เปิดเคล็ดลับความสำเร็จ จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้ ชวนดูคาราวาน Smart Mobility
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย สำนักงานจัดการทรัพย์สิน (PMCU) ขับเคลื่อนโครงการ “จุฬาฯ สมาร์ทซิตี้” (Chula Smart City) ผ่าน “SMART 4” นำนวัตกรรมอัจฉริยะ 4 มิติ ได้แก่ Smart Living, Smart Energy, Smart Environment และ Smart Mobility รองรับไลฟ์สไตล์ใหม่ให้ประชาคมจุฬาฯ กว่า 50,000 คน ที่ใช้ชีวิตบนพื้นที่กว่า 1.5 พันไร่ ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมสร้างคุณค่าต่อยอดให้ชุมชนและสังคม ชูจุดเด่นยานยนต์หลากรูปแบบตอบโจทย์ SMART MOBILITY ผลงานนวัตกรรมยานยนต์ในกลุ่ม Smart Mobility มียานยนต์รองรับการสัญจรที่น่าจับตามองชวนให้ลองใช้อยู่ถึง 5 ผลงาน ได้แก่ 1) รถโดยสารปรับอากาศขนาดเล็กภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chula Pop Bus) ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า สานต่อแนวคิดลดมลภาวะตามโครงการนโยบายมหาวิทยาลัยสีเขียว ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรจุฬาฯ รวมไปถึงชุมชนรอบข้างโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย […]
‘จุฬาฯ-ใบยา’ เร่งผลิตวัคซีน ทดสอบในมนุษย์ทันกลางปี ชวนคนไทยร่วมเป็น #ทีมไทยแลนด์ เปิดรับบริจาคต่อเนื่องถึงสิ้นปี 64
19 ม.ค.63 ณ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย รองอธิการบดีด้านการวางและกำหนดยุทธศาสตร์นวัตกรรมและพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ เป็นประธานมอบเงินบริจาคในโครงการวัคซีนเพื่อคนไทย ครั้งที่ 1 จำนวน 25 ล้านบาท สนับสนุนการค้นคว้าวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด สตาร์ทอัพที่ก่อตั้งโดยนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เร่งทดสอบวัคซีนในมนุษย์ให้ทันกลางปี 2564 ความคืบหน้า ‘วัคซีนเพื่อคนไทย’ ช่วงหนึ่งเดือนแรกหลังเปิดตัวโครงการ ตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2563 และเริ่มเปิดรับบริจาคตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2563 เป็นต้นมา ได้รับการตอบรับที่ดี ล่าสุด รศ.ดร.ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย ประธานมูลนิธิฯ เปิดเผยว่า “ขอขอบคุณคนไทยที่ได้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งของ #ทีมไทยแลนด์ โดยในวันนี้ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ มีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการวัคซีนเพื่อคนไทยในช่วงเดือนแรก โดยโครงการได้รับเสียงตอบรับและการสนับสนุนที่ดีจากหลายภาคส่วน ทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐที่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข […]
พี่เก่าจุฬาฯ ส่งข้าวคึกคัก วิดยายังรั้งอันดับ 1 อักษร-บัญชีติดท้อป 5 แล้ว
20 มิ.ย. 2564 ผ่านมา 35 วันของภารกิจข้าวแสนกล่องที่ได้รับบริจาคอาหารกล่องแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น 156,936 กล่อง โดย 3 อันดับแรกผู้บริจาคสูงสุดได้แก่ สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ มียอดบริจาค 11,110 กล่อง การไฟฟ้านครหลวงกับยอดบริจาค 10,000 กล่อง และคณาจารย์ บุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงการณ์มหาวิทยาลัย และผู้มีจิตศรัทธา มียอดบริจาครวม 8,300 กล่อง วันนี้ภารกิจข้าวแสนกล่องได้รับบริจาคข้าวกล่องทั้งสิ้น จำนวน 4,168 กล่อง เพื่อส่งต่อให้ผู้ที่ยังรอรับการช่วยเหลือในชุมชนแออัดพื้นที่กรุงเทพฯ นับแสนราย โดยมีผู้ร่วมบริจาคอาหารกล่องมาอย่างมากมาย อาทิ สมาคมนิสิตเก่าวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ คณาจารย์และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ นอกจากนี้ยังมีร้านอาหาร โรงแรม และ ผู้มีจิตศรัทธาอีกหลากหลายมาร่วมสมทบด้วย นอกจากนี้ยังนำส่งอาหารกล่องให้กับโรงพยาบาลสนามและชุมชนแออัดอีก 20 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสนามราชพิพัฒน์ โรงพยาบาลสนามเรือนจำกลางบางขวาง โรงพยาบาลสนามพระมงกุฏ มูลนิธิดวงประทีป มูลนิธิเพื่อนหญิง ชุมชนคลองไผ่สิงโต ชุมชนคลองเตยล็อก […]
ม.แม่โจ้เจ๋ง คิดค้น ‘นาโนไนท์’ ช่วยฆ่าเชื้อโควิด-19 ออกฤทธิ์นาน ต้นทุนผลิตถูกกว่าแอลกอฮอล์
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 มีนาคม เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (ม.แม่โจ้) ทำการผสมผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโนกับน้ำในสัดส่วน 1 ต่อ 1 ในถังฉีดพ่นน้ำยา พร้อมะสาธิตการฉีดพ่นนาโนไนท์บริเวณทางเดิน และห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ ภายในอาคารสำนักงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งน้ำยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการป้องกันและฆ่าเชื้อโควิด-19 โดยออกฤทธิ์ได้นานกว่าแอลกอฮอล์ 7-17 วัน รศ.ดร.ระพีพันธ์ แดงตันกี คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้คิดค้นและวิจัยผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์นาโน กล่าวว่า ถือว่าผลการวิจัยออกมาทันกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 พอดี เพราะความจริงผลิตภันฑ์ซิลเวอร์นาโนนี้วิจัยสำเร็จเมื่อ 8 ปีที่แล้ว หรือปี 2554 โดยซิลเวอร์นาโนเป็นเทคโนโลยีจิ๋ว ที่ใช้ป้องกันเชื้อโรคอย่างแพร่หลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะทางการแพทย์ ได้ผลิตยาป้องกันการติดเชื้อให้กับรถพยาบาลและเครื่องสำอาง แต่มีราคาแพงและผลิตได้อย่างจำกัด ดังนั้นจึงทำการวิจัยโดยการใช้เม็ดเงินบริสุทธิ์ 99.99% ผลิตซิลเวอร์นาโน เป็นการลดต้นทุนและทำให้ประชาชนเข้าถึงเทคโนโลยีนาโนได้ง่ายขึ้น “เทคโนโลยีนาโนซิลเวอร์เป็นการใช้ประจุบวกวงนอกของอิเลคตรอนของเงินบริสุทธิ์ เข้าทำลายผนังเซลล์ของเชื้อโรค ส่งผลให้เชื้อโรคหยุดการเจริญเติบโตและตายในที่สุด ในด้านความปลอดภัยมีผลวิจัยรับรอง ไม่มีผลต่อความเป็นพิษของเซลล์เนื้อเยื่อมนุษย์ หากจะมีอาการก็เกิดขึ้นได้กับคนที่ไม่สามารถใส่เครื่องประดับเงินได้เท่านั้น ซึ่งก็สามารถพัฒนาขึ้นมาได้จนเป็นผลิตภัณฑ์นาโนสเปรย์ฆ่าเชื้อได้ มีประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่าแอลกอฮอล์เลย และไม่มีผลเสียต่อร่างกาย มีความปลอดภัยสูง แต่มีต้นทุนการผลิตเพียงลิตรละ 100 […]
ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.10 “KidiCuB” ธุรกิจ สถาบันเสริมพัฒนาการเด็ก กับ ครูพิม ณัฏฐณี
“ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Episode 10 พาทุกคนไปล้อมวงคุยกับ “ครูพิม-ณัฏฐณี สุขปรีดี” นักจิตวิทยาพัฒนาการ ผู้มีประสบการณ์สอนและทำวิจัยเรื่องพัฒนาการเด็กมามากกว่า 8 ปี เจ้าของ “KidiCuB” สถาบันเสริมพัฒนาการเด็กและครอบครัว ที่มุ่งเน้นให้เด็กเติบโตอย่างเต็มศักยภาพตามรูปแบบของตนเองด้วยกระบวนการทางจิตวิทยา พร้อมกูรูมากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤต “ประเสริฐสุข เพฑูรย์สิทธิชัย” รองประธานฝ่ายต่างประเทศ สนจ. ฝากคอมเมนต์ EP. 10 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/SUrf7U4ErR15oWpZA
ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.2 : Friday จ๊อบ กัณฑ์พิชญ์
การได้ออกไปนั่งชิลล์ที่ร้านสวย ๆ ทานอาหาร จิบกาแฟเสิร์ฟพร้อมขนมสุดฟิน อาจเคยเป็นเรื่องปกติของใครหลายคน หากแต่เมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 ก็เท่ากับบังคับให้เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง พิถีพิถันเรื่องการใช้ชีวิตนอกบ้าน รวมถึงการทานอาหารนอกบ้านเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบคงหนีไม่พ้น “ธุรกิจร้านอาหาร” “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” จึงอยากชวนคุณล้อมวงกันเข้ามา ผ่าวิถีใหม่อีกครั้งใน Episode 2 ว่าด้วยเรื่องธุรกิจร้านอาหารล้วน ๆ ชวนคิดเล่นเห็นต่างปรับตัวตามแนวทาง Trust Economy เพื่อสร้างความมั่นใจใหม่ให้ทั้งลูกค้าและผู้ประกอบการ พบกับ “จ๊อบ – กัณฑ์พิชญ์ ศิริสุทธิวรนันท์” พี่เก่าบัญชี ดีกรีลีดจุฬาฯ ที่ผันตัวมาเป็นเชฟ เจ้าของร้าน “Friday” Cafe’ & Restaurant สุดชิคแห่งสัตหีบ ชลบุรี พร้อมด้วยกูรูมากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤติ “ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์” อุปนายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) และผู้รักษาการรองอธิการบดีจุฬาฯ ท่านใหม่ป้ายแดง ฝากคอมเมนต์ EP. 2 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/zpJTdAnrWyFjm3UQ9 แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.3 […]
รองนายกฯ ‘อนุทิน’ หนุน “ทีมไทยแลนด์” เร่งผลิตวัคซีนจุฬาฯ ใช้เอง ดึงคนไทยมีส่วนร่วมบริจาคห้าร้อยบาทให้ถึงล้านคน
วันนี้ (14 ธ.ค. 63) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” ของมูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับบริจาคทุนวิจัย 500 บาท จากคนไทย 1 ล้านคน เร่งผลิตวัคซีนโควิด-19 จากใบพืช พร้อมเปิดตัว “ทีมไทยแลนด์” ร่วมพัฒนาวัคซีนสานฝันคนไทยมีวัคซีนใช้เองจากฝีมือคนไทย 100% คาดพร้อมใช้ปลายปี 2564 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มูลนิธิซียูเอ็นเทอร์ไพรส์ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีเปิดโครงการ “วัคซีนเพื่อคนไทย” เปิดรับบริจาคทุนวิจัย 500 บาท จากคนไทย 1 ล้านคน รวม 500 ล้านบาท เพื่อเร่งผลิตวัคซีนโควิด-19 จากใบพืชเพื่อทดสอบในมนุษย์ได้ทันภายในเดือนมิถุนายน 2564 พร้อมเปิดตัว “ทีมไทยแลนด์” ร่วมลงนามความร่วมมือวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนป้องกันโรคจากไวรัสโควิด-19 ระหว่างองค์การเภสัชกรรม โดย นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม บริษัท ใบยา […]
ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.9 “FIT-D” ธุรกิจ ฟิตเนส
กิจวัตรประจำวันของเหล่าคนรักสุขภาพ คือการออกกำลังกายเข้าฟิตเนส แต่เมื่อเกิดโควิด-19 ทำให้สถานที่สร้างเสริมสุขภาพ กลับกลายเป็นหนึ่งในสถานที่เสี่ยง “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Episode 9 ชวนคุณมาร่วมฝ่าวิกฤติ ปรับวิถีชีวิตสู่ New Normal ไปกับ “เจเจ – เจตต์ กลิ่นประทุม” และ ”จอม- โศรัจ แวววิริยะ” จากผู้ที่รักการออกกำลังกาย สู่การก่อตั้ง “FIT-D” ฟิตเนส ที่อยากให้ทุกคนมีสุขภาพดีกันอย่างแท้จริง พร้อมกูรูมากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤต “สมภพ โปษะกฤษณะ” ประธานกอล์ฟ สนจ. ฝากคอมเมนต์ EP. 9 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/GUpz9GvYKCfudwJA9 แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.10 วันพุธที่ 29 ก.ค. 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางแฟนเพจ The Sharpener และ Chula Alumni
สำรวจความคืบหน้าวัคซีนโควิด-19 จาก ‘ทีมไทยแลนด์’ ผลิตเอง ใช้เอง ความหวังของคนไทยทั้งประเทศ
ผ่านไปเกือบ 1 ปีแล้ว หลังเริ่มพบการแพร่ระบาดของ ‘โควิด-19’ หรือโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลก การพัฒนาวัคซีนสำหรับรับมือกับโควิด-19 จึงถือเป็นวาระสำคัญที่ทั้งโลกจับตามอง เพราะจะสร้างความมั่นใจให้กับผู้คนในการใช้ชีวิตและการเดินทางมากยิ่งขึ้น ทว่าการพัฒนาวัคซีนไม่ใช่เรื่องง่าย ข้อมูลจาก พญ.อรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง จากจดหมายข่าว ‘แวดวงวัคซีน’ โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ระบุว่า โดยทั่วไปแล้วการพัฒนาวัคซีนให้สำเร็จ 1 ชนิดอาจกินเวลาถึง 10-15 ปี อันเนื่องมาจากการทดสอบหลายขั้นตอนเพื่อให้ได้วัคซีนที่มีคุณภาพดีและมีความปลอดภัยสูง หลังจากการทดสอบในสัตว์ทดลองแล้วก็ต้องนำไปทดสอบในคนอีก 3 ระยะ ก่อนจะนำไปผลิตและขึ้นทะเบียนนำมาใช้ แต่การระบาดของอีโบลาในแถบแอฟริกาตะวันตก ทำให้มีการพัฒนาวัคซีนที่เร่งรัดจนสำเร็จในระยะเวลา 2 ปี ทำให้เกิดความหวังของการพัฒนาวัคซีนอย่างรวดเร็วเมื่อมีโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้น สำหรับการพัฒนาวัคซีนสำหรับโควิด-19 องค์การอนามัยโลกระบุว่าไม่ทราบแน่ชัดว่าเราจะมีวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพไว้พร้อมสำหรับการแจกจ่ายเมื่อใด แต่ก็คาดการณ์ว่าน่าจะเป็นช่วงต้นถึงกลางปี 2021 นี้ และขณะนี้เราก็ได้เห็นความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากทั่วโลก ทั้งในสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร หรือรัสเซีย ส่วนประเทศไทยนั้นมีทั้งแนวทางการจัดหาวัคซีนจากต่างประเทศ การเตรียมการรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการวิจัย-พัฒนาวัคซีนเองภายในประเทศ โดยกรณีของการพัฒนาและวิจัยวัคซีนภายในประเทศนั้น ประเทศไทยมีทีมนักวิจัยและพัฒนาวัคซีนจากหลายหน่วยงานที่กำลังทำงานเพื่อค้นหาวัคซีนสำหรับโควิด-19 เราจะลองมาสำรวจตัวอย่างของทีมพัฒนาวัคซีนเหล่านี้ รวมถึงความคืบหน้าในการพัฒนาวัคซีนจากฝีมือคนไทยกัน วัคซีนจุฬาฯ คืบหน้า เริ่มจากการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด […]
เมื่อจุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’
หลายคนคงเคยเล่นเกมสร้างเมืองยอดฮิต อย่าง ซิมซิตี (SimCity) หรือ ซิตี้: สกายไลน์ (Cities: Skylines) เกมที่ให้ผู้เล่นทดลองเป็นผู้นำเข้าไปบริหารบ้านเมืองของตนเอง เริ่มตั้งแต่การวางผังเมือง วางระบบสาธารณูปโภคและระบบขนส่งสาธารณะให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งเมือง รวมไปถึงต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อใช้จ่ายในด้านต่างๆ ตลอดจนสามารถกำหนดกฎหมายและนโยบายได้เองอีกด้วย และจากที่เคยคิดว่าการสร้างเมืองมีแต่ในเกมเท่านั้น จนเราได้มีโอกาสพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล’ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่านให้เป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ เราถึงรู้ว่า ‘การสร้างเมืองจริงๆ’ นั้นเป็นอย่างไร PMCU กับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองจุฬาฯ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (PMCU) คือหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการบริหารและจัดการเขตพื้นที่พาณิชย์ย่านสยามสแควร์ และสวนหลวง-สามย่าน กว่า 385 ไร่ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือถ้าเทียบกับในเกมซิตี้: สกายไลน์ ก็คงเป็นตำแหน่งนายกเทศมนตรีนั่นเอง PMCU ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยความสร้างสรรค์ เพื่อให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงโอกาสสำหรับทุกชีวิต ผ่านแนวคิด ‘Co-Creating Shared Values’ เพื่อพัฒนาคุณค่าทั้ง 3 ด้านไปพร้อมๆ กัน ได้แก่ Learning Style สร้างพื้นที่เพื่อการเรียนรู้แก่ทุกคน […]