Banner 137 02 1

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จวัคซีน mRNA ‘CU-Cov19’

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นเวลาเกือบขวบปี ทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ บุคคลากรทางการแพทย์ของไทย ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลกได้ดี  ทั้งความพร้อมด้านการบริหารจัดการสถานที่ ตลอดจนการนำทักษะ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาใช้ดูแลพี่น้องประชาชนตามมาตรฐานสากลและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดตามมาตรการที่องค์การอนามัยโลกประกาศ  หากแต่การระงับยับยั้งเชื้อไวรัสร้ายนี้เพื่อเยียวยา และกู้สถานการณ์ให้คนบนโลกกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างแข็งแรงยังจำเป็นต้องรอให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้จริงได้ในเร็ววัน  ด้วยเหตุนี้ ภาคีเครือข่ายนักวิจัยทั่วโลกจึงได้ผนึกกำลังพยายามเร่งพัฒนาวัคซีนจากแพลตฟอร์มที่แตกต่างหลากหลายไม่ใช่เพื่อช่วงชิงความเป็นที่หนึ่ง หากแต่เพื่อความมั่นคงและสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ชาติ  ครั้งนี้เราได้เห็นการทำงานอย่างหนักของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมสำคัญในภารกิจระดับโลกเฉกเช่นที่เคย ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้อำนวยการโครงการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า “ ศูนย์ของเราทำงานภายใต้พันธกิจ ‘Discover, develop and deliver safe, effective and affordable vaccines’ ซึ่งก่อนหน้านี้เราทำงานมุ่งเน้นไปที่การป้องกันโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อชนิดอื่น ๆ อยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) โรคไข้เลือดออกชนิด (Dengue) โรคฉี่หนู (Leptospirosis) […]

Banner 133 04

จุฬาฯ จับมือ ก.สาธารณสุข แก้ปัญหาสิงห์อมควัน จัดเขตสูบหรี่คุ้มครองนิสิต-บุคลากร นำร่องปรับพฤติกรรมคนไทย

ในทุก ๆ 1 นาที ทั่วโลกมีผู้ที่ต้องปิดฉากชีวิตลงจากภัยร้ายของบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับเป็นอันดับต้น ๆ มากกว่าปีละ 5 ล้านคน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องหันหน้ามาร่วมกันดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ยอดผู้สูบบุหรี่กว่า 650 ล้านคน ไม่ต้องจบชีวิตก่อนวัยอันควร ขณะที่เมื่อหันกลับมาดูสถานการณ์ในประเทศไทยไทย ข้อมลูจากแผนงานควบคุมยาสูบในปี พ.ศ.2560-2564 เผยว่า ปัญหาการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอายุรหะว่าง 15-18 ปี ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 6.58 เป็นร้อยละ 8.25 สอดคล้องกันกับข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ระบุว่าเยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่กว่า 400,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ตลอดชีวิต หากยังได้รับการกระตุ้นจากกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่พยายามโฆษณาหลอกล่อเด็กและเยาวชนอีกด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ “นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และจัด “เขตสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะ พ.ศ. 2563” เพื่อมุ่งปรับพฤติกรรมคุมเข้มผู้สูบบุหรี่ในสถานศึกษาโดยจัดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่อาคาร สิ่งปลูกสร้าง สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ พร้อมแสดงเครื่องหมายแยกเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ให้ชัดเจน เพื่อดูแลพื้นที่ในเขตสูบบุหรี่ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมาะสม ทั้งนี้ยังได้รณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรเกิดแรงจูงใจร่วมลด ละ เลิกสูบบุหรี่  ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์  อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

Banner 133 03

“MDCU Let’s Talk” น้องหมอจุฬาฯ เลิกเครียด ส่งรุ่นพี่ คุยเสริมสุข นอกห้องเรียน

แพทย์ จุฬาฯ จัด “MDCU Let’s Talk” ส่งแพทย์รุ่นพี่และนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตกับนิสิตแพทย์ทุกชั้นปี คลายภาวะกดดันจากการเรียน หวังส่งบัณฑิตถึงฝั่งยกรุ่น  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ใส่ใจสุขภาพจิตนิสิตแพทย์ที่มีความเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิตจากภาวะเครียดจากการเรียน จึงได้จัดโครงการ “สร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อการเรียนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตอย่างมีความสุข” (MDCU Let’s Talk)” บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่นิสิตแพทย์ทุกชั้นปีผ่านการเข้ารับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive and Behavioral Therapists) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชศาสตร์ และนักจิตวิทยาการศึกษา ผศ. นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร วิทยากรประจำโครงการเผยว่า “หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตรกว่า 6 ปี เนื้อหาสาระในแต่ละรายวิชามีปริมาณมากและค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับกรอบระยะเวลา และมักสร้างความท้อแท้ หมดกำลังใจระหว่างเรียน จนนิสิตแพทย์เกิดภาวะเครียดสะสม บางรายมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งเราพอจะเห็นได้อยู่เนือง ๆ จากการดำเนินงานของโครงการ MDCU Let’s Talk ในปีที่ผ่านมา มีนิสิตแพทย์ให้ความสนใจขอเข้ารับบริการ จำนวน 43 คน และปีการศึกษา 2561 จำนวน 54 คน ซึ่งหลังจากติดตามผลการเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่นพี่ […]

Banner 135 06

โฆษกเผย รบ. ยึดหลักการกระจายวัคซีนโควิด-19 อย่างเป็นธรรม แบ่งฉีดเป็น 3 ระยะ

เมื่อวันที่ 31 มกราคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มอบแนวทางเกี่ยวกับการบริหารวัคซีนโควิด-19 ยึดหลักให้มีการกระจายวัคซีนอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติจะบริหารแผนการฉีดวัคซีน และกระทรวงสาธารณสุขจะติดตามประเมินผลการฉีดวัคซีนอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มฉีดวัคซีนให้ประชาชนคนไทยคนแรกได้ภายในเดือนกุมภาพันธุ์นี้ นายกรัฐมนตรียังวอนให้คนไทย “ตั้งการ์ดสูง” และยังต้องใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวัง ด้วยการสวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง ไม่ไปในสถานที่เสี่ยงและสถานที่แออัด นายอนุชา กล่าวว่า ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ครั้งที่ 2/2564 ได้มีการรายงานลำดับกลุ่มเป้าหมายการให้วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ช่วงที่วัคซีนมีปริมาณจำกัด ดำเนินการในพื้นที่ที่มีการระบาด เพื่อลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต รักษาระบบสาธารณสุขของประเทศ จะดำเนินการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ผู้มีโรคประจำตัว 6 โรคกำหนด คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรังรุนแรง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง มะเร็ง เบาหวาน และโรคอ้วน ผู้ที่มีอายุ 60 […]

Banner 136 01

เปิดใจ ผศ.ดร.จุฑามาศ นายช่างหญิงแห่งวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนารถเคลื่อนที่ตรวจโควิด-19 ทันใจ

ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หรือ อาจารย์กุ้ง เป็นประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากงานสอน อีกบทบาทของอาจารย์คือ การทำงานวิจัยที่ใช้วิศวกรรมศาสตร์เป็นจุดเชื่อมโยงความรู้หลากหลายด้าน เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการแพทย์ และสุขภาพ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณการแพร่ระบาดในประเทศไทย อาจารย์กุ้ง รวมทั้งคณาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช และภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกันพัฒนา “รถกองหนุน” รถความดันบวกปลอดเชื้อ สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปตรวจ และทำหัตถการผู้ป่วยโควิด-19 รวมทั้งทำงานต่อเนื่องในการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เพื่อตรวจค้นหาเชิงรุก ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ โควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มนับหนึ่งในประเทศไทย นี่คือเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้นของภารกิจรถกองหนุน จนถึงวันที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันต้นแบบสร้างเสร็จสมบูรณ์ เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศไทย ย้อนกลับไปต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของรถความดันบวก เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ ต้องบอกว่า เป็นการวมพลังในหลายภาคส่วนของชาวจุฬาฯ ค่ะ ด้วยความที่หลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชได้ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เราจึงระดมความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มจากการพูดคุยกับคุณหมอ และพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทำให้เราพบปัญหาว่า ความที่โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner