จุฬาฯ จับมือ ก.สาธารณสุข แก้ปัญหาสิงห์อมควัน จัดเขตสูบหรี่คุ้มครองนิสิต-บุคลากร นำร่องปรับพฤติกรรมคนไทย
ในทุก ๆ 1 นาที ทั่วโลกมีผู้ที่ต้องปิดฉากชีวิตลงจากภัยร้ายของบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับเป็นอันดับต้น ๆ มากกว่าปีละ 5 ล้านคน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องหันหน้ามาร่วมกันดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ยอดผู้สูบบุหรี่กว่า 650 ล้านคน ไม่ต้องจบชีวิตก่อนวัยอันควร ขณะที่เมื่อหันกลับมาดูสถานการณ์ในประเทศไทยไทย ข้อมลูจากแผนงานควบคุมยาสูบในปี พ.ศ.2560-2564 เผยว่า ปัญหาการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอายุรหะว่าง 15-18 ปี ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 6.58 เป็นร้อยละ 8.25 สอดคล้องกันกับข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ระบุว่าเยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่กว่า 400,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ตลอดชีวิต หากยังได้รับการกระตุ้นจากกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่พยายามโฆษณาหลอกล่อเด็กและเยาวชนอีกด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ “นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และจัด “เขตสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะ พ.ศ. 2563” เพื่อมุ่งปรับพฤติกรรมคุมเข้มผู้สูบบุหรี่ในสถานศึกษาโดยจัดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่อาคาร สิ่งปลูกสร้าง สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ พร้อมแสดงเครื่องหมายแยกเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ให้ชัดเจน เพื่อดูแลพื้นที่ในเขตสูบบุหรี่ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมาะสม ทั้งนี้ยังได้รณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรเกิดแรงจูงใจร่วมลด ละ เลิกสูบบุหรี่ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]
พี่เก่าจุฬาฯ ส่งข้าวคึกคัก วิดยายังรั้งอันดับ 1 อักษร-บัญชีติดท้อป 5 แล้ว
20 มิ.ย. 2564 ผ่านมา 35 วันของภารกิจข้าวแสนกล่องที่ได้รับบริจาคอาหารกล่องแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 156,936 กล่อง โดย 3 อันดับแรกผู้บริจาคสูงสุดได้แก่ สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มียอดบริจาค 11,110 กล่อง การไฟฟ้านครหลวงกับยอดบริจาค 10,000 กล่อง และคณาจารย์ บุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย และผู้มีจิตศรัทธา มียอดบริจาครวม 8,300 กล่อง วันนี้ภารกิจข้าวแสนกล่องได้รับบริจาคข้าวกล่องทั้งสิ้น จำนวน 4,168 กล่อง เพื่อส่งต่อให้ผู้ที่ยังรอรับการช่วยเหลือในชุมชนแออัดพื้นที่กรุงเทพฯ นับแสนราย โดยมีผู้ร่วมบริจาคอาหารกล่องมาอย่างมากมาย อาทิ สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คณาจารย์และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหาร โรงแรม และ ผู้มีจิตศรัทธาอีกหลากหลายมาร่วมสมทบด้วย นอกจากนี้ยังนำส่งอาหารกล่องให้กับโรงพยาบาลสนามและชุมชนแออัดอีก 20 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนามราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางบางขวาง โรงพยาบาลสนามพระมงกุฏ มูลนิธิดวงประทีป มูลนิธิเพื่อนหญิง ชุมชนคลองไผ่สิงโต ชุมชนคลองเตยล็อก […]
นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95
ผศ.ดร.นพ.อมรพันธุ์ เสรีมาศพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ พร้อมด้วย ศ.นพ.สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย นายชานนทร์ เนียมก้องกิจ นายรัฐฐา วัธนะชัย จากกลุ่มบริษัท KIJ Marketing จำกัด และ ผศ.ดร.รัฐพล รังกุพันธุ์ อาจารย์ประจำสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ร่วมกันแถลงข่าว นวัตกรรมจุฬาฯ พัฒนาต้นแบบหน้ากาก N95 การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบหน้ากากอนามัย N95 เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการสำหรับทางการแพทย์ โดยเป็นชนิดขึ้นรูปที่มีการปรับปรุงเทคนิคการผลิต เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการสะท้อนน้ำ และเพิ่มความสามารถในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบนพื้นผิวของหน้ากากอนามัย N95 อีกทั้งตัวหน้ากากถูกออกแบบให้ผู้สวมใส่หายใจได้สะดวกขึ้น และพื้นผิวสัมผัสของหน้ากากช่วยลดการระคายเคืองต่อผิวหน้า พร้อมทั้งผ่านการทดสอบการรับรองมาตรฐานของหน้ากากอนามัยเบื้องต้น ได้แก่ ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาดเล็ก จากสถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาฯ ประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรีย จากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ การทดสอบการแนบสนิทของหน้ากากกับใบหน้า (Fit test) จากหน่วยควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การผ่านได้ของอากาศ และการกระจายของเปลวไฟ จากสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งหน้ากากอนามัย N95 นี้ ยังคงพัฒนาต่อยอดเพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งพาตนเองในการผลิต ให้มีคุณสมบัติที่ดี ในราคาที่เหมาะสม ลดปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย N95 ในระยะยาว ทั้งยังเป็นการลดการนำเข้าหน้ากากอนามัยจากต่างประเทศ โดยคาดว่าจะเริ่มวางจำหน่ายหน้ากากอนามัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ทางศูนย์นวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และสภากาชาดไทย ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมโครงการ “Mask for unmask” เพื่อสั่งซื้อหน้ากากอนามัย N95 ชิ้นละ 50 บาท ทุกการสั่งซื้อ 1 ชิ้น จะได้รับสิทธิ์ส่งต่อหน้ากากอนามัยอีก 1 ชิ้น เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ ที่อยู่เขตแดนไทย-พม่า รวม 10 จังหวัด โดยจะเริ่มโครงการตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2563 เป็นต้นไป ผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อได้ที่ไลน์ @ https://lin.ee/Jk3OomL ที่มา PR แพทย์จุฬาฯ ภาพหน้ากาก N95 จาก : postupnews.com
จุฬาฯ ส่ง “รถ CU กองหนุน” เสริม “State Quarantine” เข้มแข็ง นวัตกรรมป้องโควิด-19 ระลอกใหม่
เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 สถานการณ์ในหลายประเทศยังคงน่าเป็นห่วง และเสี่ยงที่เชื้อร้ายนี้จะแพร่ระบาดเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้นได้จากการเดินทางกลับประเทศของคนไทยที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในต่างแดน และชาวต่างชาติที่มีเหตุจำเป็นให้ต้องเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐบาลจึงให้ความสำคัญและออกมาตรการที่เข้มข้นเพื่อให้ State Quarantine และ Local Quarantine ภายใต้การดูแลร่วมกันของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข เป็นกลไกสำคัญช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกที่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย การบริหารจัดการ State Quarantine และ Local Quarantine เพื่อดูแลผู้ต้องกักตัวอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นที่ต้องดำเนินไปอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขและต้องมั่นใจได้ว่าทุกคนที่ต้องพำนักและปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถานที่แห่งนี้จะปลอดภัย ไร้ความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงคิดค้นและพัฒนา “รถกองหนุน” หรือ รถความดันบวก (Positive Pressure) ปลอดเชื้อ 100% อีกหนึ่งนวัตกรรมเสริมความเข้มแข็งให้กลไกการดูแลประชาชนที่ต้องกักตัวอยู่ใน State Quarantine และ Local Quarantine มีประสิทธิภาพ เป็นตัวช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่ต้องมาพำนักที่นี่ชั่วคราว ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า “การนำนวัตกรรมเข้ามาเสริมในกระบวนการการดูแลพี่น้องประชาชนที่ต้องเข้ามาอยู่ใน State Quarantine หรือ Local Quarantine […]
จุฬาฯ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันก่อนเปิดเมือง ชู “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบป้องกันโควิดระลอกใหม่
วันนี้ (1 มิ.ย. 63) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลังพันธมิตรปูพรมตรวจภูมิคุ้มกันก่อนคลายล็อกให้ชาวปัตตานีนับหมื่นด้วยชุดตรวจว่องไว ยก “ปัตตานีโมเดล” ต้นแบบจัดการชุมชนควบคุม โควิด-19 หนุนรัฐทำ Big Data รับมือระยะยาว ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้รักษาการแทนอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ปัตตานีโมเดลเป็นโครงการที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและจังหวัดปัตตานีร่วมกันพัฒนาขึ้น เราได้เรียนรู้จากงานระบาดวิทยาชุมชนของปัตตานีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา โดยใช้นวัตกรรมชุดตรวจแบบว่องไว Baiya Rapid Covid-19 IgM IgG Test Kit ผลงานของคณะเภสัชศาสตร์และบริษัทสตาร์ทอัพจุฬาฯ ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ นำร่องตรวจภูมิคุ้มกันให้ชาวปัตตานีเป้าหมายจำนวนหมื่นรายก่อนเปิดเมือง เพื่อเก็บข้อมูลจัดทำระบบ Big Data ระดับชุมชน นำมาใช้วางแนวทางสร้างนวัตกรรมเชิงป้องกันให้คนไทยตรวจทั้งประเทศเพื่อให้ทราบสภาวะการติดเชื้อโควิด-19 รองรับการระบาดระลอกต่อไปที่อาจเกิดขึ้นได้ทัน และเป็นข้อมูลในระยะยาวให้รัฐใช้วางแนวทางการบริหารจัดการ เช่น กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนก่อน กลุ่มใดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มต่อมา กลุ่มใดมีภูมิแล้ว กลุ่มใดควรตรวจก่อน เป็นต้น ซึ่งนี่ถือเป็นการนำนวัตกรรมที่เราพัฒนาขึ้นเพื่อใช้สู้กับวิกฤติโควิด-19 มาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับคนไทย ตามวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ที่จุฬาฯ พร้อมเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติในระดับโลกที่สร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสังคมไทยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ […]