SDGs
จุฬาฯ จับมือ ก.สาธารณสุข แก้ปัญหาสิงห์อมควัน จัดเขตสูบหรี่คุ้มครองนิสิต-บุคลากร นำร่องปรับพฤติกรรมคนไทย
ในทุก ๆ 1 นาที ทั่วโลกมีผู้ที่ต้องปิดฉากชีวิตลงจากภัยร้ายของบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับเป็นอันดับต้น ๆ มากกว่าปีละ 5 ล้านคน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องหันหน้ามาร่วมกันดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ยอดผู้สูบบุหรี่กว่า 650 ล้านคน ไม่ต้องจบชีวิตก่อนวัยอันควร ขณะที่เมื่อหันกลับมาดูสถานการณ์ในประเทศไทยไทย ข้อมลูจากแผนงานควบคุมยาสูบในปี พ.ศ.2560-2564 เผยว่า ปัญหาการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอายุรหะว่าง 15-18 ปี ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 6.58 เป็นร้อยละ 8.25 สอดคล้องกันกับข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ระบุว่าเยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่กว่า 400,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ตลอดชีวิต หากยังได้รับการกระตุ้นจากกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่พยายามโฆษณาหลอกล่อเด็กและเยาวชนอีกด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ “นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และจัด “เขตสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะ พ.ศ. 2563” เพื่อมุ่งปรับพฤติกรรมคุมเข้มผู้สูบบุหรี่ในสถานศึกษาโดยจัดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่อาคาร สิ่งปลูกสร้าง สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ พร้อมแสดงเครื่องหมายแยกเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ให้ชัดเจน เพื่อดูแลพื้นที่ในเขตสูบบุหรี่ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมาะสม ทั้งนี้ยังได้รณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรเกิดแรงจูงใจร่วมลด ละ เลิกสูบบุหรี่ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]
“MDCU Let’s Talk” น้องหมอจุฬาฯ เลิกเครียด ส่งรุ่นพี่ คุยเสริมสุข นอกห้องเรียน
แพทย์ จุฬาฯ จัด “MDCU Let’s Talk” ส่งแพทย์รุ่นพี่และนักจิตวิทยาให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตกับนิสิตแพทย์ทุกชั้นปี คลายภาวะกดดันจากการเรียน หวังส่งบัณฑิตถึงฝั่งยกรุ่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ใส่ใจสุขภาพจิตนิสิตแพทย์ที่มีความเสี่ยงเกิดปัญหาสุขภาพจิตจากภาวะเครียดจากการเรียน จึงได้จัดโครงการ “สร้างเสริมสุขภาพจิตเพื่อการเรียนในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตอย่างมีความสุข” (MDCU Let’s Talk)” บริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตแก่นิสิตแพทย์ทุกชั้นปีผ่านการเข้ารับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive and Behavioral Therapists) โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชศาสตร์ และนักจิตวิทยาการศึกษา ผศ. นพ.ณัทธร พิทยรัตน์เสถียร วิทยากรประจำโครงการเผยว่า “หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ใช้ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตรกว่า 6 ปี เนื้อหาสาระในแต่ละรายวิชามีปริมาณมากและค่อนข้างยากเมื่อเทียบกับกรอบระยะเวลา และมักสร้างความท้อแท้ หมดกำลังใจระหว่างเรียน จนนิสิตแพทย์เกิดภาวะเครียดสะสม บางรายมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วยอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ซึ่งเราพอจะเห็นได้อยู่เนือง ๆ จากการดำเนินงานของโครงการ MDCU Let’s Talk ในปีที่ผ่านมา มีนิสิตแพทย์ให้ความสนใจขอเข้ารับบริการ จำนวน 43 คน และปีการศึกษา 2561 จำนวน 54 คน ซึ่งหลังจากติดตามผลการเข้ารับคำปรึกษาจากนักจิตวิทยาและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งส่วนใหญ่เป็นรุ่นพี่ […]
ศึกษาธิการปั้น “ชลกร” ช่วยบริหารจัดการน้ำ
“น้ำแล้ง” อีกหนึ่งปัญหาของประเทศไทยที่ทุกรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและพยายามแก้ไขปัญหา เพราะเมื่อพื้นที่ไหนขาดแคลนน้ำล้วนก่อให้เกิดความลำบากต่อทุกส่วน โดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกร การทำการเกษตรทุกรูปแบบต้องอาศัยน้ำเป็นส่วนสำคัญทั้งสิ้น เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 63 กระทรวงศึกษาธิการ “วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี” และ”คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ)” เปิด“โครงการบริหารจัดการน้ำโดยชุมชน ตามแนวพระราชดำริ” ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธินโยบายสาธารณะไทยเบื้องต้น 100 ล้านบาท ในการสร้าง “ชลกร” คนรุ่นใหม่ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการน้ำในชุมชนต่างๆ พร้อมทั้งสร้างโมเดลต้นเเบบการกักเก็บน้ำรองรับน้ำฝน บนพื้นที่อาชีวะเกษตรก่อนขยายผลไปยังชุมชนโดยรอบ การขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ “ชุมชนต้องมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ” โดยจะมีการสนับสนุนให้องค์ความรู้ และกระทรวงศึกษาจะใช้กลไกของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีทั้ง 47 แห่ง และโรงเรียนการศึกษาพิเศษอีก 176 แห่งทั่วประเทศเป็นศูนย์เรียนรู้ที่สำคัญ ทั้งนี้หลักสูตรสร้างชลกร จะเป็นการสร้างผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ เพื่อช่วยสอนชาวบ้านให้มีความรู้เรื่องการจัดการน้ำในชุมชนด้วยตนเอง และสร้างประโยชน์จากแหล่งน้ำเพื่อชีวิตที่พอเพียง โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือแก้ปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืนให้สามารถดำเนินการต่อเองได้ ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษากำลังออกแบบหลักสูตรดังกล่าว เพื่อให้แต่ละวิทยาลัยได้นำไปจัดการเรียนการสอน สร้างชลกรในสถานศึกษา หน้าที่ของชลกรชุมชน ชลกรชุมชน หรืออาสาสมัครคนปลูกน้ำ เป็นบุคคลต้นแบบด้านการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน ที่ได้เข้ารับการถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านการบริหารจัดการน้ำตามศาสตร์พระราชาแล้วและนำองค์ความรู้ที่ได้รับกลับไปถ่ายทอดให้กับชาวบ้านและคนในชุมชน โดยเน้นการมีส่วนร่วม เน้นให้ชาวบ้านลงมือปฏิบัติเองได้ เพื่อยกระดับชุมชน ให้มีน้ำใช้ แก้แล้ง แก้จน ยกระดับคุณภาพชีวิตให้อยู่ได้อย่างพอเพียงและยั่งยืน หลักสูตรชลกร จะเป็นการจัดการเรียนการสอน การสร้างนักบริหารจัดการน้ำ ผู้เชี่ยวชาญน้ำให้เกิดเป็นรูปธรรมชัดเจน และได้ลงไปช่วยเหลือชาวบ้านในชุมชนของตนเอง […]
เปิดใจ ผศ.ดร.จุฑามาศ นายช่างหญิงแห่งวิศวฯ จุฬาฯ ผู้พัฒนารถเคลื่อนที่ตรวจโควิด-19 ทันใจ
ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ หรือ อาจารย์กุ้ง เป็นประธานหลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากงานสอน อีกบทบาทของอาจารย์คือ การทำงานวิจัยที่ใช้วิศวกรรมศาสตร์เป็นจุดเชื่อมโยงความรู้หลากหลายด้าน เพื่อประดิษฐ์นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหาด้านการแพทย์ และสุขภาพ เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ขณะที่ไวรัสโควิด-19 ส่งสัญญาณการแพร่ระบาดในประเทศไทย อาจารย์กุ้ง รวมทั้งคณาจารย์จากสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวช และภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกันพัฒนา “รถกองหนุน” รถความดันบวกปลอดเชื้อ สำหรับให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปตรวจ และทำหัตถการผู้ป่วยโควิด-19 รวมทั้งทำงานต่อเนื่องในการพัฒนา “รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ” เพื่อตรวจค้นหาเชิงรุก ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาด ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ โควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มนับหนึ่งในประเทศไทย นี่คือเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้นของภารกิจรถกองหนุน จนถึงวันที่รถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษคันต้นแบบสร้างเสร็จสมบูรณ์ เพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศไทย ย้อนกลับไปต้นปี 2563 ที่เกิดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ในประเทศไทย จุดเริ่มต้นของรถความดันบวก เกิดขึ้นได้อย่างไรครับ ต้องบอกว่า เป็นการวมพลังในหลายภาคส่วนของชาวจุฬาฯ ค่ะ ด้วยความที่หลักสูตรสหสาขาวิชาวิศวกรรมชีวเวชได้ทำงานกับผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา เราจึงระดมความคิดเพื่อสร้างนวัตกรรมช่วยบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มจากการพูดคุยกับคุณหมอ และพยาบาลที่ดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทำให้เราพบปัญหาว่า ความที่โควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ […]
จุฬาฯ ชูเพศเท่าเทียม ติวเข้มแม่วัยใส คลอดคู่มือสุขภาพคนข้ามเพศ
เพราะความรู้เรื่องทางเพศในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปไกลกว่าที่เคย ทั้งการศึกษาธรรมชาติของความเป็นเพศมนุษย์ด้านกายวิภาค สรีระ และพฤติกรรม จนองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) ได้มีประกาศออกมาว่า “มนุษย์มีโอกาสที่จะเจ็บป่วยหรือทนทุกข์ทรมานได้จากความเป็นเพศมนุษย์เอง” และจัดให้เรื่องทางเพศเป็นหนึ่งในเรื่องสุขภาพอนามัย (Health) ของมนุษย์ พร้อมเรียกร้องให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจัดให้มีบริการด้านสุขภาพทางเพศ (Sexual Health Service) ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ การส่งเสริมสุขภาพ (Promotive Care) การป้องกันโรค (Preventive Care) การรักษาโรค (Curative Care) และการฟื้นฟูสมรรถภาพ (Rehabilitative Care) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพทางเพศที่อาจเกิดขึ้น นำไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดี ชีวิตมีความสุขจากความปลอดภัยทางเพศ หรือที่เรียกว่า สุขภาวะทางเพศที่ดี (Sexual well-being) เมื่อมองย้อนกลับมาดูสถานการณ์ทางเพศในประเทศไทย พบว่าปัญหาการเพิ่มประชากรจากการมีบุตรมากและมีบุตรถี่ขึ้นอยู่ในสภาพที่ไม่สมดุลกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมระดับชาติและกำลังสร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและสุขภาพอนามัยของคนในครอบครัวแบบองค์รวม จากการสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2560 พบว่า “ปัญหาแม่วัยใส” วัยรุ่นหญิงไทยตั้งครรภ์และคลอดบุตรในวัยรุ่นโดยเฉพาะช่วงอายุ 10-19 ปี นั้น มีทั้งสิ้น 84,578 ราย ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่าในแต่ละวันจะมีทารกที่เกิดขึ้นจากวัยรุ่นหญิงกลุ่มนี้เฉลี่ยสูงถึงวันละ 232 ราย […]
News Update
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 7 ส.ค. 64
วันที่ 7 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 21,838 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 707,659 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 213,444 ราย หายแล้วจำนวน 489,586 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 21,108 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 212 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 6,057 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 6 ส.ค. 64
วันที่ 6 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 21,379 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 613,686 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 117,785 ราย หายแล้วจำนวน 495,901 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 22,172 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 191 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 5,845 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 5 ส.ค. 64
วันที่ 5 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 20,920 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 592,307 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 118,578 ราย หายแล้วจำนวน 473,729 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 17,926 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 160 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 5,654 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 4 ส.ค. 64
วันที่ 4 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 20,200 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 571,387 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 115,584 ราย หายแล้วจำนวน 455,803 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 17,975 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 188 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 5,494 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 3 ส.ค. 64
วันที่ 3 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 18,901 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 551,187 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 113,359 ราย หายแล้วจำนวน 437,828 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 18,590 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 147 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 5,306 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 วันที่ 2 ส.ค. 64
วันที่ 2 ส.ค. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 17,970 ราย โดยมียอดผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมรวม 532,286 ราย แบ่งเป็นกำลังรักษา 113,048 ราย หายแล้วจำนวน 419,238 ราย มีผู้รักษาหายเพิ่ม 13,919 ราย มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่ม 178 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสม 5,159 ราย. ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข