Banner 132 05

สุขภาพดีถ้วนหน้า จุฬาฯ จัดให้

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักบริหารระบบกายภาพ” จัดพื้นที่ออกกำลังกายพร้อมกิจกรรมอบรมทักษะกีฬาให้กับนิสิต บุคลากรและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงพื้นที่ออกกำลังกายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุล กล่าวว่า “จุฬาฯ ไม่เพียงเป็นสถาบันแห่งความรู้ แต่ยังเปิดพื้นที่รอบรั้วจุฬาฯ ดูแลสุขภาพ สร้างพื้นที่สีเขียวเป็นปอดให้คนกรุงได้ออกกำลังกายจำนวนหลายแห่ง รวมถึงสนามกีฬาประเภทต่าง ๆ ที่ให้บริการกับประชาชนทั่วไป ตลอดจนให้ชุมชนท้องถิ่นหรือสาธารณชนมาใช้อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาร่วมกันด้วย ตามนโยบายของจุฬาฯ ที่มุ่งสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพประชาชน ซึ่งสถานที่ของเรามีความพร้อมและได้มาตรฐานสากล นอกจากนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรของจุฬาฯ แล้ว ศูนย์กีฬาฯ ก็ยังเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้บริการได้ สิ่งที่เราคำนึงถึงคือความสะอาดและการบริการที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นชาวจุฬาฯ หรือประชาชนทั่วไป” ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพื้นที่ออกกำลังกายเพื่อให้นิสิต บุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงพื้นที่ออกกำลังกายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อาทิ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสนามกีฬากลางแจ้งมาตรฐานขนาดใหญ่ ประกอบด้วย สนามหญ้าสังเคราะห์ระดับมาตรฐานที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) รับรองเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ลู่วิ่งยางสังเคราะห์ จำนวน 8 ลู่ ซึ่งได้รับรองจากสหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) มีอัฒจันทร์สำหรับนั่งชมโดยรอบสามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 20,000 – 25,000 คน มีความพร้อมเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง […]

Banner 132 03

จุฬาอารี นวัตกรรมขับเคลื่อนสังคม ต้นแบบบูรณาการสหศาสตร์สานพลังเครือข่ายรับมือสังคมผู้สูงวัยไทย

อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบในอีกหนึ่งปีข้างหน้า?  สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปักหมุดให้ปี พ.ศ. 2564 เป็นปีสำคัญของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทย และกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ตัวเลขประชากรไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป กำลังจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากความรุดหน้าทางด้านเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการแพทย์ของประเทศ ทำให้คนไทยมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น ประกอบกับนโยบายการวางแผนครอบครัวที่เน้นควบคุมการมีบุตรมาโดยตลอดนับสิบปีได้ส่งผลโดยตรงต่อการลดภาวะเจริญพันธุ์ของคนไทยลงอย่างรวดเร็ว และยังส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยลดลงอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะด้านการผลิตและการออมมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสังคมที่รัฐต้องเร่งแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง  ปัญหาด้านสภาพจิตใจหลังวัยเกษียณ รวมไปถึงปัญหาค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลรักษาพยาบาลกลุ่มผู้สูงวัยทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และนี่คือภาพสังคมไทยที่เราจะได้ประสบพบเจอในห้วงช่วงเวลานับจากนี้ไปอีกสามทศวรรษ และกำลังเป็นประเด็นท้าทายประเทศไทยให้จำต้องมีทางออกกับเรื่องนี้ก่อนจะสายเกินแก้  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำโครงการ“จุฬาอารี : โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (Chulalongkorn University Platform for Ageing Research Innovation : Chula ARi) บูรณาการศาสตร์ในจุฬาฯ ที่หลากหลายทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและการมีส่วนร่วม ด้านประชากรและสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อออกแบบอนาคตผู้สูงอายุไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยศึกษาข้อมูลจากผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวง.4 ชุมชนใหญ่ ได้แก่ ชุมชนวังทองหลาง ชุมชนสามแพร่ง (แพร่งภูธร แพร่งนรา […]

Banner 130 03

เบื้องหลังภารกิจสู้โควิด-19 เพื่อมวลมนุษยชาติ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ (EID)

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาโลกเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ (Emerging Disease) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งไวรัสซิกา ไวรัสอีโบลา ไวรัสเมอร์ส และล่าสุดที่มวลมนุษยชาติกำลัง ประสบอยู่นั้นคือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ระบาดใหญ่จนมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ล้านคน และคร่าชีวิตคนหลากชาติพันธุ์ไปแล้วกว่า 1 ล้านคน ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อไวรัสเหล่านี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วคือความรุดหน้าแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในโลกไร้พรมแดนที่เอื้อให้การทำกิจกรรมและการเดินทางไปมาหาสู่กันทั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว จนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในหลายประเทศเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ประเทศไทย ในฐานะหมุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จึงตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญกับการรับเชื้อโรคข้ามพรมแดน จากการเปิดข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในประเทศเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้อาจเป็นพาหะนำโรคอุบัติใหม่ติดเชื้อจากคนสู่คนข้ามพรมแดนเข้ามาด้วยเช่นกัน การเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่จึงเป็นภารกิจสำคัญที่หน่วยงานในแวดวงสาธารณสุขไทยเทศตระหนักและขานรับเป็นวาระที่จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายพัฒนาความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ระงับยับยั้งก่อนแพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะแพทยศาสตร์ ได้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ขึ้นในปี พ.ศ.2559 ทำงานควบคู่กันกับศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน เพื่อดำเนินการเชิงรุกเข้าถึงแหล่งกำเนิดโรค (upstream operation) และเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ผ่านการสร้างความร่วมมือในระดับโลก (global collaboration) ซึ่งศูนย์นี้มีบทบาทสำคัญช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด-19 จากสนับสนุนสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณาสุข ให้สามารถตรวจยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อโรค COVID-19 และยืนยันผลจากการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส เพื่อเป็นข้อมูลให้กับกระทรวงสาธารณสุขใช้ควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้ทันท่วงที ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา […]

879F5B61 0ED1 4124 9B15 A0BEEDF954B4

‘จุฬาฯ-ใบยา’ เร่งผลิตวัคซีน ทดสอบในมนุษย์ทันกลางปี ชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคต่อเนื่องถึงสิ้นปี 64

19 ม.ค.63 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เป็นประธานมอบเงินบริจาคในโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย ครั้งที่ 1 จำนวน 25 ล้านบาท สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เร่งทดสอบวัคซีนในมนุษย์ให้ทันกลางปี 2564 ความคืบหน้า ‘วัคซีนเพื่อคนไทย’ ช่วงหนึ่งเดือนแรกหลังเปิดตัวโครงการ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2563 และเริ่มเปิดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เป็นต้นมา ได้รับการตอบรับที่ดี ล่าสุด รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิฯ เปิดเผยว่า “ขอขอบคุณคนไทยที่ได้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของ #ทีมไทยแลนด์ โดยในวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ มีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการวัคซีนเพื่อคนไทยในช่วงเดือนแรก โดยโครงการได้รับเสียงตอบรับและการสนับสนุนที่ดีจากหลายภาคส่วน ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข […]

Banner 1231

ม.แม่โจ้เจ๋ง คิดค้น ‘นาโนไนท์’ ช่วยฆ่าเชื้อโควิด-19 ออกฤทธิ์นาน ต้นทุนผลิตถูกกว่าแอลกอฮอล์

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 มีนาคม เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ม.แม่โจ้) ทำการผสมผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโนกับน้ำในสัดส่วน 1 ต่อ 1 ในถังฉีดพ่นน้ำยา พร้อมะสาธิตการฉีดพ่นนาโนไนท์บริเวณทางเดิน และห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ ภายในอาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งน้ำยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันและฆ่าเชื้อโควิด-19 โดยออกฤทธิ์ได้นานกว่าแอลกอฮอล์ 7-17 วัน รศ.ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้คิดค้นและวิจัยผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโน กล่าวว่า ถือว่าผลการวิจัยออกมาทันกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พอดี เพราะความจริงผลิตภันฑ์ซิลเวอร์นาโนนี้วิจัยสำเร็จเมื่อ 8 ปีที่แล้ว หรือปี 2554 โดยซิลเวอร์นาโนเป็นเทคโนโลยีจิ๋ว ที่ใช้ป้องกันเชื้อโรคอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะทางการแพทย์ ได้ผลิตยาป้องกันการติดเชื้อให้กับรถพยาบาลและเครื่องสำอาง แต่มีราคาแพงและผลิตได้อย่างจำกัด ดังนั้นจึงทำการวิจัยโดยการใช้เม็ดเงินบริสุทธิ์ 99.99% ผลิตซิลเวอร์นาโน เป็นการลดต้นทุนและทำให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีนาโนได้ง่ายขึ้น “เทคโนโลยีนาโนซิลเวอร์เป็นการใช้ประจุบวกวงนอกของอิเลคตรอนของเงินบริสุทธิ์ เข้าทำลายผนังเซลล์ของเชื้อโรค ส่งผลให้เชื้อโรคหยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด ในด้านความปลอดภัยมีผลวิจัยรับรอง ไม่มีผลต่อความเป็นพิษของเซลล์เนื้อเยื่อมนุษย์ หากจะมีอาการก็เกิดขึ้นได้กับคนที่ไม่สามารถใส่เครื่องประดับเงินได้เท่านั้น ซึ่งก็สามารถพัฒนาขึ้นมาได้จนเป็นผลิตภัณฑ์นาโนสเปรย์ฆ่าเชื้อได้ มีประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่าแอลกอฮอล์เลย และไม่มีผลเสียต่อร่างกาย มีความปลอดภัยสูง แต่มีต้นทุนการผลิตเพียงลิตรละ 100 […]

Banner 122 3

รองนายกฯ ‘อนุทิน’ หนุน “ทีมไทยแลนด์” เร่งผลิตวัคซีนจุฬาฯ ใช้เอง ดึงคนไทยมีส่วนร่วมบริจาคห้าร้อยบาทให้ถึงล้านคน

วันนี้ (14 ธ.ค. 63) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” ของมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับบริจาคทุนวิจัย 500 บาท จากคนไทย 1 ล้านคน เร่งผลิตวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช พร้อมเปิดตัว “ทีมไทยแลนด์” ร่วมพัฒนาวัคซีนสานฝันคนไทยมีวัคซีนใช้เองจากฝีมือคนไทย 100% คาดพร้อมใช้ปลายปี 2564 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีเปิดโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” เปิดรับบริจาคทุนวิจัย 500 บาท จากคนไทย 1 ล้านคน รวม 500 ล้านบาท เพื่อเร่งผลิตวัคซีนโควิด-19 จากใบพืชเพื่อทดสอบในมนุษย์ได้ทันภายในเดือนมิถุนายน 2564 พร้อมเปิดตัว “ทีมไทยแลนด์” ร่วมลงนามความร่วมมือวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนป้องกันโรคจากไวรัสโควิด-19 ระหว่างองค์การเภสัชกรรม โดย นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม บริษัท ใบยา […]

D071A9CE 2C7A 43D2 806D BAC3BAC0BB40

สำรวจความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 จาก ‘ทีมไทยแลนด์’ ผลิตเอง ใช้เอง ความหวังของคนไทยทั้งประเทศ

ผ่านไปเกือบ 1 ปีแล้ว หลังเริ่มพบการแพร่ระบาดของ ‘โควิด-19’ หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก การพัฒนาวัคซีนสำหรับรับมือกับโควิด-19 จึงถือเป็นวาระสำคัญที่ทั้งโลกจับตามอง เพราะจะสร้างความมั่นใจให้กับผู้คนในการใช้ชีวิตและการเดินทางมากยิ่งขึ้น ทว่าการพัฒนาวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่าย ข้อมูลจาก พญ.อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง จากจดหมายข่าว ‘แวดวงวัคซีน’ โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระบุว่า โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาวัคซีนให้สำเร็จ 1 ชนิดอาจกินเวลาถึง 10-15 ปี อันเนื่องมาจากการทดสอบหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้วัคซีนที่มีคุณภาพดีและมีความปลอดภัยสูง หลังจากการทดสอบในสัตว์ทดลองแล้วก็ต้องนำไปทดสอบในคนอีก 3 ระยะ ก่อนจะนำไปผลิตและขึ้นทะเบียนนำมาใช้ แต่การระบาดของอีโบลาในแถบแอฟริกาตะวันตก ทำให้มีการพัฒนาวัคซีนที่เร่งรัดจนสำเร็จในระยะเวลา 2 ปี ทำให้เกิดความหวังของการพัฒนาวัคซีนอย่างรวดเร็วเมื่อมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น สำหรับการพัฒนาวัคซีนสำหรับโควิด-19 องค์การอนามัยโลกระบุว่าไม่ทราบแน่ชัดว่าเราจะมีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไว้พร้อมสำหรับการแจกจ่ายเมื่อใด แต่ก็คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นช่วงต้นถึงกลางปี 2021 นี้ และขณะนี้เราก็ได้เห็นความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรือรัสเซีย  ส่วนประเทศไทยนั้นมีทั้งแนวทางการจัดหาวัคซีนจากต่างประเทศ การเตรียมการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการวิจัย-พัฒนาวัคซีนเองภายในประเทศ โดยกรณีของการพัฒนาและวิจัยวัคซีนภายในประเทศนั้น ประเทศไทยมีทีมนักวิจัยและพัฒนาวัคซีนจากหลายหน่วยงานที่กำลังทำงานเพื่อค้นหาวัคซีนสำหรับโควิด-19 เราจะลองมาสำรวจตัวอย่างของทีมพัฒนาวัคซีนเหล่านี้ รวมถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากฝีมือคนไทยกัน วัคซีนจุฬาฯ คืบหน้า  เริ่มจากการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด […]

F63FEBCC 48F7 4407 9D3C 75CD0570586A

มหาวิทยาลัยในอังกฤษกว่า 30 แห่ง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19

Sky News รายงานว่ามหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษอย่างน้อย 33 แห่ง ยืนยัน ว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษเพิ่งเปิดเทอมเมื่อต้นเดือนกันยายน และ Sky News รายงานว่า มีการตรวจพบผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 717 คน ซึ่งมีทั้งนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัย ทางด้าน BBC รายงานว่าจากการติดตามรายงานข่าวของสื่อท้องถิ่นพบว่ามีมหาวิทยาลัยอย่างน้อย 40 แห่ง จากทั้งหมด 130 แห่ง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สื่อมวลชนอังกฤษรายงานว่า การพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ส่งผลให้มหาวิทยาลัยหลายแห่งต้องมีคำสั่งให้นักศึกษาหลายพันคนกักตัวเอง ณ ที่พัก เช่นที่มหาวิทยาลัย Manchester Metropolitan มีคำสั่งให้นักศึกษา 1,700 คนกักตัวสังเกตอาการ ภายหลังพบผู้ติดเชื้อ 127 คน ส่วนมหาวิทยาลัย Glasgow สั่งให้นักศึกษา 600 คนกักตัวสังเกตอาการ หลังจากพบผู้ติดเชื้อ 172 คน ภายใต้สถานการณ์ระบาดระลอกใหม่ มหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศอังกฤษจึงจัดการเรียนการสอนแบบผสมทั้งเรียนทางออนไลน์ และในชั้นเรียน เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ตอนนี้จึงมีเสียงเรียกร้องทั้งจากนักศึกษาและนักการเมือง ขอให้มหาวิทยาลัย คืนเงินค่าเทอมบางส่วนให้นักศึกษาเพื่อชดเชยกับการเรียนออนไลน์ ทำให้นักศึกษาขาดโอกาสในการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษาที่มหาวิทยาลัย […]

2CCD78B5 AFB5 4F5E 9FF2 5923DE954981

สิ่งที่คนไทยต้องรู้ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช

ตลอดระยะเวลากว่า 9 เดือนที่โลกต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ล่าสุด (22 ก.ย. 63) สถานการณ์ยังคงน่าเป็นห่วง มียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งสูงขึ้นถึง 31,196,543 ราย ในจำนวนนี้รักษาตัวหายแล้ว 21,348,410 ราย และมียอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 962,793 ราย โดยอินเดียเป็นประเทศที่มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่สูงที่สุดในโลก และเมื่อขยับเข้ามาใกล้ในกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับไทยทั้งเมียนมาและมาเลเซียเองต่างยังคงต้องปิดประเทศและกำลังรับมือกับยอดผู้ป่วยสะสมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลังเกิดการระบาดครั้งใหม่ ทางด้านฟิลิปปินส์เองก็มีสถิติยอดผู้ติดเชื้อรายวันพุ่งสูงสุดถึง 3,447 ราย ทำให้ขณะนี้ยอดรวมผู้ติดเชื้อแดนตากาล๊อกมีทั้งสิ้น 290,190 รายแล้ว หันมาดูแดนอิเหนาอินโดนีเซียแม้จะมีแนวโน้มยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลง แต่ยอดผู้ติดเชื้อสะสมยังอยู่ในระดับสูงถึง 248,852 ราย โดยเมื่อดูสถานการณ์ประเทศเพื่อนบ้านของเราแล้ว แม้เราจะควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไว้ได้อย่างเข้มแข็งผ่านมาตรการต่าง ๆ แต่ก็มิอาจจะอยู่รอดได้อย่างโดดเดี่ยว เพราะโครงสร้างเศรษฐกิจไทยนอกจากจะต้องพึ่งพาการส่งออกแล้ว ยังต้องพึ่งพาเม็ดเงินจากนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายแสนล้านบาทต่อปี นอกจากการรักษาผู้ติดเชื้อจำนวนมากไปตามอาการเท่าที่จะมีองค์ความรู้และเวชภัณฑ์จะช่วยประคองสถานการณ์ไปได้ระดับหนึ่ง แต่การป้องกันผู้ที่ยังแข็งแรงดีอยู่อีกนับล้านคนให้มีภูมิคุ้มกันต่อโรคน่าจะเป็นความหวังของมวลมนุษยชาติที่ทุกคนเฝ้ารอ “วัคซีนป้องกันโควิด-19” จึงเป็นคำตอบที่ช่วยกอบกู้สถานการณ์ร้ายให้กลับกลายดี เราจึงได้เห็นความพยายามและความก้าวหน้าของการวิจัยและพัฒนาวัคซีนหลากรูปแบบจากหลายประเทศทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส จีน แม้ว่าเร็ว ๆ นี้จะมีข่าวดีจากรัสเซียที่ประกาศใช้วัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19“Sputnik-V” ไปแล้วเป็นชาติแรกของโลกก็ตาม แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่ากำลังการผลิตวัคซีนจะสามารถตอบสนองได้ทุกความต้องการได้ทันทีทันใดในเมื่อพลเมืองโลกมีมากถึงเกือบ 7 พันล้านคน แล้วคนชาติใดกันเล่าจะเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ก่อน และคนไทยอย่างเรามีสิทธิ์จะได้รับวัคซีนกับเขาด้วยหรือไม่ ยังเป็นสิ่งที่หลายคนกำลังเฝ้าลุ้นกันอยู่  จนเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมามีอีกหนึ่งความคืบหน้าซึ่งเป็นความหวังที่พาให้คนไทยใจชื้น เมื่อสตาร์ทอัพสัญชาติไทย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” นำโดย รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ และ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ คู่หู Co-founder พ่วงดีกรีอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ สามารถผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืชได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก  The Sharpener จึงไม่อยากให้คุณพลาดอีกหนึ่งหมุดหมายสำคัญนี้ของวงการสาธารณสุขไทยที่อาจเป็นนิยามใหม่ของวงการพัฒนาวัคซีนโลก กับ “7 สิ่งที่คนไทยต้องรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช” 1. ใบยา ไฟโตฟาร์ม คือ สตาร์ทอัพสัญชาติไทย […]

4B137CD4 AFB6 4559 B534 4D0AC874B059

“จุฬาฯ – ใบยา” เดินหน้าประกาศความสำเร็จวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดเสวนาวิชาการที่ส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาสังคม Chula The Impact ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “จุฬาฯ – ใบยาวัคซีน นวัตกรรมไทย ไขวิกฤติ Covid-19” นำเสนอความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนป้องกัน Covid-19 จากใบพืช โดย “ใบยา ไฟโตฟาร์ม” บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ได้รับการบ่มเพาะจาก CU Innovation Hub เมื่อวันศุกร์ที่ 11 กันยายน 2563 เวลา 14.00-15.30 น. ณ เรือนจุฬานฤมิต โดยมี ศ. ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวเปิดงานร่วมแสดงวิสัยทัศน์ด้านนโยบายนวัตกรรมขับเคลื่อนสังคมของจุฬาฯ และได้รับเกียรติจาก นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่องบทบาทและการสนับสนุนศักยภาพการผลิตวัคซีนในประเทศไทย ภายในงานเสวนามีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญร่วมเสวนาคับคั่ง ประกอบด้วย ศ.นพ.ดร.นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล รองอธิการบดีจุฬาฯ ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner