“กล่องรอดตาย” เราจะอยู่กับคุณจนกว่าจะ “หาย” หรือ “ได้เตียง”
https://www.youtube.com/watch?v=0-TxvgTtkk4 สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค มูลนิธิส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะไทย และภาคีเครือข่าย ขอชวนพี่น้องนิสิตเก่าจุฬาฯ และผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคยาและเวชภัณฑ์เพื่อจัดทำ “กล่องรอดตาย” (Survival Box) พร้อมระบบติดตามอาการสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ทราบผลจากการตรวจเชิงรุกของรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษพระราชทาน (Express Analysis Mobile Unit) เพื่อใช้ดูแลรักษาตนเองที่บ้านขณะรอเตียง โดยยาและเวชภัณฑ์ในกล่องรอดตาย 1 ชุด ประกอบด้วย ยาพาราเซตามอล 500 มก. 50 เม็ด ยาฟ้าทะลายโจร ชนิดแคปซูล 90 แคปซูล ปรอทวัดไข้ 1 แท่ง เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว 1 เครื่อง หน้ากากอนามัย 15 ชิ้น เจลแอลกอฮอล์ ปริมาณไม่เกิน 100 มก. ถ่านไฟฉาย AAA 2 ก้อน📍สมทบทุนจัดทำกล่องรอดตาย กล่องละ 500 […]
จับตา “พิษสไตรีน” กิ่งแก้วระเบิด ซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมกรุงเทพฯ
เสียงระเบิดกลางดึกจากโรงงานผลิคสารเคมีหมิงตี้ เคมิคอล ย่านกิ่งแก้ว สมุทรปราการ กลางดึกคืนวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ปลุกทุกความสนใจให้กลับมาพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองกันอีกครั้ง แม้ทะเลเพลิงได้เผาผลาญสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงานวอดวายเหลือทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่ความเสียหายไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เพียงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกเท่านั้น เมื่อสาร “สไตรีน” (Styrene) ปริมาณ 1,600 ตัน ที่ถูกเก็บไว้ในโรงงานแห่งนี้ถูกเผาวอดข้ามวันข้ามคืนนานกว่า 26 ชั่วโมง ความเสียหายจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นลูกโซ่ไปยังน้ำและอากาศ “สไตรีน” เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก จัดอยู่ในกลุ่ม Flammable Hydrocarbon มีสถานะเป็นของเหลว ระเหยและสามารถลุกติดไฟได้ง่าย โดยมีจุดติดไฟ (Flash Point) อยู่ที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ในครั้งนี้นอกจากจะก่อให้เกิดหมอกควันพวยพุ่งกระจายตัวเป็นวงกว้างในชั้นบรรยากาศลอยไปไกลนับสิบกิโลเมตรและแน่นอนว่าไม่ใช่หมอกควันธรรมดาเหมือนการเผาฟาง เผาหญ้า อย่างแน่นอน หากแต่เทียบได้กับการนำขวดน้ำพลาสติกความจุ 100 กรัม จำนวนมากถึง 16 ล้านขวดมาเผาพร้อมกันในคราวเดียว การดับเพลิงที่เผาไหม้สารชนิดนี้จึงไม่อาจทำได้โดยง่ายด้วยน้ำเปล่า เพราะตัวสารสไตรีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำอยู่ที่ประมาณ 0.909 g/CM3 ยิ่งนักผจญเพลิงระดมฉีดน้ำเข้าไปในกองเพลิงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้น้ำตกลงไปอยู่ชั้นล่างใต้สารนี้ เราจึงได้เห็นภาพทะเลเพลิงโหมไฟลุกโชนโชติช่วงขึ้นสูงสุดลูกหูลูกตาดั่งปรากฏในข่าวทุกสำนัก นั่นเพราะสไตรีนยังคงสัมผัสกับก๊าซออกซิเจนในอากาศอยู่อย่างต่อเนื่องนั่นเอง การเข้าควบคุมเพลิงไหม้ให้ได้ผลดีในสถานการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นต้องใช้โฟมชนิดพิเศษที่มีชื่อว่า “Alcohol Resistant Aqueous […]
3 เหตุผลที่(ยัง)ต้องส่งข้าวให้คลองเตย “ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ”
คำขอบคุณที่ซ่อนไว้ด้วยการร้องขอ ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เจ้าของรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ ประจำปี 2521 ออกนอกชุมชนคลองเตยในยามนี้ การปรากฏตัวของครูประทีปในวัน MOVE ON FIGHTERS ของเครือข่าย Food For Fighters ที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงเปี่ยมไปด้วยความหมายที่ซ่อนนัยสำคัญไว้มากมาย ด้วยบทบาทตลอดสี่สิบกว่าปีของครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปที่อยู่ดูแลสารทุกข์สุกดิบคนคลองเตยจนรู้จักพื้นที่นี้ดีกว่าใคร ทำให้ที่นี่เป็นศูนย์กลางชุมชนรับแจ้งข้อมูลคนติดโควิด-19 และเป็นกุญแจดอกสำคัญช่วยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามารับตัวไปรักษา รวมถึงดูแลด้านสาธารณสุขลงไปช่วยพ่นยาฆ่าเชื้อถึงในบ้านที่มีผู้ติดเชื้อ นำข้าวปลาอาหารไปให้ญาติพี่น้องของผู้ติดเชื้อเมื่อต้องกักตัว โดยเชื่อว่าการบูรณาการความช่วยเหลือให้ใกล้เคียงกับคำว่าครบวงจรมากที่สุดนั้นจะช่วยหยุดการแพร่เชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จะทำได้ คลองเตยตกเป็นพื้นที่เป้าหมายของเชื้อไวรัสโควิด -19 เข้าจู่โจมชีวิตนับแสนมาตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนจนมีผู้ติดเชื้อขึ้นหลักพันและมีผู้ต้องถูกกักตัวได้รับความเดือดร้อนเป็นแรมเดือน จึงทำให้หลายฝ่ายจำต้องยื่นมือเข้ามาให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง รวมถึงภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” โดยเครือข่าย Food For Fighters ที่ได้ร่วมส่งอาหารกล่องและถุงยังชีพอุ้มกว่า 40 ชุมชนรอบบริเวณนี้ เมื่อสถานการณ์ยังคงไม่สู้ดีและยังไม่มีทีท่าว่าจะจบลงได้ในเร็ววัน ยิ่งนานวันคนที่ต้องการความช่วยเหลือยิ่งมากขึ้นคล้ายการเติมเกลือลงในมหาสมุทร แม้ทุกงานเลี้ยงย่อมมีวันเลิกรา แต่ความหิวโหยของคนต้องกักตัวในชุมชนคลองเตยยังไม่ลดลง ท่าทีและเรื่องราวที่ครูประทีปได้ส่งผ่านการพูดคุยกับเราในวันนี้จึงตอกย้ำว่า “ข้าวแสนกล่อง” ที่ส่งข้าวให้ชุมชนไปแล้วเกือบ 2 แสนกล่องนั้น ยังยุติภารกิจไม่ได้แม้จะเคยขยายเวลาเปิดรับบริจาคมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ สนจ. […]
รู้ทัน โควิด-19 ใส่ใจผู้อยู่ร่วมกับเชื้อHIV “People Living With HIV” (PLWH)
ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดใหญ่ของโควิด-19 ที่ยังคงรุนแรงในหลายประเทศทั่วโลก การฉีดวัคซีนดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ช่วยระงับยับยั้งวิกฤต หลายประเทศเริ่มให้วัคซีนกับประชาชนมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา จนเริ่มกลับมา “ถอดแมสก์” ใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่สำหรับประเทศไทยที่เพิ่งเริ่มฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (NCDs : Non-Communicable diseases) ประกอบด้วย ผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง (COPD) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน ที่หากติดเชื้อโคโรนาไวรัสขึ้นมาอาจพบภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกว่าคนปกติ เฉกเช่นเดียวกับ “ผู้มีเชื้อ HIV” (Human Immunodeficiency Virus) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์โอภาส พุทธเจริญ รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคเอดส์ และหัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผยกับ The Sharpener ในประเด็นสำคัญสะท้อนการใช้ชีวิตของผู้อยู่ร่วมกับเชื้อ HIV (PLWH) ในช่วงโควิด-19 ไว้ในหลายประเด็น New Normal New Safe Sex นายแพทย์โอภาส เปิดบทสนทนากับเราโดยอรรถาธิบายสภาพความจริงอีกด้านของกลุ่ม PLWH ที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงในห้วงช่วงเวลาที่โควิดระบาดหนักเช่นนี้ “การรณรงค์ของหน่วยงานรัฐให้รักษาระยะห่างทางสังคม […]
จุฬาฯ เจ๋ง ส่ง “น้องหมา” คัดกรองโควิด แม่นยำเฉียด 100%
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผนึกกำลัง ภาคีเครือข่าย เปิดตัว “รถดมไว” คันแรกของไทย สนับสนุนภารกิจภาคสนามของ “สุนัขดมกลิ่นคัดกรองโควิด-19” มั่นใจผลตรวจแม่นยำสูงถึงร้อยละ 96 17 มิ.ย. 64 ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรม และพันธกิจสากล พร้อมด้วยคณบดีอีก 4 คณะ ได้แก่ ศ.น.สพ.ดร.รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ และ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ พร้อมด้วย นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค คุณอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด และผู้แทน บริษัท พีคิวเอแอสโซซิเอส จำกัด ร่วมกันแถลงเปิดตัว […]
กองทุนมิตรผล-บ้านปู มอบ 2 ล้านบาท เร่งวัคซีนจุฬาฯใบยา ทดสอบในมนุษย์ ส.ค.นี้
27 พ.ค.64 – คุณบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริษัทและประธานคณะกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล มอบเงิน 2 ล้านบาท จากกองทุนมิตรผล-บ้านปู สนับสนุนโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย โดยมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ ให้แก่ ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อเป็นกำลังใจให้นักวิจัยและสตาร์ทอัพสัญชาติไทย “ใบยาไฟโตฟาร์ม” เร่งผลิตวัคซีนป้องกันโควิดจากใบพืชทดสอบในมนุษย์ได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ โดยมีคณะผู้บริหารจากกลุ่มมิตรผล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมเป็นสักขีพยาน ประกอบด้วย ดร.ศรายุธ แสงจันทร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มการเงินและบริหารและอุปนายก สนจ. คุณประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจใหม่และธุรกิจปุ๋ย คุณวรวัฒน์ ศรียุกต์ ผู้อำนวยการด้านบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีและประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ CEO & Co Founder Baiya Phytopharm คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ เลขาธิการ สนจ. และคุณอธิศีล ธัญญ์ […]
Sea (ประเทศไทย) หนุนจุฬาฯ ลุย “ข้าวแสนกล่อง” เร่งส่งเสบียงช่วยชุมชนกักตัว
24 พ.ค.64 — Sea (ประเทศไทย) สนับสนุนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) ผนึกกำลัง Food For Fighters และภาคีเครือข่ายร่วมภารกิจ “ข้าวแสนกล่อง” บริจาคอาหารกล่องปรุงสุกพร้อมรับประทาน 4,500 กล่อง เพื่อเร่งจัดส่งไปยังชุมชนแออัดที่มีผู้จำเป็นต้องถูกกักตัวในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯ อาทิ คลองเตย บ่อนไก่ นางเลิ้ง ยมราช มหานาค เป็นต้น ซึ่งคาดว่ามีมากกว่าแสนคนที่ยังรอรับความช่วยเหลืออยู่ขณะนี้ คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ เลขาธิการ สนจ. กล่าวว่า “หลังจากเราเปิดพื้นที่ สนจ. ตั้งศูนย์ข้าวเพื่อหมอ Food For Fighters กรุงเทพฯ ชั่วคราว และเริ่มภารกิจข้าวแสนกล่องไปแล้วนั้น ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้รวบรวมอาหารกล่องที่ผู้มีจิตศรัทธาต่างส่งกันเข้ามาอย่างต่อเนื่องระหว่างวันที่ 17-23 พ.ค.2564 จำนวน 22,649 กล่อง และได้ทยอยนำส่งอาหารกล่องลงพื้นที่ชุนชนแล้ว โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทีม Food For Fighters ประสานกันอย่างแข็งขันกับผู้นำชุมชนที่เดือดร้อน ทำให้เราทราบปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น และเร่งแก้ปัญหาโดยขอความอนุเคราะห์ ขอความร่วมมือจากหลายภาคส่วน […]
Food For Fighters กับภารกิจข้าวแสนกล่องเพื่อชุมชนแออัด
สถานการณ์ระบาดของโควิด-19 รอบที่ 3 ในประเทศไทยเริ่มส่อเค้าอีกครั้งนับตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นจนส่งผลให้ยอดผู้ป่วยใหม่รายวันทำสถิติสูงสุดมากถึง 9,635 ราย เมื่อวันที่ 17 พ.ค.2564 สร้างความวิตกกังวลทิ้งไว้ในจิตใจของผู้คน ความร่วมมือร่วมใจเพื่อหยุดยั้งหรืออย่างน้อยมีส่วนช่วยชะลอการระบาดหลากหลายรูปแบบ อาทิ การบริจาคเงิน สิ่งของ อุปกรณ์การแพทย์ และอื่น ๆ ตามกำลังของแต่ละคน วันนี้ THE SHARPENER จึงนำท่านมาพบกับโครงการเพื่อสังคมสุดคูล (cool) อีกโครงการหนึ่ง นั่นคือ Food For Fighters (FFF) ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ ซึ่งมีคุณเตเต้ พันชนะ วัฒนเสถียร เป็นผู้ก่อตั้งโครงการ มาเผยความในใจหลังตะลุยทำโครงการมาครบขวบปี นอกจากเป็นผู้ประกอบกิจการร้านอาหารเพื่อชุมชนที่เขาใหญ่ที่หลายคนรู้จักร้าน “เป็นลาว” ของเธอเป็นอย่างดี ปัจจุบันคุณเตเต้ยังพ่วงตำแหน่งนายกสมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย โดยเธอเปิดใจเล่าถึงเหตุผลของการจัดตั้ง FFF “จริง ๆ แล้ว เราตั้งขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้ว (พ.ศ.2563) นะคะ สู้กันมาตั้งแต่โควิดครั้งแรก ด้วยวัตถุประสงค์หลักแต่เริ่มแรกคือเราต้องการที่จะช่วยผู้ประกอบการร้านอาหารและคนที่เกี่ยวข้องกับอาหารให้มีงานทำ ด้วยการประกอบอาหารส่งให้กับบุคลากรทางการแพทย์ โดยนำเงินบริจาคซึ่งมาจากการระดมทุนด้วยวิธี Crowdfunding มาจัดจ้างร้านอาหารทำอาหารกล่องในราคา 50 […]
8 เหตุผลที่ควรฉีดวัคซีนโควิด-19
นอกจากปฏิบัติตามหลัก New normal การฉีดวัคซีนนับเป็นสิ่งจำเป็นที่ทำให้ทุกคนปลอดภัยจากเชื้อโควิด-19 สำหรับใครที่ยังลังเล วันนี้เรามี 8 เหตุผลสำคัญที่ช่วยให้คุณมั่นใจในวัคซีนมากยิ่งขึ้น มาอ่านกันเลย
จุฬาฯ จับมือเครือข่าย ฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ เปิด ‘ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ’ เร่งอุ้มคลองเตยกักตัวนับหมื่น
(7 พ.ค.64) สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ มูลนิธิคุวานันท์ บริษัท เวิลด์ รีวอร์ด โซลูชั่น จำกัด และโครงการ ฟู้ด ฟอร์ ไฟเตอร์ (FFF- Food For Fighters) เปิดพื้นที่ตั้ง “ศูนย์ข้าวเพื่อหมอ” เป็นศูนย์กลางรับบริจาคและกระจายวัตถุดิบ อาหารกล่อง และสิ่งของที่จำเป็น เพื่อช่วยเหลือโรงพยาบาลสนาม ชุมชนแออัด และกลุ่มพื้นที่เปราะบางในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค.นี้ เป็นต้นไป เร่งระดมเครือข่าย สนจ. ผนึกกำลัง FFF เชื่อมต่อกระจายทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าไปยังแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนผู้ที่เข้าพักรักษาตัวใน รพ.สนาม และผู้ที่กักตัวในชุมชนแออัด ภายใต้แนวคิด “รับจากส่วนที่เกิน – เติมเต็มและส่งต่อส่วนที่ขาด” คุณมกร พงษ์ธนพฤกษ์ เลขาธิการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) กล่าวว่า […]