้ากากอนามัยอีก 1 ชิ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่อยู่เขตแดนไทย-พม่า รวม 10 จังหวัด โดยจะเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ไลน์ @ https://lin.ee/Jk3OomL ที่มา PR แพทย์จุฬาฯ ภาพหน้ากาก N95 จาก : postupnews.com
จุฬาฯ ส่ง “รถ CU กองหนุน” เสริม “State Quarantine” เข้มแข็ง นวัตกรรมป้องโควิด-19 ระลอกใหม่
เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 สถานการณ์ในหลายประเทศยังคงน่าเป็นห่วง และเสี่ยงที่เชื้อร้ายนี้จะแพร่ระบาดเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้นได้จากการเดินทางกลับประเทศของคนไทยที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในต่างแดน และชาวต่างชาติที่มีเหตุจำเป็นให้ต้องเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐบาลจึงให้ความสำคัญและออกมาตรการที่เข้มข้นเพื่อให้ State Quarantine และ Local Quarantine ภายใต้การดูแลร่วมกันของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข เป็นกลไกสำคัญช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกที่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย การบริหารจัดการ State Quarantine และ Local Quarantine เพื่อดูแลผู้ต้องกักตัวอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นที่ต้องดำเนินไปอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขและต้องมั่นใจได้ว่าทุกคนที่ต้องพำนักและปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถานที่แห่งนี้จะปลอดภัย ไร้ความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงคิดค้นและพัฒนา “รถกองหนุน” หรือ รถความดันบวก (Positive Pressure) ปลอดเชื้อ 100% อีกหนึ่งนวัตกรรมเสริมความเข้มแข็งให้กลไกการดูแลประชาชนที่ต้องกักตัวอยู่ใน State Quarantine และ Local Quarantine มีประสิทธิภาพ เป็นตัวช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่ต้องมาพำนักที่นี่ชั่วคราว ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า “การนำนวัตกรรมเข้ามาเสริมในกระบวนการการดูแลพี่น้องประชาชนที่ต้องเข้ามาอยู่ใน State Quarantine หรือ Local Quarantine […]
รอบโลก รอบรู้ สู้โควิด-19 23 มิถุนายน 2563
ถึงแม้ว่าสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยจะดีขึ้น จนวันนี้ไม่มีผู้ติดเชื้อในประเทศติดต่อกัน 29 วันแล้ว และทางรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการผ่อนปรน รวมถึงการยกเลิกเคอร์ฟิว ให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ หากแต่ว่าสถานการณ์ทั่วโลกยังคงมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อินเดีย – ห้ามหมอลาหยุด วันนี้ (23 มิ.ย. 63) อินเดียเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสูงที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐฯ, บราซิล และรัสเซีย โดยมีผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 รายใหม่ 13,540 ราย ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา นับเป็นสถิติรายวันที่สูงที่สุด ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อสะสมทั่วประเทศเพิ่มเป็น 440,450 ราย และเสียชีวิต 14,015 ศพแล้ว โดยทางการกรุงนิวเดลีออกคำสั่งถึงโรงพยาบาลรัฐทุกแห่งในเมือง ให้ยกเลิกคำขอลาหยุดทุกกรณีของแพทย์ทุกคน และหลังจากนี้จะอนุญาตให้ลาหยุดได้ในกรณีที่จำเป็นที่สุดเท่านั้น ออสเตรเลีย – การ์ดตก สำนักข่าว แชนเนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า รัฐวิกตอเรีย ซึ่งเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดอันดับ 2 ของออสเตรเลีย รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 25 ราย เมื่อวันเสาร์ที่ 20 […]