จุฬาฯ อวดนวัตกรรม ชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม
ปัญหาระบบนิเวศใต้ท้องทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วกำลังเป็นวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยพลัน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศใต้ท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติทางสภาพภูมิอากาศและการกระทำของมนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดหลากสายพันธุ์ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนบางชนิดเสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ และหนึ่งในนั้นคือ “ปะการัง” จากรายงานของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ประเมินว่าท้องทะเลหลายแห่งทั่วโลกกำลังประสบภาวะความตึงเครียดจากสภาพแวดล้อมแปรปรวนส่งผลกระทบต่อแนวปะการังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียว ปะการังทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบไปแล้วถึงร้อยละ 38 คิดเป็นพื้นที่กว่า 1.2 หมื่นตารางกิโลเมตร ซึ่งแน่นอนว่าห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลย่อมได้รับผลกระทบสืบเนื่องกันไปด้วย สอดคล้องกันกับรายงานของ Scientific Reports ที่เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2558 คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2588 หรือในอีก 25 ปี ข้างหน้า ปะการังสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เกือบถึงขีดสุด โดยอาจเหลือปะการังทั่วโลกอยู่เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น หากย้อนกลับมาติดตามสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย พบว่าระบบนิเวศทางทะเลไทยกำลังเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวขึ้น โดยช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเปิดเผยว่า บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นมีปะการังสีจางลงกว่าร้อยละ 5-30 และกลายเป็นปะการังฟอกขาวแล้วถึงร้อยละ 5-15 ซึ่งหากปล่อยไว้ยังไม่รีบแก้ไขอาจส่งผลกระทบลุกลามบานปลายทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทยเร็วกว่าที่คาดการณ์ โดยตัวเร่งให้สถานการณ์นี้ทวีความรุนแรงขึ้น นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate […]
จุฬาฯ หนุนใช้นวัตกรรมกู้วิกฤตประมงไทย ผุดวิธีแก้ประมงผิดกฎหมาย ช่วยชาติปลดล็อคใบเหลือง IUU
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนุนใช้ 4 นวัตกรรมกู้วิกฤตประมงไทยต่อยอดผลสำเร็จงานวิจัยการจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชีย ร่วมกับศูนย์ยุโรปศึกษา และหลักสูตรบริหารกิจการทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปลดล็อคใบเหลืองให้ประเทศไทยได้สำเร็จ จากกรณีสหภาพยุโรปได้จัดให้การทำประมงไทยอยู่ในกลุ่มผิดกฎหมาย ด้วยการดำเนินโครงการวิจัยเรื่อง “การจัดการและถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเล พ.ศ. 2560-2561” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานประมงไทยพร้อมเชื่อมโยงกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับภาครัฐผลักดันนโยบายสวัสดิการแรงงานในกลุ่มประมงพื้นบ้าน และยังมีส่วนช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศท้องทะเลที่เคยได้รับผลกระทบจากการทำประมงมากเกินไปผ่านการกำหนดนโยบายควบคุมระยะเวลาออกเรือพร้อมรายงานการจับสัตว์น้ำอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว ศาสตราจารย์ ดร.สุภางค์ จันทวานิช หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า “ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานเชิงนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการประมงแบบ IUU แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์ในกิจการประมงทะเลช่วงปี พ.ศ. 2560 – 2561 ได้สร้างแรงกระเพื่อมต่อหน่วยงานของภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงภาคประชาสังคมจนเกิดความร่วมมือที่ช่วยให้ประเทศสามารถปลดล็อคใบเหลือง IUU จากสหภาพยุโรป เมื่อเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2561 พร้อมได้รับการเลื่อนลำดับความพยายามแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และแรงงานบังคับจากระดับ 3 ขึ้นมาเป็นระดับ 2 ซึ่งเป็นระยะที่ไม่ต้องเฝ้าระวังในช่วงเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2561 ผ่านกระบวนการจัดประชุมสู่การออกแบบนโยบาย อาทิ […]