222498C1 B6A0 4BDD 8822 29ACFE9F1098

ดับฝัน !​ “สงขลา​มรดกโลก”​ กองทัพเรือ​ตั้งสถานีเรดาร์​เขตโบราณสถาน​เขาแดง​

วานนี้ (3​ พฤษภาคม​ 2563)​ “ครูสืบ”​ นายสืบสกุล​ ศรีสุข​ ผู้อำนวยการภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม​ โพตส์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุว่า​ ครูสืบขออนุญาตโพสต์เรื่องสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อโบราณสถานที่เป็นหัวใจเมืองสงขลา ที่เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์บนที่สูงที่สุด และเป็นจุดชมเมืองสงขลาเมืองสองทะเลที่สวยที่สุดของเมืองสงขลา และอาจทำให้พี่น้องทหารเรือได้ทราบเรื่องราวของความสำคัญที่จุดหัวใจเมืองสงขลาตรงนี้​ แล้วเปลี่ยนความตั้งใจ ที่จะไปสร้างฐานและจอเรดาร์ (ตามหนังสือที่ทางเจ้ากรมทหารเรือได้ของพื้นที่) ที่อยู่ห่างจากเจดีย์ประวัติศาสตร์ของความเป็นชาติไทย คือ​ เจดีย์องค์ดำ องค์ขาว และเป็นจุดหลอมรวมของสามวัฒนธรรม ที่สวยงามที่สุดของเมืองสงขลาเมืองพหุวัฒนธรรม เพราะฐานเจดีย์คือป้อมปืนหมายเลข 10 ของเมืองสงขลาเป็นเรื่องราวของพี่น้องมุสลิมที่สร้างโดยสุลต่านสุลัยมันผู้เป็นเจ้าเมืองเมื่อกว่า 400 ปี สมัยกรุงศรีอยุธยา เจดีย์องค์ดำ องค์ขาว เป็นเรื่องราวของพี่น้องพุทธ ที่สร้างโดยเจ้าพระยาคลัง และเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ สมัยกรุงรัตนโกสินทร์และตรงกลางเจดีย์ มีอาคารเก๋งจีน เป็นเรื่องราวของพี่น้องจีน ที่สร้างโดยเจ้าเมืองสงขลาในช่วงเวลาที่พี่น้องจีนเป็นเจ้าเมือง จึงถือเป็นจุดที่สำคัญ เป็นหนึ่งพื้นที่หลักในการนำสงขลาไปขอขึ้นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลก เพราะถ้าสงขลาได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ก็จะเป็นการเชื่อมให้ผู้คนที่มาเที่ยวเมืองมรดกโลกที่ปีนังประเทศมาเลเซีย ที่มีมากถึงปีละไม่ต่ำกว่า 12 ล้านคน​ ได้เดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย มาสู่สงขลา​ แล้วสงขลาก็จะเป็นศูนย์กลางในการท่องเที่ยวของจังหวัดชายแดนใต้ ภาคใต้ชายแดนของเราก็จะได้รับการพัฒนาได้รวดเร็วและมากขึ้นในทุกมิติ​ นั่นคือฝันไกลของสงขลา แต่การที่ทางทหารเรือได้มีโครงการที่จะไปสร้างสิ่งแปลกปลอมบนพื้นที่ ที่อยู่ใกล้แหล่งโบราณสถาน คือ​ “ฐานและจอเรด้าร์”​ ที่เป็นหน่วยงานของความมั่นคง​ คือการดับฝันโครงการสงขลาสู่มรดกโลก ที่ถึงเวลานี้ทางยูเนสโก้ได้มีเอกสารส่งมายังจังหวัดสงขลาว่าทางยูเนสโกจะส่งบุคลากรมาช่วยดูแหล่งประวัติศาสตร์ […]

E1A80617 520F 479A 8C8C C462A7B301C9

“ชุบชูใจ Push your heart up” จุฬาฯ ชวนปรับสมดุลชีวิตใหม่ในช่วงโควิด

ในภาวะวิกฤตย่อมมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ วันนี้เราจะพาไปดูตัวอย่างการปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้เข้ากับยุคโควิด-19 ที่นอกจากนิสิตนักศึกษาจะต้องเรียน ต้องสอบ กันจากบ้านแล้ว การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการทำโครงงาน โปรเจค รายงาน หรือเปเปอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบการเรียนในแต่ละรายวิชานาทีนี้นั้น ดูเหมือนจะเป็นสิ่งยอดฮิตที่ผู้เรียนทั้งนักเรียน นิสิต นักศึกษา จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นคงจะดีกว่าแน่หากการเรียนรู้ด้วยตนเองเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมเราในยามนี้ได้ ล่าสุด ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สาคร สุขศรีวงศ์ หรือ อาจารย์หมี จาก คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก ชื่อว่า Sakorn Suksriwong ว่าได้ปรับรูปแบบการทำมอบหมายให้นิสิตทำโครงงานใหม่ โดยให้ทำอะไรก็ได้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในยุคนี้ จึงเป็นที่มาของการจัดทำโครงการ “ชุบชูใจ” เป็นการสร้างสรรค์จากนิสิตคณะจิตวิทยาร่วมกับนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมเวิร์กชอปออนไลน์ให้กับผู้ที่สนใจได้ผ่อนคลาย และสามารถจัดการความสัมพันธ์แบบ work-life balance โดยไม่มีค่าใช้จ่าย โดยโครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Wellness form home (WFH) “Wellness from home (WFH) เป็นโครงการที่เกิดจากการรวมตัวกันของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนวัยทำงานที่ต้องทำงานอยู่ที่บ้านเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เพราะการที่ต้องทำงานอยู่แต่บ้านทำให้เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว ซึ่งจากการสำรวจความเครียดเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมเดิมเป็นเวลานาน ไม่สามารถแบ่งเวลาพักผ่อนออกจากเวลาทำงานได้อย่างชัดเจน ไม่ได้พบเจอเพื่อนฝูง […]

55673880 F383 44EB 9AA4 C17EE63E22B3

รอบโลก รอบรู้ สู้โควิด-19 3 พฤษภาคม 2563

ในขณะที่ทั่วโลกยังคงมียอดผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 สะสมทะลุไปกว่า 3.3 ล้านรายแล้ว โดย 1 ใน 3 ของตัวเลขจำนวนนี้เป็นผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกา ราว 1 ล้านราย และยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ  ทำให้เราได้เห็นความพยายามจากทั่วทุกมุมโลกระดมสรรพกำลังกันเพื่อรับมือกับภัยคุกคามด้านสุขภาพของมวลมนุษยชาติ ผ่านการออกนโยบาย มาตรการ และแนวทางป้องกัน ควบคู่ไปกับการพัฒนาวัคซีน และนวัตกรรมสู้ภัยโควิด-19 ที่หลากหลาย และเพื่อให้คนไทยได้รู้เท่าทัน “รอบโลก รอบรู้ สู้โควิด-19” จึงมีอัพเดทสถานการณ์ล่าสุดจากหลายประเทศทั่วโลกในรอบสัปดาห์มาฝากกัน สหรัฐอเมริกา ผลสำรวจจากรอยเตอร์/อิปซอส พบชาวอเมริกัน ‘เกินครึ่ง’ หมดความเชื่อถือในคำพูดของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ เกี่ยวกับวิธีรับมือโรคโควิด-19 และเกือบจะทั้งหมดรับไม่ได้ที่ผู้นำสหรัฐฯ ออกมาแนะนำให้ฉีด ‘สารฟอกขาว’ หรือ ‘น้ำยาฆ่าเชื้อ’ เข้าสู่ร่างกายเพื่อกำจัดไวรัส แบบสำรวจความคิดเห็นดังกล่าวจัดทำขึ้นวันที่ 27-28 เม.ย. ที่ผ่านมา พบว่าชาวอเมริกันวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 47 ตอบว่า “มีความเป็นไปได้สูง” หรือ “พอเป็นไปได้” ที่พวกเขาจะปฏิบัติตามคำแนะนำของ ทรัมป์ เกี่ยวกับวิธีจัดการไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ลดลงถึงร้อยละ 15 […]

8A6369BC DF83 4582 83A4 7DEDB568D131

ด่วนที่สุด! ราชกิจจาประกาศ เคอร์ฟิวทั่วราชอาณาจักร งดเดินทางข้ามจังหวัด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารสถานการณ์ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 5 สำหรับประกาศราชกิจจานุเบกษาที่ประกาศในวันนี้ (1 พฤษภาคม 2563) ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด การบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ฉบับที่ 5 มีข้อห้ามดังนี้ 1.ห้ามออกจากเคหสถาน 22.00 น.-04.00 น. 2.ห้ามหรือข้อจำกัดการดำเนินการหรือการทำกิจกรรมบางอย่างต่าง พรก. และกฏหมายที่เกี่ยวข้อง 3.ห้ามใช้อาคารสถานที่และสถาบันการศึกษา ห้ามจัดการเรียนการสอน 4.ห้ามจัดกิจกรรมที่มีผู้เข้าร่วม่จำนวนมาก เช่นการประชุม สัมมนา แจกอาหาร จัดเลี้ยง 5.ห้ามใช้ท่าอากาศยาน เพื่อการขึ้น-ลง 6.ให้ผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรทางบก น้ำ อากาศ ปฏิบัติตามเงื่อนไข ที่กำหนดโดย ศบค. 7.ให้ผู้ซึ่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ สั่งให้แยกกัก กักกัน คุมตัวไว้สังเกต ณ ที่เอกเทศ 8.ให้ผู้ว่ากทม.ปิดจุดเสี่ยง สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า คลินิก บ่อน อาบ อบนวด และอื่นๆ […]

55C3928F 70CA 4C68 BB1A 9FCB4251CCC8

ด่วน ! นายกฯ งัดพรก.ฉุกเฉินเบรกผู้ว่าฯทั่วประเทศ คลายล็อกดาวน์

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกําหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 4) ใจความว่า ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 1) ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2563 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 แล้ว นั้น โดยที่รัฐบาลได้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเป็นลําดับอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้ฝ่ายสาธารณสุข ฝ่ายเศรษฐกิจ ฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคงร่วมกันประเมินสถานการณ์เพื่อพิจารณาผ่อนคลาย หรือเพิ่มความเข้มงวดการบังคับใช้บางมาตรการ โดยมุ่งจะให้การควบคุมและการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉินสามารถยุติลงได้โดยเร็วและไม่ย้อนกลับมาอีก  ขณะเดียวกัน ประชาชนสามารถดํารงชีวิต ได้อย่างปกติสุข ภายใต้มาตรการป้องกันโรคและคําแนะนําของทางราชการ โดยจะพิจารณาผ่อนคลาย เป็นลําดับขั้นตอนตามหลักเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลกกําหนดและคํานึงถึงประเภทของกิจการ หรือกิจกรรมที่มีความเสี่ยงน้อย สถานที่ซึ่งสามารถจัดระบบควบคุมดูแลได้ […]

14282194 273E 4C93 A6BE 5C4C34B71244

COVID-19 เนรมิตผู้บริโภคเป็น 4 เซ็กเมนต์ใหม่ “กลุ่มใช้จ่ายแบบระวัง” ใหญ่สุด

การศึกษาล่าสุดฟันธงแล้วว่าการระบาดของโควิด-19 มีส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคจนส่งผลให้เกิดเป็นผู้บริโภค 4 กลุ่มใหม่ขึ้นมาปรากฏว่ากลุ่มใหญ่ที่สุดคือกลุ่มที่ใช้จ่ายแบบระวังเพื่อครอบครัวเป็นหลักขณะที่กลุ่มเล็กที่สุดคือกลุ่มเสือซุ่มที่ไม่เดือดร้อนแถมใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในช่วงอยู่บ้านสกัดโควิด เซ็กเมนต์ใหญ่อันดับ 2 คือกลุ่มรัดเข็มขัดที่ใช้จ่ายน้อยลงทุกทางเพราะกำลังโดนพิษรายได้ลดหรือถูกเลิกจ้าง เซ็กเมนต์นี้ใหญ่พอกับอันดับ 3 คือกลุ่มที่ยังมั่นคงสงบนิ่ง ไม่ใช้จ่ายมากขึ้นหรือลดลงเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค ที่น่าสนใจคือ 42% ของกลุ่มตัวอย่าง เชื่อว่าการระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อสินค้าตั้งแต่ระดับพื้นฐาน หลายคนบอกว่าจะใช้จ่ายมากขึ้นพื่อซื้อสินค้าหรือบริการในท้องถิ่นใกล้บ้าน และจะใช้จ่ายมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่เชื่อถือได้ และแบรนด์ที่มี “จริยธรรม” เซ็กเมนต์ใหม่แห่งอนาคต ผลการสำรวจนี้ถูกบรรจุในดัชนีชี้วัดผู้บริโภคแห่งอนาคต “Future Consumer Index” การสำรวจครอบคลุมผู้บริโภค 4,859 คนใน 5 ตลาดหลักของโลกอย่างสหรัฐอเมริกา แคนาดา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี รายงานชิ้นใหม่ล่าสุดนี้เผยแพร่โดยบริษัท EY หรือ Ernst & Young หนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชี 4 รายใหญ่ที่สุดในโลก เช่น ดีลอยต์ทูชโทมัตสุ ไพรซ์วอเทอร์เฮาส์คูเปอส์ และ เคพีเอ็มจี  เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่ากำลังเปลี่ยนพฤติกรรมการซื้อไปในทางไหน EY พบว่า 34% หรือ 1 ใน 3 ของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคยุคหน้าจะขึ้นสินค้าผลิตภัณฑ์ในประเทศหรือในท้องถิ่นมากขึ้นกว่าเดิม แปลว่านักการตลาดแบรนด์ระดับโลกรายใหญ่อาจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์และทำการบ้านในประเด็นโลคอลให้มากขึ้น นอกจากแหล่งที่ตั้ง กลุ่มตัวอย่าง 25% ให้ความสำคัญกับความน่าเชื่อถือของแบรนด์ โดยบอกว่าจะซื้อสินค้ากับแบรนด์ที่เชื่อถือได้ให้มากขึ้น ขณะที่อีก 23% มองที่จริยธรรมของแบรนด์ ทำให้อาจใช้จ่ายเงินมากขึ้นเพื่อซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่มีภาพลักษณ์คุณธรรมชัดเจน หากเจาะให้ลึกลงไปตามเทรนด์พฤติกรรมผู้บริโภคที่ก่อตัวชัดเจนในช่วงโควิด-19 EY แบ่งกลุ่มได้เป็น 4 โปรไฟล์ผู้บริโภคที่ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหม่ที่นักการตลาดทั่วโลกต้องจับตาให้ดี เซ็กเมนต์แรก คือ “Cut Deep” กลุ่มที่ใช้จ่ายน้อยลงทุกด้านเพราะได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่น ถูกปลดออกจากงานหรือรายได้หดหายไป กลุ่มนี้ครองสัดส่วน 27% ของกลุ่มตัวอย่าง  เซ็กเมนต์ที่ 2 คือ “Stay calm, carry on,” กลุ่มนี้ครอง 26% ของกลุ่มตัวอย่าง จุดเด่นคือความสงบนิ่งและยังมั่นคง การใช้จ่ายของกลุ่มนี้ไม่เปลี่ยนจากเดิมมากเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากการระบาด  ขณะที่เซ็กเมนต์ที่ 3 คือ “Save and stockpile” ถือเป็นเซ็กเมนต์ใหญ่ที่สุด 35% ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกกังวลกับสภาพเศรษฐกิจในอนาคต ทำให้ใช้จ่ายอย่างระมัดระวังเพื่อครอบครัวมากขึ้น  เซ็กเมนต์ที่ 4 คือ “Hibernate and spend” กลุ่มตัวอย่างเพียง 11% เท่านั้นที่ถูกจัดเป็นเซ็กเมนต์นี้ ที่แม้จะจำศีลอยู่ในบ้าน แต่ก็ใช้จ่ายมากขึ้นทุกด้านในช่วงวิกฤตของโลก นอกจากเซ็กเมนต์การจับจ่ายที่เห็นชัด การสำรวจของ EY พบว่าทัศนคติต่อความเป็นส่วนตัวและวัตถุประสงค์ของผู้บริโภคก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เห็นได้ชัดจาก 54% ของกลุ่มตัวอย่างกล่าวว่าได้เปิดใจแบ่งปันข้อมูลส่วนตัวมากขึ้นเพื่อช่วยให้ระบบตรวจสอบและติดตามกลุ่มติดเชื้อโควิด-19 ทำงานได้แม่นยำ ประเด็นนี้ EY เชื่อว่าความคิดดั้งเดิมเรื่องการหวงข้อมูลอาจลดลงไปตามกาลเวลา ขณะเดียวกันวิกฤติก็ทำให้โฟกัสของผู้บริโภคเปลี่ยนไปเน้นที่วัตถุประสงค์ที่ใหญ่กว่าเพื่อให้ภาพรวมของสังคมเป็นไปในทางที่ดีขึ้น ตามให้ทันแล้วปรับกลยุทธ์ Andrew Cosgrove นักวิเคราะห์จาก EY กล่าวในแถลงการณ์ว่า วันนี้หลายบริษัทยังต้องดิ้นรนเพื่อตามให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ปัญหานี้สำคัญมากเพราะบริษัทที่คาดการณ์ได้ทัน จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เต็มที่ กลยุทธ์การสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคยุคหน้าจึงต้องเปลี่ยนไป โดยเฉพาะกลุ่ม Cut Deep ที่ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป เกือบ 1 ใน 4 ของกลุ่มนี้ถูกระงับการจ้างงานชั่วคราวหรือถาวร ทำให้ 78% ช้อปปิ้งน้อยลง ในขณะที่ 64% คงไว้เฉพาะการซื้อของจำเป็น และ 33% รู้สึกว่าไม่ต้องเลือกแบรนด์ เพราะแบรนด์มีความสำคัญน้อยมากในสถานการณ์ปัจจุบัน แต่หากมองที่กลุ่ม Hibernate and spend การสำรวจพบว่าเกือบครึ่งของผู้บริโภคในเซ็กเมนต์นี้มองว่าแบรนด์สินค้ามีความสำคัญมากขึ้นในช่วงวิกฤติ ดังนั้นแคมเปญกลุ่ม Purpose-driven campaign ที่ขับเคลื่อนด้วยวัตถุประสงค์จึงควรให้ความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะกับแบรนด์ที่ต้องการเติมเต็มช่องว่างในการส่งสาร และนำเสนอโซลูชั่นที่ใช้งานได้จริงในช่วงวิกฤตที่แบรนด์อื่นไม่สามารถทำได้  สำหรับประเด็นความยั่งยืนและจริยธรรม การสำรวจสะท้อนว่าผู้บริโภคเห็นความสำคัญมากขึ้นกับการเลือกบริโภคสินค้าที่ไม่มีผลกระทบด้านลบต่อโลก นอกจากนี้ นักการตลาดก็ไม่ควรมองข้ามแคมเปญกระตุ้นความเชื่อมั่นของตลาดเพราะ EY พบว่าผู้บริโภคเพียง 31% เท่านั้นที่มองว่าจะกลับมาใช้จ่ายในระดับปกติ และเพียง 9.1% เท่านั้นที่คิดว่าจะใช้จ่ายมากขึ้น  สัดส่วนการประเมินลักษณะนี้มีความสำคัญมากต่อแนวโน้มตลาดหลังโควิด-19 โดยเฉพาะตลาดงานโฆษณาที่จะต้องให้ความมั่นใจกับลูกค้าเกี่ยวกับอนาคต บนความเชื่อว่าควรจะลงทุนต่อไปเพราะมีสายรุ้งสดใสรออยู่ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นตัวของแบรนด์. ที่มา : https://positioningmag.com/1275427 https://www.prnewswire.com/news-releases/four-consumer-behavior-trends-emerge-during-the-covid-19-pandemic-the-first-ey-future-consumer-index-finds-301045840.html https://www.marketingdive.com/news/coronavirus-reshapes-consumer-habits-creating-4-new-segments-report-finds/576633/

FB896F61 61DE 4372 BAD8 F7B11496A435

3 Business Strategy โลกหลัง COVID กับพีระมิด Maslow’s hierarchy ที่กลับหัว

“ผู้นำที่ฉลาดจะไม่ปล่อยให้วิกฤตนั้นสูญเปล่า” คำพูดนี้เป็นของ Lucy Jameson ผู้ร่วมก่อตั้ง Uncommon Agency พูดถึงท่ามกลางวิกฤต COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อทุกแบรนด์บนโลกใบนี้ เขาเสนอให้นักการตลาดและนักธุรกิจต่างๆ พยายามมองหาโอกาสในวิกฤตนี้ที่ตัวเองจะพลิกเป็น Strategy ใหม่ให้ได้มากที่สุดครับ เพราะแบรนด์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขายสินค้าหรือให้บริการสักอย่างแล้วก็จบไป แต่แบรนด์ที่แท้จริงสามารถสร้างความแตกต่างที่ยิ่งใหญ่ได้มากกว่านั้นผ่านสินค้าหรือบริการที่พวกเขาใช้เป็นตัวกลางในการสื่อสารกับลูกค้า แล้วเมื่อโลกเรากำลังอยู่ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ที่เข้ามาจุดชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อพฤติกรรมผู้บริโภคทุกคนไปตลอดกาล และนั่นคือสิ่งที่เราทุกคนจากทุกธุรกิจต้องเจออย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้แน่นอน นั่นหมายความว่าต่อจากนี้ไปทุกธุรกิจและทุกแบรนด์ต้องปรับรื้อแผนกันใหม่ตั้งแต่ต้น ทุก Business Strategy, Marketing Strategy หรือแม้แต่ Communcation Strategy ก็ต้องเริ่มใหม่หมดเพราะพฤติกรรมผู้บริโภคไม่เหมือนเดิมที่เราเคยรู้จักมาตลอดชีวิตอีกต่อไป จากเดิมพวกเขาเคยต้องการสิ่งที่ตอบสนองต่อความต้องการในใจลึกๆ อยากได้อะไรสักอย่างที่บอกให้รู้ว่าพวกเขาแต่ละคนแตกต่างจากคนอื่นขนาดไหน แต่วันนี้กลับดูเหมือนว่าทุกสิ่งที่ทุกคนต้องการกลับเป็นอะไรที่เป็นแค่เรื่องพื้นฐานของพีระมิด Maslow มากๆ อย่างการมีสุขภาพที่ดี กินอิ่ม แข็งแรง แล้วนอนหลับ ความฟุ้งเฟ้อหรือไลฟ์สไตล์ที่ฟุ่มเฟือยกลายเป็นอะไรที่ไม่มีค่าภายในไม่กี่วัน และนี่ก็จะเป็น 3 คำถามสำคัญที่ทุกธุรกิจ ทุกแบรนด์ และนักการตลาดทุกคนต้องถามตัวเองให้ดีต่อจากนี้ ถ้าคุณอยากเห็นธุรกิจของคุณยังอยู่รอดในยุค COVID-19 ได้ ตอนนี้เลยคุณทำอะไรเพื่อช่วยผู้คนได้บ้าง? คุณจะปรับตัวได้ดีแค่ไหนเพื่อที่จะอยู่รอดต่อไปให้ได้? คุณคิดว่าหลังจากนี้โลกจะเปลี่ยนไปเป็นอย่างไร? (จะไม่ถามว่ามากขนาดไหน เพราะมันจะมากมายมหาศาลแน่) 1. Helping […]

417B059D B937 4EBF 8A47 02F9300EEAC7

“มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ต้นแบบตลาดออนไลน์ New Normal สุดฮิตช่วงโควิด19

ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 แน่นอนว่าการประกอบสัมมาอาชีพชอบรูปแบบต่าง ๆ ย่อมได้รับผลกระทบไปทั่ว ไม่ว่าจะยากดีมีจน แทบทุกคนต่างต้องโอดครวญ และปรับตัวเข้ากับสถานการณ์วันนี้ที่ทำให้ชีวิตเราไม่อาจหวนคืนกลับไปได้ดังเดิมอีกแล้ว และสิ่งท่ีผุดขึ้นมาในโลกโซเชี่ยล กลายเป็น New Normal ท่ามกลางวิกฤติยังมีโอกาส นั่นคือ ตลาดซื้อขายออนไลน์บนแพลตฟอร์ม Facebook Close Group ที่ “แซน-ภาวรินทร์ รามัญวงศ์” ศิษย์เก่าจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นผู้บุกเบิกโมเดลค้าขายแบบ “E-Marketplace” ภายใต้ชื่อสุดเก๋ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน” ที่มีสมาชิกกว่า 1.6 แสนคนในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา ถือเป็นความปกติใหม่ที่มาได้ถูกจังหวะ ตอบโจทย์ทั้งผู้ซื้อ ผู้ขาย และนโยบายรัฐในช่วง Work From Home และที่สำคัญคือเป็นต้นแบบให้กับ Online Community แวดวงศิษย์เก่าหลากรั้วมหาวิทยาลัยผุดขึ้นราวกับไฟลามทุ่ง แซน-ภาวรินทร์ รามัญวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. รหัส 51ผู้สร้างกลุ่ม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน ปฐมบทของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน”แซน ภาวรินทร์ ผู้บุกเบิกและเป็นแอดมินของกลุ่มเล่าให้เราฟังถึงจุดเริ่มต้นของ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน“ ไว้อย่างน่าสนใจว่า “ตอนที่แซนเปิดกลุ่มนี้ขึ้นมานะคะ […]

298D6494 9569 4EF2 A1DA 2E17D9B85670

“อาร์ม – ปาณพล จันทรสุกรี” เจ้าของ “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” ที่ปังไม่หยุดในโลกออนไลน์

กลายเป็นกระแสดังที่ปังไม่หยุด! สำหรับตลาด E-Market Place ประจำรั้วมหาวิทยาลัยที่ไล่ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดสร้างความฮือฮาไปทั่วโลกโซเชียลขณะนี้ โดยเฉพาะกลุ่ม “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” ที่ใช้เวลาเพียงสัปดาห์กว่า ๆ ก็สร้างสถิติใหม่เหนือกลุ่ม E-Market Place ด้วยยอดสมาชิกทะลุ 2 แสนรายไปแล้ว โดยที่นี่มีสินค้าและบริการให้เลือกสรรมากมายไล่ตั้งแต่ของกิน ของใช้ ไปจนถึงดีลซื้อขายอสังหาริมทรัยพ์ คอนโด บ้านจัดสรร รถยนต์ และที่ดินแปลงหรูมูลค่านับพันล้าน ก็มาฝากร้านขายออนไลน์กันใน “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส” และที่มากไปกว่านั้น ก็มีบรรดานิสิตเก่าและนิสิตปัจจุบัน ต่างพากันเข้ามาฝากผลงานทิ้งโปรไฟล์ไว้กันอย่างคับคั่งทั้ง เชฟป้อม – ม.ล.ขวัญทิพย์ เทวกุล, บีม – กวี ตันจรารักษ์, พรีม – รณิดา เตชสิทธิ์, พีช –พชร จิราธิวัฒน์ รวมเหล่าดาราเซเลบชื่อก้องไว้อย่างมากมาย ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลงานการรังสรรค์ชั่วข้ามคืนของนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์จากรั้วจามจุรีคนนี้ “อาร์ม – ปาณพล จันทรสุกรี” ที่เราดึงตัวมาพูดคุยกันใน THE SHARPENER คอลัมน์นี้ จุดเริ่มต้นของ “จุฬาฯมาร์เก็ตเพลส”อาร์ม ปาณพล […]

98B1C4D1 5B61 4F2B 8CE2 31CD8DF784D0

จุฬาฯ ชวนโหลดไลน์สติกเกอร์ “น้องอีเห็น” ช่วยดับไฟป่าภาคเหนือ

แม้งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ–ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 จะจบลงไปแล้ว แต่ใช่ว่ากิจกรรมภายใต้งานฟุตบอลประเพณีฯ จะสิ้นสุดลงตามไปด้วย ล่าสุด “CU Coronet” หรือ กลุ่มผู้อัญเชิญพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำหน้าที่อัญเชิญพระเกี้ยว อัญเชิญถ้วยรางวัลพระราชทาน อัญเชิญป้ายนามมหาวิทยาลัย และอัญเชิญพานพุ่มในงานฟุตบอลประเพณีฯ และเป็นตัวแทนนิสิตจุฬาฯ ทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ ได้สร้างสรรค์โครงการรณรงค์ให้สังคมตระหนักและให้ความสำคัญกับสถานการณ์ไฟป่าในภาคเหนือของประเทศที่ยังคงลุกลามสร้างความเสียหายต่อระบบนิเวศอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ “#FIGHTFIRETOGETHER สู้ไฟไปด้วยกัน” ชวนคนไทยดาวน์โหลดไลน์สติกเกอร์ ในคอลเลคชั่นใหม่ “NONG E-HEN THE FIREFIGHTER” วันนี้ THE SHARPENER ได้ 3 ตัวแทนหนุ่มสาวจากรั้วจามจุรี CU Coronet 74 เจ้าของโครงการดี ๆ มาพูดคุยกับเรา ได้แก่ น้องอิฐ รามิล จรูญศักดิ์ คณะนิเทศศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 , น้องเยล ปัณชญา เตชะพรสิน คณะแพทยศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 และน้องเบส ภาคินี […]

WordPress Cookie Notice by Real Cookie Banner