Banner 210

กฟผ. ชวน ‘ติวเตอร์-ยิม’ GO Green
“ปลูกป่าโลว์คาร์บอน” ลุยเลนบางปะกง สร้างบ้านปลา คอนโดปู

กฟผ. ร่วมกับ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพันธมิตร จุดกระแสรักษ์โลก ดึงนักแสดงคู่ซี้สุดฮอต “ติวเตอร์ – ยิม” ชวนเที่ยวสายกรีน ลุยปลูกป่าแบบโลว์คาร์บอน ในกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ ลุยเลน สร้างบ้านปลา คอนโดปู” พลิกฟื้นผืนป่าชายเลน มุ่งเป้าหมายปลูกป่าหนึ่งล้านไร่ให้สำเร็จ ควบคู่กระจายรายได้สู่ชุมชนโดยรอบ 7 ก.ค.2565 – นายณัฐพงษ์ สงวนจิตร รองผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา พร้อมด้วยนายจิรศักดิ์ อ่วมอุไร ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานฉะเชิงเทรา นายทรงฤทธิ์ สินถาวร ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดฉะเชิงเทรา นายจีรทัศน์ แจ่มไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดฉะเชิงเทรา นางสาววสุมน เนตรกิจเจริญ นายกสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) นางสาวรัชดาพร เสียงเสนาะ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน กฟผ. จัดกิจกรรม “กฟผ. ปลูกป่า ล้านไร่ […]

778F97D4 3B39 4C15 BF86 D969C1F095A3

KYTA ฉลอง 60 ปี อุทยาน ‘เขาใหญ่’ พ่วง 17 ปี มรดกโลก ‘ดงพญาเย็น’

สมาคมการท่องเที่ยวเขาใหญ่เปิดตัวตราสัญลักษณ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และ 17 ปี แห่งการเป็นมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น โดยองค์การยูเนสโก เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมวันครบรอบ 60 ปี กิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นภายในปี โดยนำแนวคิดมาจากความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อธรรมชาติของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแรกในประเทศไทย และมีพื้นที่ป่าไม้ใหญ่ที่สุดในประเทศ ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาพนมดงรักหรือทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช มีอาณาเขตครอบคลุม 4 จังหวัดในประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และ จังหวัดนครนายก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้รับการยกย่องว่าเป็น “อุทยานมรดกของอาเซียน” เนื่องจากเป็นพื้นที่อนุรักษ์ที่มีความสำคัญและเป็นตัวแทนระบบนิเวศของภูมิภาค เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาพันธุ์รวมถึงสัตว์ที่มีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ เช่น ช้างป่า และ เสือโคร่ง ในปี พ.ศ. 2565 นี้ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จะครบรอบ 60 ปีและครบรอบ 17 ปีที่กลุ่มป่าดงพญาเย็นได้รับการรับรองเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2505 เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการครบรอบ 60 ปี ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ที่จะถึงนี้ […]

SDGs ทสม 01 scaled

ไม่หันหลังให้ความตั้งใจในการฟื้นฟูป่า รักษาผืนป่าด้วยกุศโลบาย “ปลูกกาแฟแก้การเผา”

“ป่าไม้” เป็นรากฐานหนึ่งของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หากไม่มีป่า ย่อมไม่มีแหล่งน้ำที่สมบูรณ์ ผืนดินย่อมแตกระแหงแห้งแล้ง แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อเราพูดถึงป่า บ่อยครั้งที่คนได้ยินว่าป่ากำลังถูกทำลาย แต่พวกเขาเหล่านั้นมองไม่เห็นภาพ จินตนาการความเป็นจริงไม่ออก ว่าการไม่มีป่าไม้มีผลเสียร้ายแรงอย่างไร แต่ “คุณสุชาติ สมบูรณ์เถกิง” ทสม.จังหวัดแพร่ได้เห็นภาพนั้นด้วยสายตาของเขาเอง เมื่อยุคสงเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตวมาเยือนพื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าว ทำให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อแผ้วถางสร้างพื้นที่ทำเงิน แต่กลับเป็นการทำลายพื้นที่ทำกิน คุณสุชาติได้เดินทางขึ้นไปบนเนินเขา พบแต่ภูเขาหัวโล้นหลายลูก ปาเสื่อมโทรมและแห้งแลง ชุมชนขาดแคลนน้ำเป็นอย่างมาก แต่สภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมไม่ได้ทำให้ใจของคุณสุชาติแห้งแล้งสิ้นหวัง กลับกัน มันได้จุดประกายไฟแห่งความมุ่งมั่นที่จะฟื้นคืนป่าไม้กลับคืนมาสู่พื้นที่บริเวณบ้านน้ำพร้าวอีกครั้ง คุณสุชาติเริ่มฟื้นฟูป่าในฐานะคนธรรมดาด้วยการสร้างฝาย อาศัยเงินทุนจากการทอดผ้าป่าและกิจกรรมอื่น ๆ โดยยังไม่ได้ประสานความร่วมมือไปยังภาครัฐ รวบรวมชาวบ้าน ระดมความคิดอาศัยภูมิปัญญา นำสิ่งที่อยู่รอบตัวมาใช้ เชน ไม้ไผ่ แม้จะมีเพียงชาวบ้านด้วยกันก็สามารถสร้างฝายหลวงประชารัฐได้สำเร็จ ใช้เวลากวา 7 เดือน แต่การทำงานกันเองก็มีขีดจำกัด คุณสุชาติจึงเข้าร่วมเป็น ทสม. เพื่อประสานการทำงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้การฟื้นฟูป่ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กระนั้น แม้การปลูกป่าเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่การรักษาป่าให้ดำรงอยู่ได้ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีความสำคัญไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อป้องกันไม่ให้ผืนป่าที่สู้ฟันฝ่าฟื้นคืนมาต้องถูกทำลายอีกครั้ง ทสม.จังหวัดแพร่จึงได้มีการหารือร่วมกับภาคประชาชนและภาครัฐ หาแนวทางป้องกันไม่ให้ผืนฝ่าถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น เพื่อลดการถางป่า คุณสุชาติจึงริเริ่มโครงการ “ปลูกกาแฟแกการเผา” […]

Banner 184

กว่าจะยืนหนึ่งได้ในเอเชีย : ความสำเร็จวันนี้ที่จุฬาฯ

รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดี ด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์ นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงความสำคัญของมหาวิทยาลัยคงต้องบอกว่าเรามีมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศและตอบสนองความต้องการของประชาชนและสังคม ในยุคที่ความต้องการของสังคมเปลี่ยนไป เทคโนโลยีเข้ามาเร่งกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ภาคเอกชนจึงมีความต้องการที่จะไม่เหมือนเดิม บทบาทของมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนจากการเป็นเพียงผู้สอน เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย หรือการบริการทางวิชาการ ขยายสู่การเป็นผู้เชื่อมต่อภาคส่วนต่าง ๆ  สร้างนวัตกร และเป็นผู้ริเริ่มในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดียิ่งขึ้น เหตุนี้จึงนำมาสู่วิสัยทัศน์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือการเป็น Innovations for Society มหาวิทยาลัยผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม เป้าหมายของมหาวิทยาลัยระดับโลกในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงการผลิตคนให้ตอบโจทย์กับตลาดอุตสาหกรรม แต่เป็นการปั้นผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมที่มีแนวคิดในการทำธุรกิจเพื่อพัฒนาสังคม (Community Engagement) โดยตัวชี้วัดที่จะทำให้รู้ว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยทำตอบโจทย์สังคมหรือไม่ คือดูว่าประชาชนหรือสังคมนั้นกินดีอยู่ดีขึ้นหรือไม่ การดำรงชีวิตดีขึ้นไหม ยกตัวอย่างโครงการที่จุฬาลงกรณ์ฯ ทำ เช่นโครงการข้าวแสนกล่องเป็นหนึ่งในโครงการดี ๆ ที่เราเข้าไปช่วยตอบโจทย์ความต้องการของสังคมในเรื่องของความเหลื่อมล้ำและเรื่องความเท่าเทียมในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐาน  4 ปัจจัยที่หนุนส่งให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืนอันดับ 1 ของเอเชียและอันดับที่ 23 ของโลก มีปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประสบความสำเร็จประกอบไปด้วย เรื่องแรกก็คือยุทธศาสตร์ (Strategy) เรามีวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยที่สร้างนวัตกรรมเพื่อสังคมภายใต้วิสัยทัศน์นี้ มีกลยุทธ์ยุทธศาสตร์ทั้งหมด 3 ด้านคือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างผู้นำแห่งอนาคต (Future Leader) ยุทธศาสตร์ที่ 2 […]

Banner 176

จับตา “พิษสไตรีน” กิ่งแก้วระเบิด ซ้ำเติมวิกฤตสิ่งแวดล้อมกรุงเทพฯ

เสียงระเบิดกลางดึกจากโรงงานผลิคสารเคมีหมิงตี้ เคมิคอล ย่านกิ่งแก้ว สมุทรปราการ กลางดึกคืนวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ปลุกทุกความสนใจให้กลับมาพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในเขตเมืองกันอีกครั้ง แม้ทะเลเพลิงได้เผาผลาญสิ่งปลูกสร้างอาคารโรงงานวอดวายเหลือทิ้งไว้เพียงซากปรักหักพัง แต่ความเสียหายไม่ได้ส่งผลกระทบจำกัดอยู่เพียงชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ชานเมืองกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออกเท่านั้น เมื่อสาร “สไตรีน” (Styrene) ปริมาณ 1,600 ตัน ที่ถูกเก็บไว้ในโรงงานแห่งนี้ถูกเผาวอดข้ามวันข้ามคืนนานกว่า 26 ชั่วโมง ความเสียหายจึงส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศเป็นลูกโซ่ไปยังน้ำและอากาศ “สไตรีน” เป็นสารตั้งต้นที่ใช้ผลิตเม็ดพลาสติก จัดอยู่ในกลุ่ม Flammable Hydrocarbon มีสถานะเป็นของเหลว ระเหยและสามารถลุกติดไฟได้ง่าย โดยมีจุดติดไฟ (Flash Point) อยู่ที่อุณหภูมิ 31 องศาเซลเซียส เหตุเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ในครั้งนี้นอกจากจะก่อให้เกิดหมอกควันพวยพุ่งกระจายตัวเป็นวงกว้างในชั้นบรรยากาศลอยไปไกลนับสิบกิโลเมตรและแน่นอนว่าไม่ใช่หมอกควันธรรมดาเหมือนการเผาฟาง เผาหญ้า อย่างแน่นอน หากแต่เทียบได้กับการนำขวดน้ำพลาสติกความจุ 100 กรัม จำนวนมากถึง 16 ล้านขวดมาเผาพร้อมกันในคราวเดียว การดับเพลิงที่เผาไหม้สารชนิดนี้จึงไม่อาจทำได้โดยง่ายด้วยน้ำเปล่า เพราะตัวสารสไตรีนมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำอยู่ที่ประมาณ 0.909 g/CM3 ยิ่งนักผจญเพลิงระดมฉีดน้ำเข้าไปในกองเพลิงมากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้น้ำตกลงไปอยู่ชั้นล่างใต้สารนี้ เราจึงได้เห็นภาพทะเลเพลิงโหมไฟลุกโชนโชติช่วงขึ้นสูงสุดลูกหูลูกตาดั่งปรากฏในข่าวทุกสำนัก นั่นเพราะสไตรีนยังคงสัมผัสกับก๊าซออกซิเจนในอากาศอยู่อย่างต่อเนื่องนั่นเอง การเข้าควบคุมเพลิงไหม้ให้ได้ผลดีในสถานการณ์เช่นนี้จึงจำเป็นต้องใช้โฟมชนิดพิเศษที่มีชื่อว่า “Alcohol Resistant Aqueous […]

Banner 142 01

ฟื้นลุ่มน้ำน่านด้วยสหศาสตร์จุฬาฯ

จังหวัดน่านกำลังเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการปนเปื้อนสารเคมีในธรรมชาติ โดยมีการขยายตัวของทั้งเกษตรกรรมเชิงเดี่ยวไปยังผืนป่าและการปลูกพืชหมุนเวียนตามฤดูกาลในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำได้นำไปสู่การใช้สารเคมีในปริมาณมาก จากรายงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน ปี พ.ศ. 2551 พบการใช้สารเคมีทางการเกษตรสูงถึง 1,172.7 ตันต่อปี โดยสารฆ่าวัชพืชนั้นอยู่ในอันดับแรก คิดเป็นร้อยละ 92.04  แม้ว่าสารฆ่าวัชพืชจะสามารถสลายตัวไปได้เองตามธรรมชาติ หากบางส่วนยังคงหลงเหลือตกค้างเพราะมีค่าครึ่งชีวิตนานถึง 10 ปี ส่งผลให้ศักยภาพของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ลดลงจนเกิดผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาวทั้งปัญหาพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม หน้าดินถูกกัดเซาะพังทลาย อุทกภัยที่อาจชะล้างสารเคมีทางการเกษตรลงสู่ลำน้ำ สารพิษตกค้างในสัตว์น้ำที่ชุมชนนิยมนำไปบริโภค เช่น ปูนา กบหนอง หอยกาบน้ำจืด และปลากระมัง กระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนตามมาเป็นลำดับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ และศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จึงได้จัดทำโครงการวิทยาเพื่อพื้นถิ่นซึ่งเป็นโครงการตามแผนพัฒนาวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อวิจัยและพัฒนาการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นในลุ่มน้ำน่านแบบบูรณาการในพื้นที่จังหวัดน่านมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดวิกฤติการณ์อุทกภัยใหญ่ในปี พ.ศ. 2561 สร้างความเสียหายรุนแรงในหลายพื้นที่ของจังหวัดน่าน เกิดการชะล้างสารเคมีทางการเกษตรลงสู่แหล่งน้ำอย่างกว้างขวางจนอาจสร้างผลกระทบกับทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ คณะวิจัยจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ติดตามและตรวจสอบคุณภาพน้ำ ตะกอนดิน พื้นดิน รวมถึงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมผ่านโครงการ “ติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมลุ่มน้ำน่านและลำน้ำสาขา” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” ในโครงการพระราชดำริของพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ป่าไม้ในจังหวัดน่านอย่างยั่งยืน โดยอาศัยแผนที่ลุ่มน้ำน่านในระบบภูมิศาสตร์สารสนเทศของโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” ครอบคลุมพื้นที่แม่น้ำน่านและลำน้ำสาขาจากแหล่งต้นน้ำจนถึงเขื่อนสิริกิติ์ในพื้นที่ 15 […]

Banner 147

เปิดภารกิจเครือข่ายมหาวิทยาลัยผู้พิทักษ์ผืนป่าชุ่มน้ำลุ่มน้ำโขง

ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำทั่วโลก มีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของสรรพชีวิต (life supporting system) ที่เชื่อมโยงกันทั้งพืช สัตว์ และจุลินทรีย์หลากชนิด และยังมีคุณค่ากับมนุษย์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยพื้นที่ชุ่มน้ำยังจัดเป็นนิเวศบริการ (ecosystem services) ที่ส่งมอบนานาประโยชน์จากธรรมชาติสู่มนุษย์หลากหลายด้าน อาทิ แหล่งกักเก็บน้ำและชะลอการไหลของน้ำ กักเก็บธาตุอาหาร ดักจับสารพิษ ป้องกันการพังทลายของชายฝั่ง เป็นแหล่งอนุบาลและแหล่งอาศัยสัตว์น้ำ เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของมนุษย์ เป็นเส้นทางคมนาคม ตลอดจนเป็นพื้นที่ศึกษาเรียนรู้และพักผ่อนหย่อนใจ สำหรับประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำอยู่ราว 36,616.16 ตารางกิโลเมตร หรือ 22,885,100 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.5 ของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด แบ่งเป็นพื้นที่น้ำจืดร้อยละ 44.8 และพื้นที่น้ำเค็มร้อยละ 55.2 ซึ่งพื้นที่ชุ่มน้ำในประเทศไทยกำลังตกอยู่ในสภาวะถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องจากกิจกรรมพัฒนาและบุกรุกในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากการเกษตร การประมง การขยายตัวของเมือง และการพัฒนาอุตสาหกรรม ทำให้พื้นที่ชุ่มน้ำถูกทำลายลงอย่างรวดเร็ว เฉกเช่นเดียวกับพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตลุ่มน้ำโขง ที่แม้ว่าจะยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำเหลือแต่กำลังเผชิญกับความเสื่อมโทรมและไม่ได้รับความใส่ใจอนุรักษ์และจัดการอย่างเป็นระบบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวในข้างต้น จึงแสวงหาแนวทางการฟื้นฟูและอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำแบบองค์รวมโดยร่วมลงนามในข้อตกลงก่อตั้งเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยและฝึกอบรมด้านพื้นที่ชุ่มน้ำในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (The University Network for […]

Banner 140 03

จุฬาฯ ชู “แสมสารโมเดล” แก้ขยะล้นทะเลไทย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์” และ“สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ” เผยผลสำเร็จ “แสมสารโมเดล” นำร่องแก้ปัญหาขยะบนบกไหลลงทะเลชลบุรี ด้วยหลัก 3Rs ลดขยะพื้นที่แสมสารได้จริงกว่าร้อยละ 30 พร้อมขยายผลความสำเร็จจากชุมชนสู่ระดับชาติ จากองค์ความรู้ “วิทยาศาสตร์ทางทะเล” สู่การพัฒนา “แสมสารโมเดล” “แสมสารโมเดล” หรือ แสมสารไร้ขยะ เป็นหนึ่งในโครงการท้องทะเลไทยไร้ขยะ ภายใต้ “โครงการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกของชุมชนในการลดและแยกขยะเพื่อไม่ให้ตกลงสู่ทะเลพื้นที่แสมสาร” ดำเนินงานโดยภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ศึกษาและวิจัยผลกระทบของขยะทะเลและไมโครพลาสติกที่มีผลต่อสัตว์ทะเลและมนุษย์ในพื้นที่นำร่องชุมชนแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จากความร่วมมือในระดับท้องถิ่นนำโดยองค์การบริหารส่วนตำบลแสมสาร  กองทัพเรือสัตหีบ และประชาชนในพื้นที่ ได้กำหนดแนวทางการสร้างความตระหนักและจิตสำนึกอนุรักษ์ท้องทะเลร่วมกับชุมชน พร้อมถ่ายทอดความรู้เรื่องการลดและแยกขยะให้กับชุมชนจนกลายเป็นนวัตกรรมทางสังคมผ่านการศึกษาวิจัยการมีส่วนร่วม การสร้างจิตสำนึก และการสร้างชุมชนเข็มแข็ง โดยได้บูรณาการองค์ความรู้ “Chula Zero Waste” ที่ทดลองนำมาใช้จัดการปัญหาขยะภายพื้นที่จุฬาฯ จนสำเร็จแล้ว ขยายผลมายังชุมชนแสมสาร โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (The Japan International Cooperation Agency หรือ JICA) […]

Banner 142 04

นวัตกรรมฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมด้วยราไมคอร์ไรซา พิสูจน์ทราบแล้วจากป่าต้นน้ำน่าน พร้อมส่งผ่านสู่สมรภูมิไฟป่าทั่วโลก

แม้ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ปริมาณพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยจะยังคงทรงตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 31-33 ตามรายงานจากสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ประเทศไทยยังคงให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมโดยได้กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) วางเป้าหมายที่จะรักษาผืนป่าของไทยให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยมุ่งฟื้นฟูผืนป่าเศรษฐกิจและจัดการนิเวศป่าชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศกว่า 10,000 แห่ง ทั้งที่อยู่นอกเขตและในเขตพื้นที่อนุรักษ์ บนพื้นที่มากกว่า 7,870,000 ไร่ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 7 ของพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทย  ในปี พ.ศ.2561-2562 พื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยมีอยู่ทั้งสิ้น 102,484,072.71 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 31.68 ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศ โดยไฟป่ายังคงเป็นภัยคุกคามของทรัพยากรป่าไม้ไทย ทั้งไฟป่าที่เกิดขึ้นทั่วประเทศจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งและไฟป่าที่เกิดจากการลักลอบเผาป่าเพื่อใช้ประโยชน์ ตามรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่ามีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศไทยถูกเผาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 จนถึงเดือนเมษายน 2563 แล้ว รวมทั้งสิ้น 170,835 ไร่ ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 3 ใน 4 เป็นพื้นที่ป่าในเขตภาคเหนือ ซึ่งสาเหตุสำคัญของการลักลอบเผาป่าชุมชนมาจากเรื่องปัญหาปากท้องของคนในชุมชนละแวกใกล้เคียง ประกอบกับความเชื่อดั้งเดิมของคนพื้นถิ่นที่ว่า “ยิ่งเผา เห็ดยิ่งขึ้น” จึงสะท้อนปัญหาการลักลอบเผาป่าชุมชนให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรังระดับชาติสั่งสมต่อเนื่องมาอย่างยาวนานนับสิบปี  ปัญหาป่าชุมชนถูกเผาเป็นส่วนหนึ่งของการเร่งเร้าให้ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อการฟื้นฟูป่าให้ทำได้ยากเนื่องด้วยเพราะความชื้นและธาตุอาหาร รวมไปถึงเชื้อจุลินทรีย์พื้นถิ่นในดินตามธรรมชาติได้ถูกทำลายไปพร้อมกับไฟป่าจนหมดสิ้นแล้วเท่านั้น แต่การลักลอบเผาป่าชุมชนยังสร้างปัญหาการแพร่กระจายของฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 ในชั้นบรรยากาศกลายเป็นหมอกควันพิษให้กลับมาทำลายสุขภาวะของคนในพื้นที่เองอีกด้วย  การฟื้นฟูป่าชุมชนเสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ได้อีกครั้งจึงจำเป็นต้องเริ่มจากการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมโดยเริ่มจากผืนดินเป็นอันดับแรก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

28

แต้มบุญสูงมาก ซัมซุงคว้า 3 รางวัลด้านความยั่งยืน

ก้าวสู่ทศวรรษใหม่ ซัมซุงประเดิมรับปีหนูทองคว้า 3 รางวัลด้านความยั่งยืนบนเวทีระดับโลก ในการนำวัสดุเหลือใช้มารีไซเคิล (recycle) และอัพไซเคิล (upcycle) รวมถึงการดำเนินงานในการจัดการของเสียอย่างยั่งยืน จากงานประกาศรางวัลการจัดการวัสดุอิเล็กทรอนิกส์อย่างยั่งยืน Sustainable Materials Management (SMM) Electronics Challenge awards ประจำปี 2019 จัดโดยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ หรือ อีพีเอ (the US Environmental Protection Agency – EPA) และยังได้รับรางวัลชนะเลิศด้านการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจากเวที CES 2020 ค่ายซัมซุงคว้าไปถึง 3 รางวัล งาน SMM Electronics Challenge โดยอีพีเอ จัดขึ้นตั้งแต่ปี 2557 เป็นเวทีมอบรางวัลประจำปีเพื่อเชิดชูบริษัทต่างๆ ในสหรัฐที่มุ่งมั่นในการจัดการวัสดุอย่างยั่งยืน และรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้อย่างมีความรับผิดชอบ โดยบริษัทเหล่านี้เป็นบริษัทที่เข้าร่วมโครงการรีไซเคิลต่างๆ โดยสมัครใจ สำหรับรางวัลแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ Champion Award มอบให้สินค้าและนวัตกรรมที่ถูกพัฒนาขึ้นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ Tier […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner