Banner 154 1

รู้ไว้ อุ่นใจกว่า กับข้อควรปฏิบัติหากต้องเข้าพักในโรงพยาบาลสนาม

หลังจากการระบาดรอบล่าสุดของโควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน 2564 ซึ่งมีอัตราการติดเชื้อรวดเร็วกว่ารอบก่อน และยังไม่มีทีท่าว่าจะ “เอาอยู่” ดังเช่นที่ผ่านมา จนทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดสะสมทั่วประเทศมากกว่า 5 หมื่นรายแล้วนั้น จนเกรงกันว่าอาจเกินศักยภาพของสถานพยาบาลที่มีอยู่จะรับได้ โดยการระบาดรอบนี้ได้กระจายตัวครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยแต่ละพื้นที่จะถูกกำหนดว่ามีความเสี่ยงในระดับที่แตกต่างกันไป ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข โดยได้แบ่งพื้นที่เสี่ยงออกเป็นสีต่าง ๆ จำนวน 5 สี ดังนี้ 1. พื้นที่สีแดงเลือดหมู หรือแดงเข้ม คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดมากที่สุด และมีการคัดกรองเข้าออกมากที่สุดยิ่งกว่าพื้นที่สีแดง มีทั้งหมด 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ชลบุรี, เชียงใหม่, นนทบุรี, ปทุมธานี และสมุทรปราการ 2. พื้นที่สีแดง คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุด มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก และพบผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 พื้นที่ มีทั้งหมด 45 จังหวัด ได้แก่  กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, ขอนแก่น, จันทบุรี, ฉะเชิงเทรา, ชัยภูมิ, เชียงราย, […]

Banner 153 2

ทำความรู้จัก “หมอพร้อม” เวอร์ชั่น 2 LINE OA

หลังจากกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เริ่มฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด-19 ระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงสูงสุด ได้แก่ ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าทั้งภาครัฐและเอกชน จนถึงขณะนี้สามารถฉีดวัคซีนครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด รวมกว่า 1.2 ล้านโดส มีผู้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว กว่า 1 ล้านคน และรับวัคซีนครบ 2 เข็มอีกกว่า 2 แสนคน ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2564 นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข, นายแพทย์โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข  นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยทีมแพทย์ เปิดตัว Line Official Account “หมอพร้อม เวอร์ชั่น 2” รองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยมี 4 […]

Banner 152 1

อ่านการ์ตูนสู้โควิดกับ “KnowCovid” จากสำนักพิมพ์การ์ตูนบรรลือสาส์น

        ท่ามกลางการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้สร้างความตื่นตระหนกแก่ประชาชนที่ได้รับข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับโรคร้ายดังกล่าวจากหลากหลายช่องทางในแต่ละวัน จนอาจก่อให้เกิดความเครียดขึ้นนั้นกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ร่วมมือกับองค์การสหประชาชาติ (UN) องค์การอนามัยโลก (WHO) กระทรวงสาธารณสุข ดร.อิสระ เสรีวัฒนวุฒิ และบันลือกรุ๊ป (สำนักพิมพ์บรรลือสาส์น) ในนามขายหัวเราะสตูดิโอ จัดทำชุดการ์ตูนความรู้ KnowCovid เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนในการรับมือกับเชื้อโควิด-19 ภายใต้แนวคิดที่ว่า “Laughter is the best medicine” การหัวเราะเป็นยาที่ดีที่สุดของชีวิต  ซึ่งการ์ตูนชุดดังกล่าวอัดแน่นไปด้วยสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการรู้เท่าทันโรคร้ายดังกล่าวผสมผสานกับอารมณ์ขันจากนักเขียนชื่อดัง อาทิ ต่าย ขายหัวเราะ (ภักดี แสนทวีสุข) เอ๊าะ ขายหัวเราะ (ภูวดล ปุณยประยูร)เฟน สตูดิโอ (อารีเฟน ฮะซานี) และนักเขียนท่านอื่นอีกหลายท่าน         การ์ตูนชุดนี้นำเสนอการใช้ชีวิตในรูปแบบ “ความปกติใหม่” หรือ “New normal” ผ่านวิถีชีวิตของตัวละครที่ผู้อ่านหนังสือการ์ตูนชุดขายหัวเราะคุ้นหน้าคุ้นตาเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นวิธีสวมหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง การล้างมือเป็นประจำ การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง มาตรการจัดการขั้นเด็ดขาดในการทำความสะอาดสถานที่ต่างๆ ผลกระทบของความเครียดที่นำไปสู่ภาวะความรุนแรงในครอบครัวต่อเด็กและสตรี รวมถึงการสร้างความเข้าใจของคนในสังคมต่อผู้ติดเชื้อหรือผู้เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การควบคุมการแพร่ระบาด ให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นพร้อมทั้งแนะนำวิธีการรับมือกับเชื้อโควิด-19 ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยได้รับการสนับสนุนข้อมูลที่ถูกต้องน่าเชื่อถือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง […]

S 63291544

แหวกม่าน “วัคซีนโควิด” กับภารกิจเพื่อชาติของสองพ่อลูก “พูลเจริญ” นายแพทย์วิพุธ – รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ

หากเอ่ยถึงแวดวงสาธารณสุข หลายคนคงคุ้นเคยชื่อ และความสามารถของ ‘นายแพทย์วิพุธ พูลเจริญ’ อดีตผู้อำนวยการกองโรคเอดส์และกองระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการมูลนิธิวิจัยและพัฒนานโยบาย เวลาหมุนผ่านมาถึงปัจจุบันที่โลกเผชิญหน้ากับโควิด-19 นามสกุลพูลเจริญ ได้รับการพูดถึงอีกครั้ง แต่หนนี้คือ ‘รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ’ หรือ ‘อาจารย์แป้ง’ ลูกสาวของคุณหมอวิพุธ ที่ถอดดีเอ็นเอความเก่งมาจากพ่อ นอกจากเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ แล้ว เธอคือผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ บริษัทสตาร์ทอัพเพื่อวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช อันเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย’ ที่ชวนคนไทยร่วมระดมเงินบริจาคพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งวันนี้อยู่ในขั้นเตรียมพร้อมสำหรับทดสอบในมนุษย์ ‘The Sharpener’ นัดสัมภาษณ์พิเศษคุณหมอวิพุธ และอาจารย์แป้ง ถึงการทำงานต่อสู้ไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มข้น จากใบยา ถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 อาจารย์แป้งเล่าถึงจุดเริ่มต้นบนเส้นทางงานวิจัย “เราเริ่มศึกษาเรื่องโปรตีนจากพืช ตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาเอก สาขา Plant Biology ที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐแอริโซนา (Arizona State University) ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 15 ปีก่อน ตอนนั้นได้ร่วมทีมวิจัยวัคซีนอีโบลา หลังจากเรียนจบก็ไปทำงานเกี่ยวกับวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้าที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งหมดใช้แพลตฟอร์มเดียวกันคือ โปรตีนจากพืช และเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน เราและ ‘อาจารย์บิ๊บ – ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ’ ได้ร่วมกันก่อตั้ง ‘ใบยา ไฟโตฟาร์ม’ สตาร์ทอัพที่วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสารชีววัตถุด้วยพืช และเมื่อต้นปีที่แล้วที่มีคนไทยเริ่มติดเชื้อโควิด-19 เราจึงเริ่มผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในห้องแล็บทันที” “แต่ก้าวแรกของ ใบยา ไฟโตฟาร์ม ไม่ง่ายเลยค่ะ เนื่องจากยาชีววัตถุเป็นเทคโนโลยีใหม่ เวลานำเสนอให้หลายที่พิจารณาเงินทุน จึงไม่ได้รับความสนใจมากนัก เรากับ อ.บิ๊บ จึงตัดสินใจใช้เงินส่วนตัวลงขันกันหลายล้านบาทเพื่อให้ได้ลุยงานต่อ […]

Banner 149

‘จุฬาฯ-ใบยา’ ไม่หวั่นเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ เร่งพัฒนาวัคซีนรุ่น 2 คืบหน้า เตรียมรับมือระบาดซ้ำ ชวนคนไทย ‘สู้ไม่หยุด’ ร่วมเป็นทีมไทยแลนด์บริจาคได้ถึงสิ้นปี 64

แคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย #ทีมไทยแลนด์” จากกระแสข่าวพบไวรัสโควิด-19 ในอังกฤษและแอฟริกาใต้กลายพันธุ์ในผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและกักตัวใน State Quarantine เป็นเหตุให้หลายฝ่ายกังวลว่าวัคซีนที่นำเข้ามาอาจใช้ไม่ได้ผลนั้น ศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ รพ.จุฬาฯ มั่นใจว่าปัจจุบันมาตรการต่างๆ ของรัฐ โดยเฉพาะการตรวจเชิงรุกยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อติดตามการแพร่ระบาด และศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ ยังคงติดตามการเปลี่ยนแปลงสารรหัสพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอด อย่างไรก็ตาม การฉีดวัคซีนยังเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยเอาชนะไวรัสนี้ได้ แต่การมีแพลตฟอร์มพัฒนาวัคซีนได้เองในประเทศจะยิ่งสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุขไทยได้ ไม่ว่าไวรัสจะกลายพันธุ์ไปก็ยังสามารถปรับวัคซีนสู้ได้ทัน ด้าน ‘จุฬาฯ-ใบยา’ เดินหน้าพัฒนาวัคซีนรุ่นที่ 2 เตรียมรับมือหากระบาดระลอกใหม่ ดันแคมเปญ “สู้ไม่หยุด วัคซีนเพื่อคนไทย” ขอบคุณและชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคได้ถึงสิ้นปี 2564 เร่งผลิตวัคซีนทดสอบในมนุษย์ได้ทันกลางปีนี้ สถานการณ์ล่าสุดเมื่อโควิด-19 กลายพันธุ์ แค่วัคซีนเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่พอ ศ.นพ.ธีระวัฒน์  เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยว่า ‘ไวรัสโคโรนา สามารถกลายพันธุ์ปรับเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จีนค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาในค้างคาว ตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งนอกจากจะมีไวรัส SARS แล้วยังพบว่ามีไวรัสชนิดอื่นแฝงอยู่ด้วย  จนทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าหากไวรัสรวมตัวกันอาจก่อให้เกิดโรคอุบัติใหม่อย่างโควิด-19 ขึ้นมาได้อีก ซึ่งถือเป็นกระบวนการตามธรรมชาติของไวรัสที่อาจกลายพันธุ์เพื่อให้อยู่รอดได้ในทุกสภาวะ ไม่ว่าจะแพร่จากสัตว์สู่มนุษย์ หรือมนุษย์สู่มนุษย์ ย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา  ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนาแพลตฟอร์มหรือกระบวนการผลิตวัคซีนรองรับเหตุการณ์ หรือโรคอุบัติใหม่ให้ทันการณ์ อย่างไรก็ตามเวลานี้ ไม่มีใครให้คำตอบได้ว่าไวรัสโควิด-19 จะกลายพันธุ์ไปได้อีกกี่สายพันธุ์   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเฝ้าติดตามและตรวจเชิงรุก ติดตามการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรมของไวรัสโควิด-19 ซึ่งศูนย์โรคอุบัติใหม่ฯ คาดการณ์ว่าจะเริ่มตรวจเชิงรุกภายในต้นเดือนพฤษภาคมนี้  ซึ่งไม่ได้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 […]

DC403F7C A509 412B A031 0559EB8180C8

‘เบลล่า ราณี – เวียร์ ศุกลวัฒน์’ เปิดจองโฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง นำเงินบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา วัคซีนเพื่อคนไทย’ หนุนนักวิจัยไทยที่สู้ไม่หยุดเพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนเพื่อคนไทยอีกนับล้าน

14 ก.พ.64 – รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เปิดเผยว่า ได้รับการประสานจากคุณเบลล่า ราณี แคมเปน และคุณเวียร์ ศุกลวัฒน์ คณารศ นักแสดงขวัญใจชาวไทยประสงค์จะร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ เพื่อสนับสนุนโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยนำ ‘โฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง’ มาร่วมบริจาคในโครงการ นำเงินรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา วัคซีนเพื่อคนไทย’ สนับสนุนทีมวิจัยคนไทยที่กำลังสู้ไม่หยุดเพื่อวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากใบพืช ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ผลิตได้เองในประเทศไทย เพื่อให้คนไทยอีกกว่าสามสิบล้านคนเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึงปลายปีนี้ ‘มาร่วมบริจาคเข้าโครงการ ‘จุฬาฯ-ใบยา’ วันซีนเพื่อคนไทย กันเยอะๆ นะค่ะ’ ทางด้าน คุณเบลล่า ราณี แคมเปน เผยว่า “แค่อยากให้ความทรงจำของเรามันเป็นสิ่งที่จับต้องได้ และมันคงจะดีหากเราได้ร่วมแชร์ประสบการณ์การเดินทางนี้ไปด้วยกัน…” โดยเบลล่า-เวียร์ เราสองคนตั้งใจนำ ‘โฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง #ไม่ใช่ไอซ์แลนด์ทำแทนไม่ได้ มาจำหน่ายเพื่อนำรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่ายมอบให้โครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เพื่อเชียร์นักวิจัยไทยและร่วมเป็นส่วนหนึ่งไปกับทีมไทยแลนด์ที่กำลังสู้ไม่หยุดวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 วัคซีนจากฝีมือคนไทยเพื่อคนไทยอีกนับล้านคน โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย’ ‘มาร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ สั่งจองโฟโต้บุ๊กบันทึกการเดินทาง กับ เบลล่า-เวียร์ ได้แล้ววันนี้’ สำหรับแฟนๆ และผู้ที่สนใจร่วมเป็นทีมไทยแลนด์ […]

6566DADE 9183 4E82 A2E1 699487A9232F

8 ขั้นตอนบริการฉีดวัคซีน COVID-19 ใช้เวลา 37 นาที

กระทรวงสาธารณสุข ให้สถาบันบำราศนราดูร จัดระบบการให้บริการวัคซีน COVID-19 เป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ โดยมี 8 ขั้นตอน ใช้เวลารวม 37 นาที ตั้งแต่คัดกรองถึงกลับบ้าน เมื่อวันที่ 6 ก.พ.2564 นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรค COVID-19 ระบุว่าจากการตรวจเยี่ยมการทดสอบระบบการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของสถาบันบำราศนราดูร ซึ่งเป็นสถาบันเชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อ โรคติดเชื้อของประเทศ พบว่าระบบที่จัดไว้มี 8 ขั้นตอน เป็นลำดับอย่างต่อเนื่องผ่านไปด้วยดี ใช้เวลารวม 37 นาที สามารถเป็นต้นแบบให้กับโรงพยาบาลอื่น ๆ นำไปปรับใช้ได้ โดยก่อนเข้ารับบริการจะมีการคัดกรอง วัดไข้ ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล และจัดให้เว้นระยะห่างทุกขั้นตอน  จุดที่ 1 ลงทะเบียน โดยใช้เครื่อง KIOSK ลดการสัมผัส จุดที่ 2 ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต จุดที่ 3 คัดกรอง ซักประวัติ จุดที่ 4 […]

Banner 137 01 1

จุฬาฯ สตาร์ทอัพรับมือโควิด ปั้นนวัตกรรมดูแลคนไทย

ปลายปี 2019 เมื่อโลกถูกเขย่าอย่างรุนแรงด้วยเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่ระบาดกลายเป็นโรคอุบัติใหม่ “โควิด-19” ที่จวบจนทุกวันนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันและยารักษา ปลุกให้หลายประเทศจำเป็นต้องลุกขึ้นมาออกมาตรการตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) รับมือกับโรคร้ายนี้เพื่อดูแลประชาชนคนในชาติของตนรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ทั้งมาตรการปิดเมือง ล็อกดาวน์ประเทศ ปิดสนามบิน กำหนดสถานที่กักตัวที่รัฐจัดให้ (State Quarantine & Local Quarantine) กำหนดเวลาเคอร์ฟิวเปิดปิดธุรกิจห้างร้าน รวมถึงมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) หลากหลายรูปแบบควบคู่ไปกับการปรับตัวเข้มงวดและยืดหยุ่นระคนกันไปได้ผลดีมากน้อยแตกต่างกัน โดยหากเจาะลึกลงมาเฉพาะสถานการณ์ในประเทศไทยที่ทั่วโลกต่างประสานเสียงชื่นชมคนไทยจนในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Global COVID-19 Index (GCI) ยกให้ไทยอยู่ในลำดับที่ 1 ของการฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคโควิด-19 ซึ่งสำรวจจาก 184 ประเทศทั่วโลก และปัจจัยที่ทำให้ไทยก้าวมายืนหนึ่งเหนือคนทั้งโลกได้ในยามนี้ นอกจากความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันเป็นหนึ่งของทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา ตลอดจนประชาชนแล้ว คงเป็นนวัตกรรมจากกลุ่มสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่ปวารณาตัวอาสาขอนำองค์ความรู้ที่มีมาปรับใช้บูรณาการให้สอดรับกับสถานการณ์เพื่อดูแลคนไทยอย่างสุดความสามารถ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Innovation Hub) ในฐานะผู้บ่มเพาะสตาร์ทอัพที่พร้อมยกระดับสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ในช่วง 3-4 ปีไว้กว่า 180 ทีม จนมีมูลค่าการตลาดสูงถึง 1.5 หมื่นล้านบาท และสร้างกลุ่มผู้ประกอบการหน้าใหม่ไว้อีกกว่า 2,000 ราย […]

Banner 137 02 1

เปิดเบื้องหลังความสำเร็จวัคซีน mRNA ‘CU-Cov19’

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นเวลาเกือบขวบปี ทำให้เราได้เห็นศักยภาพของ บุคคลากรทางการแพทย์ของไทย ที่มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤติด้านสาธารณสุขระดับโลกได้ดี  ทั้งความพร้อมด้านการบริหารจัดการสถานที่ ตลอดจนการนำทักษะ องค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมล้ำสมัย เข้ามาใช้ดูแลพี่น้องประชาชนตามมาตรฐานสากลและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดตามมาตรการที่องค์การอนามัยโลกประกาศ  หากแต่การระงับยับยั้งเชื้อไวรัสร้ายนี้เพื่อเยียวยา และกู้สถานการณ์ให้คนบนโลกกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างแข็งแรงยังจำเป็นต้องรอให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้รับการพัฒนาและนำมาใช้จริงได้ในเร็ววัน  ด้วยเหตุนี้ ภาคีเครือข่ายนักวิจัยทั่วโลกจึงได้ผนึกกำลังพยายามเร่งพัฒนาวัคซีนจากแพลตฟอร์มที่แตกต่างหลากหลายไม่ใช่เพื่อช่วงชิงความเป็นที่หนึ่ง หากแต่เพื่อความมั่นคงและสวัสดิภาพของมวลมนุษย์ชาติ  ครั้งนี้เราได้เห็นการทำงานอย่างหนักของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมสำคัญในภารกิจระดับโลกเฉกเช่นที่เคย ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางการวิจัยและพัฒนาวัคซีน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะผู้อำนวยการโครงการวิจัยวัคซีนโควิด-19 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กล่าวว่า “ ศูนย์ของเราทำงานภายใต้พันธกิจ ‘Discover, develop and deliver safe, effective and affordable vaccines’ ซึ่งก่อนหน้านี้เราทำงานมุ่งเน้นไปที่การป้องกันโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อชนิดอื่น ๆ อยู่ก่อนแล้ว ได้แก่ เอชไอวี (Human immunodeficiency virus, HIV) โรคไข้เลือดออกชนิด (Dengue) โรคฉี่หนู (Leptospirosis) […]

Banner 133 04

จุฬาฯ จับมือ ก.สาธารณสุข แก้ปัญหาสิงห์อมควัน จัดเขตสูบหรี่คุ้มครองนิสิต-บุคลากร นำร่องปรับพฤติกรรมคนไทย

ในทุก ๆ 1 นาที ทั่วโลกมีผู้ที่ต้องปิดฉากชีวิตลงจากภัยร้ายของบุหรี่ซึ่งเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับเป็นอันดับต้น ๆ มากกว่าปีละ 5 ล้านคน มาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนที่ทุกภาคส่วนต้องหันหน้ามาร่วมกันดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ยอดผู้สูบบุหรี่กว่า 650 ล้านคน ไม่ต้องจบชีวิตก่อนวัยอันควร ขณะที่เมื่อหันกลับมาดูสถานการณ์ในประเทศไทยไทย ข้อมลูจากแผนงานควบคุมยาสูบในปี พ.ศ.2560-2564 เผยว่า ปัญหาการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอายุรหะว่าง 15-18 ปี ยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 6.58 เป็นร้อยละ 8.25 สอดคล้องกันกับข้อมูลของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ที่ระบุว่าเยาวชนไทยอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่กว่า 400,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 70 จะไม่สามารถเลิกบุหรี่ได้ตลอดชีวิต หากยังได้รับการกระตุ้นจากกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่พยายามโฆษณาหลอกล่อเด็กและเยาวชนอีกด้วย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ออกประกาศ “นโยบายคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และจัด “เขตสูบบุหรี่” เป็นการเฉพาะ พ.ศ. 2563” เพื่อมุ่งปรับพฤติกรรมคุมเข้มผู้สูบบุหรี่ในสถานศึกษาโดยจัดให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ในพื้นที่อาคาร สิ่งปลูกสร้าง สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันให้เป็นเขตปลอดบุหรี่ พร้อมแสดงเครื่องหมายแยกเขตปลอดบุหรี่ และเครื่องหมายเขตสูบบุหรี่ให้ชัดเจน เพื่อดูแลพื้นที่ในเขตสูบบุหรี่ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยเหมาะสม ทั้งนี้ยังได้รณรงค์ให้นิสิตและบุคลากรเกิดแรงจูงใจร่วมลด ละ เลิกสูบบุหรี่  ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์  อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner