ศูนย์บริการสุขภาพจุฬาฯ ปลุกวัยรุ่นใส่ใจเซ็กส์วัยเรียน ชวนปรึกษา คลินิกสูตินรีเวช แก้ปัญหาเพศสัมพันธ์
ศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิด Safety Love – Safety Sex Clinic ให้คำปรึกษาด้านสูตินรีเวชและเพศสัมพันธ์แก่นิสิตและบุคลากรจุฬาฯ หวังแก้ปัญหาสุขภาวะทางเพศ (Sexual Well-being) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUCH) สถานพยาบาลขั้นปฐมภูมิ (Primary Care) ใส่ใจสุขภาพนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ที่เสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูกและเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหมู่เยาวชนไทยอายุ 15-24 ปี จึงจัดโครงการ Safety Love – Safety Sex Clinic เชิญชวนนิสิตและบุคลากรจุฬาฯ ทั่วมหาวิทยาลัย รับคำปรึกษาด้านสูตินรีเวชและเพศสัมพันธ์ โดยขอรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก (Pap smear) เบื้องต้น และบริการส่งต่อตรวจเพิ่มเติมพร้อมรับยาเฉพาะทางที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคลินิกนิรนาม สภากาชาดไทย นอกจากนี้ ยังสามารถรับคำปรึกษาผ่านทางสายด่วนตอบปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ วิธีการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาอนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่น และการใช้เวชภัณฑ์ที่เหมาะสม อาทิ ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิด จากบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง น.พ.สัณฐิติ ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์บริการสุขภาพแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “จากการดำเนินงานของศูนย์บริการสุขภาพฯ ในส่วนของคลินิกสูตินรีเวชและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ของศูนย์ในรอบปีที่ผ่านมาพบว่ามีนิสิตและบุคลากรทั้งชายหญิง […]
จุฬาฯ พัฒนา 5 นวัตกรรมใส่ใจผู้ป่วยสมองขาดเลือดครบวงจร ชู Telemedicine ดูแลคนไทยพ้นภัยหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมองเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับล้าน จากการเปิดเผยของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2562) ระบุว่า ในปีหนึ่งมีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองมากถึง 5.5 ล้านคน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ขณะนี้ทั่วโลกมีผู้ป่วยที่ได้รับผลกระทบจากอาการหลอดเลือดสมองตีบตันแล้วมากกว่า 80 ล้านคน เป็นผู้ป่วยใหม่มากถึง 13.7 ล้านคนต่อปี และมีผู้ป่วยกว่าร้อยละ 60 ต้องปิดฉากชีวิตก่อนวัยอันควร โดยข้อมูลที่น่าสนใจอยู่ที่จำนวนผู้ป่วยของโรคนี้กว่า 1 ใน 4 นั้นมีอายุเพียง 25 ปีขึ้นไปเท่านั้น สำหรับสถานการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยในช่วงปี 2556-2560 ก็มีแนวโน้มสถานการณ์เฉกเช่นเดียวกับทั่วโลกเช่นกัน กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า จำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยอยู่บนสุดของหัวตาราง โดยในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยพุ่งสูงกว่า 304,807 ราย และมีผู้เสียชีวิตราว 30,000 ราย ศ. พญ.นิจศรี ชาญณรงค์ อาจารย์ประจำภาคอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านโรคหลอดเลือดสมองแบบครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า […]
ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.8 “Medivisage” ธุรกิจ Beauty Care กับ หมอณัฐ – นพ. ณัฐพล พิณนิมิตร
ธุรกิจที่หลายคนเฝ้ารอหลังปลดล็อก หนึ่งในนั้นคงเป็นคลินิกเสริมความงาม ที่การบริการเลี่ยงสัมผัสไม่ได้ ต้องระมัดระวังความสะอาด ทั้งอุปกรณ์ สถานที่ และบุคลากร เป็นอย่างมากเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” Episode 8 นี้จะชวนคุณล้อมวงกันเข้ามา ผ่าวิถีใหม่ไปกับ “หมอณัฐ – นพ. ณัฐพล พิณนิมิตร” นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญความงามแห่ง “Medivisage” คลินิกเสริมความงามอันดับต้น ๆ ของเมืองไทย พร้อมด้วยกูรูมากประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤต “ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ” อาจารประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ และผู้ก่อตั้ง Baiya Phytopharm ฝากคอมเมนต์ EP. 8 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/dQRE4GuQrg9e3WrF9 แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.9 วันพุธที่ 22 ก.ค. 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางแฟนเพจ The Sharpener และ Chula Alumni
ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.7 “เหลือใจ” ธุรกิจร้านอาหาร กับ ภู – ภูวณัฏฐ์ แท่นวัฒนกุลรี
คุยผ่าวิกฤติโควิด-19 ทางรอดธุรกิจร้านอาหารกับ ภู–ภูวณัฏฐ์ แท่นวัฒนกุล เจ้าของร้านเหลือใจ อาหารคลีนรสแซบ กินได้ทุกวัน ไม่มีเบื่อ พร้อมกูรูมากกระบวนท่า ฝ่ามาแล้วทุกวิกฤติ ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ รองอธิการบดี จุฬาฯ และอุปนายก สนจ. ดำเนินรายการโดย 4 Co-Host แมค อาร์ต ปาร์ค และกรีน ฝากคอมเมนต์ EP. 7 ถึงพวกเราได้ที่ https://forms.gle/QnnXfvWcwBwLNDNR7 แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.8 วันพุธที่ 15 ก.ค. 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางแฟนเพจ The Sharpener และ Chula Alumni
ตั้งวงเล่า เหลาความคิด EP.6 “SOS – Sense Of Style” Multi-Brand Stores
“ตั้งวงเล่า เหลาความคิด” EP.6 กับ ทีมผู้ก่อตั้ง “SOS – Sense Of Style” ร้าน Multi-Brand Stores ยอดฮิต พร้อมเหล่ากูรูมากประสบการณ์ผ่านมาแล้วทุกวิกฤติ “ดร.ศรายุธ แสงจันทร์” อุปนายก สนจ. และ CFO มิตรผล และ “ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์” อุปนายก สนจ. และรองอธิการบดีจุฬาฯ ฝากข้อความถึง EP.6เข้ามากันเลยจ้า https://forms.gle/YUbtYvEnUtYcJpvk6 แล้วพบกันอีกครั้งกับรายการ “ตั้งวงเล่า เหลาความคิด : EP.7 วันพุธที่ 8 ก.ค. 2 ทุ่มเป็นต้นไป ทางแฟนเพจ The Sharpener และ Chula Alumni
โครงการ Medical Genomic
จากสถิติข้อมูลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ พบว่า จำนวนเด็กทารกแรกเกิด 640,919 รายในปี พ.ศ. 2561 พบภาวะพิการแต่กำเนิดกว่า 13,877 รายของเด็กเกิดมีชีพ คิดเป็นร้อยละ 2.17 ความพิการแต่กำเนิดของทารกที่พบบ่อยที่สุด 4 อันดับแรก คือ โรคหัวใจแต่กำเนิด แขนขาผิดรูป ปากแหว่งเพดานโหว่ และกลุ่มอาการดาวน์ โดยความพิการแต่กำเนิดของทารกอย่างโรคกระดูกเปราะ เป็นตัวอย่างของกลุ่มโรคหายากทางพันธุกรรมในเด็กที่คาดว่ามีจำนวนผู้ป่วยสูงถึง 5 ล้านคน โดยเด็กส่วนใหญ่ที่ป่วยโรคด้วยโรคหายากมีอาการได้หลากหลาย อาทิ เลือดเป็นกรดหรือด่าง พัฒนาการช้า ตามองไม่เห็น หูไม่ได้ยิน ปากแหว่ง ไม่มีแขนขา ซึ่งนอกจากแพทย์จำเป็นต้องรักษาตามอาการแล้ว ยังต้องค้นหาเหตุของโรคไปให้ถึงระดับพันธุกรรม เพื่อเพิ่มโอกาสในการหาแนวทางรักษาบรรเทาไม่ให้อาการของโรครุนแรงจนทำให้เด็กเสียชีวิต จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2562 จากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้รับมติเห็นชอบให้นำเทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์มาใช้ในการจัดการปัญหาสุขภาพ โดยกำหนดมาตรการการนำเทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์ก้าวหน้ามาใช้ในทางการแพทย์ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันโรค วินิจฉัยโรค และดูแลผู้ป่วย นำไปสู่การก่อตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชพันธุศาสตร์แห่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พัฒนานวัตกรรมวินิจฉัยโรคหายากได้อย่างแม่นยำและรวดเร็ว พร้อมเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเวชพันธุศาสตร์ผ่านสื่อต่าง ๆ ศ.ดร.พญ.กัญญา ศุภปีติพร หัวหน้าสาขาวิชาเวชพันธุศาสตร์และเมแทบอลิซึม ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหัวหน้างานสนับสนุนศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านเวชพันธุศาสตร์ […]
สุขภาพดีถ้วนหน้า จุฬาฯ จัดให้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย “ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักบริหารระบบกายภาพ” จัดพื้นที่ออกกำลังกายพร้อมกิจกรรมอบรมทักษะกีฬาให้กับนิสิต บุคลากรและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงพื้นที่ออกกำลังกายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุล กล่าวว่า “จุฬาฯ ไม่เพียงเป็นสถาบันแห่งความรู้ แต่ยังเปิดพื้นที่รอบรั้วจุฬาฯ ดูแลสุขภาพ สร้างพื้นที่สีเขียวเป็นปอดให้คนกรุงได้ออกกำลังกายจำนวนหลายแห่ง รวมถึงสนามกีฬาประเภทต่าง ๆ ที่ให้บริการกับประชาชนทั่วไป ตลอดจนให้ชุมชนท้องถิ่นหรือสาธารณชนมาใช้อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกีฬาร่วมกันด้วย ตามนโยบายของจุฬาฯ ที่มุ่งสนับสนุนและส่งเสริมสุขภาพประชาชน ซึ่งสถานที่ของเรามีความพร้อมและได้มาตรฐานสากล นอกจากนิสิต คณาจารย์ และบุคลากรของจุฬาฯ แล้ว ศูนย์กีฬาฯ ก็ยังเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาใช้บริการได้ สิ่งที่เราคำนึงถึงคือความสะอาดและการบริการที่เท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นชาวจุฬาฯ หรือประชาชนทั่วไป” ศูนย์กีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพื้นที่ออกกำลังกายเพื่อให้นิสิต บุคลากรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงพื้นที่ออกกำลังกายโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อาทิ สนามกีฬาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสนามกีฬากลางแจ้งมาตรฐานขนาดใหญ่ ประกอบด้วย สนามหญ้าสังเคราะห์ระดับมาตรฐานที่สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) รับรองเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ลู่วิ่งยางสังเคราะห์ จำนวน 8 ลู่ ซึ่งได้รับรองจากสหพันธ์กรีฑานานาชาติ (IAAF) มีอัฒจันทร์สำหรับนั่งชมโดยรอบสามารถจุผู้ชมได้ประมาณ 20,000 – 25,000 คน มีความพร้อมเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง […]
จุฬาอารี นวัตกรรมขับเคลื่อนสังคม ต้นแบบบูรณาการสหศาสตร์สานพลังเครือข่ายรับมือสังคมผู้สูงวัยไทย
อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยเต็มรูปแบบในอีกหนึ่งปีข้างหน้า? สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ปักหมุดให้ปี พ.ศ. 2564 เป็นปีสำคัญของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทย และกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ตัวเลขประชากรไทยผู้มีอายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป กำลังจะมีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ ซึ่งเป็นผลมาจากความรุดหน้าทางด้านเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการแพทย์ของประเทศ ทำให้คนไทยมีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น ประกอบกับนโยบายการวางแผนครอบครัวที่เน้นควบคุมการมีบุตรมาโดยตลอดนับสิบปีได้ส่งผลโดยตรงต่อการลดภาวะเจริญพันธุ์ของคนไทยลงอย่างรวดเร็ว และยังส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของคนไทยลดลงอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุไทยที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วยังกระทบต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะด้านการผลิตและการออมมีแนวโน้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสังคมที่รัฐต้องเร่งแก้ไข ไม่ว่าจะเป็นปัญหาผู้สูงอายุถูกทอดทิ้ง ปัญหาด้านสภาพจิตใจหลังวัยเกษียณ รวมไปถึงปัญหาค่าใช้จ่ายสำหรับการดูแลรักษาพยาบาลกลุ่มผู้สูงวัยทำให้รัฐบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว และนี่คือภาพสังคมไทยที่เราจะได้ประสบพบเจอในห้วงช่วงเวลานับจากนี้ไปอีกสามทศวรรษ และกำลังเป็นประเด็นท้าทายประเทศไทยให้จำต้องมีทางออกกับเรื่องนี้ก่อนจะสายเกินแก้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำโครงการ“จุฬาอารี : โครงการบูรณาการสหศาสตร์เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (Chulalongkorn University Platform for Ageing Research Innovation : Chula ARi) บูรณาการศาสตร์ในจุฬาฯ ที่หลากหลายทั้งด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและการมีส่วนร่วม ด้านประชากรและสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อออกแบบอนาคตผู้สูงอายุไทยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยศึกษาข้อมูลจากผู้สูงวัยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวง.4 ชุมชนใหญ่ ได้แก่ ชุมชนวังทองหลาง ชุมชนสามแพร่ง (แพร่งภูธร แพร่งนรา […]
เบื้องหลังภารกิจสู้โควิด-19 เพื่อมวลมนุษยชาติ ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ (EID)
ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาโลกเผชิญหน้ากับการระบาดของโรคอุบัติใหม่ (Emerging Disease) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทั้งไวรัสซิกา ไวรัสอีโบลา ไวรัสเมอร์ส และล่าสุดที่มวลมนุษยชาติกำลัง ประสบอยู่นั้นคือโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ระบาดใหญ่จนมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 50 ล้านคน และคร่าชีวิตคนหลากชาติพันธุ์ไปแล้วกว่า 1 ล้านคน ซึ่งปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เชื้อไวรัสเหล่านี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วคือความรุดหน้าแบบก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในโลกไร้พรมแดนที่เอื้อให้การทำกิจกรรมและการเดินทางไปมาหาสู่กันทั้งง่าย สะดวก รวดเร็ว จนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในหลายประเทศเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องรวมถึงประเทศไทยของเราด้วย ประเทศไทย ในฐานะหมุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวทั่วโลก จึงตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญกับการรับเชื้อโรคข้ามพรมแดน จากการเปิดข้อมูลของกรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ระบุว่า ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาทำกิจกรรมต่าง ๆ ในประเทศเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคนต่อปี ซึ่งในจำนวนนี้อาจเป็นพาหะนำโรคอุบัติใหม่ติดเชื้อจากคนสู่คนข้ามพรมแดนเข้ามาด้วยเช่นกัน การเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่จึงเป็นภารกิจสำคัญที่หน่วยงานในแวดวงสาธารณสุขไทยเทศตระหนักและขานรับเป็นวาระที่จำเป็นต้องสร้างเครือข่ายพัฒนาความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การเตรียมความพร้อมป้องกันและควบคุมโรคที่อาจเกิดขึ้นใหม่ ระงับยับยั้งก่อนแพร่กระจายออกไปเป็นวงกว้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะแพทยศาสตร์ ได้ก่อตั้งศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ขึ้นในปี พ.ศ.2559 ทำงานควบคู่กันกับศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านค้นคว้าและอบรมโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน เพื่อดำเนินการเชิงรุกเข้าถึงแหล่งกำเนิดโรค (upstream operation) และเตรียมความพร้อมรับมือกับความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ผ่านการสร้างความร่วมมือในระดับโลก (global collaboration) ซึ่งศูนย์นี้มีบทบาทสำคัญช่วยให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับวิกฤตการณ์โควิด-19 จากสนับสนุนสอบสวนโรคของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณาสุข ให้สามารถตรวจยืนยันผู้ป่วยติดเชื้อโรค COVID-19 และยืนยันผลจากการถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัส เพื่อเป็นข้อมูลให้กับกระทรวงสาธารณสุขใช้ควบคุมการแพร่กระจายของโรคได้ทันท่วงที ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา […]
จุฬาฯ อวดสองนวัตกรรมคืนชีวิตใหม่ให้ปะการังไทย ผสมเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก พร้อมชูเครื่องพิมพ์ 3 มิติสร้างปะการังเทียม
ปัญหาระบบนิเวศใต้ท้องทะเลเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็วกำลังเป็นวิกฤติการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขโดยพลัน นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับความหลากหลายทางชีวภาพของพืชและสัตว์ในระบบนิเวศใต้ท้องทะเลที่ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมจากความผิดปกติทางสภาพภูมิอากาศและการกระทำของมนุษย์ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิดหลากสายพันธุ์ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วจนบางชนิดเสี่ยงต่อภาวะสูญพันธุ์ และหนึ่งในนั้นคือ “ปะการัง” จากรายงานของ National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) ประเมินว่าท้องทะเลหลายแห่งทั่วโลกกำลังประสบภาวะความตึงเครียดจากสภาพแวดล้อมแปรปรวนส่งผลกระทบต่อแนวปะการังอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2547 เพียงปีเดียว ปะการังทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบไปแล้วถึงร้อยละ 38 คิดเป็นพื้นที่กว่า 1.2 หมื่นตารางกิโลเมตร ซึ่งแน่นอนว่าห่วงโซ่อาหารของระบบนิเวศใต้ท้องทะเลย่อมได้รับผลกระทบสืบเนื่องกันไปด้วย สอดคล้องกันกับรายงานของ Scientific Reports ที่เผยแพร่เมื่อปี พ.ศ. 2558 คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2588 หรือในอีก 25 ปี ข้างหน้า ปะการังสุ่มเสี่ยงที่จะสูญพันธุ์เกือบถึงขีดสุด โดยอาจเหลือปะการังทั่วโลกอยู่เพียงร้อยละ 10 เท่านั้น หากย้อนกลับมาติดตามสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวในประเทศไทย พบว่าระบบนิเวศทางทะเลไทยกำลังเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวขึ้น โดยช่วงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเปิดเผยว่า บริเวณแนวปะการังน้ำตื้นมีปะการังสีจางลงกว่าร้อยละ 5-30 และกลายเป็นปะการังฟอกขาวแล้วถึงร้อยละ 5-15 ซึ่งหากปล่อยไว้ยังไม่รีบแก้ไขอาจส่งผลกระทบลุกลามบานปลายทำให้ปะการังอาจสูญพันธุ์ไปจากท้องทะเลไทยเร็วกว่าที่คาดการณ์ โดยตัวเร่งให้สถานการณ์นี้ทวีความรุนแรงขึ้น นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate […]