Banner 201

‘DIP’ จับมือ ‘จุฬาฯ’ หนุนใช้ทรัพย์สินทางปัญญา สร้างเศรษฐกิจนวัตกรรม

7 ธ.ค.2564 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา (DIP) เปิดบ้านต้อนรับคณะผู้บริหารจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะ นำโดย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล หารือถึงแนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจนวัตกรรมร่วมกันแบบ “DIP-Chula One Stop Team” พร้อมผลักดันบริษัทสปินออฟจาก Deep Tech Startups สนับสนุนทรัพย์สินทางปัญญาไทยให้สามารถส่งออกไปขายในตลาดโลก พัฒนาต่อยอดขึ้นอีกระดับให้เป็นธุรกิจใหม่ของคนไทยที่สามารถทำได้ทั้งในและต่างประเทศ มิใช่จดสิทธิบัตรไว้เพื่อใช้คุ้มครองสิทธิเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังพร้อมสร้างระบบนิเวศใหม่ให้เกิดบรรยากาศของการนำทรัพย์สินทางปัญญามาใช้ในประเทศอย่างแพร่หลายในนาม “TEAM THAILAND” เพื่อก่อให้เกิดคุณค่าใหม่ทั้งในด้านการวางแนวนโยบายรัฐและการกำหนดทิศทางขับเคลื่อนของภาคอุตสาหกรรมไทยอีกด้วย ต้องจับตาดูบทบาทใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะ Agent of Change ที่พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ขยับเข้ามาเป็นโซ่ข้อกลางเชื่อมภาครัฐกับภาคเอกชนร่วมกันสร้างเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่ให้กับประเทศไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม

Banner 199ai 1

บิ๊กวิศวะ จุฬาฯ ตบเท้าเข็น ศก.ไทย แนะเร่งต่อยอดจุดแข็ง-เปิดเกมรุก New S-Curve

บิ๊กภาครัฐและเอกชนไทย ศิษย์เก่าวิศวะ จุฬาฯ ชี้แนวทางขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยหลังวิกฤตโควิด-19 แนะต่อยอดจุดแข็งภาคบริการ พร้อมกระโดดเข้าสู่โลกอุตสาหกรรมแห่งอนาคต กระทุ้งเอกชนรายใหญ่ช่วยอุ้ม SMEs เดินหน้าต่อไปพร้อมกัน เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.2564 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดงาน INTANIA DINNER TALK “มุมมองใหม่ ฝ่าเศรษฐกิจไทย ปี 2022” ณ โรงแรมดิแอทธินี เปิดเวทีให้ผู้บริหารองค์กรชั้นนำของเมืองไทยแสดงวิสัยทัศน์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก พร้อมมองอนาคตภาคพลังงาน อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า และศักยภาพตลาดหุ้นไทย ภายในงาน นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานในพิธีและองค์ปาฐก กล่าวว่า รัฐบาลได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งระบบ รวมถึงโครงข่ายดิจิทัล สร้างระบบ Ecosystem  ที่ส่งเสริมการทำธุรกิจของคนไทย พร้อมดึงดูดคนต่างชาติให้ย้ายถิ่นฐานมาประเทศไทยและเข้ามาลงทุน ซึ่งเชื่อว่าในอีก 4-5 ปีข้างหน้า จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอีกมาก โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จะเสร็จสมบูรณ์และเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างยิ่ง ทั้งนี้ มองว่าทุกวิกฤตมีโอกาสอยู่เสมอ และตอนนี้หลายคนได้คว้าโอกาสได้แล้ว มีการวางรากฐานธุรกิจเพื่อเดินหน้าต่อ แต่ก็ยังเหลือกลุ่มคนที่เปราะบางที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤตครั้งนี้ ดังนั้นจึงต้องการให้ผู้ที่มีศักยภาพดีดูแลช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ด้วย เพราะไม่ต้องการให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ขณะเดียวกัน ในการเสวนาหัวข้อ “มุมมองใหม่ ฝ่าเศรษฐกิจไทย ปี 2022” […]

Banner 198

จุฬาฯ สปินออฟ 50 สตาร์ทอัพ 1.67 หมื่นล้านบาท เร่ง “เครื่องยนต์ตัวใหม่” ฟื้นเศรษฐกิจไทยนำอาเซียนโต

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บ่มเพาะ 50 บริษัท ‘Deep Tech Startups’ มูลค่ากว่า 1.67 หมื่นล้านบาท เปิด “คลับจุฬาฯ สปินออฟ” เร่งฟื้นเศรษฐกิจไทยด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม ด้วยพิษโควิด-19 ประเทศไทยซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนจึงจำเป็นต้องมี “เครื่องยนต์ใหม่” หรือ New Growth เพื่อขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระยะยาว ล่าสุดวันนี้ (29 พ.ย.64) ในงานเปิด “Club Chula Spin-off” ณ สามย่านมิตรทาวน์ ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยในปาฐกถาพิเศษเรื่อง “เราสปินออฟ…เพื่อชาติ” ถึงแนวทางการขับเคลื่อนผลงานวิจัยและนวัตกรรมจุฬาฯ รองรับเศรษฐกิจไทยหลังผ่านวิกฤตโควิด-19 “นับเป็นโจทย์ใหญ่ที่ท้าทายประเทศไทยที่ต้องเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วง 2 ปีนี้ นอกจากการส่งออก การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว มาตรการเยียวยาและกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศแล้ว ประเทศไทยยังจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีเครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวใหม่เข้ามาเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประเทศชั้นนำของโลก จุฬาฯ จึงช่วยแก้โจทย์นี้ โดยส่งกลุ่ม Deep Tech Startups นำผลงานนวัตกรรมจากงานวิจัยของคณาจารย์และนักวิจัยจุฬาฯ จัดตั้งบริษัท […]

SDGs ทสม 01 scaled

ไม่หันหลังให้ความตั้งใจในการฟื้นฟูป่า รักษาผืนป่าด้วยกุศโลบาย “ปลูกกาแฟแก้การเผา”

“ป่าไม้” เป็นรากฐานหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากไม่มีป่า ย่อมไม่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ผืนดินย่อมแตกระแหงแห้งแล้ง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเราพูดถึงป่า บ่อยครั้งที่คนได้ยินว่าป่ากำลังถูกทำลาย แต่พวกเขาเหล่านั้นมองไม่เห็นภาพ จินตนาการความเป็นจริงไม่ออก ว่าการไม่มีป่าไม้มีผลเสียร้ายแรงอย่างไร แต่ “คุณสุชาติ สมบูรณ์เถกิง” ทสม.จังหวัดแพร่ได้เห็นภาพนั้นด้วยสายตาของเขาเอง เมื่อยุคสงเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตวมาเยือนพื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าว ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อแผ้วถางสร้างพื้นที่ทำเงิน แต่กลับเป็นการทำลายพื้นที่ทำกิน คุณสุชาติได้เดินทางขึ้นไปบนเนินเขา พบแต่ภูเขาหัวโล้นหลายลูก ปาเสื่อมโทรมและแห้งแลง ชุมชนขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก แต่สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไม่ได้ทำให้ใจของคุณสุชาติแห้งแล้งสิ้นหวัง กลับกัน มันได้จุดประกายไฟแห่งความมุ่งมั่นที่จะฟื้นคืนป่าไม้กลับคืนมาสู่พื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าวอีกครั้ง คุณสุชาติเริ่มฟื้นฟูป่าในฐานะคนธรรมดาด้วยการสร้างฝาย อาศัยเงินทุนจากการทอดผ้าป่าและกิจกรรมอื่น ๆ โดยยังไม่ได้ประสานความร่วมมือไปยังภาครัฐ รวบรวมชาวบ้าน ระดมความคิดอาศัยภูมิปัญญา นำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาใช้ เชน ไม้ไผ่ แม้จะมีเพียงชาวบ้านด้วยกันก็สามารถสร้างฝายหลวงประชารัฐได้สำเร็จ ใช้เวลากวา 7 เดือน แต่การทำงานกันเองก็มีขีดจำกัด คุณสุชาติจึงเข้าร่วมเป็น ทสม. เพื่อประสานการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้การฟื้นฟูป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระนั้น แม้การปลูกป่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่การรักษาป่าให้ดำรงอยู่ได้ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผืนป่าที่สู้ฟันฝ่าฟื้นคืนมาต้องถูกทำลายอีกครั้ง ทสม.จังหวัดแพร่จึงได้มีการหารือร่วมกับภาคประชาชนและภาครัฐ หาแนวทางป้องกันไม่ให้ผืนฝ่าถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น เพื่อลดการถางป่า คุณสุชาติจึงริเริ่มโครงการ “ปลูกกาแฟแกการเผา” […]

messageImage 1636861752376

สมการ ทสม. 1 + 1 = ?

โจทย์เลขง่าย ๆ ที่สะท้อนความสำคัญของ ทสม. วันนี้เรามีสมการเลขคณิตคิดง่าย ๆ มาชวนลับสมอง  “1 + 1 = ?” แน่นอนว่าคำตอบที่ทุกคนเตรียมไว้อยู่ในใจคือ “2” แต่หากเราจะชวนคิดกันต่ออีกสักนิดว่าเลข “1” ทั้งสองตัวที่เราเห็นในโจทย์นี้มีความหมายใดที่ลึกซึ้งแอบซ่อนอยู่ได้อีกบ้าง  อยากจะชวนให้พวกเรามอง “1” ตัวแรกเป็นเสมือนคนหนึ่งคนที่ต้องประกอบกิจการงานใด ๆ ระหว่างให้ หนึ่งคนทำกับสองคนทำ แบบไหนจะง่าย รวดเร็ว และใช้แรงน้อยกว่ากัน ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบก็ยังคงเป็นให้สองคนช่วยกันทำนั่นเอง หากเรานำสมการข้างต้นนี้มาขยายความในบริบทของงานอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มองกันในระดับที่ใหญ่ขึ้น ดูบ้าง โดยกำหนดให้เลข “1” ตัวแรกคือ “ภาครัฐ” และเลข “1” อีกตัวที่เหลืออยู่เป็น “ภาคประชาชน”  เราต่างย่อมรู้กันดีอยู่ว่า หากต่างฝั่งต่างตั้งหน้าตั้งตาทำงานของตนไปโดยไม่สนใจอีกฝั่งหนึ่งเลย จริงอยู่ที่อาจมีผลลัพธ์ปรากฏขึ้น แต่จะเทียบไม่ได้เลยกับการทำงานแบบ “1 + 1” ที่ผลลัพธ์จะออกมาดีขึ้นเป็นสองเท่าทวีคูณ ตัวแปรสำคัญจากสมการนี้จึงอยู่ที่เครื่องหมาย “+” ใครกันเล่าจะทำหน้าที่เป็นเครื่องหมายบวกที่รวมพลังของทั้งสองฝั่งผนวกรวมเข้าไว้ด้วยกัน เพราะบ่อยครั้งที่แนวทางภาครัฐไม่สอดคล้องต้องกันกับมุมมองของภาคประชาชน จึงยากจะประสานพลังให้ขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกันได้ “ทสม.” หรือ “อาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน” จึงจำเป็นต้องเข้ามาสวมบทบาทเป็นเครื่องหมายบวกนั้น […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner