SDGs
โรงไฟฟ้าจากขยะสุดล้ำ เป็นพื้นที่สาธารณะ เล่นกีฬา ปีนผา สกี ที่สีเขียวอยู่ในเดนมาร์ก
CopenHill เป็นโรงงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนขยะจากในเมืองมาเป็นความร้อนและพลังงาน แต่ที่มากไปกว่านั้นคือโรงไฟฟ้าคือมันเป็นพื้นที่สาธารณะที่สามารถให้ทุกคนมาใช้ได้ และการที่โรงงานไฟฟ้าแห่งนี้เปิดให้ผู้คนมาใช้พื้นที่ร่วมกันได้ เป็นเหมือนสัญลักษณ์ที่บ่งบอกว่าโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้นั้นไม่ปล่อยสารพิษออกมาจากปล่องควันเลย มีเพียงแค่ไอน้ำเท่านั้นที่ถูกปล่อยออกมา โรงงานไฟฟ้า CopenHill ตั้งอยู่ในประเทศเดนมาร์ก เป็นผลงานการออกแบบโดย bjarke ingels group โดยนอกจากมันจะทำหน้าที่เป็นโรงงานไฟฟ้าและมันยังมีพื้นที่ให้เล่นกีฬาและเดินเล่นอีกด้วย แถมมันยังเป็นที่ปีนผาที่สูงที่สุดในโลกอีกต่างหาก สำหรับสายลุยชอบทำกิจกรรมกลางแจ้งหากเดินทางมาที่นี่ก็จะได้เล่นทั้งเวคบอร์ด โกคาร์ท สกี เดินป่า และปีนผาเลยทีเดียว หรือถ้าหากมาเป็นสายชิล ชอบกินลมชมวิวก็สามารถมาเพลิดเพลินได้ที่นี่เช่นกัน เพราะมันเป็นพื้นที่ราบสูงซึ่งสูงที่สุดในเมือง และมีเส้นทางที่มีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างเรียงรายเลยทีเดียวแหละ หลังคาสีเขียวขนาดยักษืนี้เป็นพื้นที่ที่มีประโยชน์หลากหลายมากทั้งช่วยดูดซับความร้อน ช่วยลดฝุ่นละออง และช่วยลดการไหลแรงของน้ำด้วย ในส่วนของการผลิตพลังงานจากขยะของโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ ในแต่ละวันพวกเขาจะได้รับขยะประมาณ 250-350 รถบรรทุก ซึ่งขยะเหล่านี้จะถูกนำมารวบรวมในหลุมเพื่อรอนำเข้าเตาเผา ซึ่งในกระบวนการเผานี้จะได้เป็นพลังงานความร้อนที่ทำให้น้ำเดือด และไอน้ำที่ได้จากน้ำเหล่านี้ก็จะไปทำให้กังหันทำงาน ซึ่งในกระบวนการผลิตพลังงานเหล่านี้แน่นอนว่าจะต้องเกิดสารพิษ แต่โรงงานแห่งนี้นั้นมีระบบภายในที่จะไม่ปล่อยสารพิษออกสู่แวดล้อมภายนอกเลย .นับว่าเป็นไอเดียที่บรรเจิดมากเพราะนอกจากจะสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้นว่าโรงงานไฟฟ้าแห่งนี้ไม่ก่อมลพิษให้แก่โลก แล้วยังสามารถสร้างพื้นที่สาธาณะให้ผู้คนออกมาใช้งานได้ร่วมกันอีกด้วย ที่มา : https://www.designboom.com/…/bjarke-ingels-group…/https://www.youtube.com/watch?v=pOqocj2h6EMhttps://www.designboom.com/…/bjarke-ingels-group…/https://www.copenhill.dk/enhttps://www.facebook.com/environman.th/posts/3166178603510565
สิ่งที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช
ตลอดระยะเวลากว่า 9 เดือนที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ล่าสุด (22 ก.ย. 63) สถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง มียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นถึง 31,196,543 ราย ในจำนวนนี้รักษาตัวหายแล้ว 21,348,410 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 962,793 ราย โดยอินเดียเป็นประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงที่สุดในโลก และเมื่อขยับเข้ามาใกล้ในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยทั้งเมียนมาและมาเลเซียเองต่างยังคงต้องปิดประเทศและกำลังรับมือกับยอดผู้ป่วยสะสมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลังเกิดการระบาดครั้งใหม่ ทางด้านฟิลิปปินส์เองก็มีสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงสุดถึง 3,447 ราย ทำให้ขณะนี้ยอดรวมผู้ติดเชื้อแดนตากาล๊อกมีทั้งสิ้น 290,190 รายแล้ว หันมาดูแดนอิเหนาอินโดนีเซียแม้จะมีแนวโน้มยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง แต่ยอดผู้ติดเชื้อสะสมยังอยู่ในระดับสูงถึง 248,852 ราย โดยเมื่อดูสถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้านของเราแล้ว แม้เราจะควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไว้ได้อย่างเข้มแข็งผ่านมาตรการต่าง ๆ แต่ก็มิอาจจะอยู่รอดได้อย่างโดดเดี่ยว เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยนอกจากจะต้องพึ่งพาการส่งออกแล้ว ยังต้องพึ่งพาเม็ดเงินจากนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายแสนล้านบาทต่อปี นอกจากการรักษาผู้ติดเชื้อจำนวนมากไปตามอาการเท่าที่จะมีองค์ความรู้และเวชภัณฑ์จะช่วยประคองสถานการณ์ไปได้ระดับหนึ่ง แต่การป้องกันผู้ที่ยังแข็งแรงดีอยู่อีกนับล้านคนให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคน่าจะเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติที่ทุกคนเฝ้ารอ “วัคซีนป้องกันโควิด-19” จึงเป็นคำตอบที่ช่วยกอบกู้สถานการณ์ร้ายให้กลับกลายดี เราจึงได้เห็นความพยายามและความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนหลากรูปแบบจากหลายประเทศทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน แม้ว่าเร็ว ๆ นี้จะมีข่าวดีจากรัสเซียที่ประกาศใช้วัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19“Sputnik-V” ไปแล้วเป็นชาติแรกของโลกก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ากำลังการผลิตวัคซีนจะสามารถตอบสนองได้ทุกความต้องการได้ทันทีทันใดในเมื่อพลเมืองโลกมีมากถึงเกือบ 7 พันล้านคน แล้วคนชาติใดกันเล่าจะเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ก่อน และคนไทยอย่างเรามีสิทธิ์จะได้รับวัคซีนกับเขาด้วยหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังเฝ้าลุ้นกันอยู่ จนเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีอีกหนึ่งความคืบหน้าซึ่งเป็นความหวังที่พาให้คนไทยใจชื้น เมื่อสตาร์ทอัพสัญชาติไทย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” นำโดย รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คู่หู Co-founder พ่วงดีกรีอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก The Sharpener จึงไม่อยากให้คุณพลาดอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญนี้ของวงการสาธารณสุขไทยที่อาจเป็นนิยามใหม่ของวงการพัฒนาวัคซีนโลก กับ “7 สิ่งที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช” 1. ใบยา ไฟโตฟาร์ม คือ สตาร์ทอัพสัญชาติไทย […]
Innovations for Society เคล็ดลับจุฬาฯ ส่งสตาร์ทอัพช่วยชาติ
“Innovations for Society” คือ วิสัยทัศน์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้เป็นเข็มทิศนำทาง ภายใต้การนำของ “ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์” อธิการบดี 2 สมัย ซึ่งเริ่มปรากฏผลสัมฤทธิ์เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาคนไทยเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดในงาน “HEALTHCARE 2020 สุขภาพดี วิถีใหม่ ใจชนะ” เมื่อวันที่ 3-6 ก.ย. 63 จัดโดยเครือมติชนและพันธมิตร ได้นำนวัตกรรมความก้าวหน้าทางการแพทย์ในยุคโควิด-19 มาอัพเดทให้คนไทยได้อุ่นใจ ซึ่งแน่นอนว่า นวัตกรรมจุฬาฯ นั้นโดดเด่นสมกับที่เป็นมหาวิทยาลัยติดอันดับ TOP100 ของโลก เราจึงได้ใช้โอกาสนี้พูดคุยกับท่านอธิการบดีจุฬาฯ ติดตามความก้าวหน้าของนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงภายใต้แนวคิด “CHULA FUTURE HEALTH” ซึ่งสอดรับกับสาระสำคัญของงานที่มุ่งเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพของคนไทยเป็นหลัก เราจึงได้เห็นนวัตกรรมเพื่อการดูแลสุขภาพคนไทยในยุคที่ยังต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับโควิด-19 ที่พัฒนาโดยทีมสตาร์ทอัพจุฬาฯ ได้แก่ BAIYA Phytopharm, Nabsolute, Haxter, CU RoboCOVID และ TANN D กันอย่างใกล้ชิด Innovations for Society เป็นจริงได้ด้วยการผนึกกำลังเครือข่ายพันธมิตร […]
ปตท. ประกาศจับมือ Plug and Play ก้าวสำคัญขององค์กรไทยในวันที่สตาร์ทอัพเบ่งบาน
หากเราย้อนมองไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อาจกล่าวได้ว่าเป็นยุครุ่งเรืองอย่างที่สุดของกลุ่มบริษัทสตาร์ทอัพ หลากหลายนวัตกรรมจากองค์กรขนาดเล็ก แต่ศักยภาพไม่ธรรมดาเหล่านี้ได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญ ทั้งภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจ รวมไปถึงการเข้ามาทำให้วิถีชีวิตของผู้คนสะดวกยิ่งขึ้นกว่ายุคไหนๆ กลายเป็นรูปแบบการเติบโตของธุรกิจที่หลายฝ่ายให้ความสนใจ อย่างในบ้านเรา ก็มีการขยับตัวครั้งสำคัญ ที่นำโดยกลุ่มบริษัทยักษ์ใหญ่ของไทย อย่าง “ปตท.” ที่ได้ประกาศความร่วมมือกับ “Plug and Play” บริษัทผู้พัฒนาและบ่มเพาะธุรกิจสตาร์ทอัพระดับโลกจาก Silicon Valley สหรัฐอเมริกา ซึ่งผ่านการลงทุนในสตาร์ทอัพที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว ทั้ง PayPal, Dropbox และ Lending Club พร้อมวางเป้าหมายในการพัฒนาสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยตามแนวคิด PTT หรือ “Powering Thailand’s Transformation” ความน่าสนใจของการร่วมมือครั้งนี้อยู่ตรงที่ บริษัทของไทยจะได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในแพลตฟอร์มนวัตกรรมที่น่าเชื่อถือและใหญ่โตที่สุดของโลกอย่าง Plug and Play ซึ่งมีประสบการณ์ดูแลสตาร์ทอัพด้วยระบบ Ecosystem ที่แข็งแกร่ง และถูกพัฒนามาอย่างยาวนาน ด้วยการให้บริการที่รอบด้าน ได้แก่ Accelerator Program กับสตาร์ทอัพกว่าปีละ 50 ครั้ง ผ่านสาขาที่ตั้งอยู่ใน 32 เมืองทั่วโลก Plug and […]
ถอดบทเรียนเฉิงตู Green Corridor ดักฝุ่น กรองมลพิษ ให้วิภาวดี
สร้างความฮือฮา กระตุกต่อมอิจฉาให้คนอื่นได้ตลอด สำหรับพี่ใหญ่ของเอเชียอย่างจีน ที่ล่าสุดเปิดตัว Green Corridor โครงการนำไม้เลื้อยมาปลูกตามแนวเสาทางด่วน เพื่อช่วยดักจับฝุ่น กรองมลพิษทางอากาศในเมืองเฉิงตู ที่นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ยังสร้างบรรยากาศร่มรื่นสบายตาให้กับผู้คนในเมืองได้อีกด้วย ตัดภาพมาที่กรุงเทพมหานคร เมืองน่าเที่ยวอีกแห่งของโลก เมืองหลวงที่เป็นหน้าเป็นตาของคนทั้งประเทศ แหล่งปากท้องของคนไทย ศูนย์รวมความศิวิไลซ์ของชาติ กับภาพโทลเวย์วิภาวดี ที่คุ้นชินด้วยคราบเขม่าสีดำเมื่อมใต้สะพาน ที่ไม่เคยผ่านการล้างทำความสะอาดเลย! ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ภาพเสาทางด่วนสีเขียวด้วยเถาไม้เลื้อยของเมืองเฉินตู ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า หากกรุงเทพฯถอดบทเรียนโครงการ Green Corridor มาประทับลงบนเสาทางด่วนเก่าคร่ำครึบนโทลเวย์วิภาวดี ภาพลักษณ์ของกรุงเทพฯ คงสบายหูสบายตาขึ้นอีกไม่น้อย ที่สำคัญปัญหาฝุ่นละอองที่เป็นหอกข้างแคร่คู่คนกรุงเทพฯ มาโดยตลอดคงได้รับการเยียวยาบ้างไม่มากก็น้อย…..ให้กันได้ไหม โทลเวย์ในฝันของคนเมือง. ที่มาภาพ https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/1755753 https://th.wikipedia.org
จุฬาฯ ส่ง “รถ CU กองหนุน” เสริม “State Quarantine” เข้มแข็ง นวัตกรรมป้องโควิด-19 ระลอกใหม่
เกาะติดสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 สถานการณ์ในหลายประเทศยังคงน่าเป็นห่วง และเสี่ยงที่เชื้อร้ายนี้จะแพร่ระบาดเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้นได้จากการเดินทางกลับประเทศของคนไทยที่ออกไปปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ ในต่างแดน และชาวต่างชาติที่มีเหตุจำเป็นให้ต้องเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร รัฐบาลจึงให้ความสำคัญและออกมาตรการที่เข้มข้นเพื่อให้ State Quarantine และ Local Quarantine ภายใต้การดูแลร่วมกันของกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข เป็นกลไกสำคัญช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากภายนอกที่อาจเป็นตัวเร่งให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย การบริหารจัดการ State Quarantine และ Local Quarantine เพื่อดูแลผู้ต้องกักตัวอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำเป็นที่ต้องดำเนินไปอย่างถูกต้องตามหลักสาธารณสุขและต้องมั่นใจได้ว่าทุกคนที่ต้องพำนักและปฏิบัติหน้าที่อยู่ในสถานที่แห่งนี้จะปลอดภัย ไร้ความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ จึงคิดค้นและพัฒนา “รถกองหนุน” หรือ รถความดันบวก (Positive Pressure) ปลอดเชื้อ 100% อีกหนึ่งนวัตกรรมเสริมความเข้มแข็งให้กลไกการดูแลประชาชนที่ต้องกักตัวอยู่ใน State Quarantine และ Local Quarantine มีประสิทธิภาพ เป็นตัวช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถดูแลได้อย่างใกล้ชิด และเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ที่ต้องมาพำนักที่นี่ชั่วคราว ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวเสริมว่า “การนำนวัตกรรมเข้ามาเสริมในกระบวนการการดูแลพี่น้องประชาชนที่ต้องเข้ามาอยู่ใน State Quarantine หรือ Local Quarantine […]
News Update
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 15 ก.ค. 64
วันที่ 15 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 9,186 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 371,217 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 105,093 ราย หายแล้วจำนวน 266,124 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 5,543 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 98 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 3,023 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 14 ก.ค. 64
วันที่ 14 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 9,317 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 362,031 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 101,450 ราย หายแล้วจำนวน 260,581 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 5,129 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 87 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,925 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 13 ก.ค. 64
วันที่ 13 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 8,685 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 352,714 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 97,262 ราย หายแล้วจำนวน 255,452 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 3,797 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 56 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,838 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 12 ก.ค. 64
วันที่ 12 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 8,656 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 344,029 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 92,374 ราย หายแล้วจำนวน 251,655 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 3,687 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 80 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,782 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 11 ก.ค. 64
วันที่ 11 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 9,539 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 335,373 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 87,405 ราย หายแล้วจำนวน 247,968 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 4,053 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 86 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,712 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 10 ก.ค. 64
วันที่ 10 ก.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 9,326 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 325,834 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 81,919 ราย หายแล้วจำนวน 243,915 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 3,841 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 91 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 2,626 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข