อนุรักษ์ปลากระเบนเจ้าพระยา อนุรักษ์ลุ่มน้ำแม่กลอง
ปลากระเบนเจ้าพระยา (Himantura chaophraya) เป็นสัตว์น้ำจืดที่มีถิ่นอาศัยในแถบลุ่มน้ำแม่กลองที่ไหลผ่าน 9 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร และเพชรบุรี โดยเฉพาะในแหล่งน้ำสะอาดจะสามารถพบเห็นปลากระเบนเจ้าพระยาได้บ่อยครั้ง ซึ่งกลุ่มนักวิชาการต่างยกให้ปลากระเบนน้ำจืดสายพันธุ์นี้เป็นสิ่งมีชีวิตบ่งชี้ (Indicator Species) ความไม่สมดุลของระบบนิเวศน้ำจืดด้วยคุณสมบัติของปลาชนิดนี้ที่มีความไวต่อสารพิษและสภาพการเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อยู่อาศัย ซึ่งสารพิษตัวร้ายที่เป็นศัตรูกับกระเบนเจ้าพระยาไม่ว่าจะเป็นแอมโมเนีย (Ammonia, NH3) และไนไตรท์ (Nitrite, NO2–) ที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำล้วนเป็นเหตุให้ปลากระเบนเจ้าพระยาอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species) ตามประกาศของ The IUCN Red list of threatened Species (International Union for The Conservation of Nature, IUCN) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งมีพันธกิจหนึ่งที่มุ่งพัฒนา บุกเบิก ค้นคว้า […]
ธนาคารปูม้า เกาะสีชัง ต้นแบบศูนย์เรียนรู้เพิ่มทางรอดปูม้าไทยคืนสู่ท้องทะเลได้ถึงร้อยละ 60
ปูม้า เป็นสัตวน้ำเค็มที่คนไทยนิยมบริโภคกันอย่างแพร่หลายและเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้การทำประมงชายฝั่ง อีกทั้งยังเป็นวัตถุดิบหนึ่งในภาคอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อการส่งออก จากการเปิดเผยข้อมูลของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พบว่า ในปี พ.ศ. 2554 ผลผลิตปูม้าของประเทศไทยมีจำนวนทั้งสิ้น 28,800 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจราว 3,243 ล้านบาท ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึงร้อยละ 20-30 จากปี พ.ศ.2540 ที่ขณะนั้นประเทศไทยมีผลผลิตปูม้าอยู่ราว 40,000 ตันต่อปี ส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคของตลาดและอุตสาหกรรมแปรรูปเพื่อส่งออก จึงเป็นที่มาของการพัฒนาวิธีการจับปูม้าและเครื่องมือทำประมงให้มีประสิทธิภาพและมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่ชาวประมงไทยเคยใช้แร้วปูม้าแบบขอบเดียวต่างหันมาใช้ลอบปูม้าแบบพับได้และอวนลอยปูม้า อีกทั้งยังได้พัฒนาอวนลอยปูม้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นอวนแบบจมซึ่งสามารถหย่อนลงได้ถึงก้นทะเลเพื่อเพิ่มอัตราการจับปูม้าและเพิ่มโอกาสจับสัตว์น้ำพลอยจับได้ ซึ่งการดัดแปลงอุปกรณ์ในข้างต้นส่งผลให้ทรัพยากรปูม้าไทยถูกจับมาบริโภคเกินกำลังการขยายพันธุ์ของปูม้าตามธรรมชาติ จนอาจเป็นเหตุให้ปูม้าไทยใกล้สูญพันธุ์ได้ในอนาคต ด้วยเหตุนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ ซึ่งมีสถานีวิจัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและศูนย์ฝึกนิสิตอยู่ที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี จึงได้กำหนดแนวทางฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งที่ได้รับผลกระทบจากการทำประมงปูม้า โดยจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบก อำเภอเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีการเพาะพันธุ์ปูม้าแบบฟาร์มบนบก ช่วยเพิ่มอัตราการรอดของลูกพันธุ์ปูม้าจากการสลัดไข่ของแม่ปูม้า ซึ่งกลุ่มชาวประมงเรือเล็กหรือชาวประมงพื้นบ้านจะนำแม่ปูม้าที่มีไข่ติดกระดองมาฝากไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกเพื่อให้ไข่ฟักตัวเป็นลูกปูม้าวัยอ่อนแทนที่จะนำออกขายทันที นอกจากนี้ ยังมุ่งพัฒนาพ่อแม่พันธุ์ปูม้าให้สามารถผลิตตัวอ่อนที่แข็งแรงเหมาะสมต่อการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติช่วยเพิ่มสมดุลให้ประชากรปูม้าในระบบนิเวศได้อีกทางหนึ่ง มากไปกว่านั้น ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกแห่งนี้ยังทำหน้าที่สำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเป้าหมายหลักระดับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอำเภอเกาะสีชัง โดยมีธนาคารปูม้าเกิดขึ้นแล้วจำนวน 22 แห่ง และยังมีธนาคารปูม้าเกิดขึ้นตามมาในพื้นที่อำเภอใกล้เคียงภายในจังหวัดชลบุรีซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายรองอีกจำนวน 3 แห่ง ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้เรื่องประมงปูม้าของผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้คนในชุมชนเกาะสีชังเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้ธนาคารปูม้าบนบกรวมถึงร่วมกันติดตามสถานการณ์การทำประมงปูม้าในพื้นที่เกาะสีชังอีกด้วย […]
จุฬาฯ อวดสองนวัตกรรมคืนชีวิตใหม่ให้ปะการังไทย ผสมเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก พร้อมชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม
ปัญหาระบบนิเวศใต้ท้องทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วกำลังเป็นวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยพลัน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศใต้ท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติทางสภาพภูมิอากาศและการกระทำของมนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดหลากสายพันธุ์ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนบางชนิดเสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ และหนึ่งในนั้นคือ “ปะการัง” จากรายงานของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ประเมินว่าท้องทะเลหลายแห่งทั่วโลกกำลังประสบภาวะความตึงเครียดจากสภาพแวดล้อมแปรปรวนส่งผลกระทบต่อแนวปะการังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียว ปะการังทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบไปแล้วถึงร้อยละ 38 คิดเป็นพื้นที่กว่า 1.2 หมื่นตารางกิโลเมตร ซึ่งแน่นอนว่าห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลย่อมได้รับผลกระทบสืบเนื่องกันไปด้วย สอดคล้องกันกับรายงานของ Scientific Reports ที่เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2558 คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2588 หรือในอีก 25 ปี ข้างหน้า ปะการังสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เกือบถึงขีดสุด โดยอาจเหลือปะการังทั่วโลกอยู่เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น หากย้อนกลับมาติดตามสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย พบว่าระบบนิเวศทางทะเลไทยกำลังเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวขึ้น โดยช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเปิดเผยว่า บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นมีปะการังสีจางลงกว่าร้อยละ 5-30 และกลายเป็นปะการังฟอกขาวแล้วถึงร้อยละ 5-15 ซึ่งหากปล่อยไว้ยังไม่รีบแก้ไขอาจส่งผลกระทบลุกลามบานปลายทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทยเร็วกว่าที่คาดการณ์ โดยตัวเร่งให้สถานการณ์นี้ทวีความรุนแรงขึ้น นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate […]