ปลุกดาวติ๊กต็อกพลิกโฉมเมืองหลวงTikTok จับมือ กทม. สนับสนุน BKKFoodBank
เผย “คอนเทนต์สร้างสรรค์” บนแพลตฟอร์ม TikTok เป็นพลังขับเคลื่อน แนวคิด-วัฒนธรรม-การใช้ชีวิตในวิถีใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาสังคมแห่งการเกื้อหนุนที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2567 TikTok แพลตฟอร์มเอ็นเตอร์เทนเมนท์สำหรับทุกคน สานต่อความร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ดึงพลัง TikTok Top Creator และคอมมูนิตี้บนแพลตฟอร์มมาร่วมสนับสนุนต่อยอดโครงการ BKK Food Bank หรือ “ธนาคารอาหารกรุงเทพมหานคร” มุ่งขยายการเข้าถึง สร้างการตระหนักรู้ และนำพาสังคมไทยเดินหน้าสู่สังคมแห่งการเกื้อหนุนที่ยั่งยืนที่ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ง่าย ๆ เพียงเริ่มต้นจากการจัดการอาหารและสิ่งของส่วนเกินอย่างมีคุณภาพ โดยความร่วมมือนี้ กทม. และ TikTok คาดหวังว่าข้อมูลข่าวสารจะได้รับการถ่ายทอดในประเทศไทยด้วยคอนเทนต์คุณภาพ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “กรุงเทพมหานครดำเนินโครงการ BKK Food Bank ตั้งแต่ปี 2565 มีเป้าหมายสำคัญเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความมั่นคงทางอาหาร และสร้างสังคมที่ยั่งยืน ขยายการรับรู้เพื่อเข้าถึงกลุ่มคนต่าง ๆ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงขึ้นจริงในสังคม ศักยภาพและพลังคอมมูนิตี้บนแพลตฟอร์ม TikTok สามารถช่วยเติมเต็มโครงการได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีฐานผู้ใช้งานหลายล้านคนและจุดเด่นของความเป็น Entertainment […]
Food For Fighters หารือ UNDP ผุด ‘ข้าวแสนกล่อง’ ขจัดหิวโหยช่วงโควิด นิติจุฬาฯ ปิ๊งคิวอาร์โค้ดเยียวยาปัญหากฎหมาย
25 มิ.ย.64 ณ สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ เครือข่าย Food For Fighters นำโดยคุณพันชนะ วัฒนเสถียร ผศ.ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณอธิศีล ธัญญ์ ณ ป้อมเพชร ผู้ก่อตั้ง The Sharpener และ กรรมการอำนวยการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) คุณปิยาภรณ์ แสนโกศิก ผู้ก่อตั้ง บริษัท ทีพีเอ็น โกลบอล จำกัด และคุณอแมนด้า ชาลิสา ออบดัม มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2563 เข้าพบ นายเรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการ Food For Fighters ปีที่ 2 พร้อมหารือแนวทางความร่วมมือให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (The Sustainability Developmdent Goals : SDG) เป้าหมายที่ […]
“แชมพูแห้ง” item นอกกระแสที่ชุมชนกักตัว (ต้อง) ร้องขอ ในวิกฤตโควิดระบาด
ท่ามกลางภาวะวิกฤติการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา มีผู้คนมากมายต่างได้รับผลกระทบจากมาตรการที่ภาครัฐขอความร่วมมือให้ปฏิบัติตามเพื่อควบคุมสถานการณ์เร่งลดความเสี่ยงแพร่กระจายของเชื้อไวรัสในชุมชน จนทำให้ธุรกิจห้างร้านจำเป็นต้องหยุดให้บริการลงชั่วคราว หากแต่ความต้องการบริโภคของเรานั้นไม่เคยได้หยุดตาม สินค้าอุปโภคบริโภคอาหารการกินหยูกยายังคงจำเป็นต้องใช้อยู่ ในบรรดาผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่สถิติการอุปโภคไม่เคยหดตัวลงเลยนั่นคือ เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัว จากการรายงานของ Euromonitor แสดงให้เห็นว่าอัตราการเติบโตของตลาดกลุ่มนี้ยังอยู่คงที่ประมาณร้อยละ 6 ในปี 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งหลายคนอาจจะนึกถึงกลุ่มเครื่องประทินผิว สบู่ ยาสระผม หรือเครื่องสำอางแต่งเติมสีสันขึ้นมาก่อนเป็นอันดับต้น ๆ แต่เชื่อหรือไม่ว่ายังมีอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งที่เราอาจไม่คุ้นชิน หรือมีน้อยคนนักที่จะรู้จักกับ “แชมพูแห้ง” (Dry Shampoo) ซึ่งนิยมใช้กันในหมู่ผู้มีเวลาน้อยเสียจนไม่เหลือเวลาให้ได้สระผม และยังมีความสำคัญมากกับกลุ่ม “ผู้ป่วยติดเตียง” (Bed Ridden Patients) ช่วยแบ่งเบาภาระงานให้กับผู้บริบาลได้ใช้ดูแลรักษาความสะอาดสรีระร่างกายและเส้นผมของกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงได้เป็นอย่างดี ซึ่งเราต้องขอขอบคุณการสำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยในชุมชนแออัดที่ลงพื้นที่ปฏิบัติภารกิจของเครือข่าย Food For Fighters และข้อมูลตอบกลับผ่าน QR Code บนฝา “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งออกไปเพื่อเยียวยาปัญหาปากท้องจนทำให้เราทราบความต้องการนี้ แต่ก่อนที่เราจะมาพูดถึงเรื่องการใช้งานของแชมพูแห้ง เราจะพามาทำความรู้จักกับเส้นทางการพัฒนาแชมพูแห้งที่อยู่คู่กับโลกนี้มานานกว่า 8 ทศวรรษ “แชมพูแห้ง” เกิดขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี ค.ศ.1940 โดย The Stephanie Brooke Company […]
🍴หิวไหมในวันที่ต้องกักตัว?
ชวนชมรายการพิเศษ “Food for Fighters : Zero Hunger ข้าวแสนกล่อง” ภารกิจเยียวยาฝ่าวิกฤติโควิด 19 ให้ชุมชนคนต้องกักตัวด้วยอาหารกล่อง 7 เมนูอร่อยล้ำ จาก 7 เซฟชั้นนำระดับประเทศ 🍳เชฟแอนดี้ ยังเอกสกุล : ร้าน Table38🍳เชฟหนุ่ม ธนินทร จันทรวรรณ : ร้าน Chim by Siam Wisdom🍳เชฟส้ม จุฑามาศ เทียนแท้ : ร้าน Karmakamet Conveyance🍳เชฟเดวิด ทอมป์สัน : ร้าน Aksorn🍳เชฟต้น ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร : ร้าน Nusara🍳เชฟนิค ณัฏฐพล ภวไพบูลย์ : ร้านวังหิ่งห้อย🍳คุณแม่ศรีรัตน์ ศรีภิญโญ : ร้านศรีตราด วันพุธที่ 9 มิถุนายนนี้ พร้อมรังสรรค์เมนูสุดประทับใจ […]
ถอดรหัส Skincare 101: ความลับจากข้างกล่องที่คุณ (อาจ) ไม่เคยรู้
หากพูดถึงเครื่องสำอาง แน่นอนว่าทุกวันนี้คงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ไม่ว่าคุณจะเป็นเพศใดหรือวัยใดก็ตาม โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิว หรือที่เรียกันทั่วไปว่า สกินแคร์ (Skincare) ซึ่งในปี 2019 ที่ผ่านมา ก่อนที่เราจะเจอปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น โดยเฉพาะในประเทศไทยของเรา Euromonitor International เปิดเผยว่า มีมูลค่าการตลาดของสกินแคร์สูงถึง 7.1 หมื่นล้านบาท และยังมีอัตราการเติบโตของตลาดประมาณ 9% ต่อปี จากมูลค่าการตลาดนี้ เห็นได้ชัดว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนประชากรของประเทศ ค่าใช้จ่ายในการซื้อสกินแคร์โดยเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ประมาณ 7,000 บาทต่อปีเลยทีเดียว ดังนั้นในมูลค่าที่สูงขนาดนี้ การเลือกซื้อสกินแคร์สักชิ้นคงจะไม่ใช่เรื่องเล็กของใครหลายคนเป็นแน่ ไม่ใช่แค่เพียงราคาที่ต้องจ่าย แต่ว่าผลลัพธ์ที่เราคาดหวังก็คงจะไม่น้อยไปกว่าราคาเช่นกัน ซึ่งการเลือกสกินแคร์สักชิ้นคงไม่ใช่เรื่องง่าย บางคนอาจเลือกที่จะไปหาข้อมูลจาก Beauty Blogger หรืออ่านรีวิวต่าง ๆ จากช่องทางออนไลน์ บางคนก็เดินดูตามห้างสรรพสินค้า หรือเคาน์เตอร์ร้านค้าเลย ซึ่งบางครั้งอาจจะได้สกินแคร์กลับมาใช้แล้วถูกใจบ้าง ไม่ถูกใจบ้าง แต่จริง ๆ แล้วข้อมูลของผลิตภัณฑ์สกินแคร์นั้นแทบไม่ต้องไปหาจากที่ไหนไกลเลย มันถูกเขียนไว้หมดแล้วที่ข้างกล่อง หรือที่เรียกกันว่า บรรจุภัณฑ์ นี่เอง แค่อาจจะต้องมาถอดรหัส ไขข้อมูลกันหน่อยว่า มีสารอะไรบ้างที่ประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์ตัวนั้น ผลิตภัณฑ์กลุ่มสกินแคร์ มักมีลักษณะเนื้อของผลิตภัณฑ์หลัก ๆ […]