อลังการงานวิ่งแห่งปี ‘Intania Run’จุฬาฯ ครึ่งหมื่นวิ่งฉลองวิศวฯ 111 ปีขน 50 เมนูดังเสิร์ฟอิ่มจุใจ สุดเซอร์ไพรส์แจกไอโฟน 15
วิศวจุฬาฯ จัดใหญ่ “Chula Intania Run 2024” นักวิ่งกว่า 5 พันคน หลั่งไหลประลองฝีเท้า วิ่งทั่วจุฬาฯ ผ่าสยาม เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2567 สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สวจ.) ผนึกกำลังคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และคณะกรรมการนิสิตวิศวจุฬาฯ (กวศ.) จัดงานวิ่งการกุศล “Chula Intania Run 2024” ฉลองนับถอยหลังเข้าสู่ 111 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และนำรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายสมทบทุนพัฒนาคณะและกิจกรรมนิสิตสร้างสรรค์สังคม โดยได้รับความสนใจจากนิสิต นิสิตเก่าวิศวจุฬาฯ พร้อมประชาคมจุฬาฯ และประชาชนที่รักสุขภาพ ออกมาร่วมกิจกรรมมากกว่า 5,000 คนแบ่งเป็น 2 ระยะการแข่งขัน ได้แก่ ระยะ 10.111 กม. และระยะ 3.711 กม. เริ่มออกสตาร์ตปล่อยตัวจากหน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งแต่เวลา 5.30 น. วิ่งผ่านแลนด์มาร์คสวยงามอย่างสนามหน้าพระบรมรูปสองรัชกาล […]
ชวนโหลดแอ๊พใหม่ “CFiD”วิศวฯ จุฬาฯ ล้ำไปอีกขั้นเตรียมคนไทยพร้อมมุ่งสู่ Net Zero
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาบลัย ร่วมกับ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน (CBiS) เปิดตัวแอปพลิเคชัน CFiD (Carbon Footprint in Daily life) ชวนประชาคมจุฬาฯ ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมประจำวันของตนเองมุ่งสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีมลงพื้นที่ตลาดนัดจุฬาฯ ณ ศาลาพระเกี้ยว จัดกิจกรรมรณรงค์ชวนชาวจุฬาฯ และผู้ที่สนใจสายกรีนร่วมภารกิจรักษ์โลก ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกง่าย ๆ เพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “CFiD” (Carbon Footprint in Daily life) ชวนดาวน์โหลดแอปพลิเคชันบันทึกและติดตามคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เพื่อส่งเสริมการปรับพฤติกรรมนำไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในกิจกรรมประจำวันที่เชื่อมโยงไปกับภารกิจมุ่งลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ภายในองค์กรจนบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ของประเทศไทยต่อไป ศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ […]
นิติจุฬาฯ จับมือหน่วยงานกฎหมายชั้นนำพานิสิตยุคใหม่พุ่งออกนอกกรอบการศึกษากฎหมายแบบเดิม
เมื่อวันที่ 23 พ.ย.2566 ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดี จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนสร้างเสริมวิชาการทางนิติศาสตร์และพัฒนาทักษะวิชาชีพสำหรับนักกฎหมาย ระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ หน่วยงานภาครัฐและสำนักกฎหมายเอกชน ได้แก่ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ, สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด, Chandler MHM, DLA PIPER, HERBERT SMITH FREEHILLS, KUDUN & PARTNERS, RAJAH & TANN ASIA, Thanathip & Partners, Tilleke & Gibbins, NISHIMURA & ASAHI และ WEERAWONG C&P ท่ามกลางแขกผู้มีเกียรติร่วมเป็นสักขีพยานคับคั่ง การลงนามในบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของความร่วมมือ เพราะคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านกฎหมายชั้นนำทั้งในระดับนานาชาติ และระดับชาติมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงกว่า 6 ปีที่ผ่านมา พิธีในวันนี้จึงเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความร่วมมือกันระหว่างสถาบันการศึกษากับหน่วยงานวิชาชีพที่มีอยู่อย่างเข้มข้น […]
ส่อวิกฤตน้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายเร็วจุฬาฯ หวั่นโลกเดือดลามหนักเตรียมส่งนักวิจัยเฝ้าระวังขั้วโลกใต้
จากความร่วมมือภายใต้โครงการวิจัยขั้วโลกของมูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทำให้ประเทศไทยสามารถส่งนักวิจัยหลายรุ่นร่วมคณะไปกับทีมนักวิจัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อศึกษาและสำรวจสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงในหลายพื้นที่ทั่วโลก โดยเฉพาะพื้นที่ทุ่งน้ำแข็งอาร์กติก ขั้วโลกเหนือและแอนตาร์กติก้า ขั้วโลกใต้ ล่าสุดในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คณะสำรวจนานาชาติกว่าร้อยชีวิตได้เดินทางกลับจากการออกสำรวจในอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ โดยครั้งนี้ไปกับเรือตัดน้ำแข็งสัญชาติจีน “ซูหลง 2” ซึ่งเป็นปีแรกที่สามารถเดินทางไปถึงขั้วโลกเหนือ ณ ละติจูด 90 องศาได้สำเร็จ ซึ่งนั่นเป็นสัญญานบ่งชี้ว่าน้ำแข็งขั้วโลกบางลงกว่าปีก่อน ๆ มาก และน้ำแข็งที่ละลายไปสามารถคืนกลับมาแข็งตัวได้น้อยลง ซึ่งสถานการณ์นี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชนา ชวนิชย์ อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ และรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนักวิจัยไทยผู้เปิดประตูสู่งานวิจัยสภาพภูมิอากาศขั้วโลกคนแรกของไทยและเคยออกสำรวจทั้งขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้มาแล้วหลายครั้งให้ความเห็นว่า “การที่เรือตัดน้ำแข็งของจีนเดินทางเข้าถึงจุดที่เป็นขั้วโลกเหนือได้เป็นครั้งแรกและไม่ยากนักเป็นสัญญานเตือนภัยล่วงหน้าให้คนทั้งโลกทราบว่าบริเวณขั้นโลกขณะนี้ได้สะสมก๊าซเรือนกระจกไว้แล้วในปริมาณที่สูงมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้รับผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนนั้นทวีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งจึงละลายเร็วกว่าที่เราคาดการณ์กันไว้และจะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเร็วขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งการสำรวจวิจัยทางสมุทรศาสตร์เราได้เก็บตัวอย่างคุณภาพน้ำทะเล ดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ทะเลบางชนิด มาเพื่อตรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันเปรียบเทียบกับในช่วงเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้เรายังได้รับรายงานว่านักวิจัยได้พบหมีขาว วอลรัส และวาฬนำร่อง ระหว่างการออกสำรวจครั้งนี้ซึ่งล้วนเป็นสัตว์ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำแข็งละลายเร็วทั้งสิ้น” โดยการออกสำรวจรอบนี้กินเวลายาวนานกว่า 3 เดือน และประเทศไทยมีตัวแทนนักวิจัย 2 ท่าน ร่วมเดินทางไปกับคณะด้วย นายอานุภาพ พานิชผล […]
นักวิจัยไทยสุดเจ๋งคว้า 2 เหรียญทองเวทีโลก
เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา คนไทยได้เฮกันอีกครั้ง เมื่อนักวิจัยไทยได้พาธงไตรรงค์โบกสะบัดบนเวทีโลกได้สำเร็จกลางงาน Seoul International Invention Fair 2023 (SIIF) ณ COEX กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ประกาศศักดาตอกย้ำให้โลกได้รู้ว่าคนไทยก็ไม่แพ้ชาติใดในโลกเช่นกัน ปีนี้ประเทศไทยนำโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) ได้คัดเลือกนักวิจัยและนักประดิษฐ์ไทยที่มีศักยภาพถึง 200 คน เป็นตัวแทนประเทศนำผลงานเข้าประกวดแข่งขันในรายการระดับโลกนี้ ผลปรากฏว่าหนึ่งในนักวิจัยหัวหมู่ทะลวงฟันของไทย คือ ดร.เดวิด มกรพงศ์ จาก Inno VitalTech บริษัทสปินออฟดาวรุ่งสายวิทยาศาสตร์สุขภาพสามารถพิชิตรางวัลวิจัย วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรมกลับมาฝากพี่น้องชาวไทยได้ถึง 2 เหรียญทอง 1 เหรียญทองแดง และ 1 รางวัลพิเศษ โดยรางวัลระดับเหรียญทองแรก มาจากผลงานการพัฒนาสารสำคัญจากดอกดาวเรืองที่มีสารลูทีนและซีเซนทีนคุณภาพสูงและการทดสอบประสิทธิภาพทางดวงตาที่สามารถลดอาการตาแห้งและลดอาการไม่สบายตาได้ภายใน 30 วัน เพื่อบรรเทาอาการจาก Computer Vision Syndrome ผลงานต่อมาเป็นรางวัลระดับเหรียญทองอีกเช่นกันกับผลงานการพัฒนาตำรับวิตามินสำคัญ 46 ชนิด เพื่อดูแลสุขภาพผู้บริโภคโดยให้สารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน และช่วยต้านอนุมูลอิสระแบบมีนัยยะสำคัญ […]